Skip to main content

 

เรื่องราวนี้เกิดขึ้นกับการเดินทางระหว่างฉันและเพื่อนๆกว่า 12 คน เราได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน 7 วัน 6 คืน ที่บ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

การเดินทางครั้งนี้ไม่ได้เป็นการเดินทางเพื่อมาท่องเที่ยวแต่การเดินทางของเราครั้งนี้คือการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในการทำงานซึ่งพวกเรากำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่สำหรับการเดินทางครั้งนี้ไม่ใช่แค่การลงพื้นที่เพื่อตักตวงข้อมูลกลับไปทำงานเพียงอย่างเดียวแต่เป็นการเดินทางเพื่อเข้าใจและสัมผัสวิถีชีวิตของคนภายในชุมชนมากกว่าซึ่งเราเองได้รับความอบอุ่นใจอย่างบอกไม่ถูกตั้งแต่ก้าวขามาที่นี่

การเดินทางของเราเริ่มดำเนินขึ้นเมื่อเราก้าวเข้าสู่ ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมไทยทรงดำบ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ซึ่งเมื่อเรามาถึงคนภายในชุมชนได้มีการทำพิธีเรียกขวัญซึ่งถือเป็นพิธีกรรมการต้อนรับในฉบับของชาวไทยทรงดำไว้ใช้เรียกขวัญผู้มาเยือน เพื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกจากตัวและให้พบแต่สิ่งที่ดีในชีวิต เราทำพิธีบนเรือนไทยทรงดำ โดยมีแม่หมอหรือแม่มดเป็นผู้ดำเนินพิธีกรรม หมู่บ้านหัวเขาจีนแห่งนี้อายุราว 100 ปีโดยมีตำนานเล่าสืบขานกันมาว่า พื้นที่บริเวณนี้ ในอดีตมีท้องทะเลล้อมรอบถือเป็นทำเลที่มีการค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ต่อมาเกิดอุบัติเหตุเรือสำเภาที่มาทำการค้าขายบริเวณนี้เกิดแตก บริเวณหัวของเรือสำเภามาติดอยู่กับภูเขา คนบริเวณนั้นจึงขนานนามว่า “หัวเขาจีน” ต่อมาหลังจากที่ชนชาติพันธุ์ไทยทรงดำถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลยศึกในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงนำชื่อนี้มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า “หมู่บ้านหัวเขาจีน” คนภายในหมู่บ้านกว่าร้อยละ 80 เป็นชาวไทยทรงดำซึ่งนับถือศาสนาผีเป็นหลัก ภายในชุมชนมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักและบางกลุ่มทอผ้าซึ่งมีการเลี้ยงตัวไหมซึ่งโชคดีมากวันที่เราไปเราได้พบกับตัวไหมแรกเกิดซึ่งเรายังสามารถเข้าใกล้ได้บ้างหลังจากนั้นเราจะห้ามบุคคลอื่นเข้าใกล้เนื่องจากตัวไหมจะไม่ชักใยเนื่องจากไม่คุ้นกลิ่น ตัวไหมอาจจะตายได้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความรู้ใหม่ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

วันแรกของการมาที่นี่ก็เหมือนการปรับตัวทุกอย่างใหม่ การนอน การกิน ทุกอย่างต้องเริ่มปรับใหม่ทั้งหมดที่นี่รายล้อมไปด้วยทุ่งนาปนกับกลิ่นขี้หมูที่ปะปนกับอากาศเนื่องจากที่นี่ล้อมรอบไปด้วยฟาร์มหมูกว่า 1,000 ไร่ วันแรกเป็นวันที่พิเศษที่สุดและตื่นเต้นที่สุดของเราเพราะเราจะได้รู้ว่า หน้าตาที่พักของเราที่เราต้องอาศัยอยู่ 7 วันจะเป็นอย่างไร ซึ่งพวกเราได้อาศัยอยู่ที่โฮมสเตย์เอมศรีไพรซึ่งคำว่า เอม ภาษาของชาวไทยทรงดำ หมายถึง แม่ บ้านของเราเป็นบ้านไม้ยกสูง วัสดุหลักเป็นไม้ไผ่ ด้านใต้ถุนเป็นปูนเปลือยตกแต่งโดยการใช้ไม้และเครื่องจักสานเป็นหลัก ให้ความรู้สึกการเป็นธรรมชาติซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมที่มีการทำจักรสานนอกจากนี้บริเวณรอบบ้านของเอมมีการปลูกพืชผักสวนครัวซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวเพื่อประกอบอาหารได้

