Skip to main content

การบังคับให้เด็กนักเรียนใส่ชุดทหารในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นการสร้างวินัยนั้น ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสังคม โดยมีทั้งคนที่ชื่นชมการบังคับดังกล่าวและคนที่กล่าวคำวิจารณ์ด้วย ปฏิกิริยาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในสังคมไทยมีความเข้าใจที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “วินัย”

สำหรับบรรดาครูโรงเรียนที่บังคับให้เด็กอนุบาลใส่ชุดทหารนั้นและคนที่ชื่นชมการบังคับดังกล่าน่าจะมองว่า วินัยคือ “การที่สามารถบังคับให้คนจำนวนมากกระทำสิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกันอย่างมีเอกภาพ” ถ้าเราใช้คำจำกัดความนี้เป็นหลัก ประเทศที่มีวินัยมากที่สุดก็คือประเทศเกาหลีเหนือ ดังเช่นประเทศดังกล่าวสาธิต “วินัย” ประเทศของตนในพิธีการสวนสนามในวันสำคัญของประเทศ (ชมคลิปได้ที่: https://www.youtube.com/watch?v=22ufY3GpTak)

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การบังคับเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำว่า วินัย แต่คำจำกัดความนี้ไม่ได้เป็นความหมายหลัก หรือ ความหมายทั้งหมดของคำนี้ เนื่องจากว่า “วินัย” แบบเกาหลีเหนือจำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างอำนาจเบ็ดเสร็จ เพราะวินัยที่สาธิตในพิธีการสวนสนามไม่ได้เกิดจากจิตสำนึกของผู้ที่เข้าร่วม ตรงกันข้าม บรรดาผู้เข้าร่วมถูกบังคับโดยรัฐเพื่อให้เข้าร่วมพิธีการ พร้อมกับการฝึกซ้อมเป็นหลาย ๆ เดือนเพื่อไม่ให้มีข้อผิดพลาดใด ๆ ในวันงาน เพราะหากมีข้อผิดพลาดในงานจะได้รับบทลงโทษอย่างหนักซึ่งส่งผลกระทบของชีวิตในสังคมภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จ

อีกนัยหนึ่ง วินัยของคนเกาหลีคือ วินัยที่เกิดจากการบังคับโดยอาศัยอำนาจและความรู้สึกกลัวอย่างแรงที่อยู่ในจิตใจของประชาชน แต่ไม่ได้หมายความว่าประชาชนเกาหลีเหนือมีจิตสำนึกพอที่จะปฏิบัติตัวอย่างมีวินัย เมื่อไม่มีโครงสร้างอำนาจเบ็ดเสร็จดังกล่าวอีกแล้ว

ผมมาถึงข้อสรุปนี้หลังจากสังเกตพฤติกรรมของประชาชนประเทศจีน ซึ่งปฏิบัติตัวอย่างมีวินัยเมื่อยังมีโครงสร้างอำนาจที่เข้มแข็งในสมัยที่ยังมีระบอบคอมมิวนิสต์เต็มรูปแบบ (รวมถึงระบบเศรษฐกิจด้วย) แต่พฤติกรรมของชาวจีนก็เปลี่ยนไปหลังจากประเทศดังกล่าวนำระบบเศรษฐกิจตลาดแบบเสรีนิยม (แม้ว่าในด้านการเมือง พรรคคอมมิวนิสต์ยังผูกขาดอำนาจก็ตาม) และกลายเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่แสดงพฤติกรรมไม่น่าชื่นชมที่สุดกลุ่มหนึ่งในโลกปัจจุบัน เพราะคนจีนเคยมีวินัยที่เกิดจากการบังคับและความหวาดกลัวเท่านั้น แต่ (ยัง) ไม่สามารถพิจารณาว่า ตัวเองควรทำตัวอย่างไร หรือพฤติกรรมของตนมีความเหมาะสมหรือไม่ในสถานที่ต่าง ๆ เมื่อพวกเขาหลุดพ้นจากโครงสร้างอำนาจดังกล่าว อย่างเช่นเมื่อพวกเขาอยู่ต่างประเทศ

