Skip to main content

มีหลายคนเคยถามผู้เขียนว่า ถ้าพวกกำนัน/นกหวีดประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจ อนาคตของกระบวนการสันติภาพปาตานี/ชายแดนใต้จะเป็นอย่างไร ตอนนี้อนาคตของกระบวนการสันติภาพก็ไม่สดใสแล้ว เพราะรัฐบาลจุดนี้ไม่เคยแสดงความจริงจังในการดำเนินกระบวนการดังกล่าว แต่ถ้าหากว่าฝ่าย "มวลมหาประชาชน" ได้อำนาจจริงๆ ชะตากรรมของกระบวนการสันติภาพก็ยิ่งมืดมน ตามสาเหตุดังต่อไปนี้ 

1. คนมลายูในพื้นที่เป็นกลุ่มคนที่ถูกดูถูกมานานด้วยคำเรียกว่า "แขก" นักวิชาการที่สนับสนุนขบวนการกำนันหลายท่านก็แสดงอาการดูถูกคนต่างจังหวัดทั่วไปด้วย ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ฝ่ายที่ได้รับสนับสนุนของ "มวลมหาประชาชน" จะให้ความสำคัญแ่ก่ปัญหาของพวก "แขก" ที่อยู่ใน "ต่างจังหวัด" 

2. ในพื้นที่ความขัดแย้งเกือบทุกพื้้นที่ ฝ่ายความมั่นของ (กองทัพ) เป็นฝ่ายที่มีความตั้งใจน้อยที่สุดในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากได้รับงบประมาณมหาศาล ถ้าฝ่ายกำนันได้ยึดอำนาจ แน่นอนว่า อิทธิพลของกองทัพจะเพิ่มขึ้นอีก สถานการณ์เช่นนี้ไม่เอื้อต่อกระบวนการสันติภาพเลย 

3. ในการะบวนการสันติภาพ หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดขึ้นจากความเข้าใจกัน เพราะแต่ละฝ่ายต้องเข้าใจว่า ทำไมฝ่ายคู่ต่อสู้เรียกร้องแบบนี้แบบนั้น ฉะนั้น ฝ่ายที่ปฏิเสธความเห็นที่ต่างกันตลอด ไม่อาจจะสามารถดำเนินกระบวนการสันติภาพที่มีความหมายอันแท้จริง 

4. ฝ่ายกำนันไม่เคยประกาศนโยบายการแก้ไขปัญหาชายแดนใต้ อาจเป็นไปได้ว่าไม่คิดอะไรเรื่องนี้เลย ถ้ามีก็กรุณารบกวนประกาศเร็วๆ หน่อยครับ 

5. กระบวนการสันติภาพที่ประสบความสำเร็จ ล้วนแล้วแต่มีความเข้าใจกันเรื่องประวัติศาสตร์ เพราะประวัติศาสตร์เป็นเงื่อนไขที่สำคัญเงื่อนไขหนึ่งของความขัดแย้ง ความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์สามารถลดเงื่อนไขได้ในระดับหนึ่ง ส่วนใหญ่ฝ่ายรัฐ/ศูนย์กลางต้องยอมรับประวัติศาสตร์อีกฉบับนอกจากฉบับทางการ แต่ฝ่ายกำนันที่ยึดถือประวัติศาสตร์แบบ "ไทยๆ" ซึ่งมีลัทธิ "เสียดินแดน" เป็นพื้นฐาน คงจะยากมากที่จะรับประวัติศาษสตร์อีกฉบับหนึ่ง 

6. กระบวนการสันติภาพจะสามารถเกิดขึ้นในเมื่อคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงพลังและอำนาจของคู่ต่อสู้ แต่เนื่องจากฝ่ายกำนันถูกครอบงำโดยวาทกรรม "โจรใต้" ที่ผลิตโดยสื่อกระแสหลักที่ไม่เคยหาข้อมูลเชิงลึก เมื่อมีการริเริ่มกระบวนการสันติภาพ มักจะยื่นคำถามว่า "เจรจากับโจรทำไม" นี่เป็นการดูถูกศัตรูที่อันตราย เพราะ "มวลมหาประชาชน" ส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้

 

 

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
1. เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วในเมื่อประเทศสยามยังอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณสิทธิราช ความเหมาะสมของกฎหมายฉบับนี้ในยุคนี้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเป็นประเด็นที่ควรมีการถกเถียงกัน
Shintaro Hara
ณ ประเทศญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  มีคำศัพท์คำที่ใช้กันทั่วไปเพื่อด่าคนอื่น ซึ่งก็คือ “ฮีโคคูมิน” ซึ่งหมายถึง “คนที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศ” เมื่อคนใดคนหนึ่งวิจารณ์รัฐบาลที่กำลังนำประเทศไปสู่สงคราม คนนั้นจะถูกเรียกว่าเป็น ฮีโคคูมิน ทั้งๆ ที่คนนั้นอาจจะมองเห็นวินาศกรรมที่จะเกิดขึ้นจากภ
Shintaro Hara
ไม่มีภูมิภาคใดในประเทศไทยที่มีประสบการณ์ (แต่ไม่เคยชิน) เกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก
Shintaro Hara
ประเทศญี่ปุ่นมีผลการเรียนของเด็กนักเรียน/นักศึกษาที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี แต่มันไม่ได้หมายความว่า ผลการเรียนนั้นเกิดขึ้นจากระบบการศึกษาที่ดี เพราะ “ผลการเรียน” กับ “ระบบการศึกษา” เป็นคนละประเด็นกัน ถึงแม้ว่าระบบการศึกษาที่ดีจะสามารถสร้างผลการเรียนที่ดีก็ตาม จริงๆ
Shintaro Hara
มีหลายคนเคยถามผู้เขียนว่า ถ้าพวกกำนัน/