Skip to main content

ไม่มีภูมิภาคใดในประเทศไทยที่มีประสบการณ์ (แต่ไม่เคยชิน) เกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) เท่ากับปาตานีหรือจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

กฎหมายพิเศษฉบับนี้ผลิตโดยรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร โดยมีเป้าหมายเพื่อคุวบคุมสถานการณ์ และนำมาบังคับใช้ในพื้นที่ความขัดแย้งจนถึงทุกวันนี้ รัฐบาลชุดต่อไป ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่นำโดยนักการเมืองสายทักษิณ(รวมถึงรัฐบาลจุดปััจจุบัน) หรือฝ่ายค้านก็ตาม แต่ประกาศบังคับใช้กฎหมายฉบับพิเศษฉบับนี้ใหม่ทุกๆ สามเดือน (ซึ่งโดยทั่วไป เรียกว่า “ต่ออายุ” หรือ “ขยาย”) โดยไม่เคยยกเลิกการบังคับใช้ การบังคับใช้กฎหมายพิเศษฉบับนี้ในทำนองนี้ ทำให้ปาตานี ไม่ใช่แค่เป็นพื้นที่ความขัดแย้ง แต่เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบของกฎหมายพิเศษอย่างเต็มทีด้วย บวกกับกฎอัยการศึก (ซึ่งมีอายุ 100 ปี) ที่ได้ถูกประกาศตั้งแต่ต้นปี 2547 

พ.ร.ก. ฉุกเฉินอำนวยอำนาจสูงให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง รวมไปถึงการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยถึงเวลาสามสิบวัน (รายละเอียดกรุณาอ่านเนื้อหากฎหมายดังกล่าวครับ) โดยเจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นต่อประชาชนในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ การที่มอบอำนาจสูงให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงโดยไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายดังกล่าวนั้นนำไปสู่การละเมิดสิทธิต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนถึงกฎหมายพิเศษฉบับนี้ได้รับคำวิจารณ์จากองค์กรสิทธิมนุษย์และนักกฎหมายว่าเป็นกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษย์ 

นอกจากนี้ อำนาจที่มีอยู่ในมือของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง (ทหาร ทหารพราน ตำรวจ ฯลฯ) นั้น ไม่ใช่แน่วทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง แต่การใช้อำนาจอย่างมิชอบธรรมโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐซึ่งละเมิดสิทธิของคนในพื้นที่ ความขัดแย้ง อาทิ การควบคุมตัวผู้บริสุทธิ์ในฐานะเป็น “ผู้ต้องสังสัย” การตรวจค้นบ้าน การปิดล้อมหมู่บ้าน รวมไปถึงวิสาัมัญฆาตกรรม กลายเป็นเงื่อนไขหนึ่งในความขัดแย้งด้วยซ้ำ โดยผลักดันให้คนในพื้นที่มีความรู้สึกแค้นต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ 

ด้วยเหตุนี้ ประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะประชาชนเชื้อสายมลายู ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากกฎหมายพิเศษฉบับนี้ นักวิชาการ นักกฎหมาย และองค์กรสิทธิมนุษย์ได้เรียกร้องให้รัฐบาลทุกชุดถอนกฎหมายพิเศษดังกล่าว แต่จนถึงบัดนี้ ยังไม่มีรัฐบาลชุดใดที่ยอมที่จะถอนกฎหมายดังกล่าว 

ตามประสบการณ์เกี่ยวกับ พ.ร.ก. ฉุกเฉินดังกล่าว ผมมั่นใจว่า การประกาศกฎหมายพิเศษดังกล่าวโดยรัฐบาลชุดปัจจุบันที่นำโดย นายกรัฐมนตรี น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มิอาจนำไปสู่การแก้ไขสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน และไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะมอบอำนาจซึ่งนำไปสู่การละเมิดสิทธิให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ซึ่งในบริบทนี้คือ ฝ่ายทหาร 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันนี้การกระทำผิดกฎหมายต่างๆ ซึ่งละเมิดสิทธิของประชาชนกำลังเกิดขึ้น เช่น การยึดสถานที่ราชการซึ่งทำให้ประชาชนในฐานะเป็นผู้เสียภาษีไม่สามารถได้รับการบริการจากฝ่ายรัฐตามที่ควร การปิดสถานที่การศึกษาและการระดมเด็กนักเรียนนักศึกษาในการชุมนุมทางการเมืองซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิที่จะได้รับการศึกษาซึ่งได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ การกระจ่ายวาทกรรมเชิง hate speech และวาทกรรมการเหยียดเพศญิง การขัดขวางไม่ให้ผู้มีิสิทธิเลือกตั้งไป ณ หน่วยเลือกตั้ง ฯลฯ การกระทำเช่นนี้สามารถควบคุมได้โดยใช้กฎหมายปกติฉบับต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในขณะที่รัฐบาลยังไม่เคยใช้กฎหมายปกติเพื่อควบคุมสถานการณ์ การประกาศใช้กฎหมายพิเศษครั้งนี้้ไม่มีความชอบธรรมใดๆ 

