Skip to main content

ปรากฏการณ์การพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐ คำว่า “ความดีงามแห่งรัฐ” คือ สิ่งที่รัฐมองว่าดีงามและควรค่าแก่การรักษา

ปรากฏการณ์ดังกล่าวถือเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนการกดขี่เชิงอำนาจที่หยั่งลึก นัยหนึ่งคือการกดทับเชิงทางโครงสร้าง การกระด่างกระเดื่องกับผู้พิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐเป็นสิ่งต้องห้าม หรือแม้แต่การตั้งคำถามกับความไม่สมประกอบเหล่านี้ เราล้วนผิดเสมอ แท้จริงคุณค่าเหล่านั้นอยู่ที่ใด? ภายใต้สังคมของกระแสหลักที่ยึดถือว่า “เราต้องเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน” เรายึดถือว่าคนเราต้องเสียสละเพื่อส่วนรวม หากเขามองเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน เขาคือคนเห็นแก่ตัว และคนเห็นแก่ตัวคือคุณสมบัติที่ความดีงามแห่งรัฐไม่ต้องการ ประเด็นที่น่าสนใจคือทำไมคนที่เรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเองจึงเป็นผู้กระทำผิดหรือเราเป็นได้แค่เพียงผู้จำยอม ไร้เสียง ไร้หนทางสู้ หากเราลุกขึ้นต่อสู้ แม้สิ่งนั้นถูกต้องเพียงใดแต่หลุดจากกรอบความดีงามแห่งรัฐ สิ่งนั้นผิดเสมอ แท้ที่จริงเราเป็นใครในรัฐ?

ปรากฏการณ์ความดีงามแห่งรัฐเพื่อธำรงไว้ซึ่ง“ความปกติ” ผ่านกระบวนการการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวในเนื้อในตัวของเรา การยอมรับและไม่ตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นซึ่งเครื่องมือสำคัญที่สร้างบุคคลตัวอย่างที่ธำรงไว้ซึ่งความดีงามแห่งรัฐ การศึกษาที่ผ่านมาไม่สอนให้ตระหนักหรืออนุญาตให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่เราถูกป้อน ถูกสอน ถูกกล่อม ทุกเรื่องล้วนกำกับอยู่ภายใต้วาทกรรม “ความดีงาม” เฉกเช่นเดียวกับนโยบายที่หยิบยื่นอำนาจของรัฐ เราเชื่อว่าเราไม่จำเป็นต้องคิดหรือตั้งคำถามสิ่งใดเพราะสิ่งที่รัฐเลือกให้ล้วนดีที่สุดแล้วเพราะหน้าที่ของรัฐคือการดูแลเรา “รัฐบาลคือผู้สร้างและพัฒนาชาติ” หรือ “เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย” (แล้วภัยจากรัฐละใครช่วย?) การผูกให้รัฐเท่ากับผู้พิทักษ์ความถูกต้องนำมาซึ่งการหลงเชื่อและยินยอมโดยไม่ตั้งคำถามกับสิ่งที่รัฐเลือกนำไปสู่การละเลยสิทธิ์และหน้าที่ สิ่งที่รัฐต้องการพลเมืองแห่งรัฐผ่านการเรียนหน้าที่พลเมืองภายใต้ภาพลักษณ์รัฐที่ดีแต่สิ่งที่การศึกษาไม่ได้สอนคือการตั้งคำถามกับสิ่งที่รัฐหยิบยื่น การตั้งคำถามแก่รัฐว่าการกระทำของรัฐแท้จริงทำเพื่อสิ่งใด? ใครคือผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด? สิทธิที่เราได้รับว่าแท้จริงแล้ว สิทธิที่รัฐหยิบยื่นคือสิ่งที่คู่ควรแก่เราหรือไม่? เมื่อเราไม่ได้ถูกสอนให้ตั้งคำถามทุกอย่างจึงเป็นสิทธิ์ของรัฐที่รัฐกระทำสิ่งใดก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความงามสามัญ กระบวนการสร้างวาทกรรมเป็นกระบวนการหนึ่งที่ถูกยึดโยงจากแนวคิดของมิเชล ฟูโกต์ (เบญจวรรณ, 2561) ที่มองว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สื่อสารเพื่อเป้าหมายแฝง ฉะนั้นการสร้างวาทกรรมจึงเป็นส่วนหนึ่งที่เราได้มองเห็นวิถีในมุมใหม่