วินัยที่อาศัยโครงสร้างอำนาจลักษณะนี้จำเป็นในบางกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศอยู่ในสภาวะสงคราม เนื่องจากว่า ในสภาวะสงคราม การแสดงความคิดเห็นหลากหลายมักจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินสงคราม นี่คือสาเหตุที่ทำให้รัฐบาลเกาหลีเหนือภายใต้การนำของตระกูลคิมต้องโฆษณาชวนเชื่อตลอดว่า ประเทศตะวันตก (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) และภาคีของประเทศนี้ (เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฯลฯ) พยายามจะบุกโจมตีประเทศเกาหลีเหนือ พูดง่าย ๆ ก็คือ รัฐบาลเกาหลีเหนือจำเป็นต้องให้ประชาชนเชื่อตลอดว่า ประเทศของตนล้อมรอบด้วยศัตรูอันเลวร้ายหลาย ๆ ประเทศ

อย่างไรก็ตาม ภายใต้สภาวะปกติ วินัยอันแท้จริงต้องมาจากจิตสำนึก ซึ่งไม่สามารถปลูกฝังได้จากการบังคับโดยอาศัยโครงสร้างอำนาจเพียงอย่างเดียว ผู้ที่ชื่นชมการบังคับของโรงเรียนอนุบาลที่ให้เด็กนักเรียนใส่ชุดทหารก็มาจากผู้สนับสนุนโครงสร้างอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่คำถามก็คือ เด็กที่ถูกบังคับใส่ชุดทหารจะมี “วินัย” อันแท้จริง ที่สามารถตัดสินใจเองว่า ตัวเองควรปฏิบัติตัวอย่างไร หรือพวกเขาสามารถพิจารณาความเหมาะสมในพฤติกรรมของตนได้หรือไม่ ผมเชื่อว่า การถูกบังคับสามารถสร้างวินัยแบบผิวพื้นเท่านั้น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเงื่อนไขภายนอก (เช่น โครงสร้างอำนาจ สายตาของผู้บัญชาการหรือครู การลงโทษอย่างแรง ฯลฯ) แต่เมื่อไม่มีเงื่อนไขดังกล่าว “วินัย” ที่ถูกบังคับก็จะสลายตัว

สังคมที่ถูกมองว่าเป็นสังคมที่มีวินัย เช่น สังคมในยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ ไม่ได้อาศัยโครงสร้างอำนาจอย่างเดียวในการสร้างวินัย (ส่วนประเทศบางประเทศที่ถูกมองว่ามีวินัยในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ยังมีส่วนที่อาศัยโครงสร้างอำนาจในการสร้างวินัยไม่มากก็น้อย) ตรงกันข้าม วินัยของสังคมเหล่านี้เกิดจากการหัดพิจารณาญาณตังแต่สมัยเด็ก โดยให้เด็กพิจารณาเองว่า พฤติกรรมของตนถูกต้องหรือไม่ และถ้าถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง เพราะสาเหตุใด อีกนัยหนึ่ง สังคมเหล่านี้สร้างวินัยโดยสร้างจิตสำนึกซึ่งมีพิจารณาญาณเป็นพื้นฐาน ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าคนที่มาจากสังคมเหล่านี้ ถ้าอยู่ในสภาพที่หลุดพ้นจากเงื่อนไขต่าง ๆ ก็ยังสามารถปฏิบัติตัวอย่างมีวินัยได้ เพราะวินัยของคนเหล่านี้อยู่ในจิตสำนึก ไม่ได้เกิดจากการบังคับใด ๆ

สุดท้ายนี้ ขอฝากถึงบรรดานักการศึกษา ครูบาอาจารย์ และผู้ที่มีบทบาทในการศึกษา ให้ควรพิจารณาว่า พวกเราอยากจะสร้างวินัยลักษณะไหน

 

 

