Skip to main content

อัจฉรียา เนตรเชย

ต่อจากตอนที่แล้ว

ผู้เขียนกับเพื่อนชาวเวียดนามถกเถียงกันว่า ความจริงแล้วชาวม้งดำที่นี่ “เวรี่แอ็กทีฟ” ในระบบตลาด แต่ทำไมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น ที่โรงแรม ร้านอาหาร หรือมัคคุเทศน์ (ซึ่งก็เป็นธุรกิจหนึ่งในระบบตลาด) แทบจะไม่มีชาวม้งดำเข้าไปเป็นลูกจ้างเลย เพื่อนเวียดนามบอกว่าอาจจะเป็นไปได้ว่าเพราะพวกเขามีการศึกษาต่ำ


ผู้เขียนเถียงกลับไปว่า “การศึกษาต่ำ แต่สปี๊กอิงลิชเวรี่เวลนะ” “เหงื่อยเวี่ยต” (คนเวียดนาม) จำนวนมากที่อยู่ในธุรกิจการท่องเที่ยว แม้การศึกษาสูงแต่พูดภาษาอังกฤษแทบไม่ได้เลย ชาวม้งเขาคงไม่ชอบทำงานภายใต้การควบคุมของคนอื่นมั้ง? ต้องลงเวลาเข้างานและกลับตรงเวลา น่าจะไม่ถูกกับ “จริตจะก้าน” อย่างรุนแรง และที่สำคัญคือต้องอาบน้ำมาทำงานทุกวันนี่ซิ!...มันทรมานอย่าบอกใครเลย และถ้าต้องอาบน้ำทุกวัน “ความเป็นม้ง” (being Hmong) ก็จะสูญสลายหายไปทันที กลับเข้ากลุ่มไม่ได้ ต้องกลายไปเป็น “เหงื่อยเวี่ยต” ในที่สุด

การมีรายได้ประจำ น่าจะไม่ใช่สิ่งที่สำคัญเท่ากับความเป็นอิสระของพวกเขา ใช่...พวกเขาทั้ง “จอยและเอ็นจอย” กับระบบตลาด (การท่องเที่ยว) ของที่นี่ แต่สิ่งที่สำคัญคือพวกเขามีอิสระที่จะจัดการและควบคุมมัน (ไม่ใช่ให้ตลาดมาจัดการและควบคุมเราอย่างที่เกษตรกรบ้านเราโดนกระทำ) มีอิสระในการเลือกประเภทสินค้าที่จะขาย สถานที่จะขาย คนที่เราจะขายให้ ตั้งราคาขาย ต่อรองราคา พอใจก็ขาย ไม่พอใจก็ไม่ขาย จะชมหรือจะด่าคนซื้อก็ได้ แถมเดินขายของให้นักท่องเที่ยว 3 ชั่วโมง พร้อมกับ “กลิ่นสาบสาว ที่สะสมมานานนับแรมปี” ก็ไม่มีใครว่าอะไร ได้บรรยากาศแท้ๆ ของหมู่บ้านม้งของเสียอีก นี่แหละ...อัตลักษณ์ของม้ง ถ้ามองในมุมของการ “นิโกชิเอท” (negotiate - เจรจาต่อรอง) เพื่อการขายสินค้า “ความเป็นม้งที่มาพร้อมกับกลิ่นสาบสาว” ก็คือ “มีเดี่ยม” (medium – สื่อกลาง) ของการ “นิโกชิเอท” เพื่อการ “ควบคุมตลาด” (ควบคุมอย่างไร ได้เล่าไปแล้วในตอนที่ 1) ดังนั้น ม้งที่ฉลาด จึงต้อง “รักนวล สงวนตัว(สาบสาว)” อันนี้ไว้ให้แม่นมั่น

