Skip to main content

 

เรื่องราวนี้เกิดขึ้นกับการเดินทางระหว่างฉันและเพื่อนๆกว่า 12 คน เราได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน 7 วัน 6 คืน ที่บ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

การเดินทางครั้งนี้ไม่ได้เป็นการเดินทางเพื่อมาท่องเที่ยวแต่การเดินทางของเราครั้งนี้คือการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในการทำงานซึ่งพวกเรากำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่สำหรับการเดินทางครั้งนี้ไม่ใช่แค่การลงพื้นที่เพื่อตักตวงข้อมูลกลับไปทำงานเพียงอย่างเดียวแต่เป็นการเดินทางเพื่อเข้าใจและสัมผัสวิถีชีวิตของคนภายในชุมชนมากกว่าซึ่งเราเองได้รับความอบอุ่นใจอย่างบอกไม่ถูกตั้งแต่ก้าวขามาที่นี่

การเดินทางของเราเริ่มดำเนินขึ้นเมื่อเราก้าวเข้าสู่ ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมไทยทรงดำบ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ซึ่งเมื่อเรามาถึงคนภายในชุมชนได้มีการทำพิธีเรียกขวัญซึ่งถือเป็นพิธีกรรมการต้อนรับในฉบับของชาวไทยทรงดำไว้ใช้เรียกขวัญผู้มาเยือน เพื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกจากตัวและให้พบแต่สิ่งที่ดีในชีวิต เราทำพิธีบนเรือนไทยทรงดำ โดยมีแม่หมอหรือแม่มดเป็นผู้ดำเนินพิธีกรรม หมู่บ้านหัวเขาจีนแห่งนี้อายุราว 100 ปีโดยมีตำนานเล่าสืบขานกันมาว่า พื้นที่บริเวณนี้ ในอดีตมีท้องทะเลล้อมรอบถือเป็นทำเลที่มีการค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ต่อมาเกิดอุบัติเหตุเรือสำเภาที่มาทำการค้าขายบริเวณนี้เกิดแตก บริเวณหัวของเรือสำเภามาติดอยู่กับภูเขา คนบริเวณนั้นจึงขนานนามว่า “หัวเขาจีน” ต่อมาหลังจากที่ชนชาติพันธุ์ไทยทรงดำถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลยศึกในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงนำชื่อนี้มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า “หมู่บ้านหัวเขาจีน” คนภายในหมู่บ้านกว่าร้อยละ 80 เป็นชาวไทยทรงดำซึ่งนับถือศาสนาผีเป็นหลัก ภายในชุมชนมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักและบางกลุ่มทอผ้าซึ่งมีการเลี้ยงตัวไหมซึ่งโชคดีมากวันที่เราไปเราได้พบกับตัวไหมแรกเกิดซึ่งเรายังสามารถเข้าใกล้ได้บ้างหลังจากนั้นเราจะห้ามบุคคลอื่นเข้าใกล้เนื่องจากตัวไหมจะไม่ชักใยเนื่องจากไม่คุ้นกลิ่น ตัวไหมอาจจะตายได้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความรู้ใหม่ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

วันแรกของการมาที่นี่ก็เหมือนการปรับตัวทุกอย่างใหม่ การนอน การกิน ทุกอย่างต้องเริ่มปรับใหม่ทั้งหมดที่นี่รายล้อมไปด้วยทุ่งนาปนกับกลิ่นขี้หมูที่ปะปนกับอากาศเนื่องจากที่นี่ล้อมรอบไปด้วยฟาร์มหมูกว่า 1,000 ไร่ วันแรกเป็นวันที่พิเศษที่สุดและตื่นเต้นที่สุดของเราเพราะเราจะได้รู้ว่า หน้าตาที่พักของเราที่เราต้องอาศัยอยู่ 7 วันจะเป็นอย่างไร ซึ่งพวกเราได้อาศัยอยู่ที่โฮมสเตย์เอมศรีไพรซึ่งคำว่า เอม ภาษาของชาวไทยทรงดำ หมายถึง แม่ บ้านของเราเป็นบ้านไม้ยกสูง วัสดุหลักเป็นไม้ไผ่ ด้านใต้ถุนเป็นปูนเปลือยตกแต่งโดยการใช้ไม้และเครื่องจักสานเป็นหลัก ให้ความรู้สึกการเป็นธรรมชาติซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมที่มีการทำจักรสานนอกจากนี้บริเวณรอบบ้านของเอมมีการปลูกพืชผักสวนครัวซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวเพื่อประกอบอาหารได้

