Skip to main content

          ผมได้เข้าร่วมโครงการ Storytellers in journey ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้ผมได้ออกเดินทางไปเรียนรู้อะไรใหม่ตามที่ต่างๆ และผมได้มีโอกาสเดินทางไปยังบ้านปลาบู่ จังหวัดหมาสารคาม เพื่อไปดูการจัดการธุรกิจแบบ Social Enterprise เพราะผมได้รู้มาว่าที่นั้นมีการทำธุรกิจแบบนี้อยู่ และตัวผมเองก็กำลังสนใจเกี่ยวกับธุรกิจแบบนี้อยู่ด้วย ตอนที่ผมไปถึงที่นั้นดูเหมือนคนที่นั้นกำลังยุ่งๆกับการจัดงานอะไรบางอย่างอยู่ ผมจึงได้ไปช่วยงานคนที่นั้น ผมได้รู้จักกับป้าแล่มที่เป็นผู้อำนวยการศูนย์ และป้าสดใสเพื่อนป้าแล่ม ที่มาช่วยงานในศูนย์อโรคยาปลาบู่แห่งนี้ นอกจากนี้ยังมีพี่ลิ และคนในชุมชนที่คอยมาช่วยงานที่ศูนย์อยู่เป็นประจำ ป้าแหล่มเล่าให้ผมฟังว่าชาวบ้านที่นี่หันมาเรียนรู้จักกับการจัดการชุมชนตนเอง หลังจากที่ฝ่าวิกฤติต่างๆมาได้ โดยมีลูกหลานในหมู่บ้านเป็นกำลังสำคัญ ป้าแล่มเริ่มเข้ามาทำงานด้านสังคมเนื่องจากตนเองเป็นคนในบ้านปลาบู่อยู่แล้ว และอยากทำให้คนในชุมชนมีชีวิตที่ดีขึ้น รู้จักพึ่งตนเองมากขึ้น ป้าแล่มเริ่มต้นจากการสังเกตเห็นว่าบ้านปลาบู่แห่งนี้มีป่าและผืนนาเป็นของตัวเอง ป่าแล่มได้เริ่มมีการตั้งกลุ่มขึ้นมา แรกเริ่มจากการขุดคลองเพื่อทำนา และมีการทำผ้ามัดย้อม มีการจัดสัดส่วนในหมู่บ้านเป็นคุ้มต่างๆ ต่อมาในปีหลังๆเริ่มให้ทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น มีการทำธุรกิจเพื่อสังคมส่งเสริมรายได้คนในหมู่บ้าน

          ช่วงที่ผมไปผมยอมรับว่ายังไม่ค่อยเห็นในสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นชัดเจนนัก เนื่องจากช่วงนั้นที่นั้นกำลังยุ่งๆอยู่กับการจัดเตรียมงานอะไรบางอย่าง ผมเดินทางไปยังที่นั้นโดยการนั่งรถทัวร์และไปต่อรถเมล์เพื่อไปยังอำเภอวาปีปทุม พอไปถึงหลังจากที่ผมเก็บข้าวของไปไว้ที่ที่พักเสร็จ ผมก็ไปอาบน้ำแต่งตัวลงมาช่วยงานข้างล่างตรงที่เขากำลังจัดเตรียมงานกันอยู่ ผมได้ไปช่วยป้าสดใสทำขันหมากเบ็ง นี่เป็นครั้งที่ผมได้ลองทำ เริ่มต้นจากการที่ผมต้องไปเก็บดอกพุด ซึ่งผมต้องปีนขึ้นไปบนต้นเพื่อที่จะเก็บดอกมา ผมเก็บไปได้ซักพักก็เจอเข้ากับรังมดแดง ไอ้เพลงที่บอกว่าเจ็บนิดๆเหมือนมดกัดนิดเดียวนี่ผมว่าไม่นิดแล้วล่ะเพราะทำให้ผมต้องหยุดเก็บดอกพุดไว้แต่เพียงเท่านั้น หลังจากที่เก็บดอกพุดจนโดนมดแดงกัดผมก็ได้ดอกพุดมาจำนวนหนึ่งซึ่งคิดว่าน่าจะพออยู่สำหรับทำขันหมากเบ็ง แล้วจากนั้นผมก็ไปตัดใบตองต่อ หลังจากที่เราได้ของที่จะทำขันหมากเบ็งมาครบแล้ว ผมกับพี่สดใสก็ไปหาเสื่อมาปูนั่งกันตรงท่าน้ำ เริ่มแรกผมต้องม้วนใบตองให้เป็นกรวยแหลมเสียก่อนแล้วจึงเอาดอกพุดใสเข้าไปหนึ่งดอกตรงยอด ตอนดูที่ป้าสดใสทำดูเหมือนจะไม่ยากแต่พอได้มาลองทำแล้วนั้น ผมบอกเลยว่ายากกว่าที่คิดแหะ เราจะต้องม้วนกรวยให้แน่นเพื่อไม่ให้ดอกพุดหลุดออกมาได้ ผมทำเท่าไหร่กรวยใบตองมันก็ไม่แน่นซักที แต่ผมก็ยังคงพยามต่อไปและคิดว่ายังไงวันนี้ก็ต้องทำให้สำเร็จให้ได้ ในระหว่างที่ผมกำลังนั่งม้วนใบตองอยู่ก็มีคนในหมู่บ้านเดินมาทักทายอยู่ไม่ขาด เวลาผ่านไปซักพักทุกอย่างก็เริ่มเข้าที่เข้าทาง ผมเริ่มมีทักษะมากขึ้นสามารถทำให้กรวยแน่นได้แล้ว แต่ก็ยังออกมาไม่สวยมากซักเท่าไหร่ หลังจากที่เรานั่งทำกรวยกันเสร็จ เราก็เริ่มเอามันมาประกอบกันซึ่งขั้นตอนนี้ไม่มีอะไรมากแค่เพียงเอากรวยที่เราได้มาเย็บด้วยกันจนมันเรียงแบบสวยงาม ในทั้งวันนั้นผมจึงหมดเวลาไปกับทำขันหมากเบ็ง