กลับมาที่เรื่องหมู่บ้านเย้าแดง ที่ผู้เขียนสัญญาไว้ว่าจะเล่าให้ฟัง

วันที่สองของการท่องเที่ยว ผู้เขียนไปที่ชุมชน “ตาวัน” (Ta Van) พอไปถึงหมู่บ้านกลับมีชาวเย้าแดงออกมาต้อนรับ (นักท่องเที่ยว) ไม่มาก ประมาณ 5-6 คน (ไม่เหมือนบ้านม้งมากันสิบกว่าคน) แถมไม่ค่อยสนใจพวกเราเท่ากับที่เราไปบ้านม้ง ตอนแรกผู้เขียนก็นึกว่าเป็นเพราะวิธีการมาของผู้เขียน ที่บ้านม้ง ผู้เขียนขึ้นรถตู้ที่ดูหรูหราเหมือนคนรวยมาเที่ยว แต่คราวนี้มาโดย “แซโอม” (มอเตอร์ไซด์รับจ้าง) สงสัยชาวเย้าเขาจะประเมินว่า “เหงื่อย” (คน) พวกนี้ท่าทางจะจน หรือว่า ที่ไม่ค่อยมาต้อนรับเป็นเพราะธรรมชาติของชาวเย้าแดงที่ “ไม่ค่อยแอ๊กทีฟ” ไม่เหมือนชาวม้งดำ

แต่...ยังมิทันจะคิดถึงสมมติฐานข้อต่อไป ทันใดนั้น กลุ่มที่มาก็ “ยิ้มสะแหยะแหย๋” ให้แก่ผู้เขียนและเพื่อนเป็นนัยว่า “เวลคัมทูบ้านตาวัน” ออกมา (ดูภาพแรก...การยิ้มสะแหยะแหย) “โอ้ว้าว! นี่มันฟันเลี่ยมทองนี่นา” ว่าแล้วผู้เขียนก็หันไปจ้องที่ฟันทุกคนที่มาต้อนรับว่าเลี่ยมทองกันหรือเปล่า “แม่เจ้าประคุณเอ๊ย! แม่ใส่ฟันเลี่ยมทองกันแทบทุกคนเลย”

ผู้เขียนคิดต่อว่า “รวยอย่างนี้แล้ว เขาจะตามตื้อขายสินค้า(แบบที่ม้งดำทำ) กับเรามั้ย และถ้าเขาจะขาย นอกจาก “ความเป็นเย้า” แล้ว เขาจะเอาอะไรเป็น “มีเดี่ยม” ในการสร้างความหมายเพื่อการนิโกชิเอท” จากนั้นผู้เขียนก็ใจจดใจจ่อว่าเย้าแดงจะ “เอ็กเซอร์ไซด์พาวเวอร์” เพื่อการให้ความหมายแก่สินค้าอย่างไร พร้อมกับเตรียม “เอ็กเซอร์ไซด์พาวเวอร์” กลับไปเช่นกัน

20080522 (1)

ป้าๆ และพี่ๆ เย้าแดงดูเหมือนเข้าใจและปรับปรนกับธรรมชาติของนักท่องเที่ยวที่เป็นคนเมืองอย่างเรา ว่าไม่ชอบให้ติดตามตื้อ ชาวบ้านเย้าแดงที่นี่ต่างจากชาวบ้านม้งที่นั่น พวกเขาใช้วัฒนธรรมของคนเมือง โดยเชิญให้ไปนั่งคุยที่ “สมาคมสตรี” ของหมู่บ้าน ซึ่งแน่นอนว่าก็คือร้านขายสินค้าของกลุ่มสตรี (เหมือนบ้านเราเปี๊ยบเลย)

