Skip to main content

 

วันนั้นเป็นวันพฤหัสบดีเวลา 8.30 น.ซึ่งเป็นวันที่จุ๊บและพี่สมยศมีนัดกันเป็นประจำ เพียงแต่ว่านัดของเราไม่ใช่นัดตามสถานที่ที่คนทั่วไปนัด เรามีนัดกันที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ การนัดพบแต่ละครั้งจะมีลูกกรงเหล็กและแผ่นกระจกนิรภัยหนากั้นกลางระหว่างเราแต่สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถปิดกั้นจิตวิญญาณของเราได้ วันนั้นเราได้ห้องหมายเลข 1 ซึ่งเป็นห้องที่อยู่ด้านในสุดของห้องเยี่ยมที่เรือนจำแห่งนี้ เช่นเคยพี่สมยศเดินออกมาตามทางเดินด้านในอย่างปราศจากความลังเลและว่องไวตามปรกติและมองตรงมาพร้อมกับรอยยิ้มที่ทำให้โลกทั้งใบสว่างไสวและเต็มไปด้วยความหวัง ความสงบและ สันติ การพบกันในเช้านี้ทำให้จุ๊บรู้สึกผ่อนคลายและปลดปล่อยภาระกดดันที่หนักอึ้งทั้งมวลลง

ห้องหมายเลข 1เป็นห้องที่ไม่มีเครื่องโทรศัพท์ระหว่างด้านในและด้านนอก ปรกติแล้วจุ๊บจะต้องตะโกนเสียงดังถ้าไม่เช่นนั้นพี่สมยศจะไม่ได้ยิน ซึ่งทำให้จุ๊บหงุดหงิดและไม่ชอบใจแต่ปรากฏว่าวันนั้นโชคดีที่เสียงไม่ดังนัก มีเพียงผู้หญิงอีกคนหนึ่งมาเยี่ยมสามีและใช้ห้องเยี่ยมห้องนี้ร่วมกัน ณ.ขณะนั้นนาฬิกาเหมือนจะหยุดเดินและอนุญาตให้เราได้ใช้เวลาแสดงความห่วงใยอาทรต่อกันอย่างเต็มที่ แม้ว่าเราจะไม่ได้เอ่ยคำใดๆออกมาอย่างที่รู้สึกแต่การแสดงออกของเราก็คงบอกได้ว่าเราคิดถึงกันมากแค่ไหน จนจุ๊บลืมเวลาเยี่ยมไปเลยว่าเรามีเวลาเพียง  20 นาทีเท่านั้น จนกระทั่งมีเสียงสัญญาณเตือนดังขึ้น พี่สมยศมักถามคำถามเดิมๆเหมือนทุกครั้งเช่น ตอนนี้อยู่คนเดียวเหรอ ลูกกลับบ้านบ้างหรือเปล่า ลูกๆเป็นอย่างไรบ้าง จุ๊บเข้าใจความรู้สึกของพี่และไม่เคยเบื่อหน่ายที่ถูกถามคำถามเดิมๆทุกครั้งแม้บางครั้งจะรู้สึกว่าเป็นคำถามที่ไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลยแต่วันนั้นจุ๊บกลับอารมณ์ดีและเข้าใจจิตใจของพี่สมยศที่คงจะห่วงใยในความปลอดภัยของเราแต่ไม่อยากพูดออกมาตรงๆ

จุ๊บไม่รู้ว่าความต้องการของผู้ชายคนหนึ่งมีอะไรบ้าง แต่คิดว่าคนทุกคนก็คงมีความต้องการเช่นเดียวกัน ไม่ใช่แค่อาหาร ยารักษาโรค อากาศและน้ำ แต่มนุษย์ผู้ชายทุกคนก็คงต้องการอาหารสมองและสิ่งอื่นๆที่จะมาหล่อเลี้ยงจิตใจเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้นคงต้องการการดูแลเอาใจใส่ คนที่จะมาพูดคุยแลกเปลี่ยน ให้กำลังใจและยืนยันว่าเขาเป็นคนดีมีคุณค่า ให้ความสำคัญแก่เขาและย้ำว่าเขาเป็นที่รักของเราอยู่ เพื่อนที่ทำงานของจุ๊บบอกว่าสำหรับลูกน้องผู้ชายแล้วการให้การดูแลอย่างอ่อนโยนกว่าธรรมดาจะเป็นสิ่งผลักดันให้เขาทำงานดีขึ้นอย่างมาก สำหรับพี่สมยศที่เป็นคนเข้มแข็งก็คงจะไม่แตกต่างกัน พี่สมยศยังคงต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและการใส่ใจทะนุถนอมเช่นกัน

