1. เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วในเมื่อประเทศสยามยังอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณสิทธิราช ความเหมาะสมของกฎหมายฉบับนี้ในยุคนี้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเป็นประเด็นที่ควรมีการถกเถียงกัน
2. เป็นกฎหมายที่มอบอำนาจเบ็ดเสร็จให้แก่ฝ่ายความมั่นคง และเจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ นอกเหนือจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังสามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย (ซึ่งไม่มีข้อจำกัดความอันชัดเจน) โดยไม่จำเป็นต้องมีหมายจับใดๆ ในสถานที่ใดๆ โดยผู้ต้องสงสัยถูกปฏิเสธสิทธิต่างๆ (เช่น เจอกันทนายความหรือญาติพี่น้อง) ฉะนั้นการกำหนดในตัวกฎหมายจะเปิดช่องว่างสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอาจจะละเมิดสิทธิพื้นฐานของผลเมือง ดังเช่นเคยเกิดขึ้นหลายๆ กรณี ที่พื้นที่ความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนใต้/ปาตานี
3. กฎหมายที่ควบคุมสถานการณ์ ซึ่งมอบอำนาจเบ็ดเสร็จให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเช่นนี้จะมีความชอบธรรมในเมื่อบังคับใช้กับสถานการฉุกเฉิน แต่ยังมีหลายๆ พื้นที่ที่ไม่มีสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้นการประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศนั้นถือว่าเป็นการขยายอำนาจของฝ่ายความมั่นคงมากกว่าการควบคุมสถานการณ์
4. เท่าที่ผมได้สังเกตรายงานข่าวต่างประเทศ (ในภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซีย ภาษาอื่นๆ ผมไม่ทราบครับ) มีรายงานเชิงลบเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการประกาศกฎอัยการศึกสงผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาของสังคมโลก
5. เป็นกฎหมายซึ่งมีลักษณะเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ชั่วคราว ดังนั้นขอให้มีระยะเวลาการบังคับใช้ให้สั้นที่สุดเท่าที่จะสั้นได้ โดยไม่มีการปฏิบัติหน้าที่ที่สร้างความเสียหายหรือละเมิดสิทธิพื้นฐาน และในระหว่างการบังคับใช้ ขอให้ฝ่ายความมั่นคงจำเป็นต้องรักษาความเป็นกลางอย่างเข้มงวด อีกอย่าง ขอให้การบังคับใช้กฎอัยการศึกครั้งนี้เป็นโอกาสสำหรับคนไทยทุกคนเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับระบบกฎหมายพิเศษ
6. มีการต่อต้านต่อการบังคับใช้อย่างกว้างขวาง แต่การต่อต้านก็ควรจะเป็นการต่อต้านต่อตัวกฎหมาย ไม่ใช่เฉพาะการบังคับใช้อย่างเดียว เพราะแม้ว่าอาจจะมีกายยกเลิก ตัวกฎหมายนั้นยังอยู่ และคงจะมีพื้นที่ที่ต้องได้รับผลกระทบจากการประกาศกฎอัยการศึกอีกต่อไป ตราบใดที่มีกฎอัยการศึก รัฐไทยก็ยังมีไม้เด็ดเพื่อจำกัดสิทธิต่างๆ ของพลเมืองอยู่ใสมือ และระดับการรักษาสิทธิมนุษย์ของประเทศก็จะไม่เปลี่ยนไป โดยส่วนตัว ผมอยากเรียกร้องให้ทุกฝ่าศึกษาตัวกฎหมายฉบับนี้ให้ครบถ้วน และ ขอให้เป็นขบวนการของประชาชน (mass movement) เพื่อเรียกร้องยกเลิกระบบกฎหมายอันไม่เป็นธรรมของประเทศทั้งหมด รวมถึงกฎอัยการศึก พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ และมาตรา 112 ด้วย