เมื่อเข้าไปถึงร้าน แน่นอนว่าสิ่งแรกที่ “A Shopping Sociologist” อย่างผู้เขียนโถมเข้าหาคือ “ผ้า” ป้าๆ เย้าแดงเขาไม่เดินตามติดผู้เขียนและพูดกดดันให้เราต้องซื้อ เวลาที่เราเดินดูผ้า แต่เขาจะสังเกตการณ์เราอยู่ห่างๆ เพื่อประเมินดีมานด์ว่าเราชอบอะไร และในบรรดา 3 คนที่มาด้วยกันนี้ใคร “เอียว” (รัก) ผ้ามากที่สุด เมื่อเดินดูแล้วผู้เขียนก็ไม่ได้ถามอะไรเลย เพราะผ้าของเย้าแดง (นอกจากผ้าคลุมผมสีแดง ซึ่งไม่มีขายในร้านค้านี้) นั้น ท่าทางจะแพงมาก เพราะโดยส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นผ้าปัก “แถมปักมากกว่าของม้งเสียด้วย เราก็ไม่ค่อยจะมีตังค์ ขืนไปถามราคาตอนนี้ มีหวัง...ต้องเอ็กเซอร์ไซด์พาวเวอร์อย่างหนัก ยุ่งแน่นอน ข่มใจไว้ก่อน...ข่มใจไว้ก่อน!”

ผู้เขียนจึงกลับไปนั่งล้อมวงคุยกับกลุ่มเย้าแดง ซึ่งพวกเขาเตรียมเก้าอี้ไว้รอเราแล้ว ชัดเจนว่าเขาใช้วัฒนธรรมของคนพื้นราบอย่างเราเริ่มต้นเปิดการ “อินเตอร์แอ๊กชั่น” หรือถ้ามองในมุมการซื้อ-ขาย คือการเปิดการ “นิโกชิเอชั่น” แล้ว โดยมีเพื่อนชาวเวียดนามเป็นล่ามให้ เราคุยกันนานมาก คุยตั้งแต่เรื่องเมืองไทย เชียงใหม่ เย้าที่เชียงใหม่ (ป้าๆเคยไปเชียงใหม่ในนามชนเผ่าซึ่งทางการเวียดนามจัดไป) ประวัติศาสตร์เย้าแดง เย้าแดงมาจากไหน เกี่ยวอะไรกับม้งดำ เป็นญาติอะไรกับ “เหงื่อยเวี่ยต” รู้สึกอย่างไรกับ “เหงื่อยไถเวียดนาม” (ผู้ไทดำ-ผู้ไทขาวที่เวียดนาม)

ระหว่างที่คุยจนเพลิน...ป้าเย้าแดงคนหนึ่งก็มาจับแขนผู้เขียนเบาๆ แล้วเอาเสื้อเย้ามาโชว์ให้ดู โอ้...สวยมากๆ เป็นเสื้อที่ไม่ได้ห้อยขายในร้านค้า ลายปักไม่มาก แสดงว่าราคาไม่น่าแพง เราน่าจะซื้อได้ นี่แสดงว่าพวกป้าๆ “ออฟเสิฟ ดีมานด์” ของตลาด (ตอนที่เราเดินดูเสื้อ) ประเมินได้ถูกต้องว่าใครคือลูกค้า (ต้องเป็นผู้เขียน ไม่ใช่เพื่อนผู้เขียนอย่างแน่นอน) และลูกค้าต้องการ “อะไร” ที่แตกต่างจากผ้าในร้านที่ห้อยขาย จากนั้นก็เข้าไปหลังร้านเพื่อไปคุ้ยเสื้อที่ว่านี้มาเสนอขายให้ผู้เขียน “ผู้เขียนเห็นปุ๊ป! เป็นต้องจับมาลองใส่ ทั้งๆที่เสื้อตัวนี้เขรอะมาก” (แต่เราดันใส่ได้สวยเสียด้วยสิ)

20080522 (2)

โดยวิธีนี้ แม่ค้าเย้าต่างจากแม่ค้าม้งมาก พวกเขาไม่ได้พยายามใช้มีเดี่ยมต่างๆ เพื่อมาคอนโทลความหมายของผ้าทอแก่ผู้เขียน (โดยเฉพาะไม่ได้พลีกายเดินร่วมกัน 3 ชั่วโมงเหมือนแม่ค้าม้ง) แต่ภายหลังจากการ “ออฟเสิฟ” ป้าเย้าแดงเชื่อว่า “ลูกค้าคนนี้ในจิตใจลึกๆ ต้องชอบผ้าของชนเผ่าแน่นอน” จากนั้นเมื่อวัฒนธรรมคนพื้นราบที่เราคุ้นเคย และความรู้สึกสบายๆ (เมื่อนั่งล้อมวงคุย) ถูกใช้ (จะโดยการวางแผนของป้าๆเย้าหรือไม่ก็ตาม) เหตุผลและพาวเวอร์ (ความระมัดระวังในการซื้อของ/ต่อรอง) ของผู้เขียนจึงถูก “ปลดปล่อย” ออกไป ที่เหลืออยู่คือจิตใจลึกๆ (underlying structure of meaning) ที่ “รัก” ผ้าชนเผ่า ซึ่งพร้อมจะ “ถูกตีความซ้ำ” (reinterpreted) อย่างอัตโนมัติ (generating itself)

