Skip to main content

ตามพจนานุกรม Cambridge Advanced Learner's Dictionary & Thesaurus (http://dictionary.cambridge.org/dictionary/british/potential_2) ให้คำจำกัดความต่อคำว่า potential (คำนาม) ดังต่อไปนี้: someone's or something's ability to develop , achieve , or succeed ความสามารถของคนใดคนหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งในการพัฒนา การบรรลุสำเร็จผลหรือประสบความสำเร็จ ส่วนพจนานุกรมออนไลน์ Longdo (http://dict.longdo.com/search/potential%20) ให้คำอธิบายว่า potential คือ ศักยภาพที่จะพัฒนาได้, ความสามารถที่ซ่อนเร้น คำภาษาไทยที่ตรงที่สุดกับคำว่า potential ในภาษาไทยก็น่าจะเป็นคำว่า “ศักยภาพ” แต่คำภาษาอังกฤษคำนี้มีขอบเขตของความหมายอันกว้างกว่า

การศึกษาคือศิลปะในการค้นหาและพัฒนา potential ของเด็กนักเรียน ไม่ใช่การเตรียมแม่พิมพ์ประเภทเดียวที่ผู้ใหญ่ในสังคมแค่บางส่วนต้องการ เพื่อยัดนักเรียนทุกคนในแม่พิมพ์ดังกล่าว และประทับตราให้กับนักเรียนที่เข้ากับแม่พิมพ์ดังกล่าวเป็นนักเรียนที่ “ดี” ส่วนนักเรียนที่ไม่เข้ากับแม่พิมพ์ดังกล่าวเป็นเด็กนักเรียนที่ “ไม่ดี” เพราะการที่เด็กนักเรียนคนหนึ่งไม่เข้ากับแม่พิมพ์ที่ผู้ใหญ่เตรียมไว้นั้น อาจจะเกิดจากข้อบกพร่องของแม่พิมพ์ก็ได้

ด้วยเหตุนี้เอง หน้าที่ของครูไม่ใช่แค่เตรียมเอกสารต่างๆ เพื่อผ่านการประเมินที่แทบจะไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา potential ของเด็กนักเรียน การพัฒนาฝีมือหรือความเป็นมืออาชีพของครูก็ต้องเน้นศิลปะแห่งการศึกษา ไม่ใช่เน้นเรื่องการผลิตเอกสารเพื่อการประเมินอย่างเดียว  ตรงกันข้าม หน้าที่ของครูก็คงจะเป็นการดูแลนักเรียนนักศึกษาเพื่อค้นหา potential ของเด็กนักเรียน และพัฒนา potential ของแต่ละคนให้ถึงขั้นสูงสุด เพราะฉะนั้น จำนวนเด็กที่ครูคนหนึ่งสามารถดูแลได้ก็คงจะไม่มาก

จากบรรทัดฐานที่มีการพัฒนาของ potential เป็นหลัก ผมเห็นว่า ระบบการศึกษาของญี่ปุ่นเกาหลีใต้หรือสิงคโปร์ ไม่ใช่ระบบการศึกษาที่ดี เพราะเป้าหมายหลักของระบบการศึกษาเหล่านี้อยู่ที่ทำให้เด็กนักเรียนเป็นเครื่องทำข้อสอบอันยอดเยี่ยมโดยใช้แม่พิมพ์เดียวกัน เพื่อทำให้เด็กนักเรียนเป็นคนที่เอื้อต่อการพัฒนา productivity ทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น ในระบบการศึกษาเหล่านี้ก็แทบจะไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ระบบการศึกษาของประเทศเหล่านี้ไม่ใช่ดีกว่าระบบการศึกษาของประเทศอื่นๆ ในแอเชีย แค่แย่น้อยกว่าเท่านั้น

ความสำเร็จของการศึกษาไม่ได้อยู่ในตัวเลขต่างๆ อย่างเดียว ประเทศที่มีอัตราคนที่มีการศึกษาถึงระดับอุดมศึกษาสูงก็ไม่ใช่ประเทศที่พัฒนา ในเมื่อระบบการศึกษาก็แค่เน้นการผลิตนักศึกษาซึ่งเป็นเครื่องทำข้อสอบ แต่อยู่ที่ว่า นักเรียนนักศึกษามีโอกาสมากน้อยแค่ไหนในการพัฒนา potential ของตัวเอง

 

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
1. เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วในเมื่อประเทศสยามยังอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณสิทธิราช ความเหมาะสมของกฎหมายฉบับนี้ในยุคนี้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเป็นประเด็นที่ควรมีการถกเถียงกัน
Shintaro Hara
ณ ประเทศญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  มีคำศัพท์คำที่ใช้กันทั่วไปเพื่อด่าคนอื่น ซึ่งก็คือ “ฮีโคคูมิน” ซึ่งหมายถึง “คนที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศ” เมื่อคนใดคนหนึ่งวิจารณ์รัฐบาลที่กำลังนำประเทศไปสู่สงคราม คนนั้นจะถูกเรียกว่าเป็น ฮีโคคูมิน ทั้งๆ ที่คนนั้นอาจจะมองเห็นวินาศกรรมที่จะเกิดขึ้นจากภ
Shintaro Hara
ไม่มีภูมิภาคใดในประเทศไทยที่มีประสบการณ์ (แต่ไม่เคยชิน) เกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก
Shintaro Hara
ประเทศญี่ปุ่นมีผลการเรียนของเด็กนักเรียน/นักศึกษาที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี แต่มันไม่ได้หมายความว่า ผลการเรียนนั้นเกิดขึ้นจากระบบการศึกษาที่ดี เพราะ “ผลการเรียน” กับ “ระบบการศึกษา” เป็นคนละประเด็นกัน ถึงแม้ว่าระบบการศึกษาที่ดีจะสามารถสร้างผลการเรียนที่ดีก็ตาม จริงๆ
Shintaro Hara
มีหลายคนเคยถามผู้เขียนว่า ถ้าพวกกำนัน/