Skip to main content

เมื่อผมพาครอบครัวไปเที่ยวชายหาดในจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นหาดตะโละกะโปร์ หาดปะนาเระ หาดวาสุกรีในจังหวัดปัตตานี หรือ หาดนราทัศน์ในจังหวัดนราธิวาส  ฯลฯ ในวันหยุด เกือบทุกครั้งผมก็อดรู้สึกเสียใจไม่ได้กับสภาพของชายหาดที่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยขยะ ในช่วงเทศกาล เช่นช่วงวันรายอ การไปเที่ยวชายหาดเป็นประเพณีของคนในพื้นที่ และช่วงเทศกาลแบบนี้แหละเป็นช่วงที่ทุก ๆ ตารางวาของชายหาดปกปิดด้วยขยะ บางครั้ง เมื่อผมกำลังเล่นน้ำอย่างสนุกสนานกับลูกสาว เห็นวัตถุสีขาวลอยอยู่บนผิวน้ำ เมื่อผมเข้าใกล้กับวัตถุดังกล่าวเพื่อเห็นว่า วัตถุนั้นคืออะไร (กลัวว่าเป็นของที่อันตรายต่อลูก) ก็ทราบว่า นั่นคือแพนเพิร์สที่ได้ใช้งานเรียบร้อยแล้ว คนในพื้นที่หลาย ๆ คนมักจะกล่าวถึงความรักที่มีต่อบ้านเกิด แต่การกระทำของคนหลายคน (ไม่ใช่บางคน) ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่พวกเขาพูด คำถามง่าย ๆ ก็คือ ถ้าคุณรักบ้านเกิด ทิ้งขยะในบ้านเกิดของคุณทำไม เขาอาจจะคิดว่า “แค่ทิ้งขยะแค่นี้ก็คงจะไม่เป็นไร” แต่เมื่อสมาชิกในสังคมที่ขาดจิตสำนึกหลาย ๆ คนคิดในตำนองนี้ ผลที่เกิดขึ้นก็คือการเปลี่ยนชายหาดเป็นทั้งขยะสาธารณะที่ไม่มีใครดูแล และทำลายความสวยงามของทะเลธรรมชาติอย่างสิ้นเชิง แนวคิดแบบนี้ทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ทิ้งขยะลงในทะเลในปริมาณมากที่สุดในเอเชีย จริง ๆ แล้ว แนวคิด “นิดเดียวไม่เป็นไร” นั้นไม่จริง และเมื่อแนวคิดแบบนี้เป็นแนวคิดร่วมของคนในสังคมส่วนใหญ่ สามารถสร้างความเสียหายมหาศาล  

อีกตัวอย่างหนึ่ง คนไทยหลายคนยังชอบแซงคิวในขณะที่คนอื่นต้องเข้าแถว คนที่แซงคิวก็อาจจะคิดว่า “ถ้าเราทำคนเดียวก็คงจะไม่มีอะไร” แต่เมื่อมีคนที่คิดแบบนี้มีสักสี่ห้าคน คนอื่นก็จะรู้สึกว่า “คนอื่นก็แซงคิวอยู่ แล้วทำไมกูต้องเข้าแถวอีก” และในสุดท้าย ไม่มีใครเคารพสิทธิของคนที่เข้าแถวก่อน จนถึงคนที่เอาเปรียบคนอื่นนั่นและที่ได้เปรียบจริง ๆ ถ้าสถานการณ์เป็นเช่นนี้ วัฒนธรรมเข้าแถวก็ไม่อาจจะสร้างขึ้นมาได้ในขณะที่แต่ละคนไม่สามารถนึกถึงผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมของตัวเอง (สำหรับวัฒนธรรมการเข้าแถว กรุณาดูบทความเก่าของผู้เขียน “ทำไมคนญี่ปุ่นเข้าแถว (ไม่แซงคิว)” จากลิงค์ต่อไปนี้:   https://blogazine.pub/blogs/shintaro/post/4853) ในการสร้างวินัย สิ่งที่สำคัญคือ แต่ละคนเห็นว่า ทุก ๆ คนต้องมีส่วนร่วมโดยไม่มีข้อยกเว้นโดยอาศัยหลักการความเท่าเทียมกัน ดังนั้น ไม่ใช่ “นิดเดียวไม่เป็นไร” แต่ “นิดเดียวนั้นสามารถสร้างปัญหาได้”

การที่คนหลายคนในสังคมยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของ “นิดเดียว” ก็จะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้อาชญากรมการซื้อเสียงขายเสียงยังระบาดในการเลือกตั้งในทุกระดับ คนที่รับเงินก็คงจะอ้างว่า “แม้ว่ากูจะรับเงินและลงคะแนนเสียงตามเงินที่ได้รับ ก็ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อผลการเลือกตั้งแน่” แต่เช่นเดียวกันกับเรื่องของขยะ ในเมื่อแนวคิดแบบนี้เป็นแนวคิดร่วมของสมาชิกในสังคม จะทำให้ระบบการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญเพื่อรักษาความเป็นประชาธิปไตยในสังคมปัจจุบัน กลายเป็นระบบอัมพาด ในเวลาเดียวกัน แนวคิดแบบนี้ก็จะทำให้คนในสังคมไม่สามารถตระหนักถึงพลังของคะแนนเสียงแต่ละคะแนน จริง ๆ แล้ว การสะสมของแต่ละเสียงนี้แหละพลังที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมตามหลักประชาธิปไตย แต่ในเมื่อคนในสังคมเชื่อว่า “นิดเดียวไม่เป็นไร” เขาก็จะเชื่อว่า “นิดเดียวนั้นไม่มีพลัง” ทั้ง ๆ ที่ระบอบประชาธิปไตยคือระบอบที่พยายามจะสร้างพลังให้แก่เสียงทุกเสียงมีพลัง

มีเพื่อนของผมหลาย ๆ คนมาถามว่า “คนญี่ปุ่นสร้างวินัยได้อย่างไร” บางคนคิดว่า เกิดจากระบบการศึกษา บางคนเชื่อว่า การสร้างวินัยเริ่มต้นจากการปลูกฝั่งวินัยในครอบครัว บางคนก็วิเคราะห์ว่า ความเกรงใจต่อผู้อื่นอย่างสูงมาก (หรือสูงเกินไป) ของคนญี่ปุ่นนั้นเป็นที่มาของวินัย คำตอบเหล่านี้ถูกต้องหมด แต่ประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่ถูกมองข้ามก็คือ การสร้างความตระหนักต่อความสำคัญของ “นิดเดียว” นี่ไม่ได้หมายความว่า คนญี่ปุ่นไม่เคยใช้แนวคิด “นิดเดียวไม่เป็นไร” โดยเฉพาะในเรื่องที่ตัวเองรับผิดชอบได้ เช่น “กินเหล้านิดเดียวไม่เป็นไร ถ้าเราไม่ขับรถ” หรือ “ขับรถเกินจำกัดความเร็วนิดเดียว (สัก 5-6 กิโลเมตต่อชม.) ไม่เป็นไร” แต่เมื่อการกระทำของตนจะส่งผลกระทบต่อสังคม ไม่มีคำว่า “นิดเดียวไม่เป็นไร” ก็ไม่สามารถใช้ได้อีก เพราะไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม เช่น สังคมจะไม่ยอมรับแนวคิดที่ว่า “รับเงินสินบนนิดเดียวไม่เป็นไร” เพราะสินบนคือสินบน “ขายเสียงนิดเดียว” ก็ไม่ได้ เพราะคะแนนเสียงของเรามีศักดิ์ศรี และทุกคนตระหนักว่า การขายเสียงจะบ่อนทำลายระบบการเลือกตั้งที่สามารถสะท้อนเสียงของประชาชน

โดยสรุป ขอให้ทุกท่านเข้าใจว่า “นิดเดียวไม่เป็นไร” นั้นคือแนวคิดที่ไม่อาจนำไปสู่การสร้างสังคมที่สามารถรับรองคุณภาพชีวิต เพราะในสังคมแบบนี้ทำให้พวกที่คิดแต่เอาเปรียบผู้อื่นจะได้เปรียบ ส่วนคนที่มีจิตสำนึกและผู้ที่อ่อนแอหรือมีอำนาจน้อยจะเสียเปรียบตลอด ดังนั้น ถ้าเราต้องการจะสถาปนาสังคมประชาธิปไตยที่มีวินัย เราก็ต้องยกเลิกอาศัยแนวคิด “นิดเดียวไม่เป็นไร” แต่ต้องสอนให้เข้าใจว่า “นิดเดียวนั้นมีพลัง” 