เรื่องราวในแต่ละวันเปลี่ยนแปลงฉันไปทีละนิด เราต้องปรับตัวมากขึ้นจากฉันคนเดิมที่รักไม่เป็น55555 ผ่าม ไม่ใช่ จากฉันคนเดิมที่ทำอะไรเองไม่เป็น นอนหรูอยู่ห้องแอร์ ตามตรงก็ไม่ได้หรูขนาดนั้นแค่ติดแอร์มาก ไม่มีแอร์ไม่ได้ ถ้าอยู่บ้านก็ต้องเปิดแอร์เท่านั้น โดนแดดจัดก็ไม่ได้แสบผิวมาก ชีวิตเลยมีแต่กินกับนอนเป็นส่วนใหญ่ จนวันกลับที่พลิกไปเป็นอีกแบบคือเริ่มทำอะไรเองมากขึ้น ความเป็นเด็กอ้วนทำให้เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง เราตัดสินใจเก็บมะนาวจากสวนด้วยตัวเองรอบ 3 ทุ่มกว่าเพื่อมาทำน้ำจิ้มหมูกระทะ ถ้าไม่มีมะนาวน้ำจิ้มหมูกระทะจะอร่อยได้อย่างไร เด็กอ้วนก็คือเด็กอ้วน และ ได้หั่นมะนาวเองเป็นครั้งแรกในชีวิต มะนาวที่บ้านเอมน้ำเยอะมาก มากขนาดขอเอมซื้อกลับมาที่บ้านด้วยแต่เอมก็ให้เรากลับมา กลับบ้านมาก็อวดมะนาวก่อนเลยเพราะไม่เคยกินมะนาวที่ไหนอร่อยเท่าที่นี่ ได้นั่งจิบโอวัลตินทำงานกับโน้ตบุ๊กเครื่องหนึ่ง มองออกไปข้างนอกบ้านเป็นบรรยากาศของทุ่งนา นอนนอกชานอากาศเย็นสบาย จากเป็นคนกินอาหารยากมากก็กินได้ง่ายมากขึ้น หลากหลายขึ้น จากเป็นความอดทนต่ำก็อดทนสูงขึ้น ตลอดเวลาเราได้ไปสัมผัสวิถีชีวิตที่นี่มากขึ้น เริ่มจากการที่พวกเราตื่นมาช่วยเอมในการทำกับข้าวเกือบทุกวัน แต่เมนูที่ประทับใจของเรา คือ เมนูไข่เจียวชะอม เนื่องจากเราเก็บไข่ไก่จากแม่ไก่ในเล้าที่มันจะออกไข่ทุกวัน วันละฟองซึ่งเอมเลี้ยงแม่ไก่อยู่ประมาณ 3 ตัว ซึ่งแม่ไก่พึ่งฟักไข่ออกมาทำให้ไข่ไก่ที่เราได้มีความสดเป็นพิเศษส่วนชะอมเราก็เก็บจากสวนบริเวณบ้านของเอม สรุปมื้อเช้าเราหมดค่าใช้จ่ายในการทำอาหารที่ 0 บาท เป็นความรู้สึกที่อิ่มเอมใจและพิเศษมาก เราได้เป็นส่วนหนึ่งและวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเป็นอะไรที่เรารู้สึกผ่อนคลาย บรรยากาศยามเช้าอากาศค่อนข้างดี ลมเย็นสบายทุกวัน เราได้ออกเดินทางเพื่อไปคุยกับภายในชุมชน เราได้คุยกับคนหลากหลายมาก เราได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันก่อให้เกิดความเข้าใจพื้นที่แห่งนี้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

