Skip to main content

อัจฉรียา เนตรเชย

ต่อจากตอนที่แล้ว

ผู้เขียนกับเพื่อนชาวเวียดนามถกเถียงกันว่า ความจริงแล้วชาวม้งดำที่นี่ “เวรี่แอ็กทีฟ” ในระบบตลาด แต่ทำไมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น ที่โรงแรม ร้านอาหาร หรือมัคคุเทศน์ (ซึ่งก็เป็นธุรกิจหนึ่งในระบบตลาด) แทบจะไม่มีชาวม้งดำเข้าไปเป็นลูกจ้างเลย เพื่อนเวียดนามบอกว่าอาจจะเป็นไปได้ว่าเพราะพวกเขามีการศึกษาต่ำ


ผู้เขียนเถียงกลับไปว่า “การศึกษาต่ำ แต่สปี๊กอิงลิชเวรี่เวลนะ” “เหงื่อยเวี่ยต” (คนเวียดนาม) จำนวนมากที่อยู่ในธุรกิจการท่องเที่ยว แม้การศึกษาสูงแต่พูดภาษาอังกฤษแทบไม่ได้เลย ชาวม้งเขาคงไม่ชอบทำงานภายใต้การควบคุมของคนอื่นมั้ง? ต้องลงเวลาเข้างานและกลับตรงเวลา น่าจะไม่ถูกกับ “จริตจะก้าน” อย่างรุนแรง และที่สำคัญคือต้องอาบน้ำมาทำงานทุกวันนี่ซิ!...มันทรมานอย่าบอกใครเลย และถ้าต้องอาบน้ำทุกวัน “ความเป็นม้ง” (being Hmong) ก็จะสูญสลายหายไปทันที กลับเข้ากลุ่มไม่ได้ ต้องกลายไปเป็น “เหงื่อยเวี่ยต” ในที่สุด

การมีรายได้ประจำ น่าจะไม่ใช่สิ่งที่สำคัญเท่ากับความเป็นอิสระของพวกเขา ใช่...พวกเขาทั้ง “จอยและเอ็นจอย” กับระบบตลาด (การท่องเที่ยว) ของที่นี่ แต่สิ่งที่สำคัญคือพวกเขามีอิสระที่จะจัดการและควบคุมมัน (ไม่ใช่ให้ตลาดมาจัดการและควบคุมเราอย่างที่เกษตรกรบ้านเราโดนกระทำ) มีอิสระในการเลือกประเภทสินค้าที่จะขาย สถานที่จะขาย คนที่เราจะขายให้ ตั้งราคาขาย ต่อรองราคา พอใจก็ขาย ไม่พอใจก็ไม่ขาย จะชมหรือจะด่าคนซื้อก็ได้ แถมเดินขายของให้นักท่องเที่ยว 3 ชั่วโมง พร้อมกับ “กลิ่นสาบสาว ที่สะสมมานานนับแรมปี” ก็ไม่มีใครว่าอะไร ได้บรรยากาศแท้ๆ ของหมู่บ้านม้งของเสียอีก นี่แหละ...อัตลักษณ์ของม้ง ถ้ามองในมุมของการ “นิโกชิเอท” (negotiate - เจรจาต่อรอง) เพื่อการขายสินค้า “ความเป็นม้งที่มาพร้อมกับกลิ่นสาบสาว” ก็คือ “มีเดี่ยม” (medium – สื่อกลาง) ของการ “นิโกชิเอท” เพื่อการ “ควบคุมตลาด” (ควบคุมอย่างไร ได้เล่าไปแล้วในตอนที่ 1) ดังนั้น ม้งที่ฉลาด จึงต้อง “รักนวล สงวนตัว(สาบสาว)” อันนี้ไว้ให้แม่นมั่น

