Skip to main content

อัจฉริยา  เนตรเชย

เมื่อสัปดาห์ก่อนผู้เขียนซึ่งเป็นนักเรียนเรียนภาษาเวียดนามที่ฮานอยได้ใช้เวลา 3 วันไปเป็นนักท่องเที่ยวที่ซาปา (Sa Pa) เมืองในหมอกบนพื้นที่สูงของภาคเหนือของเวียดนาม

ภูเขาที่นี่สูงเสียดฟ้าสลับซับซ้อนกันหลายลูกจริงๆ จนภูเขาบ้านเราสมควรถูกเรียกว่า “ฮิล” มากกว่า “เม้าเท่นท์” นาขั้นบันไดก็มีให้เห็นกันอย่างดาษดื่นจนกลายเป็นโลโก้ของเมืองนี้ หมู่บ้านม้งดำ และเย้าแดงกลางหุบเขา น้ำตกและลำธารใสๆที่ไหลผ่านกลางหมู่บ้านมีให้เห็นตลอดสองข้างทาง ทำให้ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนอันสุดแสนจะโรแมนติกของคู่รัก

เมื่อต้นปีใครๆ ก็บอกว่าหิมะตกที่ซาปาสวยงามมาก...อยากเห็น (แต่ใครเลยจะรู้ว่าควายที่เป็นแรงงานสำคัญในการทำนาขั้นบันไดของชาวม้งดำและเย้าแดงตายไปหลายตัวเพราะทนต่อความหนาวเหน็บไม่ไหว ทำให้คนเย้าแดงที่ไม่เคยรู้จักคำว่าหนี้สินต้องเป็นหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตร 10 ล้านด่อง หรือประมาณ 21,250 บาท เพื่อซื้อรถไถนาเดินตามขนาดเล็กกว่าคูโบต้าบ้านเราถึง 1 ใน 3 หรือราคาเท่ากับลูกควายน้อย 1 ตัว มาแทน แถมยังต้องฝึกใช้อย่างล้มลุกคลุกคลานในขี้ตมท่ามกลางกำลังใจของเพื่อนบ้านรอบๆคันนานับสิบคน)

ในฐานะที่เป็นผู้กระหายในการทำวิจัยเรื่อง “ตลาดๆ” โดยเฉพาะเรื่องผ้าทอพื้นเมือง ทำให้ผู้เขียนรู้สึกตื่นตาตื่นใจในสีสัน ชีวิตชีวา และการเอ็กเซอร์ไซพาวเวอร์ของผู้คนในตลาดผ้าแห่งซาปานี้ อย่างบอกไม่ถูก หลายครั้งในฐานะ “A Shopping Sociologist” ผู้คลั่งไคล้ในผ้าทอพื้นเมือง (ตามที่นักวิชาการเวียดนามคนหนึ่งให้ฉายาไว้) ก็อดเข้าไป “เอ็กเซอร์ไซด์อำนาจ (และความรัก)” กับผู้คนในตลาดผ้าของที่นี่ไม่ได้

ความประทับใจในตลาดผ้าของผู้เขียนเกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่ทันที่จะได้ลงจากรถบัสไปยังโรงแรมที่พักเลย (เนื่องจากรถบัสต้องไปส่งฝรั่งหลายคนที่พักอยู่ใกล้เส้นทางก่อน) เมื่อฝรั่งลงจากรถ เสียงม้งดำหลายคนที่หอบผ้าทอเอาไว้ต่าง “สปี๊กอิงลิช” กันเป็นต่อยหอย ตั้งแต่ Hello! What is your name? Where are you from? Do you want to buy (the goods for) me? และถ้าฝรั่งผู้ใดหันไปเชยชมสินค้าแม้แต่มองหรือจับดู ฝรั่งผู้นั้นก็จะถูกรุม(ล้อม)จากม้งดำหลายคน ซึ่งไม่รู้ว่ามาจากที่ไหน มาอย่างรวดเร็ว จนฝรั่งเกือบดิ้นหลุดไปไม่ได้ (โปรดดูภาพแรก) ต้อง “โชว์ พาวเวอร์” โดยใช้สีหน้าแบบทำหน้าตายๆ หรือแบบหมดแรง หรือทำหน้าเข้มๆ เหี้ยมๆ อย่างไร้ความปรานีว่า “ฉันไม่ต้องการ” จึงจะหลุดออกไปได้