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
เดี๋ยวนี้ผมเริ่มได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนาสาธารณะหรือการประชุมวิชาการ ผมก็ยินดีที่จะรับงานเหล่านี้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของนักวิชาการ (แม้ว่าผมไม่ได้ทำงานในมหาวิทยาลัยก็ตาม) ยกเว้นในบางกร
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 21 ที่ผ่านมา มีการปล่อยข่าวจากสำนักข่าว Benar News
Shintaro Hara
เมื่อผมพาครอบครัวไปเที่ยวชายหาดในจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นหาดตะโละกะโปร์ หาดปะนาเระ หาดวาสุกรีในจังหวัดปัตตานี หรือ หาดนราทัศน์ในจังหวัดนราธิวาส  ฯลฯ ในวันหยุด เกือบทุกครั้งผมก็อดรู้สึกเสียใจไม่ได้กับสภาพของชายหาดที่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยขยะ ในช่วงเทศกาล เช
Shintaro Hara
ลัทธิทรงพลังมากที่สุดในสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้คือ ลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ลัทธิอันนี้มีธรรมชาติชองมนุษย์เป็นที่มาและพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น บรรดาพ่อแม่มักจะประสบปัญหาในเมื่อลูกกระทำผิด และพยายามจะบอกกับคนอื่นว่า “ลูกของฉันไม่ได้ทำผิด” ถึงแม้ว่าบางกรณีมีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ลูกของเขาทำผิดจ
Shintaro Hara
แม้ว่าการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นที่นิยมในประเทศหลาย ๆ ประเทศ และ “โดเรม่อน” ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียก็ตาม การ์ตูนเรื่องนี้ไม่ได้รับความสนใจจากชาวอเมริกัน เนื่องจากเรื่องมีไม่มีตัวละคนที่เป็นฮีโร่ที่มีบุคลิกภาพที่น่าชื่นชม กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอันยิ่งใหญ่ และสา
Shintaro Hara
การบังคับให้เด็กนักเรียนใส่ชุดทหารในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นการสร้างวินัยนั้น ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสังคม โดยมีทั้งคนที่ชื่นชมการบังคับดังกล่าวและคนที่กล่าวคำวิจารณ์ด้วย ปฏิกิริยาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในสังคมไทยมีความเข้าใจที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “วินัย”
Shintaro Hara
วันที่ ญี่ปุ่น กลายเป็น ยุ่น
Shintaro Hara
กระบวนการสันติภาพ ณ เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ประสบอุปสรรคครั้งยิ่งใหญ่ หลังจากรัฐสภาแห่งประเทศฟิลิปปินส์ไม่ให้ผ่านร่างกฎหมายพื้นฐานบังซาโมโร (Bangsamoro Basic La
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา เด็กอายุ 13 ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก
Shintaro Hara
ข้อเสนอจากราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับชื่อเรียกของชาวมุสลิมจากประเทศพม่าที่รู้จักกันในนามว่า “โรฮิงญา” ให้เรียกเป็น “โรฮินจา” นั้น ได้รับความสนใ
Shintaro Hara
ช่วงนี้เป็นช่วงสอบสำหรับมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่ พฤติกรรมของนักศึกษาในห้องสอบอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงดังโดยนักศึกษาที่ส่งข้อสอบก่อนหมดเวลาแต่รอพรรคพวกอยู่นอกห้องสอบ การที่เปิดตัวข้อสอบก่อนเวลาสอบ (ถึงแม้ว่าคณะกรรมการคุมสอบห้ามแล้วก็ตาม) การที่ไม่วางปากกาทั้งๆ ที่ห
Shintaro Hara
เมื่อคนไทยพูดถึงเรื่องปฏิรูป ฝ่ายที่เป็นเป้าหมายของการโจมตีตลอดคือนักการเมืองที่ทุจริต ผมไม่ปฏิเสธว่านักการเมืองหลายคน (ส่วนตัว ผมเชื่อว่าเกือบทุกคน) ไม่ว่าจะมาจากพรรคไหนหรือฝ่ายไหน สีเสื้ออะไรก็ตาม ติดเรื่องทุจริตทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการรับสินบน การใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การ