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
เดี๋ยวนี้ผมเริ่มได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนาสาธารณะหรือการประชุมวิชาการ ผมก็ยินดีที่จะรับงานเหล่านี้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของนักวิชาการ (แม้ว่าผมไม่ได้ทำงานในมหาวิทยาลัยก็ตาม) ยกเว้นในบางกร
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 21 ที่ผ่านมา มีการปล่อยข่าวจากสำนักข่าว Benar News
Shintaro Hara
เมื่อผมพาครอบครัวไปเที่ยวชายหาดในจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นหาดตะโละกะโปร์ หาดปะนาเระ หาดวาสุกรีในจังหวัดปัตตานี หรือ หาดนราทัศน์ในจังหวัดนราธิวาส  ฯลฯ ในวันหยุด เกือบทุกครั้งผมก็อดรู้สึกเสียใจไม่ได้กับสภาพของชายหาดที่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยขยะ ในช่วงเทศกาล เช
Shintaro Hara
ลัทธิทรงพลังมากที่สุดในสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้คือ ลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ลัทธิอันนี้มีธรรมชาติชองมนุษย์เป็นที่มาและพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น บรรดาพ่อแม่มักจะประสบปัญหาในเมื่อลูกกระทำผิด และพยายามจะบอกกับคนอื่นว่า “ลูกของฉันไม่ได้ทำผิด” ถึงแม้ว่าบางกรณีมีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ลูกของเขาทำผิดจ
Shintaro Hara
แม้ว่าการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นที่นิยมในประเทศหลาย ๆ ประเทศ และ “โดเรม่อน” ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียก็ตาม การ์ตูนเรื่องนี้ไม่ได้รับความสนใจจากชาวอเมริกัน เนื่องจากเรื่องมีไม่มีตัวละคนที่เป็นฮีโร่ที่มีบุคลิกภาพที่น่าชื่นชม กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอันยิ่งใหญ่ และสา
Shintaro Hara
การบังคับให้เด็กนักเรียนใส่ชุดทหารในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นการสร้างวินัยนั้น ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสังคม โดยมีทั้งคนที่ชื่นชมการบังคับดังกล่าวและคนที่กล่าวคำวิจารณ์ด้วย ปฏิกิริยาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในสังคมไทยมีความเข้าใจที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “วินัย”
Shintaro Hara
วันที่ ญี่ปุ่น กลายเป็น ยุ่น
Shintaro Hara
กระบวนการสันติภาพ ณ เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ประสบอุปสรรคครั้งยิ่งใหญ่ หลังจากรัฐสภาแห่งประเทศฟิลิปปินส์ไม่ให้ผ่านร่างกฎหมายพื้นฐานบังซาโมโร (Bangsamoro Basic La
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา เด็กอายุ 13 ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก
Shintaro Hara
ข้อเสนอจากราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับชื่อเรียกของชาวมุสลิมจากประเทศพม่าที่รู้จักกันในนามว่า “โรฮิงญา” ให้เรียกเป็น “โรฮินจา” นั้น ได้รับความสนใ
Shintaro Hara
ช่วงนี้เป็นช่วงสอบสำหรับมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่ พฤติกรรมของนักศึกษาในห้องสอบอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงดังโดยนักศึกษาที่ส่งข้อสอบก่อนหมดเวลาแต่รอพรรคพวกอยู่นอกห้องสอบ การที่เปิดตัวข้อสอบก่อนเวลาสอบ (ถึงแม้ว่าคณะกรรมการคุมสอบห้ามแล้วก็ตาม) การที่ไม่วางปากกาทั้งๆ ที่ห
Shintaro Hara
เมื่อคนไทยพูดถึงเรื่องปฏิรูป ฝ่ายที่เป็นเป้าหมายของการโจมตีตลอดคือนักการเมืองที่ทุจริต ผมไม่ปฏิเสธว่านักการเมืองหลายคน (ส่วนตัว ผมเชื่อว่าเกือบทุกคน) ไม่ว่าจะมาจากพรรคไหนหรือฝ่ายไหน สีเสื้ออะไรก็ตาม ติดเรื่องทุจริตทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการรับสินบน การใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การ