Skip to main content
แม้ม็อบเสื้อสีๆ จะซาลงไปแล้ว (ซาแต่นามภาพ-รูปธรรม แต่ในความรู้สึกนั้นยังคงไหลแรง) แต่ฉันก็ยังเชื่อว่าคนที่เข้าร่วมแต่ละกลุ่มย่อมมีความคิด มีทัศนคติที่ชัดเจนของตนเอง


อย่างที่ทิ้งท้ายไว้ในตอนที่แล้วว่าฉันจะนำความคิดของ ไม้หนึ่ง ก.กุนที มานำเสนอ เพราะเห็นว่าวิธีคิดของเขาน่าสนใจมาก ซึ่งแม้ปัจจุบันฉันจะยังอยู่ขอบปลายชายแดนอีสาน ไม่มีโอกาสได้เจอหรือพูดคุยกับตัวตนจริงๆ ของเขา และบทสัมภาษณ์ที่คัดลอกมาฝากนี้ก็เคยผ่านหน้านิตยสารมาบางส่วนแล้ว แต่ฉันก็ยังอยากให้ใครอีกหลายๆ ที่อาจยังไม่ได้ผ่านตากับความเห็นเหล่านี้ได้ลองอ่านเล่นๆ ดูบ้าง


บทสัมภาษณ์ต่อไปนี้เคยลงในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 6-12 มีนาคม 2552 คอลัมน์ สามก๊กฉบับคนกันเอง โดย เอื้อ อัญชลี ซึ่งมีโอกาสไปทักทาย พูดคุยกับเขาถึงที่ร้านข้าวหน้าเป็ดแถวศาลายา (ไม้หนึ่ง ก.กุนที ขายข้าวหน้าเป็ดและบะหมี่เป็ด รสชาติอร่อยมาก ทั้งไม่พึ่งผงชูรสแต่อย่างใดเลย เป็นร้านอาหารที่ต้องการให้คนกินได้ชิมรสชาติแท้ๆ ของวัตถุดิบ เขาเป็นคนหนึ่งที่เอาจริงเอาจังกับการทำงานและไม่เคยฟูมฟายกับสถานะกวีอย่างที่จะเห็นกวี- นักเขียน หลายคนโอดครวญเอาว่าสังคมไม่สนใจ ไม่เหลียวแล แต่เขาเลือกประกอบอาชีพพ่อค้าและค้นพบบทกวีจากบนเขียง ตู้กระจก ผ้ากันเปื้อน)

 

.................................



คนที่ฉันรู้จักส่วนใหญ่จะเข้าร่วมกับฝ่ายสีเหลือง เพิ่งจะเจอพี่ไผ่ (ไม้หนึ่ง ก.กุนที) นี่แหละที่ประกาศตนชัดเจนว่าเขาอยู่ข้างสีแดง


"ผมเนี่ยทำงานเขียนมาเกือบยี่สิบปี เพิ่งค้นพบรอยเชื่อมต่อระหว่างที่มาและที่ไปของตัวเอง ซึ่งมาสรุปได้ว่า ปัญญาชนหรือการเป็นนักคิดนักเขียนจะต้องรับใช้ประชาชนอย่างไร ไม่ใช่พอเกิดวิกฤติอะไรแล้วมีคนถามว่าคุณจะเลือกข้างไหน คุณกลับตอบว่าไม่เข้าข้างไหน คุณเป็นเสื้อขาว ก็ในเมื่อคนเราไม่ได้รับปัจจัยที่เท่าเทียมกัน และคุณก็เป็นคนหนึ่งที่มีโอกาสช่วงชิงปัจจัยเยอะกว่า ถึงจุดหนึ่งถ้าคุณสุกงอมจริง มีวุฒิภาวะจริง คุณต้องรู้ว่าจะคืนอะไรให้กับประชาชน ต้องรู้ว่าหน้าที่ของปัญญาชนคืออะไร"


