Skip to main content

ไม่มีภูมิภาคใดในประเทศไทยที่มีประสบการณ์ (แต่ไม่เคยชิน) เกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) เท่ากับปาตานีหรือจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

กฎหมายพิเศษฉบับนี้ผลิตโดยรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร โดยมีเป้าหมายเพื่อคุวบคุมสถานการณ์ และนำมาบังคับใช้ในพื้นที่ความขัดแย้งจนถึงทุกวันนี้ รัฐบาลชุดต่อไป ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่นำโดยนักการเมืองสายทักษิณ(รวมถึงรัฐบาลจุดปััจจุบัน) หรือฝ่ายค้านก็ตาม แต่ประกาศบังคับใช้กฎหมายฉบับพิเศษฉบับนี้ใหม่ทุกๆ สามเดือน (ซึ่งโดยทั่วไป เรียกว่า “ต่ออายุ” หรือ “ขยาย”) โดยไม่เคยยกเลิกการบังคับใช้ การบังคับใช้กฎหมายพิเศษฉบับนี้ในทำนองนี้ ทำให้ปาตานี ไม่ใช่แค่เป็นพื้นที่ความขัดแย้ง แต่เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบของกฎหมายพิเศษอย่างเต็มทีด้วย บวกกับกฎอัยการศึก (ซึ่งมีอายุ 100 ปี) ที่ได้ถูกประกาศตั้งแต่ต้นปี 2547 

พ.ร.ก. ฉุกเฉินอำนวยอำนาจสูงให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง รวมไปถึงการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยถึงเวลาสามสิบวัน (รายละเอียดกรุณาอ่านเนื้อหากฎหมายดังกล่าวครับ) โดยเจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นต่อประชาชนในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ การที่มอบอำนาจสูงให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงโดยไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายดังกล่าวนั้นนำไปสู่การละเมิดสิทธิต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนถึงกฎหมายพิเศษฉบับนี้ได้รับคำวิจารณ์จากองค์กรสิทธิมนุษย์และนักกฎหมายว่าเป็นกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษย์ 

นอกจากนี้ อำนาจที่มีอยู่ในมือของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง (ทหาร ทหารพราน ตำรวจ ฯลฯ) นั้น ไม่ใช่แน่วทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง แต่การใช้อำนาจอย่างมิชอบธรรมโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐซึ่งละเมิดสิทธิของคนในพื้นที่ ความขัดแย้ง อาทิ การควบคุมตัวผู้บริสุทธิ์ในฐานะเป็น “ผู้ต้องสังสัย” การตรวจค้นบ้าน การปิดล้อมหมู่บ้าน รวมไปถึงวิสาัมัญฆาตกรรม กลายเป็นเงื่อนไขหนึ่งในความขัดแย้งด้วยซ้ำ โดยผลักดันให้คนในพื้นที่มีความรู้สึกแค้นต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ 

ด้วยเหตุนี้ ประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะประชาชนเชื้อสายมลายู ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากกฎหมายพิเศษฉบับนี้ นักวิชาการ นักกฎหมาย และองค์กรสิทธิมนุษย์ได้เรียกร้องให้รัฐบาลทุกชุดถอนกฎหมายพิเศษดังกล่าว แต่จนถึงบัดนี้ ยังไม่มีรัฐบาลชุดใดที่ยอมที่จะถอนกฎหมายดังกล่าว 

ตามประสบการณ์เกี่ยวกับ พ.ร.ก. ฉุกเฉินดังกล่าว ผมมั่นใจว่า การประกาศกฎหมายพิเศษดังกล่าวโดยรัฐบาลชุดปัจจุบันที่นำโดย นายกรัฐมนตรี น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มิอาจนำไปสู่การแก้ไขสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน และไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะมอบอำนาจซึ่งนำไปสู่การละเมิดสิทธิให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ซึ่งในบริบทนี้คือ ฝ่ายทหาร 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันนี้การกระทำผิดกฎหมายต่างๆ ซึ่งละเมิดสิทธิของประชาชนกำลังเกิดขึ้น เช่น การยึดสถานที่ราชการซึ่งทำให้ประชาชนในฐานะเป็นผู้เสียภาษีไม่สามารถได้รับการบริการจากฝ่ายรัฐตามที่ควร การปิดสถานที่การศึกษาและการระดมเด็กนักเรียนนักศึกษาในการชุมนุมทางการเมืองซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิที่จะได้รับการศึกษาซึ่งได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ การกระจ่ายวาทกรรมเชิง hate speech และวาทกรรมการเหยียดเพศญิง การขัดขวางไม่ให้ผู้มีิสิทธิเลือกตั้งไป ณ หน่วยเลือกตั้ง ฯลฯ การกระทำเช่นนี้สามารถควบคุมได้โดยใช้กฎหมายปกติฉบับต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในขณะที่รัฐบาลยังไม่เคยใช้กฎหมายปกติเพื่อควบคุมสถานการณ์ การประกาศใช้กฎหมายพิเศษครั้งนี้้ไม่มีความชอบธรรมใดๆ 

การรักษาประโยชน์ส่วนร่วมและความปลอดภัยเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลนั้นเป็นรัฐบาลรักษาการก็ตาม เพราะฉะนั้น รัฐบาลยังมีความชอบธรรมอย่างเต็มทีเพื่อควบคุมสถานการณ์ซึ่งมีการกระทำผิดกฎหมายและละเมิดสิทธิของประชาชน โดยใช้กฎหมายปกติ แทนที่จะประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นกฏหมายที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิตามกฎหมาย การประกาศใช้กฎหมายพิเศษดังกล่าว แค่ทำให้ความชอบธรรมของรัฐบาลรักษาการสูญเสียไป 

ดังนั้น รัฐบาลควรถอนการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินโดยด่วน และควรใช้กลไกกฎหมายปกติเพื่อควบคุมสถานการณ์ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่มีความชอบธรรมการบังคับใช้กฎหมายพิเศษมิอาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความคัดแย้ง

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
1. เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วในเมื่อประเทศสยามยังอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณสิทธิราช ความเหมาะสมของกฎหมายฉบับนี้ในยุคนี้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเป็นประเด็นที่ควรมีการถกเถียงกัน
Shintaro Hara
ณ ประเทศญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  มีคำศัพท์คำที่ใช้กันทั่วไปเพื่อด่าคนอื่น ซึ่งก็คือ “ฮีโคคูมิน” ซึ่งหมายถึง “คนที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศ” เมื่อคนใดคนหนึ่งวิจารณ์รัฐบาลที่กำลังนำประเทศไปสู่สงคราม คนนั้นจะถูกเรียกว่าเป็น ฮีโคคูมิน ทั้งๆ ที่คนนั้นอาจจะมองเห็นวินาศกรรมที่จะเกิดขึ้นจากภ
Shintaro Hara
ไม่มีภูมิภาคใดในประเทศไทยที่มีประสบการณ์ (แต่ไม่เคยชิน) เกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก
Shintaro Hara
ประเทศญี่ปุ่นมีผลการเรียนของเด็กนักเรียน/นักศึกษาที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี แต่มันไม่ได้หมายความว่า ผลการเรียนนั้นเกิดขึ้นจากระบบการศึกษาที่ดี เพราะ “ผลการเรียน” กับ “ระบบการศึกษา” เป็นคนละประเด็นกัน ถึงแม้ว่าระบบการศึกษาที่ดีจะสามารถสร้างผลการเรียนที่ดีก็ตาม จริงๆ
Shintaro Hara
มีหลายคนเคยถามผู้เขียนว่า ถ้าพวกกำนัน/