Skip to main content

“โฆษก” BRN มีจริงเหรอ

เท่าที่ผมจำได้ องค์กรแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (Barisan Revolusi Melayu Patani, BRN) ออกมาแถลงการณ์เป็นครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพเมื่อวันที่ ๑ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) ซึ่งในคลิปแถลงการณ์ทาง Youtube อุสตาซฮัสซัน ตอยิบ แนะนำตัวเองว่าเป็น “อดีต” หัวหน้าคณะพูดคุยสันติภาพของฝ่าย BRN หลังจากนั้น ฝ่าย BRN ก็ไม่ได้แสดงตัวออกมาเพื่อนำเสนอความเห็นขององค์กรดังกล่าวเกียวกับกระบวนการสันติภาพอย่างเป็นทางการจนถึงบัดนี้

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายรัฐบาลทหารประกาศเจตนารมณ์ที่จะต่อยอดกระบวนการสันติภาพที่อยู่ในภาวะชะงักตั้งแต่ปีที่แล้ว ตามด้วยการเปลี่ยนโครงสร้างฝ่ายบริหาร กระบวนการสันติภาพก็กลายเป็นประเด็นร้อนในข่าวประจำวันอีกครั้ง

เมื่อไม่กี่วันนี้ มีรายงานข่าวจากสื่อ ไม่ว่าจะเป็นสื่อกระแสหลัก หรือสื่อทางเลือก ที่หลายชิ้นระบุว่า ฝ่าย BRN (หรือ ตามหนังสือพิมพ์ที่ขายดีที่สุดของประเทศก็ “โฆษก” ของ BRN) ออกมาแสดงท่าที่เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพที่ (อาจ) จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้

การที่มีรายงานข่าวมากขึ้นเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพถือว่าเป็นพัฒนาการที่น่ายินดี เนื่องจากสามารถดึงดูดความสนใจของสังคมทั่วไปและให้ตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการสันติภาพในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ปาตานี/จังหวัดชายแดนใต้ แต่ในขณะเดียวกัน เราสามารถสังเกตได้ว่า สื่อต่างๆ ยังติด “นิสัย” และ “วิธีทำงาน” แบบเก่าๆ ที่นิยมนำเสนอข่าวในรูปแบบที่สามารถ “ขาย” ได้ แต่กลับแทบจะไม่สนใจความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล

จริงๆ แล้ว ดังเช่นได้อธิบายมาข้างบน ฝ่ายองค์กร BRN ยังไม่ได้แสดงความเห็นใดๆ เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพรอบใหม่ และคำพูดที่สื่อบางรายอ้างว่าเป็นคำพูดของฝ่าย BRN นั้นไม่ได้มาจาก “คนใน” ขององค์กรดังกล่าว ดังนั้นบุคคลนั้นไม่ใช่ “โฆษก” อย่างแน่นอน อีกอย่าง เราก็ยังไม่ทราบว่า องค์กร BRN มีตำแหน่งโฆษกหรือไม่ เนื่องจากว่า ก่อนหน้านี้ บุคคลที่ออกสื่อ Youtube และทำหน้าที่เป็น “โฆษก” ส่วนใหญ่เป็นท่านหัวหน้าคณะเจรจา (อัสตาซ ฮัสซัน) นั้นเอง

คำพูดที่สื่อบางรายอ้าง (ตามความเข้าใจผิด) ว่าเป็นคำพูดของ “คนใน” จาก BRN นั้น ถ้าสรุปคำอธิบายของรายงานที่นำเสนอคำพูดนี้แรกๆ เป็น “บุคคลที่สามารถสื่อสารได้กับองค์กรขบวนการปลดปล่อยปาตานีทุกองค์กรที่ได้เข้าร่วมกระบวนการสันติภาพ อันได้แก่ BRN, BIPP และปีกหนึ่งขององค์กร PULO และได้แสดง “ความเห็นรวม” (opinion) หนึ่งในสาระสำคัญคือความไม่พอใจต่อข่าวลือที่วา พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์จะได้รับเลือกเป็นหัวหน้าคณะพูดคุยจากฝ่ายรัฐไทย (หรือ Party A ตามข้อตกลงที่ลงชื่อกันในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ณ กุรงกัวลาลัมเปอร์) โดยอ้างถึงพฤติกรรมของนายพลดังกล่าวเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพในรอบที่ผ่านมา