สำหรับพี่ไผ่ เขาไม่ได้สนใจว่าใครจะถูกจ้างหรือถูกหลอกให้มาชุมนุม แต่เขามองจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และเห็นว่าผู้ชุมนุมสีเหลืองส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง ซึ่งได้รับโอกาสจากความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมมาโดยตลอด และมีกำลังพอที่จะเข้าร่วมชุมนุมด้วยตนเอง ขณะที่กลุ่มสีแดงส่วนใหญ่เป็นชนชั้นล่าง ซึ่งขาดปัจจัยในการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง นอกเสียจากจะมีคนคอยจัดตั้งให้


เขาจึงไม่เห็นด้วยที่นักเขียนหรือศิลปินส่วนใหญ่จะเข้าร่วมกับสีเหลืองฝ่ายเดียว และละเลยที่จะรับรู้ความเป็นอยู่ของกลุ่มสีแดง


แล้วพี่ไผ่ก็เล่าว่าถ้ามีเวลาว่างจากงานในร้าน ตัวเขาจะออกไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มสีแดงเสมอ

"แต่ไม่ใช่ไปรออ่านบทกวีอย่างเดียวนะ ผมเก็บขยะด้วย"

ฉันถาม "พี่สู้เพื่อใครบางคนหรือเปล่า"

พี่ไผ่ส่ายหน้า "ในกลุ่มแดงเขาใช้คำว่าแนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มันมีแนวร่วมหลายกลุ่ม เสื้อแดงต่อยปากกันเองก็มีเยอะ มันบ่งบอกถึงความหลากหลาย ความมั่ว แต่มันคือความจริงไง เพราะพื้นฐานของสังคมนี้คือคนที่ด้อยพัฒนา การศึกษาต่ำ ถ่อย หยาบ คนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้มีโอกาสจะได้ดูดีอย่างคุณ อย่างผม ไม่มีโอกาสแม้จะเป็นตัวของตัวเองทางการเมือง เขาถูกกระทำอยู่ตลอดเวลา พวกคุณเลือกที่จะแยกตัวเองออกจากประชาชนนั่งบนภูดูเสือกัดกัน แต่ผมก้าวไปรับใช้ประชาชน


"ประชาธิปไตยที่พวกเขากำลังต่อสู้มันเป็นของจริงหรือ"

"ประชาธิปไตยง่ายๆ ไง สำหรับกลุ่มเสื้อแดง มันคือ วิถีที่ก่อกำเนิดมาจากนโยบายประชานิยม คือการเอาเงินไปให้ชาวบ้านฟรีๆ แต่ประชาชนก็มีสิทธิ์ที่จะได้เงินก้อนนี้นะ เพราะมันเป็นส่วนเกินที่ขูดรีดมาจากการเป็นผู้ผลิตของเขา ขณะที่เขากลับได้ค่าแรงต่ำกว่าความเป็นจริง ดังนั้น คนที่เห็นถึงสัจจะอันนี้ก็คือ คนที่เห็นมวลชนอย่างชัดเจน

"ทุกคนอาจจะพูดเหมือนกันว่า อยากให้มนุษยชาติมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่านี้ แต่การกระทำอยู่ที่ไหนล่ะ ผมเคยคิดนะ อยากให้สนามหลวงมีโรงพักอาศัยสำหรับคนเร่ร่อน แล้วก็มีโรงสำหรับให้ทำงานแลกอาหาร หรือหากใครต้องการจะหารายได้สำหรับใช้จ่ายสักวันหนึ่ง ก็มาทำงานที่นี่ อาจเป็นการปั๊มอิฐดิน ให้คนเร่ร่อนไม่มีทางออกได้มาใช้แรงงานเพื่อแลกกับค่าแรงซึ่งอาจจะไม่แพงนัก แต่เป็นการกำจัดทุกข์ขั้นพื้นฐาน"

 