20080515 spaceandtime 1

ตอนที่ผู้เขียนก็นั่งทานอาหารเช้าบนชั้นสองของโรงแรม มองลงและมองผ่านออกไปนอกหน้าต่างซึ่งเป็นกระจกใส ก็เห็นหญิงผู้เฒ่าม้งดำ 3 คน มาเสนอขายผ้าอยู่ข้างนอกโรงแรม พวกหล่อนกางผ้าออกมาโชว์แล้วยิ้มหวานให้ผู้เขียนกับเพื่อน พร้อมกับพยักหน้าเชิญชวนให้ลงมาเชยชม เมื่อผู้เขียนยิ้มตอบ แต่ยังไม่ตอบรับคำเชิญที่ลงให้ไปเชยชม บรรดาป้าๆ ก็หยิบสินค้าตัวใหม่จากกระบุงที่แบกอยู่ข้างหลังมากางโชว์ใหม่ เพื่อ “นิโกชิเอท” (Negotiate - เจรจาต่อรอง) กับผู้เขียนว่า “ลงมาดูของป้าๆซะดีๆ...นังหนู” ผู้เขียนก็ได้แต่ยิ้มและสบตากลับไปเพื่อ “นิโกชิเอท” ว่า “ฮะฮ่า...เรามีพาวเวอร์เหนือกว่าพวกป้าๆ ไอ้เรื่องจะมารุมล้อมเราเหมือนฝรั่งโดน แล้วบังคับให้เราต้อง make หน้าโหดๆเพื่อหนีเอาตัวรอด ให้รู้สึกผิดนิดๆนะเหรอ...อย่าหวังซะให้ยากเลย ป้าทำอะไรเราไม่ได้หรอก เราอยู่บนหอคอยงาช้าง ยังไงคนไทยก็ปฏิเสธได้โดยยังมี “ยิ้มสยาม” เป็นเอกลักษณ์อยู่ดี”

20080515 spaceandtime 2

ซึ่งก็เหมือนกับป้าม้งดำ 2 คนที่พยายามขายผ้าทอผืนใหญ่แก่ผู้เขียนในเวลาที่ผู้เขียนนั่งรับประทานอาหารกลางวันอยู่ในร้านอาหารด้วยการใช้การโชว์ผ้า ยิ้ม สบตา พยักหน้า เพื่อเป็นสื่อกลาง (medium-มีเดี่ยม) ให้ผู้เขียนออกมาหาเธอ (ดูภาพที่สอง) เรื่องอะไรจะออกไปเสียให้ยาก ขืนก้าวออกไปมีหวังเราต้องถูกเธอ “คอนโทล” ความหมายของผ้ามากขึ้น เธอจะต้องงัด “ความเป็น(ชนเผ่า)ม้ง เอกลักษณ์/ความสวยงาม/ความยาก/ความอดทนในการทอ” หรือ being Hmong รวมทั้งความเป็นคนชรา เพื่อนิโกชิเอทให้ผู้เขียนยอมรับความหมายเหล่านั้นให้ได้ แม้ว่าเราจะไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาพูดกันได้เลย แต่ “มีเดี่ยม” ที่ป้าม้งดำใช้ในการนิโกชิเอทกลับถูกงัดมาใช้อย่างแพรวพราว และท้ายที่สุด(ถ้าผู้เขียนเดินออกไปหาเธอ) ก็ต้องลงเอยด้วยการเป็น “ผู้ซื้อที่มีความสุข” (กับความหมายของผ้าทอ) แต่ในเวทีการนิโกชิเอทนี้ผู้เขียนยังทนใจแข็งไม่ยอมซื้อจนได้  เมื่อป้าม้งดำใช้  “being Hmong” มาต่อรองไม่สำเร็จ เธอจึงพูดว่าถ่ายรูปเธอแล้วต้องซื้อผ้าเธอ (อันนี้เพื่อนชาวเวียดนามแปลให้ฟังทีหลัง) “นั่นแน่ะ! คราวนี้งัดเหตุผลทางธุรกิจมาต่อรองกันเลย... เธอได้รูปฉันไป ฉันก็ต้องได้อะไรจากเธอบ้างสิ!”

