Skip to main content

เมื่อคนไทยพูดถึงเรื่องปฏิรูป ฝ่ายที่เป็นเป้าหมายของการโจมตีตลอดคือนักการเมืองที่ทุจริต ผมไม่ปฏิเสธว่านักการเมืองหลายคน (ส่วนตัว ผมเชื่อว่าเกือบทุกคน) ไม่ว่าจะมาจากพรรคไหนหรือฝ่ายไหน สีเสื้ออะไรก็ตาม ติดเรื่องทุจริตทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการรับสินบน การใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การใช้เส้นสายให้กับพรรคพวก ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่า ความน่าเชื่อถือต่ออาชีพนักการเมืองก็แทบจะไม่มีในสังคมไทย เพราะไม่มีนักการเมืองใดๆ ที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายในสังคม เหลือแต่นักการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งเกิดจากความผูกพันทางผลประโยชน์ จนถึงทำให้คนไทยหลายๆ คนคิดว่า เรื่องการเมืองเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ความเห็นเช่นนี้เป็นความเห็นที่เกิดจากความไม่เข้าใจและความเข้าใจผิดเรื่องความสำคัญของการเมืองในชีวิต แต่นักการเมืองมีส่วนมากในการสร้างความรู้สึกแบบนี้

ด้วยเหตุนี้เอง ผมก็เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ว่าระบบการเมืองของประเทศไทยควรมีการปฏิรูป แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือ การพูดถึงเรื่องปฏิรูปเน้นเรื่องการเมือง โดยเฉพาะคุณภาพของทนักการเมือง แต่เรื่องปฏิรูปคุณภาพข้าราชการระดับสูงมีน้อยมาก ทั้งๆ ที่ข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการชั้นสูงซึ่งมีฐานะและอำนาจพอสมควรตามหน้าที่และตำแหน่งที่ได้รับมอบจากฝ่ายรัฐ

คนไทยบางส่วนยังเชื่อว่า ความชั่วสามารถมาจากนักการเมืองที่เน่าเสีย ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรากำจัดบรรดานักการเมืองเน่าเสียทั้งหลายออกจากระบบ และไม่ให้พวกนี้มีโอกาสที่จะมีอำนาจต่อไป ปัญหาใหญ่ๆ ของประเทศทั้งหมดก็จะสามารถแก้ไขได้ นี่คือแค่ความเชื่อโดยไม่มีหลักฐานวิชาการณ์ที่สามารถรองรับข้อเท็จจริงได้ ไม่มีใครปฏิเสธว่า บรรดานักการเมืองที่เน่าเสีย (ที่มีอยู่ในพรรคการเมืองทุกพรรค) เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ แต่เราไม่ควรลืมความเป็นจริงที่ว่า บรรดานักการเมืองที่เน่าเสียไม่สามารถทำสิ่งทุจริตได้โดยลำพัง ความเน่าเสียของนักการเมืองไม่ได้เกิดจากตัวบุคคลนั้นเท่านั้น แต่พวกเขาก็จำเป็นต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการทุจริต ถ้าหากว่าไม่มีข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการชั้นสูง ที่เน่าเสียเช่นกัน ได้ผลประโยชน์ส่วนตัวจากความเน่าเสียเช่นเดียวกัน นักการเมืองก็คงจะประสบปัญหาในการกระทำทุจริต

ด้วยเหตุนี้เอง การปฏิรูปที่ได้รับการนำเสนอต่างๆ ก็คงจะไม่ได้ผลเพื่อทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากปัญหาคอรัปชั่นอันเรื้อรังมานาน ตราบใดที่ผู้ที่ได้รับมอบหน้าที่การปฏิรูปไม่สามารถคิดอย่างปราศจากความเชื่อที่ว่า นักการเมืองเป็นที่มาของความชั่ว ตรงกันข้าม การปฏิรูปนั้นต้องมีในทุกระบบ รวมถึงระบบข้าราชการซึ่งเป็นกลไกสำคัญซึ่งเป็นเอื้อต่อการทำทุจริต

 

 

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
1. เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วในเมื่อประเทศสยามยังอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณสิทธิราช ความเหมาะสมของกฎหมายฉบับนี้ในยุคนี้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเป็นประเด็นที่ควรมีการถกเถียงกัน
Shintaro Hara
ณ ประเทศญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  มีคำศัพท์คำที่ใช้กันทั่วไปเพื่อด่าคนอื่น ซึ่งก็คือ “ฮีโคคูมิน” ซึ่งหมายถึง “คนที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศ” เมื่อคนใดคนหนึ่งวิจารณ์รัฐบาลที่กำลังนำประเทศไปสู่สงคราม คนนั้นจะถูกเรียกว่าเป็น ฮีโคคูมิน ทั้งๆ ที่คนนั้นอาจจะมองเห็นวินาศกรรมที่จะเกิดขึ้นจากภ
Shintaro Hara
ไม่มีภูมิภาคใดในประเทศไทยที่มีประสบการณ์ (แต่ไม่เคยชิน) เกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก
Shintaro Hara
ประเทศญี่ปุ่นมีผลการเรียนของเด็กนักเรียน/นักศึกษาที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี แต่มันไม่ได้หมายความว่า ผลการเรียนนั้นเกิดขึ้นจากระบบการศึกษาที่ดี เพราะ “ผลการเรียน” กับ “ระบบการศึกษา” เป็นคนละประเด็นกัน ถึงแม้ว่าระบบการศึกษาที่ดีจะสามารถสร้างผลการเรียนที่ดีก็ตาม จริงๆ
Shintaro Hara
มีหลายคนเคยถามผู้เขียนว่า ถ้าพวกกำนัน/