เรื่องราวในแต่ละวันเปลี่ยนแปลงฉันไปทีละนิด เราต้องปรับตัวมากขึ้นจากฉันคนเดิมที่รักไม่เป็น55555 ผ่าม ไม่ใช่ จากฉันคนเดิมที่ทำอะไรเองไม่เป็น นอนหรูอยู่ห้องแอร์ ตามตรงก็ไม่ได้หรูขนาดนั้นแค่ติดแอร์มาก ไม่มีแอร์ไม่ได้ ถ้าอยู่บ้านก็ต้องเปิดแอร์เท่านั้น โดนแดดจัดก็ไม่ได้แสบผิวมาก ชีวิตเลยมีแต่กินกับนอนเป็นส่วนใหญ่ จนวันกลับที่พลิกไปเป็นอีกแบบคือเริ่มทำอะไรเองมากขึ้น ความเป็นเด็กอ้วนทำให้เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง เราตัดสินใจเก็บมะนาวจากสวนด้วยตัวเองรอบ 3 ทุ่มกว่าเพื่อมาทำน้ำจิ้มหมูกระทะ ถ้าไม่มีมะนาวน้ำจิ้มหมูกระทะจะอร่อยได้อย่างไร เด็กอ้วนก็คือเด็กอ้วน และ ได้หั่นมะนาวเองเป็นครั้งแรกในชีวิต มะนาวที่บ้านเอมน้ำเยอะมาก มากขนาดขอเอมซื้อกลับมาที่บ้านด้วยแต่เอมก็ให้เรากลับมา กลับบ้านมาก็อวดมะนาวก่อนเลยเพราะไม่เคยกินมะนาวที่ไหนอร่อยเท่าที่นี่ ได้นั่งจิบโอวัลตินทำงานกับโน้ตบุ๊กเครื่องหนึ่ง มองออกไปข้างนอกบ้านเป็นบรรยากาศของทุ่งนา นอนนอกชานอากาศเย็นสบาย จากเป็นคนกินอาหารยากมากก็กินได้ง่ายมากขึ้น หลากหลายขึ้น จากเป็นความอดทนต่ำก็อดทนสูงขึ้น ตลอดเวลาเราได้ไปสัมผัสวิถีชีวิตที่นี่มากขึ้น เริ่มจากการที่พวกเราตื่นมาช่วยเอมในการทำกับข้าวเกือบทุกวัน แต่เมนูที่ประทับใจของเรา คือ เมนูไข่เจียวชะอม เนื่องจากเราเก็บไข่ไก่จากแม่ไก่ในเล้าที่มันจะออกไข่ทุกวัน วันละฟองซึ่งเอมเลี้ยงแม่ไก่อยู่ประมาณ 3 ตัว ซึ่งแม่ไก่พึ่งฟักไข่ออกมาทำให้ไข่ไก่ที่เราได้มีความสดเป็นพิเศษส่วนชะอมเราก็เก็บจากสวนบริเวณบ้านของเอม สรุปมื้อเช้าเราหมดค่าใช้จ่ายในการทำอาหารที่ 0 บาท เป็นความรู้สึกที่อิ่มเอมใจและพิเศษมาก เราได้เป็นส่วนหนึ่งและวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเป็นอะไรที่เรารู้สึกผ่อนคลาย บรรยากาศยามเช้าอากาศค่อนข้างดี ลมเย็นสบายทุกวัน เราได้ออกเดินทางเพื่อไปคุยกับภายในชุมชน เราได้คุยกับคนหลากหลายมาก เราได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันก่อให้เกิดความเข้าใจพื้นที่แห่งนี้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