เมื่ออีกปีกหนึ่งขององค์กร PULO ซึ่งนำโดยนายกัสตูรี มะห์โกตา (Kasturi Mahkota) ได้แสดงความเห็นผ่านเว็บไซต์ (http://puloinfo.net/Statements.asp?ID=56) ซึ่งมีเนื้อหาที่ไม่ตรงกับคำพูดที่ถูกนนำมาอ้างโดยสื่อต่างๆ ข้างบน กลุ่มดังกล่าวไม่คัดค้านการเลือกหัวหน้าของฝ่ายรัฐไทย ไม่ว่าจะเป็นพล. อ. อกนิษฐ์ก็ตาม

สองคำพูดจากฝ่ายขบวนการซึ่งมีเนื้อหาขัดแย้งกันเหล่านี้ดูเหมือนว่า แรงดึงดูดใจอย่างแรงสำหรับสื่อที่ต้องการจะขายข่าว เพราะมันอาจถูกมองว่าเป็นความแตกแยกหรือไม่เป็นเอกภาพของฝ่ายขบวนการ คือ ความเห็นของ BRN กับ PULO ไม่ตรงกัน

ที่นี่ สิ่งที่เราควรเข้าใจก็คือ คำพูดที่ถูกอ้างว่าเป็นคำพูดของ “คนใน” จาก BRN ไม่ใช่ความเห็นจากฝ่าย BRN แต่ผู้ที่สามารถติดต่อสื่อสารได้กับองค์กรต่างๆ ที่ได้เข้าร่วมกระบวนการสันติภาพรอบที่แล้ว (ขอสังเกตว่า มีปีกหนึ่งของ PULO ด้วย) และได้นำเสนอความเห็นรวมขององค์กรดังกล่าว ในขณะเดียวกัน ความเห็นในเว็บไซต์ Pulo Info เป็นความเห็นของปีกหนึ่งขององค์กรดังกล่าว ไม่ใช่ความเห็นรวมของทุกปีกของ PULO ทั้งหมดดังเช่นสื่อบางรายตีความเอง

 

สื่อกับ “นิสัย” และ “วิธีทำงานเก่า”

อาจกล่าวได้ว่า ความสับสนที่เกิดขึ้นในสังคมเกี่ยวกับเรื่องนี้มีที่มาจากความสับสนของสื่อบางราย รวมถึงสื่อกระแสหลักรายใหญ่ แต่ปัญหาคือ สื่อเองก็ดูเหมือนว่า ยังไม่ตระหนักว่าตัวเองอยู่ในความสับสน ดังนั้นอาศัยการตีความเองแบบ “มักง่าย” และกระจายข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือขาดความน่าเชื่อถือตามความเข้าใจ (ผิด) ของตน       

สิ่งที่น่าเสียดายคือ แม้ว่าได้ผ่านการรายงานกระบวนการสันติภาพรอบที่แล้ว สื่อหลายรายยังไม่ได้เรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ในการสร้างสันติภาพ แต่ยังติดกับนิสัยดังเดิมที่ไม่ระมัดระวังในการนำเสนอข้อมูล และเน้น “การขายข่าว” มากกว่า “หน้าที่ของสื่อตามจรรยาบรรณสื่อ” ปฏิเสธไม่ได้ว่า สื่อก็ต้องมีส่วนในการขายข่าว เนื่องจากสื่อส่วนใหญ่ก็เป็นธุรกิจสาขาหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกัน เช่นเดียวกับธุรกิจสาขาอื่นๆ สื่อก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณ ในการรายงานข่าวเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ สื่อส่วนใหญ่ยังไม่เคยทำหน้าที่เป็น “สื่อสันติภาพ” แต่เป็นที่มาของความสับสนและเติมความตึงเครียดสำหรับบรรยากาศการสร้างสันติภาพ

 

สื่อสันติภาพ (Peace Media) 

