Skip to main content

ลัทธิทรงพลังมากที่สุดในสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้คือ ลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ลัทธิอันนี้มีธรรมชาติชองมนุษย์เป็นที่มาและพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น บรรดาพ่อแม่มักจะประสบปัญหาในเมื่อลูกกระทำผิด และพยายามจะบอกกับคนอื่นว่า “ลูกของฉันไม่ได้ทำผิด” ถึงแม้ว่าบางกรณีมีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ลูกของเขาทำผิดจริงก็ตาม แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยในวันนี้ก็คือ การขยายวงการของ “พวกกู” และเมื่อมีการกระทำผิดประการใดประการหนึ่ง สังคมก็จะถามว่า การกระทำผิดนั้นเป็น “ฝีมือของใคร” อย่างเดียว แต่แทบจะไม่ให้ความสำคัญกับ “เขาทำผิดอะไร”

แนวโน้มเช่นนี้ทำให้สังคมโดยภาพรวมไม่สามารถตัดสินใจว่า “อะไรเป็นสิ่งที่ผิดและอะไรเป็นสิ่งที่ถูก” เพราะการกระทำเดียวกัน (เช่น คดีคอรัปชั่น) ถูกมองว่า “ถูก” หรือ “ไม่เป็นปัญหา” ถ้าหากว่ากระทำโดยคนที่อยู่ในพวกเดียวกัน หรือคนที่ตัวเองสนับสนุน ยิ่งไปกว่านั้น คนที่สนับสนุนผู้กระทำผิด (ที่เขาเชื่อว่า ไม่ได้ทำผิด เพราะพวกเดียวกัน) ก็พยายามจะประดิษฐ์วาทกรรมใหม่ให้กับผู้กระทำผิด เพื่อไม่ให้สังคมมองว่า การกระทำผิดนั้น จริง ๆ แล้วไม่ผิดอะไรเลย ด้วยเหตุนี้ ณ ปัจจุบันนี้ สื่อกระแสหลักและโซเซียลมีเดียก็เต็มไปด้วยวาทกรรมใหม่ประเภทนี้   

ในทางกลับกัน ถ้าคนที่อยู่คนละฝ่าย หรือศัตรูทางการเมืองมีส่วนร่วมในคดีคอรัปชั่น ถูกมองว่าเป็นการกระทำผิดอันร้ายแรง  และมีการโจมตีอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน โดยใช้คำศัพท์ต่าง ๆ ที่หยาบคายที่สุด จนถึงคำว่า “มารยาท” ไม่เหลืออีกเลย ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับฝ่ายที่มีอำนาจทางการเมือง ถ้าพวกเขาพบว่าอีกฝ่ายหนึ่งมีการกระทำผิด เขาก็พยายามจะเอาผิดของอีกฝ่ายหนึ่งให้ได้ถึงขั้นที่สุด และลงโทษอย่างเข้มงวดตามกฎหมา มินำซ้ำ บางครั้งคนเหล่านี้มักจะขยายขอบเขตของการกระทำผิดจนถึงสิ่งที่ไม่น่าจะผิดก็ถูกเอาผิดด้วย แต่ฝ่ายที่มีอำนาจก็มักจะอ้างว่า การเอาผิดนั้นก็ตามกฎหมาย กฎระเบียบ หรือข้อกำหนดเรียบร้อย

นอกจากลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ยังมีลัทธิ “คนรวยทำอะไรไม่ผิด” และ “คนมีอำนาจทำอะไรไม่ผิด” แต่ลัทธิเหล่านี้ก็มาจากแนวคิดเดียวกัน เพราะให้ความสำคัญกับผู้กระทำผิดมากกว่าการกระทำผิด แนวคิดเช่นนี้แหละเป็นที่มาของปรากฏการณ์ “สองมาตรฐาน” (หรืออาจจะมากกว่า) ในสังคม

เมื่อเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์เช่นนี้ หลายคนก็จะบอกว่า รู้สึกงง คนที่รู้สึกงงเหล่านี้คือคนที่ยังต้องการใช้เหตุผลในการตัดสินใจหรือการตีความปรากฏการณ์ในสังคม เพราะสองมาตรฐานคือสิ่งที่ขัดแย้งกับเหตุผลอย่างชัดเจน และไม่สามารถเข้าใจหรือตีความได้ตามความสมเหตุสมผล แต่ถ้าอยากเข้าใจก็ต้องอาศัยเหตุผลที่นำเสนอโดยบรรดาสาวกของลัทธิต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างบน (ซึ่งคนที่มีเหตุผลก็รับไม่ได้)  