หลังจากที่พี่สมยศถูกจองจำมา 26 เดือน ซึ่งเป็นวิกฤตของชีวิตที่ถาโถมเข้ามาแต่ก็ทำให้จุ๊บได้บทเรียนมากมาย ช่างน่าเสียดายเวลาก่อนที่พี่สมยศจะติดคุก เราไม่ได้พูดคุยและสื่อสารความต้องการและความรู้สึกต่อกันซักเท่าไหร่ ตอนนี้เรามีเวลาเพียง  20 นาทีต่อสัปดาห์แต่กลับทำให้เรารู้ใจกันมากขึ้น ก่อนหน้านี้จุ๊บรู้สึกอึดอัดที่จะพูดเรื่องของตัวเอง หน้าที่การงานและความเป็นไปในชีวิตออกไปให้พี่สมยศรู้ ซึ่งพี่สมยศก็เช่นกัน แต่ตอนนี้เราต้องใช้เวลาทุกๆนาทีอย่างมีค่าที่สุด เพราะฉะนั้นจุ๊บก็เลยพูดมากขึ้นและเขียนถึงพี่สมยศมากขึ้น

ชีวิตของคนเรานั้นสั้นนักจุ๊บไม่อยากพลาดโอกาสที่มีอยู่ไปโดยไม่ได้แสดงความรักและห่วงใยพี่สมยศ จุ๊บไม่อยากตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับป้าอุ๊ (รสมาลิน) ที่ไม่มีโอกาสได้สั่งเสียล่ำลาอากง (อำพล) ก่อนลมหายใจสุดท้ายของอากงจะหมดไป

จุ๊บ

29 มิถุนายน 2556

 

 

 

 

 

20 minutes between the iron bars

Prison visit to Somyot on 27 June 2013

It was Thursday morning at 08.30 AM when Somyot and I have regular visit every week. Iron bars and secure windows divided us apart but couldn’t separate our souls.  I was given the room no. 1 which was the last meeting room in the row in Bangkok Remand Prison. Without hesitation, Somyot walked fast and looked straight at me and smiled, his smile made the world so bright and full of hope and peace. I was so relieved to meet him in that morning.

As there was no telephone phone in that room so I have to shout otherwise he could not hear me which made me unhappy. Luckily it was quiet that day and only a lady and her husband sharing the room with us. A clock seemed to stop and allow us to take time together, at that moment, we shared the feeling of love and care to each other without saying a word and I forgot we just had 20 minutes until the alarm bell rang. He repeatedly asked me the same questions every week i.e. Do you live alone? Are our kids with you? How are they doing? I wasn’t bored to hear the same questions, I knew how he felt but probably he did not realize how many time he asked me. Sometime I felt these questions were illogical but I turned to understand him this day. He was probably worried about our safety but he was afraid to say out loud.

I don’t know exactly what a man wants but I guess everyone wants the same thing which is tender love! It is not just food, medicine, air and water but also food for thought and something for his soul. He needs someone to care about him, talk to him, give him moral support and ensure that he is great and secure him that he is being loved. My colleague said that she treated her male direct reports with more gentle and care and it worked well. So a strong man like Somyot still needs a warm hug and nurturing.

After 26 months of his imprisonment, actually it’s been a crisis for our life but I have learned a lot. It’s a pity that we had plenty of time before his detention but we hardly talked and shared our feeling. Now we have only 20 minutes a week however we understand each other better. Before that, I was very reluctant to talk about myself, my career and my wellbeing and so do him. At this time we have to utilize every single minute as valuable as we can so I expressed myself more by talking or writing to him.

Life is so short and I can’t afford to lose any opportunity to show how much I care about him, I don’t want to be in the same situation like Pa-Ueh (Rosmarin) who did not even say good bye to her husband, Ah-Kong (Amphon) before his last breath.

 Joop

29 June 2013

 

 

 

 

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
หมายเหตุ -  ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข หรือ ไทบุตรชายของสมยศ พฤกษาเกษมสุข อ่านบทความของพ่อชิ้นนี้ภายในงานเสวนา “การปฏิรูปกระบวนการประกันตัวของผู้ต้องหาคดีความมั่นคงของชาติ” ที่จัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 3 ปีแห่งการถูกคุมขังของสมยศ จัดที่มหาวิทยาธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2557
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
งาช้างไม่งอกจากปากสุนัขฉันท์ใด การปฏิรูปไม่อาจงอกมาจากพวกปฏิกูลการเมืองที่กำลังปิดกรุงเทพ นำความหายนะมาสู่สังคมไทยในขณะนี้
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 “พวกเราใช้ชีวิตบั้นปลายในเรือนจำก็เพราะเราคัดค้านแนวคิดการพัฒนาอย่างแบ่งแยก ซึ่งทำให้เรากลายเป็นคนต่างด้าวในประเทศของเราเอง”