และอีกข้อความหนึ่ง ซึ่งฉันบังเอิญได้ไปอ่านจากการแสดงความเห็นหลังงานอ่านบทกวี Thai Poet Society Forum (บทกวีของเขาที่ขึ้นไปอ่านชื่อ "สถาปนาสถาบันประชาชน" ฉันได้นำลงไปเมื่อตอนที่แล้ว) ซึ่งมีบางคนเล่าว่าสถานีโทรทัศน์บางแห่งแม้สัมภาษณ์เขาไปแต่ก็ไม่กล้าลงเพราะความเป็นแดงของเขา แต่กระแสเสียงชื่นชมจากเว็บไซต์ของ http://www.thaipoetsociety.com/ ที่มีต่อเขาก็มีไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ และเขาก็ได้เข้ามาตอบโดยใช้นามปากกา "ดอกเข็มแดง" ว่า

 

"ผมในนามของ ไม้หนึ่ง ก.กุนที ได้ทำหน้าที่ของผมอย่างตั้งใจแล้ว
และขออภัยเป็นอย่างยิ่ง หากสิ่งที่ผมทำอันเป็นการสื่อและย้ำถึงสิทธิเสรีภาพในครั้งนี้
ทำให้พวกคุณหลายคนไม่ได้ออกทีวี

และขอย้ำอีกครั้งว่า สิทธิ์และทรัพยากรทั้งหลายที่ผู้จัดงานนี้ได้มีโอกาสบริหารจัดการนั้น
เป็นโอกาสที่พวกคุณมี โดยคนอื่นไม่มี

และคำว่าสิทธิ์นั้นก็มีความเป็นธรรมชาติในตัวของมันเองเช่นกับสรรพสิ่งในโลกนี้
และสิทธิ์นั้นก็มีอิสระในตัวของมันเองโดยชอบธรรม
เพราะฉะนั้นใครผู้หนึ่ง กล่าวว่า "เป็นสิทธิ์ที่ผมให้คุณ" ถือว่าเป็นถ้อยคำที่วิปริตหรือไม่?

และผมไม่ขออภัยในบทกวีที่ผมอ่านในวันนั้นในส่วนที่เพิ่มเติมจากตัวบทในสูจิบัตร
คงไม่ต้องบอกเหตุผลว่าทำไม
เพราะคุณสุลักษณ์ก็ได้อธิบายไว้ในปัจฉิมคาถา โดยอ้างอิงทรรศนะของกวีท่านหนึ่งต่อบทกวีในช่วงที่กล่าวถึง "..กวีที่บันดาลใจอย่างสดใหม่และไม่ได้เตรียมเขียนไว้อ่านจากต้นฉบับ.."
บทไหว้ครูเสรีชนในตอนต้น และบทยืนยันอุดมการณ์มาร์กซ์ในตอนท้ายของผม แม้ไม่ได้เกิดแรงบันดาลใจสดๆ ในขณะอ่าน แต่มันก็คือแรงบันดาลใจสด ๆ ก่อนที่ผมจะเดินทางออกจากบ้าน

ปัญหาของผู้ที่ไม่สบอารมณ์กับสิ่งที่ผมเพิ่มเติมจากตัวบทนี้ก็คือ "การที่คนผู้นั้นไม่สามารถควบคุมผมได้ ไม่สามารถควบคุมบทกวีที่เติบโตและมีชีวิตอย่างไม่รู้หยุดทุกนาทีชั่วโมงนั่นเอง"

มันเป็นสิ่งที่ตระหนกมากสำหรับผมที่เห็นรูปเงาแห่งการที่จะต้องการควบคุมสิ่งต่าง ๆ ไว้ในมือจากกลุ่มคนที่เที่ยวออกตระเวนกู่ร้องเรียกหาเสรีภาพให้กับที่โน่นที่นี่