เรื่องการโชว์สินค้าของป้าๆนี้ทำให้ผู้เขียนสงสัยว่า ทำไมบางคนเลือกที่จะขายสินค้าบางอย่าง บางคนเลือกอีกอย่าง ทั้งๆที่สินค้าผ้าทอ ผ้าปักของม้งก็มีตั้งหลายอย่าง เขาคิดและเขามีมุมมองอย่างไร ป้าบางคนเลือกที่จะขายผ้าคลุมโต๊ะ บางคนขายกระเป๋า บางคนชายเสื้อ บางคนขายกระโปรง บางคนขายสายคาดเอว หรือผสมกัน 2-3 อย่าง นอกจากนี้เวลาเขามองคนที่จะเป็นลูกค้าเขา เขามองอย่างไร เขาประเมินอย่างไร คนที่เป็นหญิง คนที่เป็นฝรั่ง บางคนเป็นเวียดนาม บางคนเป็นเอเชีย

เรื่องนี้ทำให้นึกถึงตอนผู้เขียนนั่งรับประทานอาหารที่จังหวัดลาวก๊าย (Lao Cai) เพื่อรอขึ้นรถไฟกลับฮานอย มีแม่ค้าเวียดนามที่เดินเร่ขายของต่างๆ สารพัด ในรูปของตระกร้าห้อยคอ ตั้งแต่ขนม ลูกออม ยาดม ยาหม่อง ทิชชู่ ฯลฯ เมื่อหล่อนเจอฝรั่งชายหญิงคู่หนึ่ง เธอหยิบไฟฉายขนาดเล็กออกมาเสนอขาย แต่ถูกปฏิเสธไป พอเดินมาหาผู้เขียนกลับหยิบโปสการ์ดมาเสนอขาย แต่ก็ถูกปฏิเสธไปอีกเช่นกัน ผู้เขียนมองตามต่อว่าเธอจะหยิบอะไรขายให้ลูกค้าคนอื่น ปรากฎว่าเป็น...(อะไรจำไม่ได้แล้วแต่ไม่ใช่ทั้งไฟฉายและโปสการ์ด) เธอประเมินอย่างไรว่าหน้าอย่างเราต้องโปสการ์ด หน้าอย่างฝรั่งคู่นั้นต้องไฟฉาย (แม้ว่าการประเมินของเธอจะประสบความล้มเหลวในครั้งนั้นก็ตาม)

กลับมาดูการ “เอ็กเซอร์ไซ์พาวเวอร์” เพื่อ “นิโกชิเอท” ของชาวม้งดำต่อ ที่ชุมชนตาพิน (Ta Phin) ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่บ้านย่อยๆ อีก 3 หมู่บ้าน นักท่องเที่ยวต้องเดินไปและกลับแบบครึ่งวงกลม กว่า 8 กิโลเมตร ใช้เวลาเดิน ดู นั่ง และคุยกับชาวบ้านม้งดำประมาณสามชั่วโมง เชื่อหรือไม่ว่าตั้งแต่ผู้เขียนลงจากรถก็มีชาวบ้านม้งดำนับสิบคนมารุม มาตุ้ม เซไฮ ทักทาย ถามชื่อ ไม่น่าเชื่อว่าพวกเขา “สปี๊กอิงลิชเวรี่เวล” แม้แต่เด็กผู้หญิงอายุไม่น่าจะเกิน 6 ขวบ (ในภาพที่ 3) หรือคนแก่อายุประมาณ 50 ตอนแรกนึกว่าท่องมาไม่กี่ประโยคเพื่อพูดกับนักท่องเที่ยว ที่ไหนได้กลับสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว ม้งกลุ่มนี้เดินตามผู้เขียนกับเพื่อนอีก 2 คน ตลอดเวลาเกือบสามชั่วโมง ตอนแรกก็ทักทายและชวนคุยเรื่องทั่วๆไป ต่อมาก็จะถามว่าต้องการซื้อสินค้าหรือไม่ และตั้งแต่นั้นมาจนครบสองชั่วโมงครึ่ง ก็คือเวลาแห่งการ “ปะลองกำลัง” เพื่อการขาย-ไม่ซื้อ/ซื้อสินค้าในราคาที่ดูดี-มีความสุข (ดูภาพ 4)

