Skip to main content

อัจฉริยา  เนตรเชย

เมื่อสัปดาห์ก่อนผู้เขียนซึ่งเป็นนักเรียนเรียนภาษาเวียดนามที่ฮานอยได้ใช้เวลา 3 วันไปเป็นนักท่องเที่ยวที่ซาปา (Sa Pa) เมืองในหมอกบนพื้นที่สูงของภาคเหนือของเวียดนาม

ภูเขาที่นี่สูงเสียดฟ้าสลับซับซ้อนกันหลายลูกจริงๆ จนภูเขาบ้านเราสมควรถูกเรียกว่า “ฮิล” มากกว่า “เม้าเท่นท์” นาขั้นบันไดก็มีให้เห็นกันอย่างดาษดื่นจนกลายเป็นโลโก้ของเมืองนี้ หมู่บ้านม้งดำ และเย้าแดงกลางหุบเขา น้ำตกและลำธารใสๆที่ไหลผ่านกลางหมู่บ้านมีให้เห็นตลอดสองข้างทาง ทำให้ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนอันสุดแสนจะโรแมนติกของคู่รัก

เมื่อต้นปีใครๆ ก็บอกว่าหิมะตกที่ซาปาสวยงามมาก...อยากเห็น (แต่ใครเลยจะรู้ว่าควายที่เป็นแรงงานสำคัญในการทำนาขั้นบันไดของชาวม้งดำและเย้าแดงตายไปหลายตัวเพราะทนต่อความหนาวเหน็บไม่ไหว ทำให้คนเย้าแดงที่ไม่เคยรู้จักคำว่าหนี้สินต้องเป็นหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตร 10 ล้านด่อง หรือประมาณ 21,250 บาท เพื่อซื้อรถไถนาเดินตามขนาดเล็กกว่าคูโบต้าบ้านเราถึง 1 ใน 3 หรือราคาเท่ากับลูกควายน้อย 1 ตัว มาแทน แถมยังต้องฝึกใช้อย่างล้มลุกคลุกคลานในขี้ตมท่ามกลางกำลังใจของเพื่อนบ้านรอบๆคันนานับสิบคน)

ในฐานะที่เป็นผู้กระหายในการทำวิจัยเรื่อง “ตลาดๆ” โดยเฉพาะเรื่องผ้าทอพื้นเมือง ทำให้ผู้เขียนรู้สึกตื่นตาตื่นใจในสีสัน ชีวิตชีวา และการเอ็กเซอร์ไซพาวเวอร์ของผู้คนในตลาดผ้าแห่งซาปานี้ อย่างบอกไม่ถูก หลายครั้งในฐานะ “A Shopping Sociologist” ผู้คลั่งไคล้ในผ้าทอพื้นเมือง (ตามที่นักวิชาการเวียดนามคนหนึ่งให้ฉายาไว้) ก็อดเข้าไป “เอ็กเซอร์ไซด์อำนาจ (และความรัก)” กับผู้คนในตลาดผ้าของที่นี่ไม่ได้

ความประทับใจในตลาดผ้าของผู้เขียนเกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่ทันที่จะได้ลงจากรถบัสไปยังโรงแรมที่พักเลย (เนื่องจากรถบัสต้องไปส่งฝรั่งหลายคนที่พักอยู่ใกล้เส้นทางก่อน) เมื่อฝรั่งลงจากรถ เสียงม้งดำหลายคนที่หอบผ้าทอเอาไว้ต่าง “สปี๊กอิงลิช” กันเป็นต่อยหอย ตั้งแต่ Hello! What is your name? Where are you from? Do you want to buy (the goods for) me? และถ้าฝรั่งผู้ใดหันไปเชยชมสินค้าแม้แต่มองหรือจับดู ฝรั่งผู้นั้นก็จะถูกรุม(ล้อม)จากม้งดำหลายคน ซึ่งไม่รู้ว่ามาจากที่ไหน มาอย่างรวดเร็ว จนฝรั่งเกือบดิ้นหลุดไปไม่ได้ (โปรดดูภาพแรก) ต้อง “โชว์ พาวเวอร์” โดยใช้สีหน้าแบบทำหน้าตายๆ หรือแบบหมดแรง หรือทำหน้าเข้มๆ เหี้ยมๆ อย่างไร้ความปรานีว่า “ฉันไม่ต้องการ” จึงจะหลุดออกไปได้

