Skip to main content

ในคำปราศรัยโดยหัวหน้าคณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา ท่าน ผบ.ทบ. กล่าวว่า “We have to make our country stronger and ready to move toward a fully functioning democratic Kingdom” สิ่งที่ทำให้ผมยิ่งงงก็คือการใช้คำว่า a fully functioning democratic Kingdom

คำว่า democratic ซึ่งหมารยถึง อันเป็นประชาธิปไตย หรือ เกี่ยวกับประชาธิปไตย และมันต้องเป็นรูปแบบที่ทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบ (fully functioning) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ไม่มีสิ่งใดๆ ที่สอดคล้องกับประชาธิปไตย

ในเมื่อประเทศกำลังจะมีการเลือกตั้ง มีฝ่ายที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อดำเนินการเลือกตั้งอย่่างเต็มที (เช่น กกต.) นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนที่ใช้ความรุนแรงเพื่อไม่ให้นักการเมืองลงสมัครหรือใช้สิทธิการเลือกตั้ง คนเหล่านี้ไม่เคยได้รับบทลงโทษใดๆ

หลังจากมีการเลือกตั้ง ซึ่งมีประชาชนกว่า 15 ล้านคนไปลงคะแนนเสียง (และในขณะเดียวกันยังมีหลายคนที่ต้องการที่จะลงคะแนนเสียง แต่ไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ เพราะมีการรบกวนหรือเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย) ก็ผลการเลือกตั้งถูกตัดสินเป็นโมฆะโดยศาลรัฐธรรมนูญ

ต่อไป รัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้งก็ถูกไล่ออกโดยศาลดังกล่าวอีกครั้ง เนื่องจากมีการย้ายข้าราชการชั้นสูงคนหนึ่ง (เลขาฯ สมช.)

และในสุดท้าย รัฐบาลที่ได้รับเลือโดยการเลือกตั้งก็พบกับจุดจบโดยรัฐประหารอีกครั้ง

กระบวนการ (process) ที่ได้เกิดขึ้นมาจนถึงบัดนี้บ่งชี้ว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วไปในการเมืองระดับประเทศสยิ่งแคบลงจนถึงถูกปฏิเสธในรูปแบบรัฐประหาร นอกจากนั้นในปัจจุบัน การแสดงออกความเห็นของประชาชนก็ยังถูกจำกัดด้วย อีกนัยหนึ่ง กล่าวได้ว่าความเป็นประชาธิปไตยในสังคมถูกริดรอนอย่างเป็นขั้นตนจนถึงขั้นสุดท้าย (ณ ปัจจุบัน)

สิ่งที่น่าสังเกตุคือ แม้ว่าสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ฝ่ายคสช. ยังใช้คำว่า ประชาธิปไตย แต่ความหมายของคำนี้ในบริบทของคำปราศัยนั้นไม่ชัดเจน

ในระบอบประชาธิปไตยตัวแทน (representative democracy) การเลือกตั้งมีความสำคัญมาก ถึงแม้ว่า การเลือกตั้งกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่ในโลกปัจจุบันนี้ ยังไม่มีระบอบใดๆ ที่สามารถรักษาความเป็นประชาธิปไตยได้ ในเมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งนั้นมีความสำคัญเพราะมันเป็นโอกาสสำหรับประชาชนทั่วไปเพื่อแสดงออกความต้องการของตนโดยเลือกตัวแทนที่ถูกใจที่สุด ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคลหรือเป็นพรรคการเมือง และบรรดานักการเมืองที่ได้รับเลือกจะสะท้อนความต้องการของประชาชน (หรือ พลเมือง) โดยกำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการดังกล่าว

ในเมื่อฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งพูดถึงการเลือกตั้ง ประเด็นที่ถูกนำมาใช้คือการซื้อเสียงขายเสียง แน่นอนว่าการซื้อเสียงขายเสียงเป็นการกระทำอันตกต่ำที่สุด เพราะมันเป็นเท่กับการขายอนาคตของชาติ (ซึ่งกระทำโดยพรรคการเมืองทุกพรรค และนักการเมืองเกือบทั้งหมด) แต่การเลือกตั้งอันสมบูรณ์ไม่ใช่แค่การเลือกตั้งอันปราศจากการซื้อเสียงขายเสียงอย่างเดียว

ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่ทำให้ทุกฝ่ายสามารถแสดงความเห็นโดยไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงในการแสดงออก ด้วยเหตุนี้เอง การปิดโอกาสแสดงความเห็นหรือการจำกัดการมีส่วนร่วมของประชาชน (พลเมือง) ไม่อาจนำไปสู่ประชาธิปไตยอันสมบูรณ์

ประชาชนต้องการระบอบประชาธิปไตยหรือไม่นั้นเรื่องการเมือง ดังนั้นการแก้ไขปัญหานี้ก็ต้องมาจากการเมือง ไม่ใช่การใช้ความรุนแรงหรือการยุดอำนาจ

สังคมไทย โดยเฉพาะฝ่ายที่ยึดอำนาจ ณ บัดนี้ ควรเข้าใจว่า ความสมบูรณ์ของประชาธิปไตย ขึ้นอยู่กับการยอมรับส่วนร่วมของคนส่วนใหญ่ในการกำหนดนโยบาย ไม่ใช่การ "ปฏิรูป" อันเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
1. เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วในเมื่อประเทศสยามยังอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณสิทธิราช ความเหมาะสมของกฎหมายฉบับนี้ในยุคนี้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเป็นประเด็นที่ควรมีการถกเถียงกัน
Shintaro Hara
ณ ประเทศญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  มีคำศัพท์คำที่ใช้กันทั่วไปเพื่อด่าคนอื่น ซึ่งก็คือ “ฮีโคคูมิน” ซึ่งหมายถึง “คนที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศ” เมื่อคนใดคนหนึ่งวิจารณ์รัฐบาลที่กำลังนำประเทศไปสู่สงคราม คนนั้นจะถูกเรียกว่าเป็น ฮีโคคูมิน ทั้งๆ ที่คนนั้นอาจจะมองเห็นวินาศกรรมที่จะเกิดขึ้นจากภ
Shintaro Hara
ไม่มีภูมิภาคใดในประเทศไทยที่มีประสบการณ์ (แต่ไม่เคยชิน) เกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก
Shintaro Hara
ประเทศญี่ปุ่นมีผลการเรียนของเด็กนักเรียน/นักศึกษาที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี แต่มันไม่ได้หมายความว่า ผลการเรียนนั้นเกิดขึ้นจากระบบการศึกษาที่ดี เพราะ “ผลการเรียน” กับ “ระบบการศึกษา” เป็นคนละประเด็นกัน ถึงแม้ว่าระบบการศึกษาที่ดีจะสามารถสร้างผลการเรียนที่ดีก็ตาม จริงๆ
Shintaro Hara
มีหลายคนเคยถามผู้เขียนว่า ถ้าพวกกำนัน/