Skip to main content

ก่อนจะเล่าถึงนักเล่าเรื่องในที่อื่น ผมอยากเล่าถึงเรื่องอื่นก่อน  

นี่คงจะเป็นครั้งหลังๆ แล้ว ที่ผมจะใช้เวลาพูดถึงนักวิชาการไทย ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่ง ผมจะเอ่ยถึงพวกเขาในฐานะตัวแทนของลักษณะนิสัยแบบหนึ่งที่เป็นกันอยู่ในแวดวงการศึกษา หรือบางทีอาจมากกว่าการศึกษา แต่เป็นที่ใดก็ตามที่การต้องบอกสอน สนทนา และสร้างสรรค์ จะย่างกรายไปถึง 

ตอนที่ผมยังเด็กกว่านี้และเริ่มสนใจมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ ผมเลือกอ่านหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับโพสต์โมเดิร์น1 นักวิชาการไทยคนหนึ่งเล่าถึงฉากการถามไถ่กันระหว่างคนจำนวนหนึ่งว่า คุณคิดอย่างไรกับกรณีนี้ กรณีไหนผมก็จำไม่ได้ และมันก็ไม่สำคัญเท่าไร แต่คำตอบหลังจากคำถามว่าคิดยังไงนั้นกลายเป็นอะไรประมาณว่า ถ้าเป็นเพลโตจะคิดประมาณนี้ ถ้าเป็นพวกพรีโมเดิร์น2จะคิดประมาณนี้ และถ้าเป็นรุสโซ3จะคิดประมาณนี้ในความทรงจำคลับคล้ายคลับคลา ใครสักคนในบทสนทนานี้ถามขึ้นมาว่า แล้วคุณล่ะ คิดอย่างไรหลังจากนั้นความทรงจำของผมเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ก็เงียบลง ไม่มีคำตอบตอบกลับมาว่าตัวคุณ หรือตัวผู้เขียนคิดอย่างไร หรือหากมันมี มันก็คงเบาบางเหลือเกินจนผมจำไม่ได้  

ผมจำได้ว่าเขาเล่าต่อด้วยน้ำเสียงค่อนข้างภูมิใจในความเป็น นักวิชาการด้านปรัชญาอะไรสักอย่าง ที่ปฏิเสธที่จะใช้ความคิดของตัวเองเข้าไปยุ่งกับสรรพสิ่ง แต่ทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความคิดของคนอื่นที่เข้าไปยุ่งกับสรรพสิ่ง โลกเราอาจต้องการลักษณะนิสัยแบบนี้ในหลายๆ บทบาท ผมได้รับความช่วยเหลือจากนักวิชาการรูปแบบนี้อยู่บ่อยครั้งและซาบซึ้งใจที่มีพวกเขาอยู่  

แน่นอนว่าอะไรหลายอย่างบนโลกนี้มันก็ไม่เป็นปัญหาอะไร จนกระทั่งมันมีอำนาจมากเกินไปขึ้นมา  

เรามาลองคิดกันไหมว่าถ้านิสัยแบบนี้กลายเป็นแนวคิดที่ครอบครองความเป็นไปทางการศึกษาของประเทศทั้งประเทศ มันจะเป็นอย่างไร? อันที่จริงมันหมายความว่า เราเป็นอย่างไร? 

คะแนนเต็ม ความถูกต้อง และการฆ่าตัวตายก่อนสนทนา 

อะไรคือการฆ่าตัวตายก่อนสนทนา  

หากคุณเคยเก็บความเชื่อของคุณเอาไว้ในใจ และตอบข้อสอบไปตามที่เข้าใจว่าตอบแบบนั้นแล้วอาจารย์จะให้คะแนน นั่นคือสิ่งที่คุณทำ คุณฆ่าตัวตายก่อนที่จะเขียนลงไป และนั่นคือสิ่งที่การศึกษาตะล่อมให้คุณทำมาโดยตลอด ให้ฆ่าตัวตายก่อนที่จะสนทนากับใครๆ เพราะตัวคุณเองไม่มีค่าอะไร คุณต้องไปเรียนรู้วิธีคิดที่มีค่ากว่าตัวคุณ และคิดตามมันให้ถูกต้อง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาในการศึกษา มีกี่ครั้งกันที่เราได้คะแนนเพราะเราพูดสิ่งที่ตัวเองเห็น คิด และเชื่อออกไปจริงๆ?  