สาวน้อยวัย 6 ขวบบอกกับผู้เขียนว่า I will go together with you but you promise me (that) you will buy (the goods for) me. ครั้งแรกที่ได้ยินประโยคนี้ก็นึกขำในใจ “เรื่องอะไรฉันจะบายแกล่ะนังหนู ฉันจะเอาแกไปทำอะไรล่ะ” ระหว่างทางทั้งม้งเด็ก ม้งวัยรุ่น ม้งผู้ใหญ่ ม้งชรา (ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่เป็นผู้หญิง) ต่างก็ทะยอยงัดสินค้าที่ซุกไว้ในย่ามบ้าง ในตระกร้าบ้าง ออกมาเสนอขายกันทีละชิ้นสองชิ้นเพื่อลองทดสอบดีมานด์ของตลาด แต่อย่าเผลอลองหยิบ-จับอะไรเชียวนะ แม่เจ้าประคุณทั้งหลายจะมะรุมมะตุ้มอย่างรวดเร็ว เพื่อโชว์ว่าตัวเองก็มีสินค้าชนิดนั้นเหมือนกัน

20080515 spaceandtime 3

แม่สาวน้อยวัย 6 ขวบ ดูเหมือนจะพูดมากที่สุดในกลุ่ม ได้พยายามขายกระเป๋าสตางค์ให้ผู้เขียนตลอดเวลาเกือบสามชั่วโมง เธอได้ใช้ร่างกาย (ความเป็นเด็กน้อย ใสซื่อบริสุทธิ์ และการสู้อุตสาห์พลีกายเดินร่วมกับผู้เขียนถึงสามชั่วโมง) ให้ความเป็นม้ง (Being Homong) ใช้ทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ใช้การทวงถามเรื่องคุณธรรม (You said you promised me you will buy (the purses for) me.) (งง...เราไปสัญญาตอนไหนหว่า?) ใช้เหตุผล (เมื่อผู้เขียนพูดว่า I don’t want to buy this purse. I have a lot of purses. เธอกลับตอบว่า You buy for your sibling.) มาเป็น “มีเดี่ยม” เพื่อสร้างความหมายแก่สินค้า เพื่อมาต่อรองขายของได้อย่างน่าสนใจ เพื่อนชาวเวียดนามบอกผู้เขียนว่า she is very active (to use her power in the space of negotiation).

20080515 spaceandtime 4

แม้จะเป็น “A Shopping Sociologist” แต่ทว่าตอนนี้ผู้เขียนกลับรู้สึกไม่สนุกเลยที่ต้องแสดงพาวเวอร์เพื่อการนิโกชิเอท (และการปฏิเสธ) แบบใกล้ชิด ตาต่อตา ตัวต่อตัว เช่นนี้ ความจริงในฐานะผู้ที่คลั่งไคล้ผ้าไทโบราณและผ้าทอของชนเผ่า ผู้เขียนชอบเสื้อและสายรัดเอว รวมทั้งหมวก ของชาวม้งมาก อยากจะลองซื้อ ลองใส่ดู ได้แต่ถามราคา และแกล้งทำเป็นไม่สนใจ แม้จะแกล้งทำเป็นไม่สนใจเพียงใด แต่ความรักในผ้าชนเผ่าที่มีอยู่ในก้นบึ้งของหัวใจก็ทำให้อดไม่ได้ที่จะต้องเอาเสื้อมาลองใส่ดูตั้ง 3 ครั้ง ในขณะที่เพื่อนของผู้เขียนนั้นไม่สนใจเลย “อะไรนี่...ลูกค้าที่แสดงความชอบให้ผู้ขายเห็นอย่างออกนอกหน้านอกตาแบบนี้ ในเวทีการต่อรองเพื่อการซื้อขาย ถือว่าเราได้โชว์ความอ่อนแอออกไปแล้ว แล้วเราจะเอ็กซ์เซอร์ไซด์พาวเวอร์เพื่อการต่อรองอย่างไร” เป็นอันว่าผู้ขายกลุ่มนี้รู้แล้วว่าใน 3 คนนี้ ใครคือลูกค้าเป้าหมาย และลูกค้าเป้าหมายต้องการอะไร