สองมาตรฐานที่เกิดจากลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ดังกล่าวไม่ใช่ทำให้คนในสังคมรู้สึกงงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลกระทบต่อหลักการนิติรัฐ (rule of law) หรือ การปกครองภายใต้กฎหมาย ซึ่งเป็นพื้นฐานของประชาธิปไตย เพราะหลักการนิติรัฐอาศัยการบังคับใช้กฎหมายที่เท่าเทียมกับ โดยไม่มีข้อยกเว้นในการบังคับใช้ ไม่ว่าจะเป็นพวกเดียวกันหรือไม่ก็ตาม สำหรับการลงโทษตามกฎหมายก็ต้องดูที่การกระทำ และลงโทษตามความผิดของการกระทำดังกล่าว ไม่ใช่ลดหรือเพิ่มบทลงโทษตามผู้กระทำ (ยกเว้นกรณีที่ต้องใช้การพิจารณาพิเศษ เช่น คดีเยาวชน การปกป้องตัวเอง ฯลฯ) แนวคิดนี้มีความสำคัญในการรักษาคงไว้หลักการนิติรัฐ หรือการปกครองภายใต้กฎหมาย ซึ่งมีกฎหมายเป็นเครื่องมือเพื่อปกป้องสิทธิของประชาชน

แต่ในตรงกันข้าม ถ้าหากว่าสังคมยึดถือลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” จนถึงสองมาตรฐานกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา หลักการนิติรัฐก็ถูกลิดรอน และกฎหมายก็ไม่เป็นเครื่องมือเพื่อปกป้องสิทธิของประชาชน แต่กลายเป็นเครื่องมือเพื่อรักษาผลประโยชน์ สถานการณ์เช่นนี้เรียกว่า “rule by law” ซึ่งไม่ใช่การปกครอง “ภายใต้” กฎหมาย แต่การปกครองโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ (ในการรักษาผลประโยชน์หรือโครงสร้างอำนาจ หรือเพื่อการกดขี่ การจำกัดเสรีภาพ ฯลฯ)

ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีประเทศใดที่ใช้หลักการนิติรัฐร้อยเปอร์เซ็นต์ (เช่นเดียวกันกับการที่ว่า ในโลกนี้ยังไม่มี และไม่อาจจะมีประเทศที่เป็นประชาธิปไตยร้อยเปอร์เซ็นต์) อย่างไรก็ตาม ยิ่งประเทศใดยึดมั่นในหลักการนิติรัฐ สิทธิของประชาชนในประเทศนั้นก็ยิ่งได้รับการปกป้องมากขึ้น และจะนำไปสู่การปกครองที่จำเป็นต้องเคารพสิทธิของประชาชน  

ในกรณีของประเทศญี่ปุ่น ผมไม่คิดว่า ประเทศผมมีระดับประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบ แต่ผมเคยได้ยินคนไทยพูดบ่อยครั้งว่า นักการเมืองญี่ปุ่นมีสปีริต เพราะเมื่อมีปัญหา นักการเมืองญี่ปุ่นก็พร้อมที่จะออกจากตำแหน่ง ตัวอย่างล่าสุดก็คือผู้ว่ากรุงโตเกียว แต่จริง ๆ แล้วนี่คือความเข้าใจผิด เพราะถ้าพวกนักการเมืองญี่ปุ่นมีสปีริตจริง เขาไม่น่าจะปล่อยตัวเองให้มีส่วนร่วมในงานสกปรก (เช่นคอรัปชั่น) หรือให้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาใหญ่ แต่สิ่งที่สังคมไทยมักจะเข้าใจผิดว่าเป็น “สปีริต” ก็คือ ความพร้อมของบรรดานักการเมืองที่จะยอมรับความเป็นจริงที่ว่า สังคมญี่ปุ่นไม่อาจจะยอมรับการกระทำผิดของตน ดังนั้นทางเดียวเพื่อให้ตัวเองอยู่รอดก็คือการออกจากตำแหน่ง (มิฉะนั้นก็จะฆ่าตัวตาย) สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นเนื่องจากสังคมญี่ปุ่นยังมองว่า สิ่งสำคัญคือการกระทำผิดของนักการเมืองคนนั้น และไม่ใช่ว่า “เขาเป็นใคร” หรือ “เขาเป็นพวกของกูหรือไม่” ดังนั้น เมื่อการกระทำผิดของนักการเมืองกลายเป็นที่รู้จักของสังคม คนที่เคยสนับสนุนเขา หรือแม้แต่คนที่อยู่ในพรรคเดียวกันก็ต้องกดดันเขาให้แสดงความรับผิดชอบด้วย นี่คือความเป็นจริงเบื้องหลังของสิ่งที่คนไทยเข้าใจผิดว่าเป็น “สปีริต” นั่นคือการที่ลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ยังมีอิทธิพลน้อยมาก และสังคมญี่ปุ่นก็ยังพยายามจะใช้มาตรฐานเดียว (แม้ว่าในบางกรณียังมีการใช้สองมาตรฐานก็ตาม)