อะไรคือคะแนนเต็มของอารยธรรมมนุษย์? มันไม่มีอยู่ แต่เราจะเห็นว่ามันมีอยู่ในการศึกษาที่เกี่ยวกับมนุษย์ เราได้ออกแบบประเภทของการศึกษามาให้เราสับสนกับตัวเองมากขึ้น มนุษย์เรากระจัดกระจาย ซับซ้อน และแต่ละคนเติบโตขึ้นมาโดยไม่อาจมีคนอื่นหรือกระทั่งตัวเองมาอธิบายถึงการเติบโตนั้นได้ถูกต้องทั้งหมด แต่การศึกษามนุษย์มีคะแนนเต็มอยู่ที่หนึ่งร้อยคะแนน บางทีนี่อาจเป็นวิธีการใช้คณิตศาสตร์ที่ผิดพลาดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของพวกเราเอง คือเราใช้หน่วยแทนสิ่งที่วัดได้มาแทนสิ่งที่เรายังไม่แน่ใจว่าเราวัดได้หรือเปล่า เช่นตัวเราเอง น้ำ ตักขึ้นมาหนึ่งร้อยกิโลสองครั้งก็หนักเท่ากัน หินสองก้อนก็มีสองก้อน แต่ในยี่สิบคะแนนของนักศึกษาสองคนนั้นเท่ากันหรือเปล่า? 

ดูเหมือนว่าเราจะให้ความน่าเชื่อถือกับตัวเลขที่มีอยู่เพื่อให้เราตีความ ประหนึ่งว่ามันเป็นตัวเลขที่บ่งบอกข้อเท็จจริง และความรู้อื่นๆ ที่เราเรียนมาก็เช่นกัน เราเรียนมันประหนึ่งว่าพวกมันเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่นอกเหนืออำนาจการตีความของเรา 

ปลายปีนี้ผมได้แปลบทความหนึ่งของคนที่ผมไม่รู้จัก เป็นนักวิจารณ์ศิลปะจากสิงคโปร์ชื่อ เวง ชอย ลี ลงในหนังสือรวมบทความแปลชื่อ นักเล่าเรื่องก่อนรุ่งสางบรรณาธิการ จุฑา สุวรรณมงคล พี่เจน นั่นเป็นช่วงเดียวกับที่ผมทำงานกับพี่ตุ้ม อินทิรา วิทยสมบูรณ์ กับโครงการ นักเล่าเรื่องในทื่อื่นสองคนเป็นเพื่อนไม่กี่คนในชีวิตของผมที่ได้พบเจอในชีวิตการทำงาน เราแบ่งปันกันหลายอย่างโดยไม่ได้ฆ่าตัวตายใส่กันก่อนจะสนทนา ผมตีความว่านั่นคือการเรียนรู้ที่ไม่รู้ว่าคะแนนเต็มอยู่ที่ไหน 

บทความที่แปลกับการเดินทางไปที่อื่นซึ่งพัวพันอยู่กับการเล่าเรื่องทำให้ผมรู้สึกถึงบางอย่างที่เกิดขึ้น คือเราทั้งรู้สึกว่าตัวเราเองช่างไม่รู้อะไรเลย และทั้งรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าเหลือเกินไปพร้อมๆ กัน และนั่นเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นโดยครอบคลุมไปถึงคนอื่นๆ ด้วย คือพวกเราช่างไม่รู้อะไรเลย พวกเราช่างรู้ได้แค่เท่าที่ตัวเองรู้และติดอยู่แต่ในโลกของตัวเอง และนั่นทำให้การสนทนาของพวกเราทั้งหมดในฐานะโลกอื่นของกันและกัน มีคุณค่าต่อกันและกันมากเหลือเกิน พวกเราจึงทั้งไม่รู้อะไรเลยและมีคุณค่ามากเหลือเกินในเวลาเดียวกัน สภาวะเช่นนี้ถูกหรือผิดอย่างไร และควรจะได้กี่คะแนนกัน? 

เราจะเหลืออะไร หากไม่มีอะไรรับรองความถูกต้องให้เรา 

นึกถึงการ์ตูนเรื่องยูกิที่ดูตอนเด็กๆ มันเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นที่ตัวละครแต่ละตัวจะสู้กันด้วยสำรับไพ่ ในไพ่นั้นมีสัตว์ประหลาดที่จะออกมาสู้กับฝั่งตรงข้ามตามคำสั่งของผู้เล่น มีประโยคหนึ่งในเรื่องนี้ที่ชอบพูดกันเวลาที่ผู้เล่นฝั่งตรงข้ามหมดไพ่ในมือ หรือสัตว์ประหลาดเหล่านั้นต้องคำสาปจนไม่สามารถต่อสู้อะไรแทนผู้เล่นได้ ฝั่งตรงข้ามก็จะพูดว่า โจมตีที่ผู้เล่นโดยตรงสัตว์ประหลาดก็จะโจมตีที่ผู้เล่นที่ไม่มีไพ่อะไรในมือ และพอเลือดของผู้เล่นถูกโจมตีจนหมด ผู้เล่นคนนั้นก็แพ้ 

