Skip to main content

ข้อเสนอจากราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับชื่อเรียกของชาวมุสลิมจากประเทศพม่าที่รู้จักกันในนามว่า “โรฮิงญา” ให้เรียกเป็น “โรฮินจา” นั้น ได้รับความสนใจจากวงกว้าง นักข่าว นักวิจาการณ์และผู้รู้หลายๆ ท่านก็แสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าว โดยมีทั้งคนที่เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย แต่ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังรู้สึกสับกับเรื่องนี้

 

ในภาษาแต่ละภาษา ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวเกี่ยวกับชื่อเรียกสำหรับบุคคล กลุ่มชาติพันธ์ ชื่อเมือง แม้แต่ชื่อของประเทศ ผมขอยกตัวอย่างจากประเทศของผมเองที่คนไทยเรียกว่า “ญี่ปุ่น” คนที่มาจากประเทศดังกล่าวไม่เคยเรียกประเทศของตัวเองว่าเป็น ญี่ปุ่น, Japan (ภาษาอังกฤษ) Yaabaan (ภาษาอาหรับ) Riben (ภาษาจีน) หรือ Jepun (ภาษามลายู) แต่เราเรียกว่า Nihon (หนิฮน) หรือ Nippon (หนิปปน) ความหลากหลายในชื่อเรียกของประเทศดังกล่าวเกิดจากตัวอักษรจีนสองตัวที่ใช้สำหรับชื่อประเทศญี่ปุ่น (日本) ถึงแม้ว่าภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่นใช้ตัวอักษรเดียวกันสำหรับชื่อประเทศญี่ปุ่นก็ตาม แต่ทั้งสองภาษาออกเสียงไม่เหมือนกัน ญี่ปุ่นออกเสียงเป็น Nihon หรือ Nippon ส่วนจีนออกเสียง Riben สำหรับเสียง /r/ ในภาษาจีน มีการออกเสียงคล้ายกับตัวอักษร /j/ ในภาษาอังกฤษ ดังนั้น ชื่อประเทศญี่ปุ่นในภาษาต่างๆ โดยเฉพาะในภาษายุโรบมักจะเริ่มต้นด้วยตัวอักษร /j/ แทนที่จะใช้ตัวอักษร /n/ ดังเช่นปรากฏในภาษาญี่ปุ่น เกิดจากการที่ชาวยุโรปเอาชื่อเรียกของประเทศญี่ปุ่นจากภาษาจีน ไม่ได้เอามาจากภาษาญี่ปุ่น ส่วนคำว่า “ญี่ปุ่น” ก็น่าจะมาจากภาถิ่นภาษาหนึ่งในภาษาจีน แต่ไม่น่าจะยืมโดยตรงจากภาษาญี่ปุ่น ดังนั้น โดยสรุป ในโลกใบนี้ น่าจะไม่มีภาษาที่เรียกประเทศญี่ปุ่นว่าเป็น Nihon หรือ Nippon ตามเสียงเดิมในภาษาญี่ปุ่น (นอกจากภาษาญี่ปุ่นเอง)

 

ถ้าถามว่า เคยมีคนญี่ปุ่นที่เรียนภาษาต่างประเทศภาษาหนึ่ง และแสดงความไม่พอใจต่อชื่อเรียกประเทศของตนในภาษาดังกล่าวหรือไม่ (เช่น คนญี่ปุ่นที่เรียนภาษาไทยแต่ไม่พอใจกับคำว่า “ญี่ปุ่น” และอ้างว่า คนไทยไม่ควรใช้ชื่อนี้ แต่ต้องใช้ “หนิฮน” หรือ “หนิปปน” แทน) ผมก็ยืนยันได้ว่า ไม่เคยมี เพราะคนไทยจะเรียกประเทศของพวกเราอย่างไรนั้นคือสิทธิของคนไทยที่เป็นผู้ใช้ภาษาไทย ไม่ใช่สิทธิของคนญี่ปุ่น

 

ด้วยเหตุนี้ ชื่อเฉพาะที่มาจากภาษาต่างประเทศ ไม่จำเป็นต้องตามเสียงเดิมในภาษาอื่น หรือเสียงที่คล้ายที่สุดเท่าที่จะคล้ายได้ ดังนั้น ถามว่า เราควรเรียกชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อยจากรัฐยะไข ประเทศพม่า ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ใช้ภาษาไทยทุกคน

 