ดังนั้น แค่เอามือมามือสัมผัสเบาๆ ที่แขน เพื่อให้ผู้เขียนหันไปดูผ้า(ผืนที่ป้าเย้าประเมินแล้วว่าต้องโดนใจเรา) “A Shopping Sociologist” ผู้ซึ่งกำลังคุยเรื่องประวัติศาสตร์เย้าอย่างเมามัน และยังไม่ทันจะ “บู๊ทพาวเวอร์” เพื่อมา “นิโกชิเอท” ในการซื้อผ้าอยู่นั้น โดยมิทันตั้งใจ (unintended action) จึงถามกลับไปด้วยแววตาอันกระหายใคร่ได้ ว่า “อ๋าวไน่ บาวเงียวเตี่ยน” (เสื้อนี้ราคาเท่าไร)

ในสัปดาห์หน้า โปรดตามตอนที่ 3 กับ “A Shopping Sociologist” ที่บ้านอีกหลังของเย้าแดง อีกหมู่บ้านหนึ่งของม้งดำ และตลาดผ้าที่เมืองซาปา ดูว่าชีวิตและจิตใจเธอจะเป็นอย่างไรในการเอ็กเซอร์ไซด์พาวเวอร์และความรักกับตลาดผ้าที่เมืองนี้

บล็อกของ ที่ว่างและเวลา

ที่ว่างและเวลา
ดอกเสี้ยวขาว เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนพี่น้องลาหู่บ้านนาน้อย ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ และได้กำลังใจอย่างเต็มเปี่ยมอีกครั้ง เมื่อได้ร่วมพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ นั่นคือพิธีมอเลเว ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเคารพธรรมชาติ อย่างนอบน้อม ไก่ หมู ข้าว อาหาร ผลไม้ ของเซ่นไหว้ที่พี่น้องชาวบ้านร่วมกันนำมาบูชา ถูกจัดเตรียมไว้ พร้อมที่จะทำพิธีกรรม บริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ กลิ่นธูปได้ลอยคละคลุ้งไปทั่วบริเวณงาน ท่ามกลางความเชื่อที่มีต่อผืนป่า ผีป่า ที่คอยปกปักรักษาดงดอยแห่งนี้   อะโหล ปุแส ผู้นำบ้านนาน้อย ได้อธิบายคำว่า มอ เลเว คำว่า มอ…
ที่ว่างและเวลา
อาภัสสร สมบุลย์วัฒนากุล  เสียงเพลงเดือนเพ็ญจากการขับร้องของฉันจบลง ท่ามกลางเสียงปรบมือของผู้เข้าร่วมงานสามร้อยกว่าคน ที่หอประชุมในมหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่ เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา งานนี้ร่วมจัดโดยเพื่อนพ้องจากพม่าที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และเพื่อนพ้องคนไทย เพื่อช่วยระดมทุนไปให้พี่น้องชาวพม่าผู้ประสบภัยจากพายุไซโคลนนาร์กิส ฉันบอกพวกเขาว่าฉันไม่ใช่นักร้อง แต่อยากมาร้องเพลง...เพื่อร่วมเป็นกำลังใจให้ทั้งผู้ประสบภัย และเพื่อนชาวพม่าที่อยู่ในไทย ให้สู้ต่อไปอย่างมีความหวัง คืนนั้น ฉันได้เพื่อนใหม่อีกมากมาย…