เมื่อผู้เขียนแวะที่ร้านขายผ้าพื้นเมืองและแสดงความสนใจในตัวเสื้อ กลุ่มม้งดำที่เดินตามและยืนอยู่ข้างนอกร้านก็จะส่งเสียงเอะอะโวยวายเพื่อกดดันคนขายของในร้านค้า และเมื่อผู้เขียนจะซื้อผ้าชนิดเดียวกับที่พวกเขามีเพราะราคาถูกว่าที่พวกเขาเสนอขาย ผู้เขียนต้องหันไปบอกกับกลุ่มม้งผู้ติดตามว่า “แอมมัวเดือกเคิม” (ฉันขอซื้อผ้านี้ได้มั้ย) เมื่อกลุ่มม้งผู้ติดตาม(ตื้อ)บอกว่า “เดือก” (ได้) ผู้เขียนก็รู้สึกสบายใจที่จะซื้อผ้าจากร้านค้าอย่างบอกไม่ถูก (คิดแบบเป็นเหตุเป็นผล “มันก็เงินเรานี่หว่า ทำไมเราจะต้องหันไปขออนุญาตม้งกลุ่มนี้ด้วย”) ก็โธ่ถัง!...แสดงว่าท่ามกลางการสื่อสารกับกลุ่มม้งตลอดเวลาที่เราเดินไปด้วยกัน (Interaction) เราได้ถูกควบคุมโดยการให้ความหมายไปแล้วว่า “ผ้าของพวกเขาไม่ใช่ผ้าธรรมดานะ พวกเขาอุตสาห์สู้อดทนเดินตามขายให้เราตั้งสามชั่วโมงแน่ะ” เมื่อความรักสำแดงพลัง อำนาจและเหตุผลก็น้อยลง การถูกควบคุม (โดยความหมายของสินค้า) ผ่านการ “พลีกาย” เดินร่วมทางกับเรา จึงเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย

และแล้วเมื่อเดินครบแปดกิโลเมตร ผู้เขียนก็ได้ซื้อเสื้อม้งไป 2 ตัว กระเป๋าสตางค์ 4 ใบ ผ้าคลุมผม 1 ผืน ในราคาที่แพงกว่าตลาดซาปา พร้อมกับได้ความเป็น A Shopping Sociologist ผู้แพ้ในเวทีการเอ็กเซอร์ไซด์พาวเวอร์เพื่อการนิโกชิเอทที่มีความสุข “ก็นี่มันเป็นผ้าที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเชียวนะ และรู้มั้ยว่ากว่าที่เขาจะปักผ้าผืนนี้ได้ เขาใช้เวลาเท่าไร แถมพลีกายเดินตามเราตั้งสามชั่วโมง ไอ้เรามันก็คนใจดี ขี้สงสารด้วยนี่นา ไอ้กระเป๋าสตางค์ที่ไม่อยากได้ก็ช่วยเขาซื้อ..อย่างน้อยก็ได้บุญละว้า”

ตอนที่สอง ผู้เขียนจะเล่าเรื่องการเอ็กเซอร์ไซพาวเวอร์และความรักกับกลุ่ม “เย้าแดง” และพ่อค้า-แม่ค้าใน “ตลาดซาปาซิตี้” โปรดติดตามในสัปดาห์หน้า