คนที่สำคัญและผูกพันมากที่สุด คือ คุณลุงดำ คุณลุงเป็นปราชญ์ชาวบ้านสาขาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น คุณลุงดำ อายุ 84 ปี คุณลุงประกอบอาชีพจักสานมายาวนานกว่า 70 ปี ปัจจุบันคุณลุงยังคงประกอบอาชีพเดิม เพิ่มเติมคือเป็นเจ้าของแฮชแท็ก #BagByUncleBlack ซึ่งเป็นแฮชแท็กที่หนูสร้างขึ้นเองไว้เก็บรูปของตะกร้าของคุณลุงดำและเครื่องจักสานของคุณลุงดำซึ่งไม่มีใครรู้และคุณลุงเองก็ไม่รู้ว่าตอนนี้คุณลุงมีแฮชแท็กเก็บผลงานส่วนตัวแล้ว คุณลุงคือคนที่สานตะกร้าที่ฉันถือไปวัดหทัยนเรศวร์ จังหวัดราชบุรี ซึ่งทุกคนต่างชมว่า ตะกร้าสวยมาก หลังจากกลับจากที่วัดหนูรีบกลับไปฟ้องคุณลุงดำว่า “วันนี้หนูถือตะกร้าของคุณลุงไปทำบุญที่วัดเมื่อเช้าไปด้วยนะ มีแต่คนชมตะกร้าหนูสวย ไม่มีใครชมหนูสวยเลย” คุณลุงก็ยิ้มให้เล็กน้อยด้วยความภูมิใจที่มีคนเห็นคุณค่าตะกร้าจักสานของคุณลุง แววตาของคุณลุงบอก หนูว่า คุณลุงมีความสุขมากขนาดไหน แค่รอยยิ้มกับแววตาคุณลุงก็รู้สึกอบอุ่นใจอย่างบอกไม่ถูก ฉันเองก็ได้เรียนรู้การทำจักสานเหมือนกันซึ่งฉันเองก็รู้ดีว่า กว่าจะได้ตะกร้าใบหนึ่งมาไม่ใช่เรื่องง่ายจากประสบการณ์ในการพยายามหั่นลำไม้ไผ่ให้กลายเป็นตอกเล็กๆ เพื่อจะสานกว่าจะทำได้แต่ละตอกนั้นกินเวลาเกือบครึ่งค่อนวันและแต่ละลายก็มีความซับซ้อนต่างกัน และที่สำคัญกว่าจะอ้อนคุณลุงให้สานตะกร้านี้ได้ใช้เวลาตื้ออยู่หลายวันจนคุณลุงเริ่มบ่นพวกเราว่า “ตั้งแต่มีนักศึกษามาที่นี่ ไม่เคยมีใครเซ้าซี้เท่าพวกเรามาก่อน” ซึ่งถ้าบอกแบบทั่วไปมันก็แค่คำดุคำบ่นธรรมดาแต่เรามองลึกไปกว่านั้นว่า คำพูดของคุณลุงเชิงตัดพ้อว่าไม่มีคนรุ่นใหม่ที่สนใจตะกร้าของคุณลุงมากเท่ากับกลุ่มของพวกเราเลย ตั้งแต่ได้รู้จักคุณลุง หนูเองถ้าว่างก็ไปหาคุณลุงเสมอ ไปนั่งคุยกับคุณลุงเกือบทุกวัน บางวันก็หลายครั้งเราได้แลกเปลี่ยนความรู้ เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ เรียนรู้การทำเครื่องจักสานอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น เข้าใจว่าทุกอย่างไม่ง่ายและมีเรื่องราวที่น่าค้นหาเสมอ

ประสบการณ์ที่ที่แห่งนี้มอบให้เป็นประสบการณ์หนึ่งมีค่าในชีวิตของหนู เรารู้สึกอบอุ่นทุกครั้งที่นึกถึงประสบการณ์ที่ผ่านมา ถ้ามีโอกาสฉันอยากกลับไปที่แห่งนี้อีกครั้ง การมาครั้งนี้ไม่ได้มาแค่ศึกษาแต่มาเพื่อสัมผัสวิถีชีวิต ได้ทั้งความรัก ความอบอุ่น และเรื่องราวดีๆ มิตรภาพที่หาจากที่ไหนไม่ได้