20080515 spaceandtime 1

ตอนที่ผู้เขียนก็นั่งทานอาหารเช้าบนชั้นสองของโรงแรม มองลงและมองผ่านออกไปนอกหน้าต่างซึ่งเป็นกระจกใส ก็เห็นหญิงผู้เฒ่าม้งดำ 3 คน มาเสนอขายผ้าอยู่ข้างนอกโรงแรม พวกหล่อนกางผ้าออกมาโชว์แล้วยิ้มหวานให้ผู้เขียนกับเพื่อน พร้อมกับพยักหน้าเชิญชวนให้ลงมาเชยชม เมื่อผู้เขียนยิ้มตอบ แต่ยังไม่ตอบรับคำเชิญที่ลงให้ไปเชยชม บรรดาป้าๆ ก็หยิบสินค้าตัวใหม่จากกระบุงที่แบกอยู่ข้างหลังมากางโชว์ใหม่ เพื่อ “นิโกชิเอท” (Negotiate - เจรจาต่อรอง) กับผู้เขียนว่า “ลงมาดูของป้าๆซะดีๆ...นังหนู” ผู้เขียนก็ได้แต่ยิ้มและสบตากลับไปเพื่อ “นิโกชิเอท” ว่า “ฮะฮ่า...เรามีพาวเวอร์เหนือกว่าพวกป้าๆ ไอ้เรื่องจะมารุมล้อมเราเหมือนฝรั่งโดน แล้วบังคับให้เราต้อง make หน้าโหดๆเพื่อหนีเอาตัวรอด ให้รู้สึกผิดนิดๆนะเหรอ...อย่าหวังซะให้ยากเลย ป้าทำอะไรเราไม่ได้หรอก เราอยู่บนหอคอยงาช้าง ยังไงคนไทยก็ปฏิเสธได้โดยยังมี “ยิ้มสยาม” เป็นเอกลักษณ์อยู่ดี”

20080515 spaceandtime 2

ซึ่งก็เหมือนกับป้าม้งดำ 2 คนที่พยายามขายผ้าทอผืนใหญ่แก่ผู้เขียนในเวลาที่ผู้เขียนนั่งรับประทานอาหารกลางวันอยู่ในร้านอาหารด้วยการใช้การโชว์ผ้า ยิ้ม สบตา พยักหน้า เพื่อเป็นสื่อกลาง (medium-มีเดี่ยม) ให้ผู้เขียนออกมาหาเธอ (ดูภาพที่สอง) เรื่องอะไรจะออกไปเสียให้ยาก ขืนก้าวออกไปมีหวังเราต้องถูกเธอ “คอนโทล” ความหมายของผ้ามากขึ้น เธอจะต้องงัด “ความเป็น(ชนเผ่า)ม้ง เอกลักษณ์/ความสวยงาม/ความยาก/ความอดทนในการทอ” หรือ being Hmong รวมทั้งความเป็นคนชรา เพื่อนิโกชิเอทให้ผู้เขียนยอมรับความหมายเหล่านั้นให้ได้ แม้ว่าเราจะไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาพูดกันได้เลย แต่ “มีเดี่ยม” ที่ป้าม้งดำใช้ในการนิโกชิเอทกลับถูกงัดมาใช้อย่างแพรวพราว และท้ายที่สุด(ถ้าผู้เขียนเดินออกไปหาเธอ) ก็ต้องลงเอยด้วยการเป็น “ผู้ซื้อที่มีความสุข” (กับความหมายของผ้าทอ) แต่ในเวทีการนิโกชิเอทนี้ผู้เขียนยังทนใจแข็งไม่ยอมซื้อจนได้  เมื่อป้าม้งดำใช้  “being Hmong” มาต่อรองไม่สำเร็จ เธอจึงพูดว่าถ่ายรูปเธอแล้วต้องซื้อผ้าเธอ (อันนี้เพื่อนชาวเวียดนามแปลให้ฟังทีหลัง) “นั่นแน่ะ! คราวนี้งัดเหตุผลทางธุรกิจมาต่อรองกันเลย... เธอได้รูปฉันไป ฉันก็ต้องได้อะไรจากเธอบ้างสิ!”