ผมอาจบันดาลโทสะให้กับคนหลายใคร?
แต่พรุ่งนี้ มะรืนนี้ หากผมถูกฟ้อง คงเป็นบทพิสูจน์คนหลายใครว่า อุดมคติที่ผลิตขายออกสู่สังคมก่อนหน้านั้นจริงหรือปลอม
ระหว่างความบาดหมางระหว่างปัจเจก กับ "ความใฝ่ฝันถึงโลกที่เสรีอหิงสาและการใช้แรงงานอย่างเหมาะสม" นั้นใครจะเลือกอะไร

 

สำหรับเรื่องนี้เวทีนี้ลงเสาปูพื้นและเตรียมฉากไว้แล้ว ขาดแต่ตัวละครที่จะโยนชีวิตลงไปจริง ๆ
ผลข้างเคียงจากการงานที่เกิดเป็นแผนการปลุกชีพให้กวีนิพนธ์ครั้งนี้ ท้าทายโคตร !

 

และอีกครั้งหนึ่งที่เขาเข้ามาตอบ

 

ขอบคุณทุกคนที่ใจกว้างกับ ไม้หนึ่ง
หากเป็นเรื่องงานนี้เราคงมีเรื่องคุยกันได้อีกเยอะเพื่อผลักสิ่งที่หลายคนในนี้มุ่งหวังให้คืบไปบนหนทางของกวี และผมก็ยินดีแลกเปลี่ยน

แต่ช่วงนี้พวกคุณก็คงรับรู้กันแล้วเรื่องการออกสู่สนามอีกครั้งของคนแดง ผมจึงยากที่จะดำเนินสมาธิได้ยาวสำหรับเรื่องนี้
และหากพวกคุณอยากเห็น ไม้หนึ่ง ในหน้าที่ของเขาจริง ๆ เชิญที่เวทีหน้าทำเนียบครับ

น่าจะราว ๆ ตี 4 ของทุกเช้าวันใหม่
อ่านเสร็จกลับไปย่างเป็ดเปิดร้านขายข้าวและบะหมี่ปกติ

ครึ่งหนึ่งของตัวบทในวันนั้น ไม้หนึ่ง อ่านบนเวทีเมื่อ ตี 4 กว่า ๆ ของวันนี้อีกครั้งแล้วครับ

ขอขอบคุณในไมตรี

 

 

ในโลกที่เราหาผู้กล้าได้ยากเย็น หาคนจริงได้ยากเย็น หาคนที่เสียสละโดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงได้ยากเย็น การปรากฏตัวครั้งนี้ของ ไม้หนึ่ง ก.กุนที ทำให้ฉันคงต้องลงท้ายเหมือนตอนที่แล้วอีกครั้ง - มันอาจเป็นเรื่องสำคัญเหมือนกันที่เราต้องรับรู้ว่า ผู้นำหรือใครคนอื่นๆ กำลังต่อสู้ด้วยผลประโยชน์แอบแฝงแบบไหน ไม่ว่าเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง หัวขบวนอาจจะเต็มไปด้วยพวกเขี้ยวลากดินหรือนักการเมืองร้อยเล่ห์พันเหลี่ยม แต่มันไม่สำคัญเท่า --- คนสู้รู้ตัวดีว่ากำลังสู้เพื่ออะไรต่างหาก


ข้าน้อยขอก้มหัวคารวะ

 

 

