กระบวนการสันติภาพ ณ เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ประสบอุปสรรคครั้งยิ่งใหญ่ หลังจากรัฐสภาแห่งประเทศฟิลิปปินส์ไม่ให้ผ่านร่างกฎหมายพื้นฐานบังซาโมโร (Bangsamoro Basic Law, BBL) ร่างกฎหมายฉบับนี้ถือว่าเป็นพื้นฐานสำหรับการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษบังซาโมโร (Bangsamoro Autonomous Region) ซึ่งมีลักษณะเสมือน "รัฐธรรมนูญสำหรับเขตปกครองพิเศษบังซาโมโร"
ก่อนหน้านี้ หลาย ๆ คนที่ติดตามกระบวนการสันติภาพระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับกลุ่มกบฎ (rebel คำนี้เป็นคำที่ใช้กันเพื่อกล่าวถึงกลุ่มติดอาวุธที่ต่อต้านรัฐบาลในสื่อฟิลิปปินส์) แนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front) รู้สึกประทับใจกับความคืบหน้าของกระบวนการสันติภาพดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความจริงจังของฝ่ายบริหารประเทศที่นำโดยประธานาธิบดี เบนิกโน อากิโน ที่ 3 หรือ การให้ความร่วมมืออย่างเต็มทีจากกลุ่ม MILF ก็ตาม ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันมาหลาย ๆ ปี และสร้างความเสียหายมาหศาลในชีวิตและทรัพย์สินของคนในพื้นที่ แต่ในสุดท้ายก็เรียนรู้เพื่อมองว่า ฝ่ายอดีตศัตรูต้องเป็นพันธมิตร (partner) ในการสร้างสันติภาพ
หนึ่งในุดสุดยอดของกระบวนการสันติภาพมีนดาเนาคือการลงนาม "ข้อตกลงบังซาโมโรฉบับครอบคลุม (Comprehensive Bangsamoro Agreement) ระหว่างทั้งสองคู่กรณี ณ ทำเนียบประธานาธิบดีแห่งประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2556 ซึ่งได้รับการรายงานจากสื่อทั่วโลก และในช่วงนั้นทุกคนคิดว่า สันติภาพในเขตบังซาโมโรบนเกาะมินดาเนาจะเป็นความจริงในไม่นาน
อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างกฎหมายบังซาโมโรตามข้อตกลงดังกล่าวไปถึงระดับรัฐสภา ได้รับการต่อต้านจากฝ่ายค้านอย่างแรง บรรดานักการเมืองที่ต่อต้านร่างกฎหมายดังกล่าว นอกจากมีผลประโยชน์ทางการเมืองแล้ว ยังเป็นคนที่มาจากนอกพื้นที่ ซึ่งไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ จากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นบนเกาะมินดาเนา และในสุดท้าย รัฐสภาแห่งประเทศฟิลิปปินส์ก็ปฏิเสธร่างกฎหมายดังกล่าว ซึ่งนักวิชาการ นักข่าว และผู้ติดตามสถานการณ์หลายท่านก็อธิบายว่า "กฎหมายพื้นฐานบังซาโมโรตายแล้ว (The BBL is dead)" โดยส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยกับประโยคนี้ เพราะมันไม่ได้ตายอย่างดี ๆ แต่ถูกฆ่าโดยนักการเมืองที่ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ทางการเมืองมากกว่าการสร้างสันติภาพในภูมิภาคหนึ่งที่อยู่ในประเทศของตน
"ร่างกฎหมายพื้นฐานบังซาโมโรตายแล้ว" ผมอ่านข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้หลาย ๆ ชินด้วยความเสียใจอย่างยิ่ง เพราะมันจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการสร้างสันติภาพในภูมิภาคดังกล่าว แต่ในขณะเดียวกัน เราก็จำเป็นต้องถอดบทเรียนจากประสบการณ์นี้ครั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับกระบวนการณ์สันติภาพ ไม่ว่าจะเป็นที่มินดาเนาหรือที่ปาตานี (จังหวัดชายแดนภาคใต้) ก็ตาม
นักวิชาการจากมาเลเซี่ยท่านหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสันติภาพในมินดาเนา อธิบายว่า "มันเป็นข้อผิดพลาดของเราด้วย เพราะเราเอาแต่คุยกับคนที่สนับสนุนกระบวนการสันติภาพเท่านั้น แต่ไม่ค่อยคุยกับคนที่ไม่เห็นด้วย การแลกเปลี่ยนความเห็นกับพวกนี้มีน้อยมาก สุดท้าย เราก็ประเมินสถานการณ์ผิด โดยเราคิดไปเองว่า คนส่วนใหญ่ รวมถึงนักการเมืองในรัฐสภา คงจะสนับสนุนกระบวนการสันติภาพ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็ตรงกันข้ามกับการประเมินของเรา"
นี่คือหนึ่งในบทเรียนที่เราต้องจำไว้ ตราบใดที่เราคุยกับคนที่มีแนวคิดคล้ายกับเราอย่างเดียว ในสุดท้าย เราก็ติดกับดักของกรอบแนวคิดนั้น ทั้ง ๆ ที่ในโลกแห่งความเป็นจริง ยังมีหลาย ๆ คนที่คิดไม่เหมือนกับเรา และจำนวนของคนเหล่านี้อาจจะมีมากกว่าเราคาดคิดก็ได้ ด้วยเหตุนี้ เพื่อดำเนินกระบวนการสันติภาพ ไม่ว่าจะอยู่ในระดับในก็ตาม เราจำเป็นต้องคุยกับทุกฝ่าย ไม่ใช่เฉพาะฝ่ายที่กล่าวสิ่งที่เสนาะหูสำหรับเราอย่างเดียว และเราก็ต้องรับฟังความเห็นทีไม่สอดคล้องกับความเห็นของเราด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้ที่มีความเห็นไม่เหมือนกับเราและรับฟังเหตุผลของอีกฝ่ายหนึ่งโดยใช้ความอดทน ถึงแม้ว่าความเห็นและเหตุผลของอีกฝ่ายหนึ่งไม่สบายหูมากน้อยแค่ไหนก็ตาม
เราก็ต้องศึกษาพื้นฐานของกระบวนการสันติภาพอีกครั้ง และต้องนำมาปฏิบัติใช้ความรู้เหล่านี้เพื่อไม่ติดกับดักแห่ง "กรอบแนวคิดเดียวกัน"