ตามข้อมูลจากเพื่อนทางเฟสบุ๊กท่านหนึ่ง จริงๆ แล้วฝ่ายราชบัณฑิตออกคำชี้แนะเกี่ยวกับชื่อของชนกลุ่มนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยอ้างว่า ชื่อของชนกลุ่มนี้ในภาษาพม่าออกเสียงเป็น “โรฮินจา” ไม่ใช่ “โรฮิงญา” ดังเช่นปรากฏในสื่อต่างๆ ผมเห็นว่า ฝ่ายราชบัณฑิตย์ก็มีเหตุผมในการนำเสนอชื่อ “โรฮินจา” แต่สาเหตุนั้นไม่ใช่หลักการสากล ดังเช่นผมอธิบายให้เห็นโดยใช้ชื่อเรียกของประเทศผม อีกอย่าง กลุ่มโรฮิงญา/โรฮินจานั้นเป็นชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีภาษาของตัวเอง ถ้าจะเอาเสียง “ตัวจริง” น่าจะต้องเอามาจากภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้ ไม่ใช่ภาษาพม่า นอกจากนี้ ผมเห็นว่า ปรากฏการณ์ครั้งนี้เป็นกรณีที่น่าสนใจที่เป็นตัวชี้วัดสำหรับความสำคัญของสถาบันราชบัณฑิตยสถานในฐานะเป็น “ผู้ดูแล” การใช้ภาษาไทย

 

ภาษาบางภาษาในโลกจะมีสถาบันลักษณะเดียวกันที่มี “อำนาจ” ค่อนข้างสูง ดังเช่น Académie française สำหรับภาษาฝรั่งเศส Dewan Bahasadan Pustaka สำหรับภาษามลายูในประเทศมาเลเซีย เป็นต้น ข้อกำหนดของสถาบันเหล่านี้มีความสำคัญ เนื่องจากการใช้ภาษาที่ไม่ตามข้อกำหนดของสถาบันเหล่านี้ถือว่าการใช้ที่ผิด เพราะสถาบันเหล่านี้ได้รับมอบหน้าที่จากรัฐบาล (และมีกฎหมายรองรับ) ในการดูแลภาษา ดังนั้นในกรณีที่เป็นทางการ คนในสังคมก็ต้องใช้ภาษาของตนตามข้อกำหนดของสถาบันเหล่านี้

 

ในตรงกันข้าม ยังมีภาษาหลายภาษาที่ไม่มีสถาบันลักษณะนี้ (เช่น ภาษาอังกฤษ) หรือมีสถาบันแต่สถาบันนั้นไม่มีอำนาจในการกำหนดการใช้ภาษา (เช่น ภาษาญี่ปุ่นและภาษาอินโดนีเซีย) สังคมที่ใช้ภาษาเหล่านี้ถือว่าสังคมที่มีการใช้ภาษาอันเข้มแข็ง ซึ่งทำให้สังคมผู้ใช้ภาษาเป็นผู้กำหนดการใช้ภาษา

สำหรับภาษาไทย ขอบเขตอำนาจของสถาบันราชบัณฑิตยสถานคงจะไม่กว้างขวางเท่ากับสถาบันลักษณะเดียวกันสำหรับภาษาฝรั่งเศสหรือภาษามลายูในประเทศมาเลเซีย แต่ยังมีบทบาทบางอย่างในการดูแลการใช้ภาษา

 

ที่มาของความสับสนครั้งนี้ ไม่ได้มาจากความล่าช้าของฝ่ายราชบัณฑิตยสถานในการประกาศคำเรียกสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมุสลิมจากพม่า เพราะข้อกำหนดจากสถาบันดังกล่าวมีอยู่ตั้งแต่ปี 2556 แล้ว แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า คนในสังคมเพิ่งทราบถึงข้อกำหนดของราชบัณฑิตย์ที่ให้ใช้ชื่อว่า “โรฮินจา” หลังจากสังคมและสื่อได้ชื่อว่า “โรฮิงญา” มาเป็นเวลานานแล้ว ดังนั้นสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ เกิดจากการที่ว่า ข้อกำหนดของสถาบันที่รับผิดชอบในเรื่องการใช้ภาษาไม่เป็นที่รู้จักกันในสังคม แต่ผมเชื่อว่า ปัญหานี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นถ้าสมมุติว่า มีการเผยแพร่ข้อกำหนดนี้ตั้งแต่แรก และมีการโปรโมทชื่อ “โรฮินจา” ในสื่อต่างๆ ดังนั้น ปัญหาครั้งนี้ก็เกิดขึ้นเพราะดูเหมือนว่า ข้อกำหนดของฝ่ายราชบัณฑิตย์ขัดกับการใช้คำจริงๆ ในสังคมที่ได้ใช้ชื่อ “โรฮิงญา” มานาน นี่ไม่ใช่เรื่องความถูกต้อง แต่เป็นเรื่องของความเคยชิน

 

เกี่ยวกับคำถามว่า เราควรใช้ชื่อ “โรฮิงญา” หรือ “โรฮินจา” ผมเองก็ไม่ทราบ เพราะมันขึ้นอยู่กับสังคมผู้ใช้ภาษา ในอนาคตเราเรียกกลุ่มนี้โดยใช้ชื่อไหนก็ต้องติดตามกัน

 