ฝั่งตรงข้ามของเราคือสิ่งที่เรากำลังเผชิญหน้า เป็นหัวข้อที่เรากำลังจะศึกษา หรือเป็นที่อื่นที่เรากำลังจะเข้าไปเรียนรู้ สัตว์ประหลาดในสำรับไพ่ของเรานั้นอาจเหมือนกับข้อมูลหรือกรอบวิธีคิด ความรู้ที่เราต่างฝังใจว่าถูกต้อง มันดูจะปกติดีหากมันเป็นการต่อสู้ปกติที่ฝั่งตรงข้ามเล่นอะไรคล้ายๆ กับเราและสามารถจบเกมได้โดยไม่แตะต้องตัวกันเลย แต่หากที่อื่นหรือผู้เล่นฝั่งตรงข้ามที่กำลังเล่นในแบบที่เราไม่รู้จัก มักจะมีคำสาปที่จะทำให้เหล่าสัตว์ประหลาดของเราทำงานไม่ได้อยู่เสมอ ความรู้ของเราเป็นปลา แต่ที่ที่เราจะใช้มันกลับไม่มีน้ำ หากเป็นเช่นนั้นแล้ว เราจะเหลืออะไร?  

นี่เป็นคำถามเดียวกับที่กล่าวถึงในบทสนทนาตอนต้นว่า แล้วคุณล่ะ คิดอย่างไร มันกลายเป็นคำถามที่ยากสำหรับนักศึกษาในชั้นเรียนที่ผมทำงานด้วย ยากสำหรับนักคิดมืออาชีพที่เรียกกันว่านักวิชาการ ไม่ใช่ว่ายากที่ใครสักคนจะมีความคิดเห็น แต่ยากเหลือเกินที่ใครสักคนจะคิดกับความคิดเห็นของตัวเองอย่างจริงจังเท่าๆ กับคิดกับความคิดเห็นของนักคิดชื่อดังในอดีต และบรรยายมันออกมาให้อาจารย์หรือสาธารณะฟัง ยากเช่นกันในข้อสอบ ยากเช่นกันในบทความตีพิมพ์ ในหัวของเราสามารถสลับโหมดมาเป็นโหมดอะไรบางอย่างที่มีเสียงนักคิดชื่อดังในอดีตดังกว่าเสียงของตัวเองได้เสมอเวลามีไมโครโฟนจ่ออยู่ที่ปาก อ่านต่อ : https://blogazine.pub/blogs/storytellers/post/6331  
 

___________________________________

 

 

1                      แนวคิดหลังสมัยใหม่ที่ไม่ได้เชื่อว่าความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว คนเราต้องมีหนึ่งเพศ มีหนึ่งตัวตน มีหนึ่งเป้าหมาย มีหนึ่งชุดเหตุผลที่ถูกต้องที่สุด ไม่ได้เชื่อว่าควรจะมีความเชื่อหรือวาทกรรมเดียวยิ่งใหญ่กว่าสิ่งอื่นๆ โพสต์โมเดิร์นเชื่อในการมีอยู่ของความหลากหลายของเรื่องเล่าต่างๆ (narratives) ที่แต่ละพื้นที่และเวลามีไม่เหมือนกัน หากมีใครเสนอความจริงแบบหนึ่งออกมา คนที่คิดอะไรคล้ายๆ โพสต์โมเดิร์นอาจตอบกลับไปว่า อาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป

2                 แนวคิดก่อนสมัยใหม่ที่มีอำนาจเรียบง่ายเช่น ศาสนาหรือกษัตริย์ปกครองทั้งอารยธรรมและวิธีคิดแบบต่างๆยังไม่เกิดป็นระบบที่ชัดเจน เหตุผลที่มีรากฐานเป็นวิทยาศาสตร์หรือแนวคิดสิทธิที่เท่ากันของมนุษย์ ไม่มีความสำคัญเท่าพระเจ้าหรือกฎแห่งกรรมและบุญบารมี เข้าใจโดยรวบรัดที่สุดคือเป็นสังคมโบราณ

3                 Jean-Jacques Rousseau

นักปรัชญาการเมืองคนหนึ่งที่ค่อนข้างถูกทำให้เป็นพื้นฐานเวลาที่เราจะศึกษาสังคมหรือการเมือง





























 

 

บล็อกของ Storytellers

Storytellers
 เรื่องราวนี้เกิดขึ้นกับการเดินทางระหว่างฉันและเพื่อนๆกว่า 12 คน เราได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน 7 วัน 6 คืน ที่บ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
Storytellers
เล่าประสบการณ์การไปเที่ยวแบบงงๆ เป็นอะไรที่ประทับใจมากค่ะ เรื่องราวคือการวางแผนเที่ยวหลังการทำโครงการที่มหาวิทยาลัยเสร็จจะไปเที่ยวทะเลก่อนอื่นต้องบอกเลยว่าเรียนที่กรุงเทพฯก็อยากจะไปไกลๆ ทะเลสวยๆ  แต่ค่ะสรุปลงตัวไปเกาะล้าน พัทยา เดินทางอย่างมากสัก 3ชั่วโมง วันที่ไปคือแปลกมาก ฟาดไป5ชั่วโมง จุด