บล็อกของ สร้อยแก้ว

สร้อยแก้ว
  ๑.ผูกพัน เป็นชื่อเพลงเพลงหนึ่งไม่บ่อยนักที่ฉันจะได้ฟังเพลงสักเพลงแล้วมันตรึงเราให้อยู่นิ่งๆ ตั้งอกตั้งใจฟังจำได้ว่า วันนั้นฉันนอนเปลที่ผูกเข้ากับเสาอาคารและต้นไม้ข้างศูนย์ฯ มีกิจกรรมค่ายของน้องๆ วัยมัธยมและมหาวิทยาลัยราวสี่สิบคน บรรดาพี่เลี้ยงเป็นคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมที่แต่ละคนล้วนฝีมือฉกาจฉกรรจ์ โดยเฉพาะ แคน และน้องผู้ชายอีกคนจำชื่อไม่ได้ (มาจากแก่งเสือเต้น) ดำเนินกิจกรรมให้กับเด็กๆ ได้อย่างมีสาระและสนุกสนาน เรียกว่าเอาอยู่ เก่งมากๆ
สร้อยแก้ว
 หน้าบ้านดอกโมกบานก่อนเพื่อนดอกมะลิตามมาดอกคูนเริ่มผลิไสวลั่นทมสี่ต้นที่เคยปลูกเองกับมือก็ผลิดอกให้ชมเร็วทันใจปีที่แล้วนี้เอง, ตอนนั้นเอามาปลูกกับเด็กหญิงไพจิตรพายุคะนองทำให้กิ่งก้านใหญ่ของลั่นทมหน้าศูนย์ฯ หักฉันแบ่งออกเป็นสี่กิ่งปลูกรอบบ้านดินไม่คิดว่าวันหนึ่งจะได้มาอยู่บ้านหลังนี้ลั่นทมกลิ่นหอม ชอบเด็ดมาดมดอกพุก ไม้ยืนต้นก็บานแล้วสีขาวดอกยอกขี้หมาส่งกลิ่นหอมจากคืนถึงเช้ามันเป็นดอกที่ชื่อกับตัวไม่เข้ากันเลยยอกขี้หมาสีขาวร่วงหล่นบนพื้นสีขาวเกลื่อนทางเดินดูสวยดียามเช้าตื่นมาเดินเล่น สูดดมกลิ่นหอมของดอกไม้แสนสดชื่นเย็นวันนี้…
สร้อยแก้ว
แม้ม็อบเสื้อสีๆ จะซาลงไปแล้ว (ซาแต่นามภาพ-รูปธรรม แต่ในความรู้สึกนั้นยังคงไหลแรง) แต่ฉันก็ยังเชื่อว่าคนที่เข้าร่วมแต่ละกลุ่มย่อมมีความคิด มีทัศนคติที่ชัดเจนของตนเอง อย่างที่ทิ้งท้ายไว้ในตอนที่แล้วว่าฉันจะนำความคิดของ ไม้หนึ่ง ก.กุนที มานำเสนอ เพราะเห็นว่าวิธีคิดของเขาน่าสนใจมาก ซึ่งแม้ปัจจุบันฉันจะยังอยู่ขอบปลายชายแดนอีสาน ไม่มีโอกาสได้เจอหรือพูดคุยกับตัวตนจริงๆ ของเขา และบทสัมภาษณ์ที่คัดลอกมาฝากนี้ก็เคยผ่านหน้านิตยสารมาบางส่วนแล้ว แต่ฉันก็ยังอยากให้ใครอีกหลายๆ ที่อาจยังไม่ได้ผ่านตากับความเห็นเหล่านี้ได้ลองอ่านเล่นๆ ดูบ้าง
สร้อยแก้ว
ไม้หนึ่ง ก. กุนที - เป็นใคร? สำหรับคนที่ไม่ได้สนใจงานเขียนประเภทกวีนิพนธ์หรืองานวรรณกรรม ก็มีความเป็นไปได้สูงที่อาจจะตั้งคำถามนี้ แต่สำหรับแวดวงนักเขียนหรือคนที่สนใจงานวรรณกรรม ย่อมรู้จักเขาดีว่าเขาคือหนึ่งในกวีหัวก้าวหน้าที่มีความสามารถสูงในด้านฉันทลักษณ์จนก้าวพ้นกรอบกฎเกณฑ์ของฉันทลักษณ์ไปได้อย่างสง่างามและพยายามที่จะให้ฉันทลักษณ์รับใช้ศิลปะ มีชีวิตชีวา มากกว่าเพียงแค่ถ้อยคำไพเราะเพราะพริ้ง
สร้อยแก้ว