กลับมาที่เรื่องหมู่บ้านเย้าแดง ที่ผู้เขียนสัญญาไว้ว่าจะเล่าให้ฟัง

วันที่สองของการท่องเที่ยว ผู้เขียนไปที่ชุมชน “ตาวัน” (Ta Van) พอไปถึงหมู่บ้านกลับมีชาวเย้าแดงออกมาต้อนรับ (นักท่องเที่ยว) ไม่มาก ประมาณ 5-6 คน (ไม่เหมือนบ้านม้งมากันสิบกว่าคน) แถมไม่ค่อยสนใจพวกเราเท่ากับที่เราไปบ้านม้ง ตอนแรกผู้เขียนก็นึกว่าเป็นเพราะวิธีการมาของผู้เขียน ที่บ้านม้ง ผู้เขียนขึ้นรถตู้ที่ดูหรูหราเหมือนคนรวยมาเที่ยว แต่คราวนี้มาโดย “แซโอม” (มอเตอร์ไซด์รับจ้าง) สงสัยชาวเย้าเขาจะประเมินว่า “เหงื่อย” (คน) พวกนี้ท่าทางจะจน หรือว่า ที่ไม่ค่อยมาต้อนรับเป็นเพราะธรรมชาติของชาวเย้าแดงที่ “ไม่ค่อยแอ๊กทีฟ” ไม่เหมือนชาวม้งดำ

แต่...ยังมิทันจะคิดถึงสมมติฐานข้อต่อไป ทันใดนั้น กลุ่มที่มาก็ “ยิ้มสะแหยะแหย๋” ให้แก่ผู้เขียนและเพื่อนเป็นนัยว่า “เวลคัมทูบ้านตาวัน” ออกมา (ดูภาพแรก...การยิ้มสะแหยะแหย) “โอ้ว้าว! นี่มันฟันเลี่ยมทองนี่นา” ว่าแล้วผู้เขียนก็หันไปจ้องที่ฟันทุกคนที่มาต้อนรับว่าเลี่ยมทองกันหรือเปล่า “แม่เจ้าประคุณเอ๊ย! แม่ใส่ฟันเลี่ยมทองกันแทบทุกคนเลย”

ผู้เขียนคิดต่อว่า “รวยอย่างนี้แล้ว เขาจะตามตื้อขายสินค้า(แบบที่ม้งดำทำ) กับเรามั้ย และถ้าเขาจะขาย นอกจาก “ความเป็นเย้า” แล้ว เขาจะเอาอะไรเป็น “มีเดี่ยม” ในการสร้างความหมายเพื่อการนิโกชิเอท” จากนั้นผู้เขียนก็ใจจดใจจ่อว่าเย้าแดงจะ “เอ็กเซอร์ไซด์พาวเวอร์” เพื่อการให้ความหมายแก่สินค้าอย่างไร พร้อมกับเตรียม “เอ็กเซอร์ไซด์พาวเวอร์” กลับไปเช่นกัน

20080522 (1)

ป้าๆ และพี่ๆ เย้าแดงดูเหมือนเข้าใจและปรับปรนกับธรรมชาติของนักท่องเที่ยวที่เป็นคนเมืองอย่างเรา ว่าไม่ชอบให้ติดตามตื้อ ชาวบ้านเย้าแดงที่นี่ต่างจากชาวบ้านม้งที่นั่น พวกเขาใช้วัฒนธรรมของคนเมือง โดยเชิญให้ไปนั่งคุยที่ “สมาคมสตรี” ของหมู่บ้าน ซึ่งแน่นอนว่าก็คือร้านขายสินค้าของกลุ่มสตรี (เหมือนบ้านเราเปี๊ยบเลย)