ที่ว่างและเวลา
อัจฉรียา เนตรเชยต่อจากตอนที่แล้วผู้เขียนกับเพื่อนชาวเวียดนามถกเถียงกันว่า ความจริงแล้วชาวม้งดำที่นี่ “เวรี่แอ็กทีฟ” ในระบบตลาด แต่ทำไมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น ที่โรงแรม ร้านอาหาร หรือมัคคุเทศน์ (ซึ่งก็เป็นธุรกิจหนึ่งในระบบตลาด) แทบจะไม่มีชาวม้งดำเข้าไปเป็นลูกจ้างเลย เพื่อนเวียดนามบอกว่าอาจจะเป็นไปได้ว่าเพราะพวกเขามีการศึกษาต่ำ
ที่ว่างและเวลา
อัจฉริยา  เนตรเชยเมื่อสัปดาห์ก่อนผู้เขียนซึ่งเป็นนักเรียนเรียนภาษาเวียดนามที่ฮานอยได้ใช้เวลา 3 วันไปเป็นนักท่องเที่ยวที่ซาปา (Sa Pa) เมืองในหมอกบนพื้นที่สูงของภาคเหนือของเวียดนาม ภูเขาที่นี่สูงเสียดฟ้าสลับซับซ้อนกันหลายลูกจริงๆ จนภูเขาบ้านเราสมควรถูกเรียกว่า “ฮิล” มากกว่า “เม้าเท่นท์” นาขั้นบันไดก็มีให้เห็นกันอย่างดาษดื่นจนกลายเป็นโลโก้ของเมืองนี้ หมู่บ้านม้งดำ และเย้าแดงกลางหุบเขา น้ำตกและลำธารใสๆที่ไหลผ่านกลางหมู่บ้านมีให้เห็นตลอดสองข้างทาง ทำให้ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนอันสุดแสนจะโรแมนติกของคู่รัก เมื่อต้นปีใครๆ ก็บอกว่าหิมะตกที่ซาปาสวยงามมาก...อยากเห็น (…
ที่ว่างและเวลา
สัมภาษณ์-เรียบเรียง : บัณฑิต เอื้อวัฒนานุกูลรศ.ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมณ์ เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเชี่ยวชาญภาษาทิเบต ทำวิจัยเรื่องทิเบตมานานนับ 10 ปี เคยเดินกราบอัษฎางคประดิษฐ์ (เดิน 3 ก้าว ก้มกราบ 1 ครั้ง) บนเส้นทางของนักแสวงบุญอันเก่าแก่ทุรกันดาร ณ เขาไกรลาสเป็นระยะทางกว่า 80 กม. ปัจจุบันเป็นประธานมูลนิธิพันดารา (Thousand Stars) ซึ่งเป็นองค์กรสร้างการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องพุทธศาสนาแบบวัชรยานในสังคมไทย และยังคงเดินทางไปทิเบตอยู่เสมอมิว เยินเต็น บวชเรียนใต้ร่มกาสาวพัตร์ของพุทธศาสนาวัชรยานในบ้านเกิดที่ทิเบตมานาน 27 ปี เป็นผู้ติดตาม อ.กฤษดาวรรณ…
ที่ว่างและเวลา