เรื่องการโชว์สินค้าของป้าๆนี้ทำให้ผู้เขียนสงสัยว่า ทำไมบางคนเลือกที่จะขายสินค้าบางอย่าง บางคนเลือกอีกอย่าง ทั้งๆที่สินค้าผ้าทอ ผ้าปักของม้งก็มีตั้งหลายอย่าง เขาคิดและเขามีมุมมองอย่างไร ป้าบางคนเลือกที่จะขายผ้าคลุมโต๊ะ บางคนขายกระเป๋า บางคนชายเสื้อ บางคนขายกระโปรง บางคนขายสายคาดเอว หรือผสมกัน 2-3 อย่าง นอกจากนี้เวลาเขามองคนที่จะเป็นลูกค้าเขา เขามองอย่างไร เขาประเมินอย่างไร คนที่เป็นหญิง คนที่เป็นฝรั่ง บางคนเป็นเวียดนาม บางคนเป็นเอเชีย

เรื่องนี้ทำให้นึกถึงตอนผู้เขียนนั่งรับประทานอาหารที่จังหวัดลาวก๊าย (Lao Cai) เพื่อรอขึ้นรถไฟกลับฮานอย มีแม่ค้าเวียดนามที่เดินเร่ขายของต่างๆ สารพัด ในรูปของตระกร้าห้อยคอ ตั้งแต่ขนม ลูกออม ยาดม ยาหม่อง ทิชชู่ ฯลฯ เมื่อหล่อนเจอฝรั่งชายหญิงคู่หนึ่ง เธอหยิบไฟฉายขนาดเล็กออกมาเสนอขาย แต่ถูกปฏิเสธไป พอเดินมาหาผู้เขียนกลับหยิบโปสการ์ดมาเสนอขาย แต่ก็ถูกปฏิเสธไปอีกเช่นกัน ผู้เขียนมองตามต่อว่าเธอจะหยิบอะไรขายให้ลูกค้าคนอื่น ปรากฎว่าเป็น...(อะไรจำไม่ได้แล้วแต่ไม่ใช่ทั้งไฟฉายและโปสการ์ด) เธอประเมินอย่างไรว่าหน้าอย่างเราต้องโปสการ์ด หน้าอย่างฝรั่งคู่นั้นต้องไฟฉาย (แม้ว่าการประเมินของเธอจะประสบความล้มเหลวในครั้งนั้นก็ตาม)

กลับมาดูการ “เอ็กเซอร์ไซ์พาวเวอร์” เพื่อ “นิโกชิเอท” ของชาวม้งดำต่อ ที่ชุมชนตาพิน (Ta Phin) ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่บ้านย่อยๆ อีก 3 หมู่บ้าน นักท่องเที่ยวต้องเดินไปและกลับแบบครึ่งวงกลม กว่า 8 กิโลเมตร ใช้เวลาเดิน ดู นั่ง และคุยกับชาวบ้านม้งดำประมาณสามชั่วโมง เชื่อหรือไม่ว่าตั้งแต่ผู้เขียนลงจากรถก็มีชาวบ้านม้งดำนับสิบคนมารุม มาตุ้ม เซไฮ ทักทาย ถามชื่อ ไม่น่าเชื่อว่าพวกเขา “สปี๊กอิงลิชเวรี่เวล” แม้แต่เด็กผู้หญิงอายุไม่น่าจะเกิน 6 ขวบ (ในภาพที่ 3) หรือคนแก่อายุประมาณ 50 ตอนแรกนึกว่าท่องมาไม่กี่ประโยคเพื่อพูดกับนักท่องเที่ยว ที่ไหนได้กลับสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว ม้งกลุ่มนี้เดินตามผู้เขียนกับเพื่อนอีก 2 คน ตลอดเวลาเกือบสามชั่วโมง ตอนแรกก็ทักทายและชวนคุยเรื่องทั่วๆไป ต่อมาก็จะถามว่าต้องการซื้อสินค้าหรือไม่ และตั้งแต่นั้นมาจนครบสองชั่วโมงครึ่ง ก็คือเวลาแห่งการ “ปะลองกำลัง” เพื่อการขาย-ไม่ซื้อ/ซื้อสินค้าในราคาที่ดูดี-มีความสุข (ดูภาพ 4)