เมื่อเข้าไปถึงร้าน แน่นอนว่าสิ่งแรกที่ “A Shopping Sociologist” อย่างผู้เขียนโถมเข้าหาคือ “ผ้า” ป้าๆ เย้าแดงเขาไม่เดินตามติดผู้เขียนและพูดกดดันให้เราต้องซื้อ เวลาที่เราเดินดูผ้า แต่เขาจะสังเกตการณ์เราอยู่ห่างๆ เพื่อประเมินดีมานด์ว่าเราชอบอะไร และในบรรดา 3 คนที่มาด้วยกันนี้ใคร “เอียว” (รัก) ผ้ามากที่สุด เมื่อเดินดูแล้วผู้เขียนก็ไม่ได้ถามอะไรเลย เพราะผ้าของเย้าแดง (นอกจากผ้าคลุมผมสีแดง ซึ่งไม่มีขายในร้านค้านี้) นั้น ท่าทางจะแพงมาก เพราะโดยส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นผ้าปัก “แถมปักมากกว่าของม้งเสียด้วย เราก็ไม่ค่อยจะมีตังค์ ขืนไปถามราคาตอนนี้ มีหวัง...ต้องเอ็กเซอร์ไซด์พาวเวอร์อย่างหนัก ยุ่งแน่นอน ข่มใจไว้ก่อน...ข่มใจไว้ก่อน!”

ผู้เขียนจึงกลับไปนั่งล้อมวงคุยกับกลุ่มเย้าแดง ซึ่งพวกเขาเตรียมเก้าอี้ไว้รอเราแล้ว ชัดเจนว่าเขาใช้วัฒนธรรมของคนพื้นราบอย่างเราเริ่มต้นเปิดการ “อินเตอร์แอ๊กชั่น” หรือถ้ามองในมุมการซื้อ-ขาย คือการเปิดการ “นิโกชิเอชั่น” แล้ว โดยมีเพื่อนชาวเวียดนามเป็นล่ามให้ เราคุยกันนานมาก คุยตั้งแต่เรื่องเมืองไทย เชียงใหม่ เย้าที่เชียงใหม่ (ป้าๆเคยไปเชียงใหม่ในนามชนเผ่าซึ่งทางการเวียดนามจัดไป) ประวัติศาสตร์เย้าแดง เย้าแดงมาจากไหน เกี่ยวอะไรกับม้งดำ เป็นญาติอะไรกับ “เหงื่อยเวี่ยต” รู้สึกอย่างไรกับ “เหงื่อยไถเวียดนาม” (ผู้ไทดำ-ผู้ไทขาวที่เวียดนาม)

ระหว่างที่คุยจนเพลิน...ป้าเย้าแดงคนหนึ่งก็มาจับแขนผู้เขียนเบาๆ แล้วเอาเสื้อเย้ามาโชว์ให้ดู โอ้...สวยมากๆ เป็นเสื้อที่ไม่ได้ห้อยขายในร้านค้า ลายปักไม่มาก แสดงว่าราคาไม่น่าแพง เราน่าจะซื้อได้ นี่แสดงว่าพวกป้าๆ “ออฟเสิฟ ดีมานด์” ของตลาด (ตอนที่เราเดินดูเสื้อ) ประเมินได้ถูกต้องว่าใครคือลูกค้า (ต้องเป็นผู้เขียน ไม่ใช่เพื่อนผู้เขียนอย่างแน่นอน) และลูกค้าต้องการ “อะไร” ที่แตกต่างจากผ้าในร้านที่ห้อยขาย จากนั้นก็เข้าไปหลังร้านเพื่อไปคุ้ยเสื้อที่ว่านี้มาเสนอขายให้ผู้เขียน “ผู้เขียนเห็นปุ๊ป! เป็นต้องจับมาลองใส่ ทั้งๆที่เสื้อตัวนี้เขรอะมาก” (แต่เราดันใส่ได้สวยเสียด้วยสิ)

20080522 (2)

โดยวิธีนี้ แม่ค้าเย้าต่างจากแม่ค้าม้งมาก พวกเขาไม่ได้พยายามใช้มีเดี่ยมต่างๆ เพื่อมาคอนโทลความหมายของผ้าทอแก่ผู้เขียน (โดยเฉพาะไม่ได้พลีกายเดินร่วมกัน 3 ชั่วโมงเหมือนแม่ค้าม้ง) แต่ภายหลังจากการ “ออฟเสิฟ” ป้าเย้าแดงเชื่อว่า “ลูกค้าคนนี้ในจิตใจลึกๆ ต้องชอบผ้าของชนเผ่าแน่นอน” จากนั้นเมื่อวัฒนธรรมคนพื้นราบที่เราคุ้นเคย และความรู้สึกสบายๆ (เมื่อนั่งล้อมวงคุย) ถูกใช้ (จะโดยการวางแผนของป้าๆเย้าหรือไม่ก็ตาม) เหตุผลและพาวเวอร์ (ความระมัดระวังในการซื้อของ/ต่อรอง) ของผู้เขียนจึงถูก “ปลดปล่อย” ออกไป ที่เหลืออยู่คือจิตใจลึกๆ (underlying structure of meaning) ที่ “รัก” ผ้าชนเผ่า ซึ่งพร้อมจะ “ถูกตีความซ้ำ” (reinterpreted) อย่างอัตโนมัติ (generating itself)