          ในระหว่างที่ผมนั่งทำขันหมากเบ็งอยู่นั้นก็ได้ถามคำถามกับป้าสดใสเกี่ยวกับชุมชน จากคำตอบที่ได้มาผมเห็นถึงทางเลือกของคนในชุมชนที่เลือกได้ว่าเราจะเดินไปทางไหน ถึงแม้ที่นั้นป้าแล่มจะอยากให้ชาวบ้านหันมาทำเกษตรอินทรีย์ก็จริง แต่ป้าแล่มไม่เคยบังคับให้ชาวบ้านมาทำเลย วิธีการที่ป้าแล่มทำคือการลงมือทำให้คนในชุมชนเห็นว่ามันเป็นอย่างไรไอ้เกษตรอินทรีย์เนี่ย หลังจากที่ชาวบ้านเห็นแล้วก็เกิดความสนใจและเห็นถึงประโยชน์ ก็ทำ ทำให้ชาวบ้านบางคนเริ่มหันมาทำเกษตรอินทรีย์กันมากขึ้น ซึ่งวิธีการที่ป้าแล่มทำผมคิดว่ามันเป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งเลย เพราะการที่เราจะให้ใครบางคนเปลี่ยนตามเรามันคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายสักเท่าไหร่นัก วิธีการทำให้ดูก็เหมือนจะเป็นวิธีที่เห็นภาพชัดและจับต้องได้ ทำให้เขาเหล่านั้นเห็นทางเลือกที่มากขึ้นจากเดิมที่เขาคิดว่าอาจมีแค่หนึ่ง แต่จริงๆแล้วมันยังมีทางเลือกอีกมากมายให้เราได้เดินไป

          อ่อ ผมลืมพูดเรื่องสำคัญไปหนึ่งอยาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมมีความสุขทุกครั้งที่ได้ทำมัน นั้นก็คือการกิน พี่ๆแม่ครัวที่นี่ต้องบอกว่าทำอาหารอร่อยมากถึงมากที่สุด ผมรู้สึกว่าอาหารทุกอย่างมันออกรสออกชาติกันอย่างลงตัว อร่อยจนผมอยากขอสูตรไปให้แม่ทำให้กินที่บ้านบ้างเลย

          ช่วงเย็นของวันนั้นหลังจากที่ผมกินข้าวเย็นอย่างเอร็ดอร่อยเสร็จก็ได้ไปนั่งห่อข้าวต้มมัด นี่ก็เป็นครั้งแรกอีกเหมือนกันที่ผมจะห่อข้าวต้มมัด พวกเราก็ใช้ใบตองจากที่ตัดมาเมื่อช่วงเช้ามาห่อ อันนี้ผมต้องบอกเลยว่าอยากมากสำหรับผม อันแรกที่ทำออกมาคือดูไม่ออกเลยว่าเป็นข้าวต้มมัด แต่ผมจะไม่ยอมแพ้หรอก ผมต้องลองทำไปเรื่อยๆ พอเวลาผ่านไปซักพักทักษะการห่อข้ามต้มมัดของผมต้องบอกเลยว่าไม่แตกต่างจากตอนแรก อาจดีกว่าตอนแรกนิดหน่อย แต่ก็ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างของข้าวต้มมัดอยู่ดี กิจกรรมวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ ก่อนที่ผมจะขึ้นไปทำธุระส่วนตัวและเข้านอนป้าแล่มก็มาบอกผมว่าพรุ่งนี้จะมีงานเสวนาเกี่ยวกับการศึกษาทางเลือกสนใจเข้าร่วมไหม ผมนั้นพอได้ยินแบบนั้นก็ทำให้ผมสนใจขันมา ผมตอบรับคำเชิญของป้าแล่มไปทันควันโดยไม่ต้องคิดอะไรเลย หลังจากนั้นผมก็ขอตัวขึ้นมาพักผ่อนและเตรียมพร้อมสำหรับกิจกรรมวันพรุ่งนี้