สาวน้อยวัย 6 ขวบบอกกับผู้เขียนว่า I will go together with you but you promise me (that) you will buy (the goods for) me. ครั้งแรกที่ได้ยินประโยคนี้ก็นึกขำในใจ “เรื่องอะไรฉันจะบายแกล่ะนังหนู ฉันจะเอาแกไปทำอะไรล่ะ” ระหว่างทางทั้งม้งเด็ก ม้งวัยรุ่น ม้งผู้ใหญ่ ม้งชรา (ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่เป็นผู้หญิง) ต่างก็ทะยอยงัดสินค้าที่ซุกไว้ในย่ามบ้าง ในตระกร้าบ้าง ออกมาเสนอขายกันทีละชิ้นสองชิ้นเพื่อลองทดสอบดีมานด์ของตลาด แต่อย่าเผลอลองหยิบ-จับอะไรเชียวนะ แม่เจ้าประคุณทั้งหลายจะมะรุมมะตุ้มอย่างรวดเร็ว เพื่อโชว์ว่าตัวเองก็มีสินค้าชนิดนั้นเหมือนกัน

20080515 spaceandtime 3

แม่สาวน้อยวัย 6 ขวบ ดูเหมือนจะพูดมากที่สุดในกลุ่ม ได้พยายามขายกระเป๋าสตางค์ให้ผู้เขียนตลอดเวลาเกือบสามชั่วโมง เธอได้ใช้ร่างกาย (ความเป็นเด็กน้อย ใสซื่อบริสุทธิ์ และการสู้อุตสาห์พลีกายเดินร่วมกับผู้เขียนถึงสามชั่วโมง) ให้ความเป็นม้ง (Being Homong) ใช้ทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ใช้การทวงถามเรื่องคุณธรรม (You said you promised me you will buy (the purses for) me.) (งง...เราไปสัญญาตอนไหนหว่า?) ใช้เหตุผล (เมื่อผู้เขียนพูดว่า I don’t want to buy this purse. I have a lot of purses. เธอกลับตอบว่า You buy for your sibling.) มาเป็น “มีเดี่ยม” เพื่อสร้างความหมายแก่สินค้า เพื่อมาต่อรองขายของได้อย่างน่าสนใจ เพื่อนชาวเวียดนามบอกผู้เขียนว่า she is very active (to use her power in the space of negotiation).

20080515 spaceandtime 4

แม้จะเป็น “A Shopping Sociologist” แต่ทว่าตอนนี้ผู้เขียนกลับรู้สึกไม่สนุกเลยที่ต้องแสดงพาวเวอร์เพื่อการนิโกชิเอท (และการปฏิเสธ) แบบใกล้ชิด ตาต่อตา ตัวต่อตัว เช่นนี้ ความจริงในฐานะผู้ที่คลั่งไคล้ผ้าไทโบราณและผ้าทอของชนเผ่า ผู้เขียนชอบเสื้อและสายรัดเอว รวมทั้งหมวก ของชาวม้งมาก อยากจะลองซื้อ ลองใส่ดู ได้แต่ถามราคา และแกล้งทำเป็นไม่สนใจ แม้จะแกล้งทำเป็นไม่สนใจเพียงใด แต่ความรักในผ้าชนเผ่าที่มีอยู่ในก้นบึ้งของหัวใจก็ทำให้อดไม่ได้ที่จะต้องเอาเสื้อมาลองใส่ดูตั้ง 3 ครั้ง ในขณะที่เพื่อนของผู้เขียนนั้นไม่สนใจเลย “อะไรนี่...ลูกค้าที่แสดงความชอบให้ผู้ขายเห็นอย่างออกนอกหน้านอกตาแบบนี้ ในเวทีการต่อรองเพื่อการซื้อขาย ถือว่าเราได้โชว์ความอ่อนแอออกไปแล้ว แล้วเราจะเอ็กซ์เซอร์ไซด์พาวเวอร์เพื่อการต่อรองอย่างไร” เป็นอันว่าผู้ขายกลุ่มนี้รู้แล้วว่าใน 3 คนนี้ ใครคือลูกค้าเป้าหมาย และลูกค้าเป้าหมายต้องการอะไร