บล็อกของ ที่ว่างและเวลา

ที่ว่างและเวลา
ดอกเสี้ยวขาว เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนพี่น้องลาหู่บ้านนาน้อย ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ และได้กำลังใจอย่างเต็มเปี่ยมอีกครั้ง เมื่อได้ร่วมพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ นั่นคือพิธีมอเลเว ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเคารพธรรมชาติ อย่างนอบน้อม ไก่ หมู ข้าว อาหาร ผลไม้ ของเซ่นไหว้ที่พี่น้องชาวบ้านร่วมกันนำมาบูชา ถูกจัดเตรียมไว้ พร้อมที่จะทำพิธีกรรม บริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ กลิ่นธูปได้ลอยคละคลุ้งไปทั่วบริเวณงาน ท่ามกลางความเชื่อที่มีต่อผืนป่า ผีป่า ที่คอยปกปักรักษาดงดอยแห่งนี้   อะโหล ปุแส ผู้นำบ้านนาน้อย ได้อธิบายคำว่า มอ เลเว คำว่า มอ…
ที่ว่างและเวลา
อาภัสสร สมบุลย์วัฒนากุล  เสียงเพลงเดือนเพ็ญจากการขับร้องของฉันจบลง ท่ามกลางเสียงปรบมือของผู้เข้าร่วมงานสามร้อยกว่าคน ที่หอประชุมในมหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่ เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา งานนี้ร่วมจัดโดยเพื่อนพ้องจากพม่าที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และเพื่อนพ้องคนไทย เพื่อช่วยระดมทุนไปให้พี่น้องชาวพม่าผู้ประสบภัยจากพายุไซโคลนนาร์กิส ฉันบอกพวกเขาว่าฉันไม่ใช่นักร้อง แต่อยากมาร้องเพลง...เพื่อร่วมเป็นกำลังใจให้ทั้งผู้ประสบภัย และเพื่อนชาวพม่าที่อยู่ในไทย ให้สู้ต่อไปอย่างมีความหวัง คืนนั้น ฉันได้เพื่อนใหม่อีกมากมาย…
ที่ว่างและเวลา
อัจฉรียา เนตรเชยต่อจากตอนที่แล้วผู้เขียนกับเพื่อนชาวเวียดนามถกเถียงกันว่า ความจริงแล้วชาวม้งดำที่นี่ “เวรี่แอ็กทีฟ” ในระบบตลาด แต่ทำไมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น ที่โรงแรม ร้านอาหาร หรือมัคคุเทศน์ (ซึ่งก็เป็นธุรกิจหนึ่งในระบบตลาด) แทบจะไม่มีชาวม้งดำเข้าไปเป็นลูกจ้างเลย เพื่อนเวียดนามบอกว่าอาจจะเป็นไปได้ว่าเพราะพวกเขามีการศึกษาต่ำ
ที่ว่างและเวลา
อัจฉริยา  เนตรเชยเมื่อสัปดาห์ก่อนผู้เขียนซึ่งเป็นนักเรียนเรียนภาษาเวียดนามที่ฮานอยได้ใช้เวลา 3 วันไปเป็นนักท่องเที่ยวที่ซาปา (Sa Pa) เมืองในหมอกบนพื้นที่สูงของภาคเหนือของเวียดนาม ภูเขาที่นี่สูงเสียดฟ้าสลับซับซ้อนกันหลายลูกจริงๆ จนภูเขาบ้านเราสมควรถูกเรียกว่า “ฮิล” มากกว่า “เม้าเท่นท์” นาขั้นบันไดก็มีให้เห็นกันอย่างดาษดื่นจนกลายเป็นโลโก้ของเมืองนี้ หมู่บ้านม้งดำ และเย้าแดงกลางหุบเขา น้ำตกและลำธารใสๆที่ไหลผ่านกลางหมู่บ้านมีให้เห็นตลอดสองข้างทาง ทำให้ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนอันสุดแสนจะโรแมนติกของคู่รัก เมื่อต้นปีใครๆ ก็บอกว่าหิมะตกที่ซาปาสวยงามมาก...อยากเห็น (…
ที่ว่างและเวลา