ดังนั้น แค่เอามือมามือสัมผัสเบาๆ ที่แขน เพื่อให้ผู้เขียนหันไปดูผ้า(ผืนที่ป้าเย้าประเมินแล้วว่าต้องโดนใจเรา) “A Shopping Sociologist” ผู้ซึ่งกำลังคุยเรื่องประวัติศาสตร์เย้าอย่างเมามัน และยังไม่ทันจะ “บู๊ทพาวเวอร์” เพื่อมา “นิโกชิเอท” ในการซื้อผ้าอยู่นั้น โดยมิทันตั้งใจ (unintended action) จึงถามกลับไปด้วยแววตาอันกระหายใคร่ได้ ว่า “อ๋าวไน่ บาวเงียวเตี่ยน” (เสื้อนี้ราคาเท่าไร)

ในสัปดาห์หน้า โปรดตามตอนที่ 3 กับ “A Shopping Sociologist” ที่บ้านอีกหลังของเย้าแดง อีกหมู่บ้านหนึ่งของม้งดำ และตลาดผ้าที่เมืองซาปา ดูว่าชีวิตและจิตใจเธอจะเป็นอย่างไรในการเอ็กเซอร์ไซด์พาวเวอร์และความรักกับตลาดผ้าที่เมืองนี้

บล็อกของ ที่ว่างและเวลา

ที่ว่างและเวลา
เพียงคำ ประดับความ -ภาค 1- กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว อีสปกับศรีธนญชัยเป็นเพื่อนรักกัน ทั้งคู่เป็นนักเล่านิทานชั้นยอด และต่างยังชีพด้วยการเดินทางไปเล่านิทานเปิดหมวกในที่ต่างๆ พวกเขาชอบเล่านิทานเรื่องเดียว กัน ด้วยรสนิยมในการเล่าที่แตกต่างกัน ศรีธนญชัยชอบเล่านิทานแห่งความสุข ส่วนอีสปชอบเล่านิทานแห่งความซาบซึ้ง
ที่ว่างและเวลา
 ปราโมทย์  แสนสวาสดิ์ 1 เม็ดฝนโปรยปรายยืดเยื้อมาตั้งแต่เมื่อวาน กระทั่งถึงช่วงเช้าก็ไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ทำให้บรรยากาศจุดผ่านแดนไทย-กัมพูชา  บริเวณด่านช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ เวลานี้ดูเทาทึบและเหงาหม่นไปตามอารมณ์ของฟ้าฝน ซึ่งแตกต่างกับในยามปกติที่นี่..จะคลาคล่ำไปด้วยผู้คนทั้งสองฝั่งที่เดินทางไปหาสู่กันเป็นประจำด้วยเหตุผลต่างๆกัน บางคนเข้ามาค้าขาย  บางคนเป็นนักเสี่ยงโชคกระเป๋าหนัก บางคนเป็นนักลงทุนผู้มองการณ์ไกล บางคนเข้ามาเยี่ยมญาติ บางคนค้าของเถื่อน หรือบางคนหนีความกันดารอดอยากเข้ามาขายเรือนร่างในเมือง กระทั่ง…
ที่ว่างและเวลา
ดอกเสี้ยวขาว     ยามสายของวันหนึ่ง ฝอยฝนหล่นลงมาอย่างไม่ขาดสาย ทำให้ถนนทางเข้าหมู่บ้านปางตอง ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เต็มไปด้วยโคลนดินแดงเข้ม ทำให้รถไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ ยิ่งถ้าหากเป็นรถธรรมดา หมดสิทธิ์ที่จะไต่ข้ามเส้นทางสายนี้ไปได้ นอกจากรถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น