แต่ผมก็ขอฝากว่า ปัญหาชื่อเรียกนั้นเป็นปัญหาอันเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ของชาวโรฮิงญา/โรฮินจา ซึ่งแค่เกิดมาในกลุ่มชาติพันธุ์นี้ ณ รัฐยะไข ประเทศพม่า พวกเขาก็ถูกไล่ออกจากบ้านเกิด ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์และต้องเผชิญหน้ากับอนาคตอันไม่แน่นอน ตราบใดที่ปัญหาชาวโรฮิงญา/โรฮินจาได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ไม่มีอนาคตสนใส่สำหรับ AEC

 

ภาพบันทึกข้อความจาก คุณ Sigree Bin Mamak(https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10204306805812678&set=a.1079943401207.2012856.1304960330&type=1&theater

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
เดี๋ยวนี้ผมเริ่มได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนาสาธารณะหรือการประชุมวิชาการ ผมก็ยินดีที่จะรับงานเหล่านี้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของนักวิชาการ (แม้ว่าผมไม่ได้ทำงานในมหาวิทยาลัยก็ตาม) ยกเว้นในบางกร
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 21 ที่ผ่านมา มีการปล่อยข่าวจากสำนักข่าว Benar News
Shintaro Hara
เมื่อผมพาครอบครัวไปเที่ยวชายหาดในจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นหาดตะโละกะโปร์ หาดปะนาเระ หาดวาสุกรีในจังหวัดปัตตานี หรือ หาดนราทัศน์ในจังหวัดนราธิวาส  ฯลฯ ในวันหยุด เกือบทุกครั้งผมก็อดรู้สึกเสียใจไม่ได้กับสภาพของชายหาดที่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยขยะ ในช่วงเทศกาล เช
Shintaro Hara
ลัทธิทรงพลังมากที่สุดในสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้คือ ลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ลัทธิอันนี้มีธรรมชาติชองมนุษย์เป็นที่มาและพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น บรรดาพ่อแม่มักจะประสบปัญหาในเมื่อลูกกระทำผิด และพยายามจะบอกกับคนอื่นว่า “ลูกของฉันไม่ได้ทำผิด” ถึงแม้ว่าบางกรณีมีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ลูกของเขาทำผิดจ
Shintaro Hara
แม้ว่าการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นที่นิยมในประเทศหลาย ๆ ประเทศ และ “โดเรม่อน” ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียก็ตาม การ์ตูนเรื่องนี้ไม่ได้รับความสนใจจากชาวอเมริกัน เนื่องจากเรื่องมีไม่มีตัวละคนที่เป็นฮีโร่ที่มีบุคลิกภาพที่น่าชื่นชม กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอันยิ่งใหญ่ และสา
Shintaro Hara
การบังคับให้เด็กนักเรียนใส่ชุดทหารในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นการสร้างวินัยนั้น ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสังคม โดยมีทั้งคนที่ชื่นชมการบังคับดังกล่าวและคนที่กล่าวคำวิจารณ์ด้วย ปฏิกิริยาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในสังคมไทยมีความเข้าใจที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “วินัย”
Shintaro Hara
วันที่ ญี่ปุ่น กลายเป็น ยุ่น
Shintaro Hara
กระบวนการสันติภาพ ณ เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ประสบอุปสรรคครั้งยิ่งใหญ่ หลังจากรัฐสภาแห่งประเทศฟิลิปปินส์ไม่ให้ผ่านร่างกฎหมายพื้นฐานบังซาโมโร (Bangsamoro Basic La
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา เด็กอายุ 13 ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก
Shintaro Hara
ข้อเสนอจากราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับชื่อเรียกของชาวมุสลิมจากประเทศพม่าที่รู้จักกันในนามว่า “โรฮิงญา” ให้เรียกเป็น “โรฮินจา” นั้น ได้รับความสนใ
Shintaro Hara
ช่วงนี้เป็นช่วงสอบสำหรับมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่ พฤติกรรมของนักศึกษาในห้องสอบอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงดังโดยนักศึกษาที่ส่งข้อสอบก่อนหมดเวลาแต่รอพรรคพวกอยู่นอกห้องสอบ การที่เปิดตัวข้อสอบก่อนเวลาสอบ (ถึงแม้ว่าคณะกรรมการคุมสอบห้ามแล้วก็ตาม) การที่ไม่วางปากกาทั้งๆ ที่ห
Shintaro Hara
เมื่อคนไทยพูดถึงเรื่องปฏิรูป ฝ่ายที่เป็นเป้าหมายของการโจมตีตลอดคือนักการเมืองที่ทุจริต ผมไม่ปฏิเสธว่านักการเมืองหลายคน (ส่วนตัว ผมเชื่อว่าเกือบทุกคน) ไม่ว่าจะมาจากพรรคไหนหรือฝ่ายไหน สีเสื้ออะไรก็ตาม ติดเรื่องทุจริตทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการรับสินบน การใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การ