ภู เชียงดาวพะโด๊ะ มาน ซาห์อดีตเลขาธิการสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง กี่ชีวิต…ที่เคว้งคว้างกลางป่ากี่ร่างที่ผวาลอยละลิ่วลับดับสูญนี่คือผลพวงของสงครามนี่คือการกระทำของศัตรูผู้โหดเหี้ยม ผู้บาปหนาและน่าละอายที่คอยกดขี่ข่มเหง เข่นฆ่า ผู้คนหญิงชาย, บริสุทธิ์ผู้รักสันติและความเป็นธรรมเถิดไม่เป็นไร...เราจะไม่ทุกข์ ไม่ท้อใบไม้ใบหนึ่งถูกปลิดปลิวร่วงหากบนก้านกิ่งนั้นยังคงมีใบอ่อนแตกใบให้เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันยังคงมุ่งมั่นกันอยู่ใช่ไหม นักรบผู้กล้ากับความฝัน ความกล้าในแผ่นดิน ‘ก่อซูเล’ปลุกเร้าจิตวิญญาณเพื่อสืบสานตำนานการต่อสู้เพื่อรอวันทวงคืนผืนแผ่นดินเกิดยังจำกันได้ไหม...…
ที่ว่างและเวลา
‘ดอกเสี้ยวขาว’   การที่ต้องลำบากเดินลัดเลาะไปตามร่องเขา ไต่ขึ้นไปบนความสูงชัน นานหลายชั่วโมง เพียงเพื่อไปกวาดใบไม้บนสันดอยสูงนั้น หลายคนอาจมองเป็นเรื่องธรรมดาไม่สำคัญ แต่สำหรับผมกลับมองว่า นี่ไม่ใช่เรื่องใหญ่และไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน ที่นั่น, บนสันดอยสูง...พวกเขาช่วยกันกวาดใบไม้ ก่อนที่จะจุดไฟเผา ซึ่งไม่ได้ไปคนเดียว แต่ไปร่วมกันหมดทุกหลังคาบ้าน มีทั้งผู้เฒ่า เด็กเยาวชน ผู้ใหญ่ ผู้นำทางศาสนา ฯลฯ “ตอนนี้ถ้าทางการเขาสั่งห้ามเผาป่า จะทำได้มั้ย?...” ผมลองแหย่ถามชาวบ้าน “แล้วถ้าเขาสั่งห้ามกินข้าว เราจะทำได้มั้ย...ถ้าเชื่อ เราก็ไม่ได้กินข้าว ไม่ได้กินอะไรเลย...”…
ที่ว่างและเวลา
เรื่อง/ภาพโดย วัชระ สุขปาน ลำธารสีเทา ขัดเงา จนเกิดริ้วสีเงิน ฝูงปลาพลิกพลิ้วตัว สะท้อนแสงกลับไปบอกเวลากับดวงอาทิตย์
ผักกูดอ่อน ยอดใบบอน ยอดผักหนาม ฟ้อนอรชรอยู่ริมคุ้งน้ำ ถ้ายังไม่มีใครไปเก็บ ก็จะเป็นสุมทุม ที่วัวควายชอบซุ่มตัวต้นไม้ล้มขวางลำธารโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นเพราะธรรมชาติ ก็พอเป็นสะพานใช้ข้ามไปถึงเขียงนา ก็ยังมีขนุน มะม่วง ส้มโอ ถั่ว ข้าวโพดสาลี พริก มะเขือ และพืชผักๆ ฯลฯ ให้ได้เห็น และเก็บกินก่อไฟ ต้มน้ำชา นั่งสนทนา และ บ้างเคี้ยวเมี่ยง สูบยาขี้โย
ที่ว่างและเวลา
ธีรเชนทร์  เดชานักสังคมสงเคราะห์1“หนูมีแม่อยู่สองคนค่ะ” เสียงของเด็กหญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่งบอกเล่าให้ฟัง “วันนี้หนูมาหาแม่อีกคนหนึ่งของหนู…”“แล้วหนูจำได้ไหมว่าแม่หนูรูปร่างหน้าตาเป็นยังไง” ผมลองเอ่ยถามเธอดู ภายหลังคำถาม เด็กหญิงทำท่าทางเหมือนครุ่นคิดอะไรบางอย่าง....เธอนิ่งนานในความเงียบงัน.....แต่ในแววตาที่ไร้เดียงสานั้น เหมือนจะบอกกับผมอยู่อย่างนั้นว่าเธอจำแม่ของเธอได้ดี...เธอจำได้นะ...ผมไม่แปลกใจว่าทำไมเธอถึงให้คำตอบในสิ่งที่ผมถามเธอก่อนหน้านี้ไม่ได้  แม่...ที่เธอกำลังมาหาในวันนี้นั้น คือแม่แท้ๆ ที่อุ้มท้องเธอมา เป็นแม่ผู้ให้กำเนิด แต่ด้วยเหตุผลและความจำเป็นบางอย่าง…