สัมภาษณ์-เรียบเรียง : บัณฑิต เอื้อวัฒนานุกูลรศ.ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมณ์ เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเชี่ยวชาญภาษาทิเบต ทำวิจัยเรื่องทิเบตมานานนับ 10 ปี เคยเดินกราบอัษฎางคประดิษฐ์ (เดิน 3 ก้าว ก้มกราบ 1 ครั้ง) บนเส้นทางของนักแสวงบุญอันเก่าแก่ทุรกันดาร ณ เขาไกรลาสเป็นระยะทางกว่า 80 กม. ปัจจุบันเป็นประธานมูลนิธิพันดารา (Thousand Stars) ซึ่งเป็นองค์กรสร้างการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องพุทธศาสนาแบบวัชรยานในสังคมไทย และยังคงเดินทางไปทิเบตอยู่เสมอมิว เยินเต็น บวชเรียนใต้ร่มกาสาวพัตร์ของพุทธศาสนาวัชรยานในบ้านเกิดที่ทิเบตมานาน 27 ปี เป็นผู้ติดตาม อ.กฤษดาวรรณ…
ที่ว่างและเวลา
ภู เชียงดาวพะโด๊ะ มาน ซาห์อดีตเลขาธิการสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง กี่ชีวิต…ที่เคว้งคว้างกลางป่ากี่ร่างที่ผวาลอยละลิ่วลับดับสูญนี่คือผลพวงของสงครามนี่คือการกระทำของศัตรูผู้โหดเหี้ยม ผู้บาปหนาและน่าละอายที่คอยกดขี่ข่มเหง เข่นฆ่า ผู้คนหญิงชาย, บริสุทธิ์ผู้รักสันติและความเป็นธรรมเถิดไม่เป็นไร...เราจะไม่ทุกข์ ไม่ท้อใบไม้ใบหนึ่งถูกปลิดปลิวร่วงหากบนก้านกิ่งนั้นยังคงมีใบอ่อนแตกใบให้เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันยังคงมุ่งมั่นกันอยู่ใช่ไหม นักรบผู้กล้ากับความฝัน ความกล้าในแผ่นดิน ‘ก่อซูเล’ปลุกเร้าจิตวิญญาณเพื่อสืบสานตำนานการต่อสู้เพื่อรอวันทวงคืนผืนแผ่นดินเกิดยังจำกันได้ไหม...…
ที่ว่างและเวลา
‘ดอกเสี้ยวขาว’   การที่ต้องลำบากเดินลัดเลาะไปตามร่องเขา ไต่ขึ้นไปบนความสูงชัน นานหลายชั่วโมง เพียงเพื่อไปกวาดใบไม้บนสันดอยสูงนั้น หลายคนอาจมองเป็นเรื่องธรรมดาไม่สำคัญ แต่สำหรับผมกลับมองว่า นี่ไม่ใช่เรื่องใหญ่และไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน ที่นั่น, บนสันดอยสูง...พวกเขาช่วยกันกวาดใบไม้ ก่อนที่จะจุดไฟเผา ซึ่งไม่ได้ไปคนเดียว แต่ไปร่วมกันหมดทุกหลังคาบ้าน มีทั้งผู้เฒ่า เด็กเยาวชน ผู้ใหญ่ ผู้นำทางศาสนา ฯลฯ “ตอนนี้ถ้าทางการเขาสั่งห้ามเผาป่า จะทำได้มั้ย?...” ผมลองแหย่ถามชาวบ้าน “แล้วถ้าเขาสั่งห้ามกินข้าว เราจะทำได้มั้ย...ถ้าเชื่อ เราก็ไม่ได้กินข้าว ไม่ได้กินอะไรเลย...”…
ที่ว่างและเวลา
เรื่อง/ภาพโดย วัชระ สุขปาน ลำธารสีเทา ขัดเงา จนเกิดริ้วสีเงิน ฝูงปลาพลิกพลิ้วตัว สะท้อนแสงกลับไปบอกเวลากับดวงอาทิตย์
ผักกูดอ่อน ยอดใบบอน ยอดผักหนาม ฟ้อนอรชรอยู่ริมคุ้งน้ำ ถ้ายังไม่มีใครไปเก็บ ก็จะเป็นสุมทุม ที่วัวควายชอบซุ่มตัวต้นไม้ล้มขวางลำธารโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นเพราะธรรมชาติ ก็พอเป็นสะพานใช้ข้ามไปถึงเขียงนา ก็ยังมีขนุน มะม่วง ส้มโอ ถั่ว ข้าวโพดสาลี พริก มะเขือ และพืชผักๆ ฯลฯ ให้ได้เห็น และเก็บกินก่อไฟ ต้มน้ำชา นั่งสนทนา และ บ้างเคี้ยวเมี่ยง สูบยาขี้โย
ที่ว่างและเวลา