ที่ว่างและเวลา
  วัชระ สุขปานเรื่องต่อไปนี้แต่งขึ้น ไม่ใช่เป็นเรื่องหาอ่านได้ทั่วไป โดยอิงสถานการณ์จริง ผู้แต่งได้พยายามควบคุม สั่งการ อาจมีการละเมิดเสรีภาพของตัวละครทุกท่าน แต่เหมาะสำหรับผู้อ่านทุกวัย   คีทอ ผู้มีมุมมองทางสุนทรียะภาพลดลงอย่างน่าเป็นห่วง เขานั่งจิบเบียร์เย็นๆ ทอดอารมณ์นิ่งๆ ภูเขาเบื้องหน้า คือดอยประจำเมือง ที่มีไฟป่าเป็นจุดๆ ผสมผสานกัน จนเป็นส่วนหนึ่งของแสงเมือง
ที่ว่างและเวลา
    เธอเอ๋ย... เย็นนี้แดดสุกสว่างน่าออกไปเดินเล่น ถนนกรวดสีน้ำตาลแลดูสวยเหมือนเดิม ใบไม้ใบหญ้าเขียวละไมตา เอ๊ะ..นั่นอะไรผลิบานตูมเต่งใต้ใบไม้แห้งหนอ อ๋อ!  เห็ดป่านั่นเอง  เจ้าหล่อนถูกเรียกมาเนิ่นนานว่า.. "เห็ดก้นครก" วงจรชีวิตของหล่อนนั้นอาศัยร่มไม้ใบบังอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ชื่อว่า "เจ้ากระบาก" ฉันค่อย ๆ เอื้อมมือไปทักทายเจ้าหล่อนอย่างนุ่มนวล ใช้ปลายนิ้วค่อย ๆ แตะไปที่หน้าบาน ๆ ของเจ้าหล่อน ด้วยเกรงว่าจะเกิดการแตกปริเสียหาย...หล่อนจะโกรธกริ้วและทำลายตัวเองเป็นเสี่ยง ๆ
ที่ว่างและเวลา
วัชระ สุขปาน  ที่ดินแปลงนี้ ขายด่วน 37 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวา ราคา 150 ล้านบาท ติดต่อ 081 204 x x x x  สัญญาณจากไส้เดือนใต้ดิน ยิงเครือข่ายขึ้นสู่ท้องฟ้า ผ่านปรากฏการณ์ ของดวงดาว โชคชะตาโดยรวม ของประชากร ในหมู่บ้านหนองปลาดุก ร่วมดวงดี ร่วมดาวร้าย พระศุกร์เข้า พระเสาร์ตอกบัตร สวมรอยบ้าง ล่าถอยบ้าง ก้าวหน้าบ้าง โคจรอยู่เหนือหมู่บ้าน
ที่ว่างและเวลา
โดย The Red Road Project 2009มีน้องชายคนนึงชื่อประหลาด เคยคุยกันถึงเรื่องนี้ เขาบอกสมัยเรียนประถม ไม่ชอบชื่อตัวเอง ปักชื่อตรงอกเสื้อนักเรียนยาวเกือบถึงรักแร้ เลยงอแง ไม่อยากไปโรงเรียน เพราะเขาชื่อ "อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ" ครูหว่านล้อมยังไงก็ไม่ได้ผล เลยเปลี่ยนชื่อเป็น "วัชรพล" เพื่อนๆ พี่ๆ คุณครูเรียกวัชรพล ตัวเขาเองก็เข้าใจมาตลอดว่าพ่อแม่เปลี่ยนชื่อให้แล้ว จนถึง ป.2 มีเหตุการณ์อะไรสักอย่างทำให้รู้ความจริงว่ายังคงชื่อเดิม เขาโกรธมากประสาเด็ก แต่พอโตขึ้นทำให้รู้ว่าชื่อประหลาดนี้มีประโยชน์ เพราะใครๆ…