เมื่อผู้เขียนแวะที่ร้านขายผ้าพื้นเมืองและแสดงความสนใจในตัวเสื้อ กลุ่มม้งดำที่เดินตามและยืนอยู่ข้างนอกร้านก็จะส่งเสียงเอะอะโวยวายเพื่อกดดันคนขายของในร้านค้า และเมื่อผู้เขียนจะซื้อผ้าชนิดเดียวกับที่พวกเขามีเพราะราคาถูกว่าที่พวกเขาเสนอขาย ผู้เขียนต้องหันไปบอกกับกลุ่มม้งผู้ติดตามว่า “แอมมัวเดือกเคิม” (ฉันขอซื้อผ้านี้ได้มั้ย) เมื่อกลุ่มม้งผู้ติดตาม(ตื้อ)บอกว่า “เดือก” (ได้) ผู้เขียนก็รู้สึกสบายใจที่จะซื้อผ้าจากร้านค้าอย่างบอกไม่ถูก (คิดแบบเป็นเหตุเป็นผล “มันก็เงินเรานี่หว่า ทำไมเราจะต้องหันไปขออนุญาตม้งกลุ่มนี้ด้วย”) ก็โธ่ถัง!...แสดงว่าท่ามกลางการสื่อสารกับกลุ่มม้งตลอดเวลาที่เราเดินไปด้วยกัน (Interaction) เราได้ถูกควบคุมโดยการให้ความหมายไปแล้วว่า “ผ้าของพวกเขาไม่ใช่ผ้าธรรมดานะ พวกเขาอุตสาห์สู้อดทนเดินตามขายให้เราตั้งสามชั่วโมงแน่ะ” เมื่อความรักสำแดงพลัง อำนาจและเหตุผลก็น้อยลง การถูกควบคุม (โดยความหมายของสินค้า) ผ่านการ “พลีกาย” เดินร่วมทางกับเรา จึงเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย

และแล้วเมื่อเดินครบแปดกิโลเมตร ผู้เขียนก็ได้ซื้อเสื้อม้งไป 2 ตัว กระเป๋าสตางค์ 4 ใบ ผ้าคลุมผม 1 ผืน ในราคาที่แพงกว่าตลาดซาปา พร้อมกับได้ความเป็น A Shopping Sociologist ผู้แพ้ในเวทีการเอ็กเซอร์ไซด์พาวเวอร์เพื่อการนิโกชิเอทที่มีความสุข “ก็นี่มันเป็นผ้าที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเชียวนะ และรู้มั้ยว่ากว่าที่เขาจะปักผ้าผืนนี้ได้ เขาใช้เวลาเท่าไร แถมพลีกายเดินตามเราตั้งสามชั่วโมง ไอ้เรามันก็คนใจดี ขี้สงสารด้วยนี่นา ไอ้กระเป๋าสตางค์ที่ไม่อยากได้ก็ช่วยเขาซื้อ..อย่างน้อยก็ได้บุญละว้า”

ตอนที่สอง ผู้เขียนจะเล่าเรื่องการเอ็กเซอร์ไซพาวเวอร์และความรักกับกลุ่ม “เย้าแดง” และพ่อค้า-แม่ค้าใน “ตลาดซาปาซิตี้” โปรดติดตามในสัปดาห์หน้า

