Skip to main content

เมื่อวันที่ 21 ที่ผ่านมา มีการปล่อยข่าวจากสำนักข่าว Benar News เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างสภาแกนนำของแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ หรือ BRN (ฉบับภาษามลายูในลิงค์ต่อไป: http://www.benarnews.org/malay/berita/my-thail-BRN-161121-11212016205058...). หลังจากอ่านรายงานข่าวชิ้นนี้ เกิดความสงสัยและคำถามต่าง ๆ เลยขอบันทึกไว้ ณ ตรงนี้ 

 

  • เอกสาร คลิปวีดีโอ ในปลิว ฯลฯ ที่ออกโดย BRN ก่อนหน้านี้ก็ใช้ชื่อ BRN (Barisan Revolusi Nasional) มาตลอด และไม่เคยใช้ชื่อ BRN-C (BRN-Coordinate) คำถามคือ ทำไมครั้งนี้ฝ่ายที่ออกแถลงการณ์ยอมที่จะใช้ชื่อนี้ (BRN-C) แทนชื่อ BRN เฉย ๆ ถึงแม้ว่าองค์กรที่มีปฏิบัติการ ณ ปัจจุบันนี้เป็น BRN-C จริงก็ตาม ฝ่าย BRN โดยเฉพาะหลังจากมีกระบวนการสันติภาพ ใช้ชื่อของอคงค์กรของตนเป็น BRN ตลอด การใช้ชื่อ BRN-C ในครั้งนี้จึงผิดสังเกต 
  • ดังเช่นมีคำอธิบายในงานวิจัยของ Sasha Helbardt (ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมชิ้นหนึ่งเพื่อเข้าใจถึงลักษณะขององค์กรดัลกล่าว), BRN เป็นองค์กรลับ และอาศัยความเป็นอคก์กรลับเป็นจุดแข็งของตน แม้แต่เรื่องจำนวนสมาชิกของสภาแกนนำก็ไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดก่อนหน้านี้ (แค่รู้ว่าเป็นเลขคี่อย่างเดียว) ทำไมอยู่ดี ๆ ก็ต้องแถลงการณ์เรื่องการปรับสภาแกนนำให้คนอื่นทราบผ่านการแถลงการณ์ คำถามอีกคำถามก็คือ การปล่อ่ยยข่าวแบบนี้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้อย่างไร เพราะในหลักการ BRN สมาชิกทุกคนต้องทำสิ่งที่เป็นประโยชน์และเอื้อต่อการต่อสู้ แต่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่สงผลกระทบต่อการต่อสู้เช่นกัน 
  • ถ้าฝ่าย BRN-C ต้องการเผยแพร่ข้อมูลลักษณะนี้ให้คนอื่นทราบ ทำไมสำนักข่าวแห่งนี้สำนักเดียวที่มีข้อมูลเรื่องนี้ และไม่ส่งไปถึงสำนักข่าวอื่น ๆ และทำไม Benar News เลือกที่จะปล่อยข่าวชิ้นนี้ในช่วงที่มีการพูดคุยระหว่าง Party A กับ Party B 

หลังจากผมได้แชร์คำถามเหล่านี้ก็ได้คอมเมนต์ การแลกเปลี่ยนและข้อมูลจากหลายฝ่าย ต่อไปนี้คือข้อสังเกต 

  • โลโก (logo) ที่ใช้ในเอกสารนั้นเป็นของแท้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีคำว่า Merdeka ข้างบน ทำให้ Logo ที่ใช้เอกสารนี้ดูไม่เหมือนกับ Logo ที่ BRN ใช้ก่อนหน้านี้ 
  • คนที่ปรากฎชื่อในเอกสารชิ้นนี้เป็นโต๊ะครู บาบอ/เจ้าของโรงเรียนและอุสตาซ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในภาษามลายู แต่ภาษามลายูที่ใช้ในเอกสารชิ้นนี้มีการใช้คำ ไวยากรณ์และการสะกดไม่ถูกต้องหลายส่วน ไม่น่าจะเป็นภาษามลายูของคนที่มีความเชี่ยวชาญในภาษามลายูเช่น
    • คำว่า kalian ซึ่งเป็นบุรุษสรรพนามที่สอง พหูพจน์ ที่หมายถึง คุณทั้งหลาย ตามด้วยวันที่ เป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้อง  
    • คำว่า pernama ไม่ทราบว่า หมายถึงอะไร 
    • คำว่า jawatankuasa คณะกรรมการ มีการสะกดสองแบบ jawatan kuasa และ jawatankuasa ขาดความต่อเนื่อง ซึ่งมากจักเกิดกับคนที่ไม่ถนัด 
    • การใช้เครื่องหมายอ่านไม่ตามระบบ 

 

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
1. เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วในเมื่อประเทศสยามยังอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณสิทธิราช ความเหมาะสมของกฎหมายฉบับนี้ในยุคนี้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเป็นประเด็นที่ควรมีการถกเถียงกัน
Shintaro Hara
ณ ประเทศญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  มีคำศัพท์คำที่ใช้กันทั่วไปเพื่อด่าคนอื่น ซึ่งก็คือ “ฮีโคคูมิน” ซึ่งหมายถึง “คนที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศ” เมื่อคนใดคนหนึ่งวิจารณ์รัฐบาลที่กำลังนำประเทศไปสู่สงคราม คนนั้นจะถูกเรียกว่าเป็น ฮีโคคูมิน ทั้งๆ ที่คนนั้นอาจจะมองเห็นวินาศกรรมที่จะเกิดขึ้นจากภ
Shintaro Hara
ไม่มีภูมิภาคใดในประเทศไทยที่มีประสบการณ์ (แต่ไม่เคยชิน) เกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก
Shintaro Hara
ประเทศญี่ปุ่นมีผลการเรียนของเด็กนักเรียน/นักศึกษาที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี แต่มันไม่ได้หมายความว่า ผลการเรียนนั้นเกิดขึ้นจากระบบการศึกษาที่ดี เพราะ “ผลการเรียน” กับ “ระบบการศึกษา” เป็นคนละประเด็นกัน ถึงแม้ว่าระบบการศึกษาที่ดีจะสามารถสร้างผลการเรียนที่ดีก็ตาม จริงๆ
Shintaro Hara
มีหลายคนเคยถามผู้เขียนว่า ถ้าพวกกำนัน/