Skip to main content

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา เด็กอายุ 13 ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก

สิ่งที่น่าเศร้าก็เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์นี้ มีสำนักข่าวบางสำนัก นักข่าวบางคน และผู้ใช้โซเซียลมีเดียจำนวนมาก เผยแพร่ภาพศพนองเลือดของผู้ที่เป็นเหยื่อ จริงๆ แล้ว นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีผู้คนจำนวนมากแชร์ภาพลักษณะเดียวกัน (ภาพศพนองเลือด) หลังจากมีเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต รวมไปถึงอุบัติเหตุบนถนนที่มีผู้เสียชีวิตเช่นกัน   

อย่างไรก็ตาม เราต้องคิดก่อนว่า เราควรกระทำเช่นนี้หรือไม่ เพราะผมเชื่อว่า การกระทำเช่นนี้มีแต่ผลกระทบโดยไม่เป็นประโยชน์อะไรต่อฝ่ายใด

ภาพศพนองเลือดที่ปรากฏในข่าวและโซเซียลมีเดียเป็นภาพของคนที่ผมไม่รู้จักอย่างเป็นส่วนตัวทั้งนั้น แต่ผมก็ยังรู้สึกสงสารต่อเหยื่อ และนึกไม่ออกว่า ครอบครัวของเหยื่อจะรู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นผู้คนหลายๆ คนแช่ภาพศพของสมาชิกครอบครัว เพราะถ้าหากว่าผมเป็นเหยื่อในเหตุรุนแรงหรืออุบัติเหตุแบบนี้ ผมก็ไม่อยากจะให้สื่อเผยแพร่ภาพศพของผม ถ้าสมมุติว่า ครอบครัวหรือเพื่อสนิทเป็นเหยื่อ สิ่งที่ผมไม่ต้องการที่สุดก็คือสื่อจะนำภาพศพมาเผยแพร่

หลังจากสูญเสียลูกชายทั้งสามคนในเหตุการณ์ยิงยกครัว ครอบครัวของนายเจะมุ มะมัน ที่เกิดขึ้นใน อ. บาเจาะ จ. นราธิวาสเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ปีที่แล้วก็มีการเผยแพร่ภาพศพของเด็กเหล่านี้ แต่เมื่อมีคนถามถึงการกระทำนี้กับผู้ที่เป็นแม่ของเด็กที่เสียชีวิต พาดีละห์ แมยู มารดาผู้สูญเสียบุตรถึงสามคนได้อธิบายว่า ถ้าจะใช้ภาพของลูกก็ขอใช้ภาพของพวกเขาเมื่อพวกเขายังมีชีวิตอยู่ เพราะภาพศพนั้นกระทบความรู้สึกของตน

ด้วยเหตุนี้ เราก็ไม่ควรจะเผยแพร่ภาพศพ เพราะการเผยแพร่ภาพศพเป็นการกระทำที่ขาดความเคารพต่อความเป็นมนุษย์และความรู้สึกของครอบครัว ถ้าเราต้องการจะถ่ายทอดความรุนแรงและความโหดเหี้ยมก็ควรใช้วิธีการอื่น โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่า เราสามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้โดยใช้ภาษา และไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่เราต้องใช้ภาพศพ

งานศพเป็นหนึ่งในพิธีที่สำคัญในทุกศาสนา เพราะศาสนาทุกศาสนาก็สอนให้เรามีความเคารพต่อผู้เสียชีวิต เช่นในศาสนาอิสลาม เราควรฝั่งศพภายในเวลาอันไม่ช้า เพื่อไม่ให้ศพนั้นจะส่งกลิ่นเหม็น และในงานศพเราก็ไม่ควรกล่าวถึงข้อเสีย จุดอ่อนหรือปัญหาของผู้เสียชีวิตด้วย แม้แต่ในสงคราม ศาสนาอิสลามก็สอนให้ศาสนิกชนต้องเคารพศพ ไม่ว่าจะเป็นศพของคนที่อยู่ในฝ่ายเดียวกันหรือของศตรู การถ่ายภาพศพเพื่อนำมาเผยแพร่นั้นคงจะขัดกับหลักศาสนาทุกศาสนาที่ให้ความสำคัญต่อความเป็นมนุษย์

เมื่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้น หน้าที่ของนักข่าวคือถ่ายถอดเหตุการณ์หรืออุบัตุหตุนั้นให้สังคมทราบ นักข่าวก็มักจะอาศัยภาพต่างๆ เพื่อถ่ายทอดอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุดังกล่าว แต่คำถามก็คือ ทำไมนักข่าว โดยเฉพาะนักข่าวไทย ไม่ว่ามาจากสื่อกระแสหลักหรือสื่อทางเลือก นิยมอาศัยวิธีการที่ง่ายที่สุดโดยเก็บภาพของศพและเผยแพร่ภาพดังกล่าวโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบ

ประเทศอื่นๆ หลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฯลฯ มีกฎหมายที่ห้ามนำภาพศพเพื่อเผยแพร่ตามข่าว แต่ในประเทศไทย สื่อก็ยังอาศัยภาพศพที่ถูกนำมาเผยแพร่ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับ แม้ว่ามีเซ็นเซอร์แค่นิดเดียว แต่เรายังเห็นได้ชัดว่า นี่คือภาพศพคำถามก็คือ นักข่าวไทยขาดความเป็นมืออาชีพขนาดนี้ จนถึงไม่สามารถถ่ายทอดเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต ถ้าไม่ภาพของผู้ที่เป็นเหยื่อหรือเปล่า โดยนำเผมแพร่ภาพเหล่านี้ นักข่าวก็ทำให้ผู้อ่านข่าวอยู่ในสภาพ “เสพภาพศพ” จนถึงผู้อ่านก็ไม่อยากอ่านข่าวเหตุรุนแรงถ้าไม่มีภาพศพ การนำภาพศพนองเลือดเพื่อเผยแพร่นั้นไม่ใช่งานของ “นักข่าว” ในความหมายอันแท้จริง แต่ฝีมือของไอ้พวกคนขายข่าวที่ไม่มีความเคารพต่อความเป็นมนุษย์และความรู้สึกของครอบครัว

สุดท้ายนี้ ผมขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายงดเผยแพร่ภาพศพในสื่อ ไม่ว่าจะเป็นภาพศพของเหยื่อเหตุรุนแรงหรืออุบัติเหตุก็ตาม ตราบใดที่เรากระทำเช่นนี้ต่อ เราก็ไม่อาจจะสามารถสร้างสังคมที่มีความเคารพต่อมนุษย์ และคนในสังคมก็ไม่เห็นคุณค่าในชีวิตของผู้อื่นและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 

 

 

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
เดี๋ยวนี้ผมเริ่มได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนาสาธารณะหรือการประชุมวิชาการ ผมก็ยินดีที่จะรับงานเหล่านี้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของนักวิชาการ (แม้ว่าผมไม่ได้ทำงานในมหาวิทยาลัยก็ตาม) ยกเว้นในบางกร
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 21 ที่ผ่านมา มีการปล่อยข่าวจากสำนักข่าว Benar News
Shintaro Hara
เมื่อผมพาครอบครัวไปเที่ยวชายหาดในจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นหาดตะโละกะโปร์ หาดปะนาเระ หาดวาสุกรีในจังหวัดปัตตานี หรือ หาดนราทัศน์ในจังหวัดนราธิวาส  ฯลฯ ในวันหยุด เกือบทุกครั้งผมก็อดรู้สึกเสียใจไม่ได้กับสภาพของชายหาดที่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยขยะ ในช่วงเทศกาล เช
Shintaro Hara
ลัทธิทรงพลังมากที่สุดในสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้คือ ลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ลัทธิอันนี้มีธรรมชาติชองมนุษย์เป็นที่มาและพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น บรรดาพ่อแม่มักจะประสบปัญหาในเมื่อลูกกระทำผิด และพยายามจะบอกกับคนอื่นว่า “ลูกของฉันไม่ได้ทำผิด” ถึงแม้ว่าบางกรณีมีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ลูกของเขาทำผิดจ
Shintaro Hara
แม้ว่าการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นที่นิยมในประเทศหลาย ๆ ประเทศ และ “โดเรม่อน” ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียก็ตาม การ์ตูนเรื่องนี้ไม่ได้รับความสนใจจากชาวอเมริกัน เนื่องจากเรื่องมีไม่มีตัวละคนที่เป็นฮีโร่ที่มีบุคลิกภาพที่น่าชื่นชม กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอันยิ่งใหญ่ และสา
Shintaro Hara
การบังคับให้เด็กนักเรียนใส่ชุดทหารในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นการสร้างวินัยนั้น ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสังคม โดยมีทั้งคนที่ชื่นชมการบังคับดังกล่าวและคนที่กล่าวคำวิจารณ์ด้วย ปฏิกิริยาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในสังคมไทยมีความเข้าใจที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “วินัย”
Shintaro Hara
วันที่ ญี่ปุ่น กลายเป็น ยุ่น
Shintaro Hara
กระบวนการสันติภาพ ณ เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ประสบอุปสรรคครั้งยิ่งใหญ่ หลังจากรัฐสภาแห่งประเทศฟิลิปปินส์ไม่ให้ผ่านร่างกฎหมายพื้นฐานบังซาโมโร (Bangsamoro Basic La
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา เด็กอายุ 13 ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก
Shintaro Hara
ข้อเสนอจากราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับชื่อเรียกของชาวมุสลิมจากประเทศพม่าที่รู้จักกันในนามว่า “โรฮิงญา” ให้เรียกเป็น “โรฮินจา” นั้น ได้รับความสนใ
Shintaro Hara
ช่วงนี้เป็นช่วงสอบสำหรับมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่ พฤติกรรมของนักศึกษาในห้องสอบอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงดังโดยนักศึกษาที่ส่งข้อสอบก่อนหมดเวลาแต่รอพรรคพวกอยู่นอกห้องสอบ การที่เปิดตัวข้อสอบก่อนเวลาสอบ (ถึงแม้ว่าคณะกรรมการคุมสอบห้ามแล้วก็ตาม) การที่ไม่วางปากกาทั้งๆ ที่ห
Shintaro Hara
เมื่อคนไทยพูดถึงเรื่องปฏิรูป ฝ่ายที่เป็นเป้าหมายของการโจมตีตลอดคือนักการเมืองที่ทุจริต ผมไม่ปฏิเสธว่านักการเมืองหลายคน (ส่วนตัว ผมเชื่อว่าเกือบทุกคน) ไม่ว่าจะมาจากพรรคไหนหรือฝ่ายไหน สีเสื้ออะไรก็ตาม ติดเรื่องทุจริตทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการรับสินบน การใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การ