การรักษาประโยชน์ส่วนร่วมและความปลอดภัยเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลนั้นเป็นรัฐบาลรักษาการก็ตาม เพราะฉะนั้น รัฐบาลยังมีความชอบธรรมอย่างเต็มทีเพื่อควบคุมสถานการณ์ซึ่งมีการกระทำผิดกฎหมายและละเมิดสิทธิของประชาชน โดยใช้กฎหมายปกติ แทนที่จะประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นกฏหมายที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิตามกฎหมาย การประกาศใช้กฎหมายพิเศษดังกล่าว แค่ทำให้ความชอบธรรมของรัฐบาลรักษาการสูญเสียไป 

ดังนั้น รัฐบาลควรถอนการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินโดยด่วน และควรใช้กลไกกฎหมายปกติเพื่อควบคุมสถานการณ์ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่มีความชอบธรรมการบังคับใช้กฎหมายพิเศษมิอาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความคัดแย้ง

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
เดี๋ยวนี้ผมเริ่มได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนาสาธารณะหรือการประชุมวิชาการ ผมก็ยินดีที่จะรับงานเหล่านี้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของนักวิชาการ (แม้ว่าผมไม่ได้ทำงานในมหาวิทยาลัยก็ตาม) ยกเว้นในบางกร
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 21 ที่ผ่านมา มีการปล่อยข่าวจากสำนักข่าว Benar News
Shintaro Hara
เมื่อผมพาครอบครัวไปเที่ยวชายหาดในจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นหาดตะโละกะโปร์ หาดปะนาเระ หาดวาสุกรีในจังหวัดปัตตานี หรือ หาดนราทัศน์ในจังหวัดนราธิวาส  ฯลฯ ในวันหยุด เกือบทุกครั้งผมก็อดรู้สึกเสียใจไม่ได้กับสภาพของชายหาดที่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยขยะ ในช่วงเทศกาล เช
Shintaro Hara
ลัทธิทรงพลังมากที่สุดในสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้คือ ลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ลัทธิอันนี้มีธรรมชาติชองมนุษย์เป็นที่มาและพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น บรรดาพ่อแม่มักจะประสบปัญหาในเมื่อลูกกระทำผิด และพยายามจะบอกกับคนอื่นว่า “ลูกของฉันไม่ได้ทำผิด” ถึงแม้ว่าบางกรณีมีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ลูกของเขาทำผิดจ
Shintaro Hara
แม้ว่าการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นที่นิยมในประเทศหลาย ๆ ประเทศ และ “โดเรม่อน” ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียก็ตาม การ์ตูนเรื่องนี้ไม่ได้รับความสนใจจากชาวอเมริกัน เนื่องจากเรื่องมีไม่มีตัวละคนที่เป็นฮีโร่ที่มีบุคลิกภาพที่น่าชื่นชม กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอันยิ่งใหญ่ และสา
Shintaro Hara
การบังคับให้เด็กนักเรียนใส่ชุดทหารในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นการสร้างวินัยนั้น ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสังคม โดยมีทั้งคนที่ชื่นชมการบังคับดังกล่าวและคนที่กล่าวคำวิจารณ์ด้วย ปฏิกิริยาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในสังคมไทยมีความเข้าใจที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “วินัย”
Shintaro Hara
วันที่ ญี่ปุ่น กลายเป็น ยุ่น
Shintaro Hara
กระบวนการสันติภาพ ณ เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ประสบอุปสรรคครั้งยิ่งใหญ่ หลังจากรัฐสภาแห่งประเทศฟิลิปปินส์ไม่ให้ผ่านร่างกฎหมายพื้นฐานบังซาโมโร (Bangsamoro Basic La
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา เด็กอายุ 13 ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก
Shintaro Hara
ข้อเสนอจากราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับชื่อเรียกของชาวมุสลิมจากประเทศพม่าที่รู้จักกันในนามว่า “โรฮิงญา” ให้เรียกเป็น “โรฮินจา” นั้น ได้รับความสนใ
Shintaro Hara
ช่วงนี้เป็นช่วงสอบสำหรับมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่ พฤติกรรมของนักศึกษาในห้องสอบอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงดังโดยนักศึกษาที่ส่งข้อสอบก่อนหมดเวลาแต่รอพรรคพวกอยู่นอกห้องสอบ การที่เปิดตัวข้อสอบก่อนเวลาสอบ (ถึงแม้ว่าคณะกรรมการคุมสอบห้ามแล้วก็ตาม) การที่ไม่วางปากกาทั้งๆ ที่ห
Shintaro Hara
เมื่อคนไทยพูดถึงเรื่องปฏิรูป ฝ่ายที่เป็นเป้าหมายของการโจมตีตลอดคือนักการเมืองที่ทุจริต ผมไม่ปฏิเสธว่านักการเมืองหลายคน (ส่วนตัว ผมเชื่อว่าเกือบทุกคน) ไม่ว่าจะมาจากพรรคไหนหรือฝ่ายไหน สีเสื้ออะไรก็ตาม ติดเรื่องทุจริตทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการรับสินบน การใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การ