รักและคิดถึงมาก

หัวเขาจีนที่รัก

 

บล็อกของ Storytellers

Storytellers
ปรากฏการณ์การพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐ คำว่า “ความดีงามแห่งรัฐ” คือ สิ่งที่รัฐมองว่าดีงามและควรค่าแก่การรักษา
Storytellers
หากเราลัดเลาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่เห็นล้วนเต็มไปด้วยวัดวาอาราม ย่านที่เต็มไปด้วยความดีงามที่ควรแค่แก่การอนุรักษ์นำมาซึ่ง “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”
Storytellers
“Raising and caring for children is more like tending a garden :it involves “a lot of exhausted digging and wallowing in manure” to create a safe,nurturing space in which innovation, adaptability and resilience can thrive.”
Storytellers
หลังจากครุ่นคิดมาทั้งคืน ถึงพื้นที่การเรียนรู้ มุกได้เลือกไปที่ ชุมชนไทดำ จังหวัดสุราษฎร์ธานีค่ะ มีหลายเหตุผลมากมายในการเลือกเดินทางครั้งนี้ นั่นก็คือ อยากที่จะไปเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม พิธีกรรม รวมถึงวิถีชีวิตต่าง ๆของคนไทดำ ว่ามีความแตกต่างกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้
Storytellers
- ฉันเริ่มการสรุป สาธยาย เพ้อเจ้อ และพรรณา ณ วันที่12 ธันวาคม 2561 (12/12) เวลา 18.36 -
Storytellers
คำเตือนการพยายามร้อยเรียงเรื่องราวมันคงจะชัดเจนจนสับสนมากอ่านประโยคเดียวงงไหมคะ?ไม่ต้องพยายามเข้าใจอะไรให้มันง่ายหรอกค่ะ เดี๋ยวมันไม่สนุก ไปกันแบบงงๆกับคนงงๆดีกว่า .Pre-ช่วงประมาณกลางเดือนตุลาคม 2561
Storytellers
ตอน : การจัดการที่อยู่
Storytellers
การนำเสนอ ตั้งใจว่าจะทำเป็น จดหมาย 3 ฉบับที่เขียนในสเนพ่อง เพราะว่าในสเนพ่อง ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ท จึงทำให้การพูดคุยสื่อสารกันด้วยจดหมายน่าจะเข้ากับการนำเสนอการเดินทางในครั้งนี้มากที่สุดค่ะ มีจดหมายฉบับที่ส้มโอเขียนให้ครูเฟริ์นและได้มอบให้ครูเฟริ์นจริงในวันสุดท้ายก่อนออกจากสเนพ่
Storytellers
หลังจากที่นอนคิดเกือบทั้งคืนว่าเราจะเก็บกระเป๋าไปพื้นที่เรียนรู้ที่ไหนดี(จากยี่สิบกว่าตัวเลือกที่ทางโครงการ storytellers in journey มีให้) เราก็ได้คำตอบสุดท้ายแล้ว พรุ่งนี้โมจะไปเสน่พ่อง!
Storytellers
           คุณเคยเห็นเวลาที่รถติดหล่มไหม มันคงใช้เวลาอยู่นานเลยนะกว่าจะหลุดพ้นจากหล่มนั้นมาได้ คงต้องใช้ทั้งเวลาทั้งแรงและปัจจัยอีกหลายๆอย่างมากมายในการหลุดออกมา การจากลาจากใครสักคนก็เหมือนกัน ความรู้สึกของการจากลามันก็เหมือนรถที่ติดหล่มที่เมื่อติดลงไปแล้วก็ทำให้ความ
Storytellers
          พบเพื่อลา มาเพื่อจาก ผมลุกจากที่นอนออกมาทำธุระส่วนตัวก็เห็นน้องๆกำลังแต่งตัวถือหนังสือเตรียมตัวกันมาเรียน มันคงเป็นการตื่นมาเรียนที่แต่ละคนดูสดชื่นไม่เหมือนกับตัวเองสมัยเด็กๆที่โรงเรียนไม่ต่างอะไรจากกรงขังที่ตีกรอบสี่เหลี่ยมให้กับเราแต่สำหรับที่นี่โรงเรียนเหมือน