คนที่สำคัญและผูกพันมากที่สุด คือ คุณลุงดำ คุณลุงเป็นปราชญ์ชาวบ้านสาขาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น คุณลุงดำ อายุ 84 ปี คุณลุงประกอบอาชีพจักสานมายาวนานกว่า 70 ปี ปัจจุบันคุณลุงยังคงประกอบอาชีพเดิม เพิ่มเติมคือเป็นเจ้าของแฮชแท็ก #BagByUncleBlack ซึ่งเป็นแฮชแท็กที่หนูสร้างขึ้นเองไว้เก็บรูปของตะกร้าของคุณลุงดำและเครื่องจักสานของคุณลุงดำซึ่งไม่มีใครรู้และคุณลุงเองก็ไม่รู้ว่าตอนนี้คุณลุงมีแฮชแท็กเก็บผลงานส่วนตัวแล้ว คุณลุงคือคนที่สานตะกร้าที่ฉันถือไปวัดหทัยนเรศวร์ จังหวัดราชบุรี ซึ่งทุกคนต่างชมว่า ตะกร้าสวยมาก หลังจากกลับจากที่วัดหนูรีบกลับไปฟ้องคุณลุงดำว่า “วันนี้หนูถือตะกร้าของคุณลุงไปทำบุญที่วัดเมื่อเช้าไปด้วยนะ มีแต่คนชมตะกร้าหนูสวย ไม่มีใครชมหนูสวยเลย” คุณลุงก็ยิ้มให้เล็กน้อยด้วยความภูมิใจที่มีคนเห็นคุณค่าตะกร้าจักสานของคุณลุง แววตาของคุณลุงบอก หนูว่า คุณลุงมีความสุขมากขนาดไหน แค่รอยยิ้มกับแววตาคุณลุงก็รู้สึกอบอุ่นใจอย่างบอกไม่ถูก ฉันเองก็ได้เรียนรู้การทำจักสานเหมือนกันซึ่งฉันเองก็รู้ดีว่า กว่าจะได้ตะกร้าใบหนึ่งมาไม่ใช่เรื่องง่ายจากประสบการณ์ในการพยายามหั่นลำไม้ไผ่ให้กลายเป็นตอกเล็กๆ เพื่อจะสานกว่าจะทำได้แต่ละตอกนั้นกินเวลาเกือบครึ่งค่อนวันและแต่ละลายก็มีความซับซ้อนต่างกัน และที่สำคัญกว่าจะอ้อนคุณลุงให้สานตะกร้านี้ได้ใช้เวลาตื้ออยู่หลายวันจนคุณลุงเริ่มบ่นพวกเราว่า “ตั้งแต่มีนักศึกษามาที่นี่ ไม่เคยมีใครเซ้าซี้เท่าพวกเรามาก่อน” ซึ่งถ้าบอกแบบทั่วไปมันก็แค่คำดุคำบ่นธรรมดาแต่เรามองลึกไปกว่านั้นว่า คำพูดของคุณลุงเชิงตัดพ้อว่าไม่มีคนรุ่นใหม่ที่สนใจตะกร้าของคุณลุงมากเท่ากับกลุ่มของพวกเราเลย ตั้งแต่ได้รู้จักคุณลุง หนูเองถ้าว่างก็ไปหาคุณลุงเสมอ ไปนั่งคุยกับคุณลุงเกือบทุกวัน บางวันก็หลายครั้งเราได้แลกเปลี่ยนความรู้ เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ เรียนรู้การทำเครื่องจักสานอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น เข้าใจว่าทุกอย่างไม่ง่ายและมีเรื่องราวที่น่าค้นหาเสมอ

ประสบการณ์ที่ที่แห่งนี้มอบให้เป็นประสบการณ์หนึ่งมีค่าในชีวิตของหนู เรารู้สึกอบอุ่นทุกครั้งที่นึกถึงประสบการณ์ที่ผ่านมา ถ้ามีโอกาสฉันอยากกลับไปที่แห่งนี้อีกครั้ง การมาครั้งนี้ไม่ได้มาแค่ศึกษาแต่มาเพื่อสัมผัสวิถีชีวิต ได้ทั้งความรัก ความอบอุ่น และเรื่องราวดีๆ มิตรภาพที่หาจากที่ไหนไม่ได้

รักและคิดถึงมาก

หัวเขาจีนที่รัก

 

