วันที่ ญี่ปุ่น กลายเป็น ยุ่น
หลังจากการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงรอบคัดเลือกโอลิมปิก ระหว่างทีมชาติไทยกับญี่ปุ่นจบลงด้วยบทสุดท้ายที่ผิดปกติ ในโลกโซเซียลมีเดีย คำที่ไม่ได้เห็นนานปรากฏขึ้น นั่นคือ “ยุ่น” ซึ่งก่อนหน้านี้ สังคมไทยโดยทั่วไปก็มีภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศดังกล่าว ก็เลยเมื่อกล่าวถึงประเทศนี้ คนไทยและสื่อมวลชนก็ใช้ชื่อเต็มเป็นประจำ ทั้ง ๆ ที่ คำว่า “ญี่ปุ่น” ต้องกดปุ่มคีย์บอร์ดทั้งหมดเจ็ดครั้ง ส่วนคำว่า “ยุ่น” พิมพ์ง่ายกว่า (กดปุ่มแค่สี่ครั้ง) ก็ตาม
ถ้าดูจากความเห็นต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่คิดว่า นี่คือนัดที่จริง ๆ แล้วทีมชาติญี่ปุ่นแพ้ แต่ได้รับความช่วยเหลือจากพฤติกรรมผู้ตัดสินและโค้ชทีมชาติไทย และหลาย ๆ คนแสดงความเสียใจและความเห็นใจกับนักตบทีมชาติไทย พร้อมวิจารณ์ทีมชาติญี่ปุ่นที่แสดงจุดอ่อนต่าง ๆ มีคนจำนวนมากแสดงความเห็นว่า ถ้าระดับการเล่นของทีมชาติญี่ปุ่นอยู่ในระดับนี้ แม้ว่าเข้าร่วมโอลิมปิกก็คงจะไม่สามารถคว้าเหรียญได้อย่างแน่
ส่วนในโซเซียลมีเดียและสื่อมวลชนของไทยบางส่วน ปรากฏการณ์ครั้งนี้นำไปสู่การโจมตีภาพรวมของ “ญี่ปุ่น” โดยตรง จึงเปลี่ยนชื่อเรียกจากชื่อเดิมเป็น “ยุ่น” แทนที่จะวิเคราะห์และวิจารณ์ที่มาของปัญหา และมองข้ามปัญหาความไม่ยุติธรรมที่มาจากโครงสร้าง แน่นอนว่า การตัดสินที่แสดงใบแดงของผู้ตัดสินในนัดนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลการแข่งขัน แต่ปัญหาหลักไม่ได้อยู่ในการตัดสินอย่างเดียว
ที่นี่ มีประเด็นสามประเด็นที่อยากให้ทุกท่านชวนคิดและพิจารณาความเหมาะสม
๑. ปัญหาสถานที่จัดรอบคัดเลือกรอบเอเชีย/รอบสุดท้ายสำหรับกีฬาโอลิมปิก
๒. ปัญหาระบบ/กติกา/ข้อกำหนดของ FIVA
๓. ปัญหาของคุณภาพผู้ตัดสิน
๑. ปัญหาสถานที่จัดรอบคัดเลือกรอบเอเชีย/รอบสุดท้ายสำหรับกีฬาโอลิมปิก
การจัดการสถานที่จัดการแข่งขันรอบคัดเลือกในประเทศญี่ปุ่นเป็นการจัดการที่ขาดความยุติธรรมอย่างมากที่เกิดจากผลประโยชน์ เนื่องจากในประเทศญี่ปุ่น วอลเลย์บอลหญิงได้รับความสนใจสูง ทำให้สถานีโทรทัศน์อยากจะถ่ายทอดสด และบริษัทต่าง ๆ ก็ยินดีที่จะเป็นผู้สนับสนุนของรายการ เงินจำนวนมากที่มาจากสถานีโทรทัศน์ (ซึ่งมาจากค่าโฆษณา) เข้าไปในบัญชีของสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น (JVA) ซึ่งทำให้ JVA สามารถเป็นเจ้าภาพการแข่งขันที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงได้อย่างสบาย และเงินของ JVA ส่วนหนึ่งก็จะเป็นที่มาของรายได้รายสำคัญสำหรับสหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ (FIVA) จึงทำให้ FIVA ตอบสนองการเสนอตัวของ JVA เพื่อเป็นเจ้าภาพรอบคัดเลือกรอบสุดท้ายตลอด
การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นเจ้าภาพตลอดแน่นอนว่าขาดความยุติธรรมในการแข่งขันกีฬา เพราะฝ่ายที่เล่นในบ้านจะได้เปรียบเรื่องต่าง ๆ ส่วนฝ่ายเยือนต้องประสบความยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางระหว่างประเทศ การใช้ชีวิตในต่างประเทศซึ่งมีภูมิอากาศและอาหารที่แตกต่างกัน และการที่ขาดกองเชียร์ของตน แต่ต้องเผชิญหน้ากับกองเชียร์กองใหญ่เมื่อเจอกับเจ้าภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเจ้าภาพทีมเดียว ส่วนทีมเยือนต่าง ๆ ก็ต้องประสบปัญหานอกเนื้อจากปัญหาในสนามด้วย