บล็อกของ ที่ว่างและเวลา

ที่ว่างและเวลา
เพียงคำ ประดับความ -ภาค 1- กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว อีสปกับศรีธนญชัยเป็นเพื่อนรักกัน ทั้งคู่เป็นนักเล่านิทานชั้นยอด และต่างยังชีพด้วยการเดินทางไปเล่านิทานเปิดหมวกในที่ต่างๆ พวกเขาชอบเล่านิทานเรื่องเดียว กัน ด้วยรสนิยมในการเล่าที่แตกต่างกัน ศรีธนญชัยชอบเล่านิทานแห่งความสุข ส่วนอีสปชอบเล่านิทานแห่งความซาบซึ้ง
ที่ว่างและเวลา
 ปราโมทย์  แสนสวาสดิ์ 1 เม็ดฝนโปรยปรายยืดเยื้อมาตั้งแต่เมื่อวาน กระทั่งถึงช่วงเช้าก็ไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ทำให้บรรยากาศจุดผ่านแดนไทย-กัมพูชา  บริเวณด่านช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ เวลานี้ดูเทาทึบและเหงาหม่นไปตามอารมณ์ของฟ้าฝน ซึ่งแตกต่างกับในยามปกติที่นี่..จะคลาคล่ำไปด้วยผู้คนทั้งสองฝั่งที่เดินทางไปหาสู่กันเป็นประจำด้วยเหตุผลต่างๆกัน บางคนเข้ามาค้าขาย  บางคนเป็นนักเสี่ยงโชคกระเป๋าหนัก บางคนเป็นนักลงทุนผู้มองการณ์ไกล บางคนเข้ามาเยี่ยมญาติ บางคนค้าของเถื่อน หรือบางคนหนีความกันดารอดอยากเข้ามาขายเรือนร่างในเมือง กระทั่ง…
ที่ว่างและเวลา
ดอกเสี้ยวขาว     ยามสายของวันหนึ่ง ฝอยฝนหล่นลงมาอย่างไม่ขาดสาย ทำให้ถนนทางเข้าหมู่บ้านปางตอง ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เต็มไปด้วยโคลนดินแดงเข้ม ทำให้รถไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ ยิ่งถ้าหากเป็นรถธรรมดา หมดสิทธิ์ที่จะไต่ข้ามเส้นทางสายนี้ไปได้ นอกจากรถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น
ที่ว่างและเวลา
  วัชระ สุขปานเรื่องต่อไปนี้แต่งขึ้น ไม่ใช่เป็นเรื่องหาอ่านได้ทั่วไป โดยอิงสถานการณ์จริง ผู้แต่งได้พยายามควบคุม สั่งการ อาจมีการละเมิดเสรีภาพของตัวละครทุกท่าน แต่เหมาะสำหรับผู้อ่านทุกวัย   คีทอ ผู้มีมุมมองทางสุนทรียะภาพลดลงอย่างน่าเป็นห่วง เขานั่งจิบเบียร์เย็นๆ ทอดอารมณ์นิ่งๆ ภูเขาเบื้องหน้า คือดอยประจำเมือง ที่มีไฟป่าเป็นจุดๆ ผสมผสานกัน จนเป็นส่วนหนึ่งของแสงเมือง
ที่ว่างและเวลา
    เธอเอ๋ย... เย็นนี้แดดสุกสว่างน่าออกไปเดินเล่น ถนนกรวดสีน้ำตาลแลดูสวยเหมือนเดิม ใบไม้ใบหญ้าเขียวละไมตา เอ๊ะ..นั่นอะไรผลิบานตูมเต่งใต้ใบไม้แห้งหนอ อ๋อ!  เห็ดป่านั่นเอง  เจ้าหล่อนถูกเรียกมาเนิ่นนานว่า.. "เห็ดก้นครก" วงจรชีวิตของหล่อนนั้นอาศัยร่มไม้ใบบังอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ชื่อว่า "เจ้ากระบาก" ฉันค่อย ๆ เอื้อมมือไปทักทายเจ้าหล่อนอย่างนุ่มนวล ใช้ปลายนิ้วค่อย ๆ แตะไปที่หน้าบาน ๆ ของเจ้าหล่อน ด้วยเกรงว่าจะเกิดการแตกปริเสียหาย...หล่อนจะโกรธกริ้วและทำลายตัวเองเป็นเสี่ยง ๆ
ที่ว่างและเวลา
วัชระ สุขปาน  ที่ดินแปลงนี้ ขายด่วน 37 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวา ราคา 150 ล้านบาท ติดต่อ 081 204 x x x x  สัญญาณจากไส้เดือนใต้ดิน ยิงเครือข่ายขึ้นสู่ท้องฟ้า ผ่านปรากฏการณ์ ของดวงดาว โชคชะตาโดยรวม ของประชากร ในหมู่บ้านหนองปลาดุก ร่วมดวงดี ร่วมดาวร้าย พระศุกร์เข้า พระเสาร์ตอกบัตร สวมรอยบ้าง ล่าถอยบ้าง ก้าวหน้าบ้าง โคจรอยู่เหนือหมู่บ้าน