บล็อกของ Storytellers

Storytellers
          ความว่างเริ่มเข้ามาในหัวสมองเมื่อผมกลับมาจากการตกปลาได้สักพักหนึ่ง มันส่งเสียงบอกผมว่า “เห้ย!นายต้องหาอะไรทำได้แล้วนะ”พร้อมนึกขึ้นได้ว่า เรานัดคุยกับคุณตาไว้นี่ผมไม่รอช้ารีบเดินเข้าไปบ้านคุณตา คุณตากำลังสานตะกร้าจากไม้ไผ่ไว้ใช้เองอยู่คุณตาเห็นผมด้วยท่าทางทีใจ รี
Storytellers
          เป็นค่ำคืนที่หัวถึงหมอนแล้วรู้สึกอีกทีคือตอนตื่น ผมตื่นมาอย่างตื่นเต้นเตรียมพร้อมที่จะเดินขึ้นไปดูทะเลหมอกแต่มองออกไปก็เจอแต่ความมืดมิดของค่ำคืนที่ไม่มีไฟฟ้าและก็ไม่เห็นจะมีใครตื่นมากับเรา ในใจตอนนั้นถามว่าให้เดินขึ้นไปคนเดียวกล้าไหม ก็คงตอบอย่างมั่นใจว่าไม่กล้า
Storytellers
          พระอาทิตย์เริ่มลับขอบฟ้าเหล่านกกาบินร้องกลับรังก็ได้เวลาที่เรากลับมาที่โรงเรียน เพื่อเตรียมทำกับข้าว ซึ่งก็มีออเดิร์ฟมาเสิร์ฟเราถึงที่ เป็นหัวปลีคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง ทอดกรอบๆ พูดแล้วก็อยากทานอีก เพราะรสชาติมันช่างกลมกล่อมลงตัวเป็นอย่างมาก โดยแม่ครัวใหญ่ของอาห
Storytellers
          เรานั่งรอคุณครูซามารับประมาณเกือบๆ 2 ชม.เพราะวันนี้ทางโรงเรียนติดส่งแขกที่เข้ามาบริจาคสิ่งของ แล้วรถของคุณครูก็มาถึงเป็นรถโฟวิลยกสูงคันใหญ่ ที่ขับมาโดยเด็กหนุ่มหน้าตาอย่างกับบอยแบรนด์เกาหลี ผมสวัสดีทักทาย ในใจก็คิดว่าสงสัยครูซาคงให้ลูกศิษย์ขับรถมาแทน แต่ก็ไม่ใช่
Storytellers
          เสียงนาฬิกาปลุกปลุกผมให้ลุกจากที่นอนรีบไปอาบน้ำ ผมสะพายเป้ ออกจากบ้านด้วยอารมณ์เรียบเฉยต่างจากวันก่อนที่อยากไปมากอย่างสิ้นเชิง คงเป็นเพราะบรรยายกาศที่มีฝนตกปรอยๆ และข้อมูลการเดินทางที่มีน้อยมาก มันเลยทำให้ผมไม่ได้คาดหวังอะไรมากจากการเดินทางครั้งนี้ผมนัดเจอกับชาต
Storytellers
หลังจากจบกิจกรรมในวันแรกเราทุกคนต้องนอนค้างด้วยกันและเช้าวันรุ่งขึ้นผมต้องรีบแหกขี้ตาขับรถกลับบ้านเพื่อแต่งตัวไปทำงาน ในขณะที่เพื่อนๆคนอื่นเตรียมตัวออกเดินทางโดยตลอดการเดินทางเราจะใช้ “APP C –Site”เพื่อติดตามเรื่องราวของกันและกัน ความรู้สึกที่เราต้องนั่งหงอยๆทำงานอยู่หน้าคอมทั้งที่เพื่อนคนอื่นออก
Storytellers
          ชีวิตในเมืองเต็มไปด้วยความวุ่นวายเร่งรีบของใครคนหนึ่ง โดยไม่รู้เลยว่าแท้จริงแล้วเขาต้องการอะไรจากเมืองกรุงแห่งนี้จนเลื่อนมือถือไปๆมาๆเจอโพสหนึ่ง “เปิดรับเยาวชนนักเล่าเรื่องที่สนใจจะไปเที่ยว!
Storytellers
ก่อนได้ไปลงพื้นที่ที่สะเนพ่องเราได้ไปค่ายนักเล่าเรื่องในที่อื่น(Storytellers in Journey) ที่มูลนิธฺเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีปซึ่งทำให้เราได้เจอกับพี่ๆหลายๆคนและทุกๆคนน่ารักมาก แต่ในระยะเวลาที่เราได้อยู่ค่ายนั้นมันมีแค่ 2 วันคือวันที่7-8 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 แล้วในตอนนั้นผมก็ยังมีโครงการของผมที่ยังต้องไ
Storytellers
บัติ-ใจ-สู้  สามคำที่อยากแนะนำตัวเองให้ทุกคนได้รู้จัก  “บัติ”  มาจากชื่อจริงชื่อ  สมบัติ  แก้วเนื้ออ่อน  “ใจ”  มาจากสิ่งที่เริ่มทำในชีวิตส่วนใหญ่มักเริ่มต้นมาจากความรู้สึกที่เกิดขึ้นผ่านใจ  ถ้าใจอยากทำ  ยังไงก็จะทำต่อไปจนสำเร็จให้ได้  ส่
Storytellers
ต่างคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า การเดินทางคือการซื้อประสบการณ์ที่ได้รับเงินทอนเป็นความสุข เป็นคำพูดที่มีความจริงเจือปนอยู่เป็นจำนวนมากแต่บางครั้งเงินทอนที่ได้รับอาจจะมาในรูปแบบที่โหดร้ายได้เหมือนกัน เพราะการเดินทางไปในแต่ละที่มักจะได้ประการณ์ที่ไม่เหมือนกัน และนี่ก็เป็นอีกประสบการณ์ที่ไม่รู้ว่า
Storytellers
          ผมได้เข้าร่วมโครงการ Storytellers in journey ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้ผมได้ออกเดินทางไปเรียนรู้อะไรใหม่ตามที่ต่างๆ และผมได้มีโอกาสเดินทางไปยังบ้านปลาบู่ จังหวัดหมาสารคาม เพื่อไปดูการจัดการธุรกิจแบบ Social Enterprise เพราะผมได้รู้มาว่าที่นั้นมีการทำธุรกิจแบบ