ธีรเชนทร์  เดชานักสังคมสงเคราะห์1“หนูมีแม่อยู่สองคนค่ะ” เสียงของเด็กหญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่งบอกเล่าให้ฟัง “วันนี้หนูมาหาแม่อีกคนหนึ่งของหนู…”“แล้วหนูจำได้ไหมว่าแม่หนูรูปร่างหน้าตาเป็นยังไง” ผมลองเอ่ยถามเธอดู ภายหลังคำถาม เด็กหญิงทำท่าทางเหมือนครุ่นคิดอะไรบางอย่าง....เธอนิ่งนานในความเงียบงัน.....แต่ในแววตาที่ไร้เดียงสานั้น เหมือนจะบอกกับผมอยู่อย่างนั้นว่าเธอจำแม่ของเธอได้ดี...เธอจำได้นะ...ผมไม่แปลกใจว่าทำไมเธอถึงให้คำตอบในสิ่งที่ผมถามเธอก่อนหน้านี้ไม่ได้  แม่...ที่เธอกำลังมาหาในวันนี้นั้น คือแม่แท้ๆ ที่อุ้มท้องเธอมา เป็นแม่ผู้ให้กำเนิด แต่ด้วยเหตุผลและความจำเป็นบางอย่าง…
ที่ว่างและเวลา
‘ลีนาร์’ “ยามเมื่อเราต่างพูดถึงความสุข จะเกิดพลังขึ้นและสร้างคุณค่าขึ้นมาได้”คำกล่าวจากใบหน้ายิ้มแย้มของ ลิซ่า คาเมน เจ้าของภาพยนตร์สารคดีเรื่อง H-FACTOR: where is your heart? ที่เธอและลูกสาวสำรวจธรรมชาติของความสุขของผู้คนข้ามทวีปผ่านคำถามง่าย ๆ ‘ความสุขของคุณคืออะไร’ย้อนไปในวันหนึ่ง ขณะที่ลิซ่าปั่นจักรยานผ่านตอนเหนือของประเทศอินเดีย เธอฉุกคิดขึ้นมาว่าจะทำอย่างไรให้ชาวอินเดียจะแสดงออกถึงความสนุกและความสุขอย่างแท้จริงท่ามกลางความอัตคัดขัดสนที่ยังคงดำเนินอยู่ในเวลานั้น นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของหัวข้อหลักของสารคดีซึ่งเธอและเคย์ล่า ลูกสาววัย 9 ขวบของเธอ…
ที่ว่างและเวลา
‘โถ่เรบอ’หนังสือนวนิยายขนาดสั้น เรื่อง  “เพลงรักช่อดอกไม้” ของ ‘พิบูลศักดิ์ ละครพล’ ที่เคยตีพิมพ์เป็นตอนๆ ใน ‘สกุลไทย’ เมื่อปี 2520 ก่อนสำนักพิมพ์จันทร์ฉายจะนำมารวมเล่มครั้งแรก ในปี 2521 นั้นเปิดฉากด้วยเนื้อเพลงปกาเก่อญอ ที่ชื่อ “แพลาเก่อปอ”“แพลาเก่อปอ ในคืนพระจันทร์ส่องแสง ฉันนั่งเหม่อมอง คอยจ้องแทะนาเต่อกาฉันคอยแสนคอย บะฉ่าเตอถี่บะนา เส่ นอ ถ่อแย เมื่อฉันเคียงคู่กับเธอแมแหม่แคอี ฉันต้องอยู่เดียวเปลี่ยวดายมองหาคู่เคียง บะฉ่าเตอถี่เลอบาโอ้ยอดดวงใจ  แคอีเนอโอะแพแลโปรดจงเห็นใจ เกอหน่าเยอพอคีลา”เพลงนี้ติดหูชาวปกาเก่อญอยาวนานมากว่าสามสิบปี ถือได้ว่าเป็นเพลงยุคแรกๆ…
ที่ว่างและเวลา
‘ฐาปนา’ ผมพบเขาในวันที่เชียงใหม่ยังเปียกปอนจากสายฝน เขาแต่งกายเรียบง่าย บุคลิกคล้ายนักบวช ดูแข็งแรงเหมือนคนอายุสามสิบกว่าๆ  เมื่อได้สนทนา แม้น้ำเสียงเป็นกันเอง แต่ก็แฝงความเคร่งครัดไม่น้อย เขาคือผู้ริเริ่มการเขียน “แคนโต้” บทกวีสามบรรทัดจำนวนสี่ร้อยบทเมื่อสามสิบกว่าปีก่อน ,เป็นผู้ก่อตั้งเวบไซต์ ไทยแคนโต้ (www.thaicanto.com) เมื่อสองปีที่แล้ว และกลายเป็นเวทีที่ใหญ่ที่สุดของบทกวีสามบรรทัด มีแคนโต้นับพันนับหมื่นบท ปรากฎอยู่ในเวบไซต์แห่งนี้ล่าสุด เขามีผลงานวรรณกรรมขนาดยาวแปดร้อยหน้า ที่ชื่อ “โรงเรียนที่เงียบที่สุดในโลก”โดดเดี่ยว และ เด็ดเดี่ยว น่าจะเป็นคำจำกัดความที่ชัดเจนที่สุดสำหรับตัวเขา…