          เช้าวันใหม่ของผมตื่นมาพร้อมกับได้ยินคำพระเทศจากคลิปวิดีโอที่ผมคาดว่าป่าแล่มน่าจะเป็นคนเปิดทิ้งไว้ ผมนอนฟังไปซักพักเพื่อให้ตัวเองรู้สึกตื่นเต็มตาหลังจากนั้นจึงได้ลุกออกไปอาบน้ำแต่งตัว เพื่อที่จะไปช่วยงานในครัว แต่พอไปถึงพี่ๆแม่ครัวก็ทำกันจนเสร็จหมดแล้วเขาจึงบอกให้ผมไปกินข้าว กับข้าวก็ยังคงอร่อยเหมือนเดิม แต่ความพิเศษมันอยู่ตรงที่ผมได้กินข้าวต้มมัดที่ห่อเอง ผมพยามหาอันที่มันรูปร่างแปลกเพราะอันนั้นมันน่าจะเป็นของผม หลังจากเลือกข้ามต้มมัดได้แล้วทีนี้ก็ถึงเวลาลิ้มรสกันแล้ว กัดเข้าไปคำแรกความรู้สึกคืออื้อหืออร่อยจังมันรสชาติแตกต่างจากข้าวต้มมันที่ผมเคยกินไปเลยสิ้นเชิง ถึงแม้ว่าหน้าตาอาจไม่เหมือนข้ามต้มมัดแต่รสชาติรับประกันความอร่อยแน่นอน หลังจากที่กินของคาวหวานเสร็จ งานเสวนาก็ได้เริ่มขึ้น งานเสวนาในครั้งนี้เป็นการพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่ององค์ความรู้ของการจัดการศึกษาทางเลือกของสังคมไทย ที่มีการพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน ซึ่งผมคิดว่าเป็นประเด็นที่ค่อนข้างน่าสนใจมาก

          กิจกรรมเริ่มจากการแนะนำตัวบอกว่าชื่ออะไรและมาจากกลุ่มการศึกษาทางเลือกแบบไหน ซึ่งกลุ่มที่มามีด้วยกัน3กลุ่มใหญ่ๆด้วยกัน คือ กลุ่มบ้านเรียน กลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก และศูนย์การเรียนรู้พื้นฐานชุมชน จากนั้นก็มีการแยกกันไปทำกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม กิจกรรมที่ทำจะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นต่อการศึกษาในรูปแบบของตนเอง ว่ามีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร และอยากเพิ่มเติมในส่วนไหนลงไปถ้าทำได้ หลังจากนั้นก็มานั่งรวมกันเป็นวงใหญ่เพื่อแชร์ในสิ่งที่ได้ หลังจากที่แต่ละกลุ่มแชร์ในวงใหญ่เสร็จแล้วนั้นผมสังเกตเห็นได้ว่าทุกกลุ่มมีแนวทางที่ชัดเจนในทางของตนเอง มีมุมมองที่หลากหลายแตกต่างออกไปในแต่ละกลุ่ม ทุกกลุ่มพยามที่จะทำให้กลุ่มของตัวเองได้รับสิทธิคิดว่าควรจะได้รับ แต่ละกลุ่มก็จะมีวิธีการที่ได้มาตามสิ่งที่ตัวเองต้องการแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่ทุกกลุ่มมีเหมือนกันนั้นก็คือการเข้าใจตัวเอง การเข้าใจผู้อื่น และเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

          ตลอดเวลาที่ผมได้มาอยู่ที่ชุมชนแห่งนี้ ผมได้เรียนรู้อะไรมากมาย ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนที่นี่ ได้รู้เรื่องของวัฒนธรรม ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาทางเลือก แต่สิ่งหนึ่งที่ผมต้องกลับมาย้อนคิดกับตัวเองนั้นก็คือเรื่องของทางเลือก ทุกวันนี้เราอยู่ในสังคมที่มันหลากหลายและเปิดกว้างมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือเรื่องของทางเลือกที่มากขึ้นเช่นกัน ทุกคนมีสิทธิที่จะเดินตามทางที่ตัวเองเลือก ทุกคนมีสิทธิที่จะได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการไม่ใช่เรื่องผิด แต่เราจะต้องคำนึงถึงด้วยว่าเราจะไม่ไปกดทับคนอื่น การพยามให้อะไรก็ตามปรับเข้ามาหาเรามันอาจจะเป็นสิ่งที่อยากเกินไป เราควรลองปรับที่ตัวเองเสียก่อน หาจุดตรงกลางระหว่างเรากับสิ่งอื่นรอบๆตัวให้เจอ เราทุกคนมีทางเลือกที่หลากหลาย ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกทางของตัวเอง เช่น การศึกษาทางเลือก ชุมชนทางเลือก แต่อย่าลืมว่าทางที่เราเลือกเดินควรจะคำนึงถึงการเกิดสำนึกร่วมกัน และต่างฝ่ายต้องเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