ที่ว่างและเวลา
โดย The Red Road Project 2009มีน้องชายคนนึงชื่อประหลาด เคยคุยกันถึงเรื่องนี้ เขาบอกสมัยเรียนประถม ไม่ชอบชื่อตัวเอง ปักชื่อตรงอกเสื้อนักเรียนยาวเกือบถึงรักแร้ เลยงอแง ไม่อยากไปโรงเรียน เพราะเขาชื่อ "อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ" ครูหว่านล้อมยังไงก็ไม่ได้ผล เลยเปลี่ยนชื่อเป็น "วัชรพล" เพื่อนๆ พี่ๆ คุณครูเรียกวัชรพล ตัวเขาเองก็เข้าใจมาตลอดว่าพ่อแม่เปลี่ยนชื่อให้แล้ว จนถึง ป.2 มีเหตุการณ์อะไรสักอย่างทำให้รู้ความจริงว่ายังคงชื่อเดิม เขาโกรธมากประสาเด็ก แต่พอโตขึ้นทำให้รู้ว่าชื่อประหลาดนี้มีประโยชน์ เพราะใครๆ…
ที่ว่างและเวลา
ที่ว่างและเวลา
  เพียงคำ ประดับความ 1 ภาพฝูงชนที่นั่งยืนเดินกันอยู่ตรงมุมสนามหลวง ทำให้คนผ่านทางมาอย่างผมก้าวเดินช้าลง หลายวันมานี้ เมื่อผ่านมาที่นี่ ผมมักอดไม่ได้ที่จะสอดส่ายสายตามองหาผู้คนจับกลุ่มคุยกันแล้วเงี่ยหูฟัง สุ้มเสียงที่เต็มไปด้วยความคับแค้นเหล่านั้น ทำให้ความเศร้าสร้อยที่ถมแน่นอยู่ในหัวใจของผมจางลงอย่างประหลาด "ทำแบบนี้มันไม่ถูก ทีไอ้พวกนั้นให้ท้ายพวกมันไปยึดสนามบิน"
ที่ว่างและเวลา
บางชีวิตเคว้งคว้างกลางความเหงา            หอบเอาความสุขเศร้าผสมผสานยิ้มรับชะตากรรมพันธนาการ                   ใช่,เพียงพบผ่านวิถีที่ผุพัง ยิ่งรื้อฟื้น ยิ่งรื้นรื้นน้ำตาไหล                    ยิ่งวาดหวัง ยิ่งไหวว้างร้างไร้หวังเงียบสะท้อนดิ่งลึกในภวังค์                 …
ที่ว่างและเวลา
หญ้าป่า “อยากจะบอกว่ามันเป็นอาชีพ มันเป็นงานของเรา คือหมายความว่าถ้ามีบ้านดีๆ ก็ขาดแม่บ้านไม่ได้นะ มันก็สำคัญและจำเป็น แล้วเราก็ไม่ได้มองตัวเองว่าเราด้อย...อยากจะบอกว่างานแม่บ้านมันก็เป็นงานสุจริต งานที่ดี ไม่ใช่งานต่ำต้อย...”   เมื่อพูดอาชีพแม่บ้าน หลายคนอาจมองผ่านข้ามไป ว่าเป็นงานที่ต่ำต้อย บางคนอาจมองว่าเป็นสิ่งไร้ค่า เป็นสิ่งฟุ่มเฟือย แต่กระนั้น คนทั่วไปก็อดที่จะเรียกใช้ ‘บริการ’ จากคนเหล่านี้ไม่ได้ และแน่นอนว่า หากเรามองเข้าไปในชีวิตจิตใจของพวกเธอ เราจะรู้ได้ว่า เบื้องหลังของความสำเร็จในสาขาอาชีพต่างๆ นั้น…
ที่ว่างและเวลา
   ดอกเสี้ยวขาวยามเช้าในหุบเขาผาแดง หมอกขาวยังคงปกคลุมทั่วท้องนา ความหนาวเริ่มย่างกรายมาเยือน ท้องทุ่งในยามนี้เต็มไปด้วยผู้คนต่างรวมแรงร่วมใจกันเอามื้อเอาแฮง (ลงแขก) บ้างช่วยกัน ตีข้าว (นวดข้าว) มัดข้าว และตัดข้าว หลังจากที่ต้องรอคอยมานานหลายเดือนกับการรอคอยผลผลิตแห่งฤดูกาล 'การตัดข้าว' ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า การอดข้าว ไม่กินข้าว แต่เป็นนวัตกรรมใหม่บวกกับภูมิปัญญาชาวบ้านที่คิดค้นขึ้นเอง โดยใช้รถตัดหญ้าแบบสะพาย มาดัดแปลง เปลี่ยนใบมีด และทำที่รองรับข้าว เพื่อใช้แทนการเกี่ยวข้าวของชาวนาในอดีต เครื่องตัดข้าว หรือเครื่องเกี่ยวข้าว นี้เป็นการคิดค้นโดยชาวบ้านแม่ป๋าม…