ที่ว่างและเวลา
ที่ว่างและเวลา
  เพียงคำ ประดับความ 1 ภาพฝูงชนที่นั่งยืนเดินกันอยู่ตรงมุมสนามหลวง ทำให้คนผ่านทางมาอย่างผมก้าวเดินช้าลง หลายวันมานี้ เมื่อผ่านมาที่นี่ ผมมักอดไม่ได้ที่จะสอดส่ายสายตามองหาผู้คนจับกลุ่มคุยกันแล้วเงี่ยหูฟัง สุ้มเสียงที่เต็มไปด้วยความคับแค้นเหล่านั้น ทำให้ความเศร้าสร้อยที่ถมแน่นอยู่ในหัวใจของผมจางลงอย่างประหลาด "ทำแบบนี้มันไม่ถูก ทีไอ้พวกนั้นให้ท้ายพวกมันไปยึดสนามบิน"
ที่ว่างและเวลา
บางชีวิตเคว้งคว้างกลางความเหงา            หอบเอาความสุขเศร้าผสมผสานยิ้มรับชะตากรรมพันธนาการ                   ใช่,เพียงพบผ่านวิถีที่ผุพัง ยิ่งรื้อฟื้น ยิ่งรื้นรื้นน้ำตาไหล                    ยิ่งวาดหวัง ยิ่งไหวว้างร้างไร้หวังเงียบสะท้อนดิ่งลึกในภวังค์                 …
ที่ว่างและเวลา
หญ้าป่า “อยากจะบอกว่ามันเป็นอาชีพ มันเป็นงานของเรา คือหมายความว่าถ้ามีบ้านดีๆ ก็ขาดแม่บ้านไม่ได้นะ มันก็สำคัญและจำเป็น แล้วเราก็ไม่ได้มองตัวเองว่าเราด้อย...อยากจะบอกว่างานแม่บ้านมันก็เป็นงานสุจริต งานที่ดี ไม่ใช่งานต่ำต้อย...”   เมื่อพูดอาชีพแม่บ้าน หลายคนอาจมองผ่านข้ามไป ว่าเป็นงานที่ต่ำต้อย บางคนอาจมองว่าเป็นสิ่งไร้ค่า เป็นสิ่งฟุ่มเฟือย แต่กระนั้น คนทั่วไปก็อดที่จะเรียกใช้ ‘บริการ’ จากคนเหล่านี้ไม่ได้ และแน่นอนว่า หากเรามองเข้าไปในชีวิตจิตใจของพวกเธอ เราจะรู้ได้ว่า เบื้องหลังของความสำเร็จในสาขาอาชีพต่างๆ นั้น…
ที่ว่างและเวลา
   ดอกเสี้ยวขาวยามเช้าในหุบเขาผาแดง หมอกขาวยังคงปกคลุมทั่วท้องนา ความหนาวเริ่มย่างกรายมาเยือน ท้องทุ่งในยามนี้เต็มไปด้วยผู้คนต่างรวมแรงร่วมใจกันเอามื้อเอาแฮง (ลงแขก) บ้างช่วยกัน ตีข้าว (นวดข้าว) มัดข้าว และตัดข้าว หลังจากที่ต้องรอคอยมานานหลายเดือนกับการรอคอยผลผลิตแห่งฤดูกาล 'การตัดข้าว' ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า การอดข้าว ไม่กินข้าว แต่เป็นนวัตกรรมใหม่บวกกับภูมิปัญญาชาวบ้านที่คิดค้นขึ้นเอง โดยใช้รถตัดหญ้าแบบสะพาย มาดัดแปลง เปลี่ยนใบมีด และทำที่รองรับข้าว เพื่อใช้แทนการเกี่ยวข้าวของชาวนาในอดีต เครื่องตัดข้าว หรือเครื่องเกี่ยวข้าว นี้เป็นการคิดค้นโดยชาวบ้านแม่ป๋าม…