ผมก็ไม่ทราบว่า ลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ในสังคมไทยมีที่มาอย่างไร และระบาดมากขึ้นขนาดนี้ได้อย่างไร แต่สิ่งที่แน่นอนก็คือการระบาดของลัทธิดังกล่าวน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ดังนั้นผมก็หวังว่า สังคมไทยจะหลุดพ้นจากอิทธิพลของลัทธิดังกล่าว (ซึ่งนำไปสู่การสร้างสองมาตรฐาน) และทำให้การปกครองภายใต้กฎหมาย (rule of law) มีความเข้มแข็งมากขึ้น ไม่ใช่เปิดช่องทางให้กับการปกครองโดยกฎหมายเป็นเครื่องมือ (rule by law)

ด้วยความหวังดี   

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
เดี๋ยวนี้ผมเริ่มได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนาสาธารณะหรือการประชุมวิชาการ ผมก็ยินดีที่จะรับงานเหล่านี้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของนักวิชาการ (แม้ว่าผมไม่ได้ทำงานในมหาวิทยาลัยก็ตาม) ยกเว้นในบางกร
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 21 ที่ผ่านมา มีการปล่อยข่าวจากสำนักข่าว Benar News
Shintaro Hara
เมื่อผมพาครอบครัวไปเที่ยวชายหาดในจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นหาดตะโละกะโปร์ หาดปะนาเระ หาดวาสุกรีในจังหวัดปัตตานี หรือ หาดนราทัศน์ในจังหวัดนราธิวาส  ฯลฯ ในวันหยุด เกือบทุกครั้งผมก็อดรู้สึกเสียใจไม่ได้กับสภาพของชายหาดที่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยขยะ ในช่วงเทศกาล เช
Shintaro Hara
ลัทธิทรงพลังมากที่สุดในสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้คือ ลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ลัทธิอันนี้มีธรรมชาติชองมนุษย์เป็นที่มาและพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น บรรดาพ่อแม่มักจะประสบปัญหาในเมื่อลูกกระทำผิด และพยายามจะบอกกับคนอื่นว่า “ลูกของฉันไม่ได้ทำผิด” ถึงแม้ว่าบางกรณีมีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ลูกของเขาทำผิดจ
Shintaro Hara
แม้ว่าการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นที่นิยมในประเทศหลาย ๆ ประเทศ และ “โดเรม่อน” ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียก็ตาม การ์ตูนเรื่องนี้ไม่ได้รับความสนใจจากชาวอเมริกัน เนื่องจากเรื่องมีไม่มีตัวละคนที่เป็นฮีโร่ที่มีบุคลิกภาพที่น่าชื่นชม กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอันยิ่งใหญ่ และสา
Shintaro Hara
การบังคับให้เด็กนักเรียนใส่ชุดทหารในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นการสร้างวินัยนั้น ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสังคม โดยมีทั้งคนที่ชื่นชมการบังคับดังกล่าวและคนที่กล่าวคำวิจารณ์ด้วย ปฏิกิริยาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในสังคมไทยมีความเข้าใจที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “วินัย”
Shintaro Hara
วันที่ ญี่ปุ่น กลายเป็น ยุ่น
Shintaro Hara
กระบวนการสันติภาพ ณ เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ประสบอุปสรรคครั้งยิ่งใหญ่ หลังจากรัฐสภาแห่งประเทศฟิลิปปินส์ไม่ให้ผ่านร่างกฎหมายพื้นฐานบังซาโมโร (Bangsamoro Basic La
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา เด็กอายุ 13 ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก
Shintaro Hara
ข้อเสนอจากราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับชื่อเรียกของชาวมุสลิมจากประเทศพม่าที่รู้จักกันในนามว่า “โรฮิงญา” ให้เรียกเป็น “โรฮินจา” นั้น ได้รับความสนใ
Shintaro Hara
ช่วงนี้เป็นช่วงสอบสำหรับมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่ พฤติกรรมของนักศึกษาในห้องสอบอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงดังโดยนักศึกษาที่ส่งข้อสอบก่อนหมดเวลาแต่รอพรรคพวกอยู่นอกห้องสอบ การที่เปิดตัวข้อสอบก่อนเวลาสอบ (ถึงแม้ว่าคณะกรรมการคุมสอบห้ามแล้วก็ตาม) การที่ไม่วางปากกาทั้งๆ ที่ห
Shintaro Hara
เมื่อคนไทยพูดถึงเรื่องปฏิรูป ฝ่ายที่เป็นเป้าหมายของการโจมตีตลอดคือนักการเมืองที่ทุจริต ผมไม่ปฏิเสธว่านักการเมืองหลายคน (ส่วนตัว ผมเชื่อว่าเกือบทุกคน) ไม่ว่าจะมาจากพรรคไหนหรือฝ่ายไหน สีเสื้ออะไรก็ตาม ติดเรื่องทุจริตทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการรับสินบน การใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การ