ที่ว่างและเวลา
‘ลีนาร์’ “ยามเมื่อเราต่างพูดถึงความสุข จะเกิดพลังขึ้นและสร้างคุณค่าขึ้นมาได้”คำกล่าวจากใบหน้ายิ้มแย้มของ ลิซ่า คาเมน เจ้าของภาพยนตร์สารคดีเรื่อง H-FACTOR: where is your heart? ที่เธอและลูกสาวสำรวจธรรมชาติของความสุขของผู้คนข้ามทวีปผ่านคำถามง่าย ๆ ‘ความสุขของคุณคืออะไร’ย้อนไปในวันหนึ่ง ขณะที่ลิซ่าปั่นจักรยานผ่านตอนเหนือของประเทศอินเดีย เธอฉุกคิดขึ้นมาว่าจะทำอย่างไรให้ชาวอินเดียจะแสดงออกถึงความสนุกและความสุขอย่างแท้จริงท่ามกลางความอัตคัดขัดสนที่ยังคงดำเนินอยู่ในเวลานั้น นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของหัวข้อหลักของสารคดีซึ่งเธอและเคย์ล่า ลูกสาววัย 9 ขวบของเธอ…
ที่ว่างและเวลา
‘โถ่เรบอ’หนังสือนวนิยายขนาดสั้น เรื่อง  “เพลงรักช่อดอกไม้” ของ ‘พิบูลศักดิ์ ละครพล’ ที่เคยตีพิมพ์เป็นตอนๆ ใน ‘สกุลไทย’ เมื่อปี 2520 ก่อนสำนักพิมพ์จันทร์ฉายจะนำมารวมเล่มครั้งแรก ในปี 2521 นั้นเปิดฉากด้วยเนื้อเพลงปกาเก่อญอ ที่ชื่อ “แพลาเก่อปอ”“แพลาเก่อปอ ในคืนพระจันทร์ส่องแสง ฉันนั่งเหม่อมอง คอยจ้องแทะนาเต่อกาฉันคอยแสนคอย บะฉ่าเตอถี่บะนา เส่ นอ ถ่อแย เมื่อฉันเคียงคู่กับเธอแมแหม่แคอี ฉันต้องอยู่เดียวเปลี่ยวดายมองหาคู่เคียง บะฉ่าเตอถี่เลอบาโอ้ยอดดวงใจ  แคอีเนอโอะแพแลโปรดจงเห็นใจ เกอหน่าเยอพอคีลา”เพลงนี้ติดหูชาวปกาเก่อญอยาวนานมากว่าสามสิบปี ถือได้ว่าเป็นเพลงยุคแรกๆ…
ที่ว่างและเวลา
‘ฐาปนา’ ผมพบเขาในวันที่เชียงใหม่ยังเปียกปอนจากสายฝน เขาแต่งกายเรียบง่าย บุคลิกคล้ายนักบวช ดูแข็งแรงเหมือนคนอายุสามสิบกว่าๆ  เมื่อได้สนทนา แม้น้ำเสียงเป็นกันเอง แต่ก็แฝงความเคร่งครัดไม่น้อย เขาคือผู้ริเริ่มการเขียน “แคนโต้” บทกวีสามบรรทัดจำนวนสี่ร้อยบทเมื่อสามสิบกว่าปีก่อน ,เป็นผู้ก่อตั้งเวบไซต์ ไทยแคนโต้ (www.thaicanto.com) เมื่อสองปีที่แล้ว และกลายเป็นเวทีที่ใหญ่ที่สุดของบทกวีสามบรรทัด มีแคนโต้นับพันนับหมื่นบท ปรากฎอยู่ในเวบไซต์แห่งนี้ล่าสุด เขามีผลงานวรรณกรรมขนาดยาวแปดร้อยหน้า ที่ชื่อ “โรงเรียนที่เงียบที่สุดในโลก”โดดเดี่ยว และ เด็ดเดี่ยว น่าจะเป็นคำจำกัดความที่ชัดเจนที่สุดสำหรับตัวเขา…