ตราบใดที่สื่อมีท่าที่เช่นนี้ และยึดถือวิธีทำงานที่ไม่เอื้อต่อการสร้างสันติภาพ กระบวนการสันติภาพก็คงจะไม่สามารถคืบหน้าดังที่ควร ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนขอแนะนำส่งต่อไปนี้มอบให้แก่สื่อสาขาต่างๆ

1. ณ ตอนนี้ (กลางเดือนกันยา 2557) เรายังมีเวลาก่อนที่จะกระบวนการสันติภาพ (ซึ่งฝ่ายรัฐบาลทหาร คสช. เรียกว่าเป็น “การพูดคุยสันติภาพ” ซึ่งผู้เขียนไม่เห็นด้วยในการใช้คำนี้) รอบใหม่มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในช่วงนั้น สื่อควรศึกษาถึงบางเรื่องที่สำคัญเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ รวมถึง ลักษณะทั่วไปของความขัดแย้ง (ความขัดแย้งคืออะไร) ที่มาของความขัดแย้งในปาตานี กระบวนการสันติภาพในฐานะเป็นแนวทางแก้ไขสำหรับความขัดแย้งอันเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

2. สื่อก็ควรระมัดระวังในการนำเสนอข้อมูลและข่าว นิสัยหรือวิธีทำงานแบบเก่าที่กล่าวไว้ข้างบนคงจะไม่เป็นประโยชน์อะไรสำหรับการสร้างสันติภาพ สื่อสามารถขายข่าวได้ แต่ฝ่ายสื่อก็ต้องรับผิดชอบต่อคุณภาพของสิ่งค้าที่จะขาย ในการรายงานข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพ สื่อหลายรายยังไม่ปฏิบัติการควบคุมคุณภาพ (quality control) เท่าทีควร 

3. สื่อทุกรายก็ควรตระหนักถึงหน้าที่ของสื่อในการสร้างสันติภาพ คือ ทำอย่างไรสื่อสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็น “สื่อสันติภาพ” peace media มากกว่าสื่อที่ทำลายสันติภาพ peace spoiler โดยนำเสนอข่าวที่ไม่มีความจริงเป็นพื้นฐานหรือไม่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อขายข่าวเป็นเป้าหมายเดียว แต่ไม่สนใจกับผลกระทบที่เกิดขึ้นในสังคม ผมหวังอย่างยิ่งว่า สื่อในประเทศไทยสามารถทำหน้าที่เป็นสื่อสันติภาพ และมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพ มากกว่าสื่อที่ไร้ความรับผิดชอบที่เป็นหนึ่งในส่วนที่สร้างความสับสนและความตึงเครียตในสงคม 

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
1. เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วในเมื่อประเทศสยามยังอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณสิทธิราช ความเหมาะสมของกฎหมายฉบับนี้ในยุคนี้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเป็นประเด็นที่ควรมีการถกเถียงกัน
Shintaro Hara
ณ ประเทศญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  มีคำศัพท์คำที่ใช้กันทั่วไปเพื่อด่าคนอื่น ซึ่งก็คือ “ฮีโคคูมิน” ซึ่งหมายถึง “คนที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศ” เมื่อคนใดคนหนึ่งวิจารณ์รัฐบาลที่กำลังนำประเทศไปสู่สงคราม คนนั้นจะถูกเรียกว่าเป็น ฮีโคคูมิน ทั้งๆ ที่คนนั้นอาจจะมองเห็นวินาศกรรมที่จะเกิดขึ้นจากภ
Shintaro Hara
ไม่มีภูมิภาคใดในประเทศไทยที่มีประสบการณ์ (แต่ไม่เคยชิน) เกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก
Shintaro Hara
ประเทศญี่ปุ่นมีผลการเรียนของเด็กนักเรียน/นักศึกษาที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี แต่มันไม่ได้หมายความว่า ผลการเรียนนั้นเกิดขึ้นจากระบบการศึกษาที่ดี เพราะ “ผลการเรียน” กับ “ระบบการศึกษา” เป็นคนละประเด็นกัน ถึงแม้ว่าระบบการศึกษาที่ดีจะสามารถสร้างผลการเรียนที่ดีก็ตาม จริงๆ
Shintaro Hara
มีหลายคนเคยถามผู้เขียนว่า ถ้าพวกกำนัน/