แต่การที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพของรอบคัดเลือกรอบสุดท้ายสำหรับวอลเลย์บอลหญิงยังมีปัญหาอื่นด้วย นั่นคือการจัดตารางการแข่งขัน เพราะเนื่องจากตารางการแข่งขันจัดขึ้นมาตามความสะดวกของสถานีโทรทัศน์ ซึ่งต้องการนัดของทีมชาติญี่ปุ่นในช่วงเวลาที่เรียกว่า golden time ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีจำนวนผู้ชมมากที่สุด (หนึ่งทุ่มถึงสามทุ่ม) ทีมชาติญี่ปุ่นได้เปรียบในเรื่องตาราง สำหรับทีมนี้ ไม่มีการแข่งขันช่วงเช้า ช่วยบ่ายหรือช่วงเย็น มีแต่การแข่งขันช่วงสุดท้ายเท่านั้น ส่วนทีมอื่น ๆ ก็ต้องลงแข่งขันทุกช่องเวลา ดังนั้นทีมชาติญี่ปุ่นได้เปรียบในการจัดตารางจากโครงสร้างการสนับสนุนรายการกีฬาซึ่งสถานีโทรทัศน์มีบทบาทสำคัญ ส่วนทีมเยือนทั้งหลายต้องปรับตัวกับตารางการแข่งขัน
อีกอย่าง JVA ได้รับการสนับสนุนกับค่ายนักร้องแห่งหนึ่ง และเพื่อตอบแทนการสนับสนุน ให้โอกาสแก่นักร้องรุ่นใหม่จากค่ายนี้เพื่อจัดการแสดงก่อนการแข่งชันทุกครั้ง การกระทำของ JVA ได้รับคำวิจารณ์จากคนญี่ปุ่นเองที่ไม่สนใจนักร้องจากค่ายนี้ แต่ต้องเสียเวลากับการแสดงก่อนการแข่งขันทุกนัดของทีมชาติญี่ปุ่น
ดังนั้น ขอให้ทราบว่า ทีมเยือนทุกทีมก็ต้องเสียเปรียบเมื่อญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ เพราะ FIVA ต้องอาศัยเงินจาก JVA และ JVA ก็ต้องตอบสนองความต้องการของสถานีโทรทัศน์และผู้สนับสนุน ฝ่ายที่เป็นเหยื่อของโครงสร้างคือนักกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาฝ่ายเยือนทุกคน
โดยส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยกับการที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพตลอด เพราะการเลือกสถานที่จัดขาดความโปรงใส่อย่างมาก นึ่คือหนึ่งในปัญหาหลักที่หลาย ๆ คนมองข้าม
๒. ปัญหาระบบ/กติกา/ข้อกำหนดของ FIVA
ประเด็นนี้มีปัญหาสองอย่าง ปัญหาแรกคือข้อกำหนดของการแข่งขันครั้งนี้ซึ่งบังคับให้โค้ชต้องใช้แท็บเล็ตในการเปลี่ยนตัวนักกีฬา สิ่งที่โค้ชทีมชาติคัดค้านคือ การที่ระบบไม่ทำงาน และทำให้เค้าไม่สามารถเปลี่ยนนักกีฬาได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการแข่งขันโดยตรง ผมมอดรู้สึกแปลกใจไม่ได้ว่า ทำไมการเปลี่ยนนักกีฬาต้องผ่านแท็บเล็ต ทั้ง ๆ ที่ระยะห่างระหว่างโค้ชกับผู้ตัดสินไม่กี่เมตรเอง การนำเทคโนโลยีในการกีฬาก็ไม่ผิดอะไร แต่ไม่ควรจะนำเทคโนโลยีที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวด และมีการทดลองที่ใช้เวลาอันยาวนาน FIVA ควรให้คำชี้แจงเกี่ยวกับความจำเป็นในการนำระบบลักษณะนี้ และต้องมีการจัดการเมื่อมีปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการขัดข้องของระบบ ผมขอแนะนำให้สมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยส่งหนังสือถึง FIVA เพื่อสอบถามหรือคัดค้านระบบนี้ด้วย
อีกอย่าง ระบบ challenge ที่ทำให้โค้ชสามารถตั้งคำถามต่อการตัดสินก็ยังมีปัญหามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ระบบดังกล่าวทำให้การแข่งขันขัดข้อง ตามหลักการ ระบบนี้ถือว่าเป็นระบบที่ดี เพื่อให้ความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย แต่วิธีการใช้ระบบดังกล่าวควรจะมีการทดลองก่อนหน้านี้ เช่นเดียวกับกับระบบที่ต้องใช้แท็บเล็ต ซึ่งบ่งชี้ถึงลักษณะของ FIVA ที่ชอบเปลี่ยนกติกาและข้อกำหนด โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อการแข่งขัน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน
๓. ปัญหาของคุณภาพผู้ตัดสิน
ผู้ตัดสินที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาคุณภาพและความยุติธรรมของการแข่งขันกีฬา เช่นเดียวกันกับสังคมที่ยุติธรรมก็ต้องการผู้พิพากษาที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม ในการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ การคัดเลือกผู้ตัดสินไม่ได้ตามคุณภาพ แต่ตามโควต้าของประเทศ ซึ่งเปิดช่องว่างให้กับผู้ตัดสินไร้คุณภาพทำงานในการแข่งขันระดับนานาชาติ ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะในกีฬาวอลเลย์บอลเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของกีฬาทุกประเภท
ผู้ตัดสินของนัดในวันที่ 18 พ.ค. ที่ผ่านมานี้ ถือว่าเป็นผู้ตัดสินที่ขาดคุณภาพท่านหนึ่ง ซึ่งผมเห็นว่า ทั้งสองฝ่าย (ทั้งไทยและญี่ปุ่น) ไม่ไว้ใจมาก และใช้ระบบ challenge หลาย ๆ ครั้ง และการแจกใบแดงก็เกิดขึ้นในขณะที่โค้ชทีมชาติไทยประสบปัญหากับระบบแท็บเล็ต ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากข้อบอพร่องของระบบและคุณภาพของผู้ตัดสินพร้อมกัน เพราะในเมื่อข้อกำหนดหรือกติกาไม่แน่นอน และได้ผู้ตัดสินที่ขาดคุณภาพ ไม่น่าจะมีการดำเนินเกมที่มีประสิทธิภาพ และในสุดท้ายส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกีฬาที่เกี่ยวข้องด้วย
โดยส่วนตัว ผมเข้าใจความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อญี่ปุ่น ณ ปัจจุบันนี้ เพราะคนญี่ปุ่นก็แสดงปฏิกิริยาเดียวกันเมื่อพวกเขาประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน เช่นในการแข่งขันฟุตบอลโลกเมื่อปี 2002 ที่มีญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพรวม มีปัญหาผู้ตัดสินหลาย ๆ ครั้ง (โดยเฉพาะนัดระหว่างเกาหลีกับทีมที่มาจากยุโรป) และคนญี่ปุ่นก็มีความรู้สึกแอนตี้ต่อคนเกาหลีทันที นี่คือปัญหาของกีฬาที่มีความรู้สึกชาตินิยมผสมผสานกัน กีฬาถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อส่งเสริมชาตินิยมตลอดช่วงตั้งแต่ศตวรรษที่แล้ว โดยเฉพาะในระดับการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นกีฬาโอลิมปิก เอเชียนเกม ฟุตบอลโลก ฯลฯ ยิ่งไปกว่านั้น กีฬาบางประเภทก็กลายเป็นเรื่องของผลประโยชน์ และเมื่อกีฬาถูกเชื่อมโยงกับผลประโยชน์ก็จะมีปัญหาทุจริตเกิดขึ้น ในสุดท้าย กีฬาก็กลายเป็นเครื่องมือสำหรับฝ่ายที่มีผลประโยชน์ ไม่ใช่เป็นวิธีการเพื่อสร้างวินัย สุขภาพแข็งแรงและน้ำใจนักกีฬาอีกต่อไป
ขอฝากไว้ด้วยว่า ญี่ปุ่นมีสปิริตในบางเรื่อง แต่เค้าก็ขาดสปิริตในหลายเรื่องเช่นเดียวกัน เช่นในกีฬามวย ที่มีผลการแข่งขันแตกต่างกันมากระหว่างนัดในบ้านและนัดเยือน บริษัทผลิตรถยนรายใหญ่บางไรก็ปลอมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและปกปิดข้อมูล แต่เพิ่งข้อโทษหลังจากมีการตรวจสอบ และ JVA เป็นองค์กรหนึ่งที่ขาดสปิริตอีกองค์กรหนึ่ง ที่รวมมือกับ FIVA ซึ่งไม่มีสปิริตเช่นเดียวกัน (เพราะทำตามคำขอของ JVA ตลอด)
ผมขอลงท้ายบทเขียนชิ้นนี้ด้วยการยืนยันว่า มิตรภาพระหว่างผมกับเพื่อนคนเกาหลี ไม่เคยได้รับผมกระทบจากการแข่งขันกีฬา (ไม่ว่าจะเป็นฟุตบอล เบสบอล วอลเลย์บอล ฯลฯ) เราสามารถวิจารณ์ซึ่งกันและกัน (ไม่ใช่เค้าวิจารณ์ญี่ปุ่นและผมวิจารณ์เกาหลี แต่เราวิจารณ์ปัญหาของทั้งสองฝ่าย) หวังว่าประกฎการณ์ครั้งนี้ก็ไม่นำไปสู่ความเป็นสัตรูกัน แต่นำไปสู่การแก้ไขปัญหา