 

บล็อกของ Storytellers

Storytellers
ปรากฏการณ์การพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐ คำว่า “ความดีงามแห่งรัฐ” คือ สิ่งที่รัฐมองว่าดีงามและควรค่าแก่การรักษา
Storytellers
หากเราลัดเลาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่เห็นล้วนเต็มไปด้วยวัดวาอาราม ย่านที่เต็มไปด้วยความดีงามที่ควรแค่แก่การอนุรักษ์นำมาซึ่ง “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”
Storytellers
“Raising and caring for children is more like tending a garden :it involves “a lot of exhausted digging and wallowing in manure” to create a safe,nurturing space in which innovation, adaptability and resilience can thrive.”
Storytellers
หลังจากครุ่นคิดมาทั้งคืน ถึงพื้นที่การเรียนรู้ มุกได้เลือกไปที่ ชุมชนไทดำ จังหวัดสุราษฎร์ธานีค่ะ มีหลายเหตุผลมากมายในการเลือกเดินทางครั้งนี้ นั่นก็คือ อยากที่จะไปเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม พิธีกรรม รวมถึงวิถีชีวิตต่าง ๆของคนไทดำ ว่ามีความแตกต่างกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้
Storytellers
- ฉันเริ่มการสรุป สาธยาย เพ้อเจ้อ และพรรณา ณ วันที่12 ธันวาคม 2561 (12/12) เวลา 18.36 -
Storytellers
คำเตือนการพยายามร้อยเรียงเรื่องราวมันคงจะชัดเจนจนสับสนมากอ่านประโยคเดียวงงไหมคะ?ไม่ต้องพยายามเข้าใจอะไรให้มันง่ายหรอกค่ะ เดี๋ยวมันไม่สนุก ไปกันแบบงงๆกับคนงงๆดีกว่า .Pre-ช่วงประมาณกลางเดือนตุลาคม 2561
Storytellers
ตอน : การจัดการที่อยู่
Storytellers
การนำเสนอ ตั้งใจว่าจะทำเป็น จดหมาย 3 ฉบับที่เขียนในสเนพ่อง เพราะว่าในสเนพ่อง ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ท จึงทำให้การพูดคุยสื่อสารกันด้วยจดหมายน่าจะเข้ากับการนำเสนอการเดินทางในครั้งนี้มากที่สุดค่ะ มีจดหมายฉบับที่ส้มโอเขียนให้ครูเฟริ์นและได้มอบให้ครูเฟริ์นจริงในวันสุดท้ายก่อนออกจากสเนพ่
Storytellers
หลังจากที่นอนคิดเกือบทั้งคืนว่าเราจะเก็บกระเป๋าไปพื้นที่เรียนรู้ที่ไหนดี(จากยี่สิบกว่าตัวเลือกที่ทางโครงการ storytellers in journey มีให้) เราก็ได้คำตอบสุดท้ายแล้ว พรุ่งนี้โมจะไปเสน่พ่อง!
Storytellers
           คุณเคยเห็นเวลาที่รถติดหล่มไหม มันคงใช้เวลาอยู่นานเลยนะกว่าจะหลุดพ้นจากหล่มนั้นมาได้ คงต้องใช้ทั้งเวลาทั้งแรงและปัจจัยอีกหลายๆอย่างมากมายในการหลุดออกมา การจากลาจากใครสักคนก็เหมือนกัน ความรู้สึกของการจากลามันก็เหมือนรถที่ติดหล่มที่เมื่อติดลงไปแล้วก็ทำให้ความ
Storytellers
          พบเพื่อลา มาเพื่อจาก ผมลุกจากที่นอนออกมาทำธุระส่วนตัวก็เห็นน้องๆกำลังแต่งตัวถือหนังสือเตรียมตัวกันมาเรียน มันคงเป็นการตื่นมาเรียนที่แต่ละคนดูสดชื่นไม่เหมือนกับตัวเองสมัยเด็กๆที่โรงเรียนไม่ต่างอะไรจากกรงขังที่ตีกรอบสี่เหลี่ยมให้กับเราแต่สำหรับที่นี่โรงเรียนเหมือน