แมนยูฯ คือ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ศูนย์ฯ คือ ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้านปากมูนฉันย้ายจากบ้านเช่าในเมืองโขงเจียมมาอยู่บ้านดินของศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้านปากมูน ได้ ๑ เดือนเต็มๆ แล้วและนับตั้งแต่มาอยู่ที่นี่ภายในบ้านที่มีโทรทัศน์ใส่กล่องกระดาษตั้งอยู่ มันก็มีหน้าที่เป็นพนักพิงยามเขียนหนังสือ (กับโต๊ะญี่ปุ่น) ให้เท่านั้น ฉันขอความร่วมมือจากคนร่วมชายคาบ้านว่าหากอยากดูข่าวสารจากโทรทัศน์ก็ช่วยออกแรงเดินสักร้อยกว่าเมตรไปดูในห้องทำงานของศูนย์ฯ เถอะนะ ซึ่งที่นั่นจะมีน้องชายอ้วนดูอยู่เป็นประจำ (และนอนที่นี่) คนอาศัยชายคาเดียวกันก็นับว่ามีน้ำใจยิ่ง ให้ความร่วมมือกับคนเรื่องมากอย่างฉันโดยดี
สร้อยแก้ว
ไม่ได้ตั้งใจจะเลี้ยงเล้ยยยยย... จริงๆ พับเผื่อยซิ วันประชุมสมัชชาคนจน ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบความเดือดร้อนจากการสร้างเขื่อน ได้มาประชุมปรึกษาหารือกันที่ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้าน เจ้าแมวตัวนี้นอนซุกอยู่ในรองเท้าเจ้าอ้วน - เด็กอ้วนแห่งรายการวิทยุชุมชน เด็กๆ แถวนี้บอกว่าพี่น้องมันตายไปหมดแล้ว หมาฟัดเรียบฉันได้แต่ฟังเขาพูด ไม่ได้ขึ้นไปฟังเขาประชุมด้วย เลยไม่รับรู้ต่อการมีอยู่ของมันแต่ว่าพอบ่ายแก่ๆ ก็มีมือดีจับใส่กระเป๋าเสื้อเดินมาให้ที่บ้านดิน"อยู่ที่นี่ดีกว่านะ ไม่งั้นเดี๋ยวมันจะถูกหมาฟัดตาย"เจ้าของเสียงดึงมันออกมา ตัวเล็กๆ อยู่ในอุ้งมือเดียวเท่านั้นของชายหนุ่มฉันมองแล้วทั้งยิ้มทั้งถอนใจ
สร้อยแก้ว
ร้อนๆ อย่างนี้ ซื้อน้ำแข็งกินทีไร ก็อดคิดถึงตู้เย็นไม่ได้ทุกที ถ้ามีตู้เย็นฉันคงจะซื้อน้ำแข็งกินไม่เปลืองเท่านี้ เพราะกินเท่าที่ต้องการ เหลือก็ใส่ตู้เย็น หรือบางทีก็ทำน้ำแข็งกินเองก็ได้ ส่วนของสดหรืออาหารที่กินเหลือก็แช่ตู้เย็นไว้ได้ หิวเมื่อไหร่ก็นำมากินได้อีก ไม่เปลือง อืมม์! คิดทีไรก็อยากกลับไปเอาตู้เย็นที่กรุงเทพฯ ทุกที แต่ก็ติดตรงที่ฉันไม่เคยแน่ใจสักทีว่าจะปักหลักที่ไหน การเคลื่อนย้ายบ่อยจึงไม่เหมาะที่จะมีสัมภาระอะไรมาก นี่ขนาดว่าไม่มาก ฉันก็ยังซื้อโทรทัศน์ (ไว้ดูข่าวสารบ้านเมือง) เครื่องซักผ้า (แก่แล้ว นั่งซักปวดหลัง) หนังสืออีกหนึ่งเข่งและข้าวของจิปาถะอีกสองเข่งกับอีกสองลังเสื้อผ้า…
สร้อยแก้ว
ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการสร้างเขื่อนสิรินธรเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๔ ได้จัดงานรำลึก ๑๕ ปีในการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในบริเวณแถบอีสานใต้นี้ นับว่ามีปัญหาของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของภาครัฐอยู่หลายโครงการ เอาแค่ใกล้ๆ ที่ฉันอยู่ มีปัญหาจากการสร้างเขื่อนอยู่สามโครงการคือ เขื่อนสิรินธร เขื่อนปากมูน และเขื่อนราษีไศล
สร้อยแก้ว
  "ท่านเป็นเจ้านาย มีเงินเดือนกิน ท่านบ่ได้เป็นแม่ค้าหาเช้ากินค่ำ ท่านจะเว้าจังได๋ก็ได้"คำพูดของแม่ค้าคนหนึ่งดังอยู่ข้างหูเมื่อทุกคนมายืนรอฟังคำตอบจากการไปเจรจากับทางเทศบาลมาเสียงโทรศัพท์ที่ดังแต่เมื่อคืนบอกถึงเจตจำนงในการจะยึดพื้นที่ค้าขายกลับคืนมาในช่วงเวลาราวตีหนึ่งเศษทำให้เพื่อนบางคนที่ทำงานในศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้านต้องรีบออกไปดูแต่เช้า และแน่นอนด้วยความอยากรู้อยากเห็นฉันก็ขอกระเตงติดรถไปด้วยคน
สร้อยแก้ว
ฉันมีโอกาสไปดูงานรณรงค์เลิกเหล้าของหมู่บ้านคำกลาง ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อหลายเดือนก่อน ตำบลนี้มีกำนันคนเก่งเป็นผู้หญิงชื่อ รัตนา สารคุณ ก่อนนี้แม่กำนันเคยเป็นนักเลงสุรา ดื่มเหล้าหนัก แม่กำนันดื่มเหล้าเพียวและดื่มน้ำตบตูดแบบเดียวกับที่ผู้ชายพื้นบ้านนิยมดื่มกัน และแม่คอแข็งชนิดผู้ชายต้องยอมแพ้ แต่สุดท้ายเมื่อเวลาผ่านไป กาลเวลาสามารถพิสูจน์ความสามารถของเธอได้มากกว่าการพิสูจน์ความกินทนกินนาน ใจป้ำ ใจแกร่ง ในวงสุรา แม่กำนันก็เห็นโทษของการดื่มสุรา และหันมารณรงค์ให้ลูกบ้านลดละเลิกเหล้า
สร้อยแก้ว
  นึกไม่ออกแล้วว่าเคยไปร่วมงานวันเด็กครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่พยายามนึก...ลูกก็ยังไม่มี หลานรึ ก็ไม่เคยได้พาไป เพราะไม่ค่อยได้อยู่บ้านงานวันเด็กครั้งสุดท้ายของตัวเองน่าจะเป็นตอนที่ยังเรียนอยู่ชั้น ป.๖ นั่นแหละ เพราะหลังจากนั้น พอขึ้นชั้น ม.๑ ความแก่แดดแก่ลมของฉันก็พลันให้รู้สึกว่าตัวเองเป็นสาววัยรุ่นแล้ว ไม่ใช่เด็ก จึงไม่เคยไปวอแวงานวันเด็กอีก ไม่อย่างนั้น เค้าจะหาว่าเด็กจนปีใหม่นี้ฉันมีโอกาสไปนอนมองพระจันทร์กลางทุ่งนา มองฟ้าพร่างดาวเคลื่อนคล้อยข้ามคืนข้ามปีในช่วงปีใหม่ที่อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ก็เลยได้อยู่ยาวมาเรื่อยจนถึงงานวันเด็กของหมู่บ้าน