ปรากฏการณ์ความดีงามแห่งรัฐ เป็นการต่อสู้ระหว่าง 2 อุดมการณ์ คือ หนึ่งการต่อสู้เพื่อการธำรงอยู่ซึ่งมีความเชื่อเบื้องหลังว่าเรากับโบราณสถานเป็นสิ่งคู่กันนำมานาน คนดำรงอยู่กับเมืองอย่างเป็นพลวัต เราไม่จำเป็นต้องไล่รื้อสิ่งอื่นเพื่อการดำรงอยู่ของสิ่งหนึ่ง (อินทิรา วิทยสมบูรณ์, 2562) สองคือการต่อสู้เพื่อรื้อทำลายซึ่งยึดถือว่าโบราณสถานกับผู้คนเป็นของแสลง การต่อสู้ระหว่างสองอุดมการณ์ที่มีความเชื่อต่างกัน มีอำนาจต่างกัน ภาครัฐถือเป็นบทบาทสำคัญที่สร้างความเปลี่ยนแปลง สิ่งที่รัฐกระทำคือยึดผู้พิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐและรัฐเชื่อว่าประชาชนต้องเป็นผู้เสียสละ (มติชน, 29 เมษายน 2561) การกระทำดังกล่าวเป็นการกีดกันผู้อื่นและยึดโยงตนเองเป็นแกนหลัก มีการใช้อำนาจของตนเองเพื่อส่งต่อความเชื่อและสร้างความชอบธรรมผ่านกระบวนการทางกฎหมายที่ตนเองเป็นผู้กำหนด ผนึกกำลังกับเอกชนรายใหญ่ที่รัฐต้องการนำมาอ้างความชอบธรรมผ่านการพัฒนาเพื่อเกิดย่านเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยวผ่านประวัติศาสตร์ประดิษฐ์สร้าง การมองชุมชนเป็นปฏิปักษ์ต่อทัศนียภาพที่งดงามแห่งรัฐ รัฐที่ดีพึงกระทำคือการไล่รื้อชุมชน สิ่งที่รัฐถือครองคืออำนาจในการกำหนดกฎหมายที่สร้างขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำของตนเอง กองกำลังของตนเองและสิทธิ์ในการกล่อมสังคมให้เชื่อ ในขณะเดียวกันฝ่ายปฏิปักษ์แห่งความดีงามแห่งรัฐเป็นผู้สูญเสียประโยชน์หลักเพราะการไร้อำนาจเชิงกฎหมาย การดำรงอยู่ภายใต้การลดทอนคุณค่า นำมาซึ่งความไม่มั่นคงในชีวิตแลกกับการเป็น “ผู้เสียสละเพื่อส่วนร่วม” บุคคลตัวอย่างที่สังคมแห่งความดีงามต้องการ การสร้างความชอบธรรมความดีงามแก่ตนแต่ผลักความเป็นอื่นเฉกเช่นนี้สอดคล้องกับอำนาจที่ก่อรูปธรรมภายใต้แนวคิดของมิเชล ฟูโกต์ (เบญจวรรณ, 2561)

“ความเป็นรัฐที่อำนาจผูกติดกับชนชั้น” ชนชั้นสูงกว่ามีการเข้าถึงทรัพยากรที่ดีกว่า สังเกตจากการจัดสรรพื้นที่และนโยบายที่เอื้อต่อประโยชน์อย่างชัดเจน หรือการกล่าวของมาร์กว่า ““The history of all previous societies has been the history of class struggles.” ประวัติศาสตร์คือความต่อสู้ระหว่างชนชั้น หากวิพากษ์แห่งเลนส์ Marxism เรามองเห็นการกดขี่และกีดกันไม่ให้คนกลุ่มหนึ่งไม่รับผิดประโยชน์อย่างชัดเจนผ่านการเอื้อประโยชน์แก่ทุนใหญ่เท่านั้น (“Marxis”, 2562)

ปรากฏการณ์การกดขี่เชิงอำนาจทวีความรุนแรงขึ้น เมื่ออยู่ภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ การยึดถือกฎหมายเป็นหลักเพื่อพิทักษ์ รักษาและดำรงซึ่งความเป็นชาติ การกระทำล้วนเกิดภายอำนาจเบ็ดเสร็จชี้เป็นชี้ตายใครได้ด้วยปลายปากกา หากแต่นี่คือการพิทักษ์ รักษา บนรอยน้ำตาแห่งไพร่ เพราะเหตุใดการอยู่ภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงเพิ่มความรุนแรง? เพราะอำนาจที่ล้นมือ อำนาจเบ็ดเสร็จ สิทธิ์ขาดแต่เพียงผู้เดียวฉะนั้นการประนีประนอมจึงไม่จำเป็นอีกต่อไป การตัดสินใจหนึ่งนำไปสู่การลงมือปฏิบัติได้ทันที การต่อกรกับรัฐเผด็จการเฉกเช่นนี้ การต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวคงไม่สามารถต่อกรได้ซึ่งที่ภาคประชาชนและประชาสังคมกำลังทำคือการผลึกกำลังอำนาจเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า กระบวนการที่รัฐกระทำไม่ต่างจากการใช้อำนาจแบบ Power Over หรือการสั่งการจากหอคอยงาช้าง ในขณะเดียวกันการต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวก็ไม่สามารถต่อสู้กับอำนาจรัฐได้ สิ่งที่ภาคประชาชนกระทำคือ การใช้อำนาจแบบ Power Sharing คือการขับเคลื่อนเป็นกลุ่มเพื่อแสดงเจตนารมย์และเป็นการต่อต้านรัฐทางอ้อม ซึ่งคุณสมบัติหนึ่งที่ภาคประชาชนจำเป็นต้องมีคือการมี Power within ในตนเองเช่นกัน เพราะการต่อสู้กับสิ่งที่มองไม่เห็น การตระหนักรู้ว่าเป้าหมายของเราคืออะไรเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนเราสู่เป้าหมาย แต่หากย้อนมองสิ่งที่รัฐกระทำ รัฐก็มีการใช้ Power Within หรือการตระหนักรู้ในตน กล่าวคือ การมองเห็นเป้าหมายและพร้อมพุ่งชน เพียงแต่เป้าหมายที่รัฐต้องการกับเป้าหมายที่ประชาชนต้องการไม่สอดรับกัน รัฐมุ่งเน้นการธำรงไว้ซึ่งระบอบชนชั้นและอำนาจซึ่งขัดแย้งกับอุดมการณ์ของชุมชนมุ่งเน้นการธำรงไว้ซึ่งการรักษาสิทธิของตนเอง (Power in Schooling, 2562)

เหตุที่ปัญหาและความไม่เท่าเทียมเหล่านี้ยังคงอยู่ และยากต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงเกิดจากประการแรก คือ ผู้กุมอำนาจไม่ยินยอมสูญเสียอำนาจ ผู้มีอำนาจเป็นแกนหลักของสังคม มีสิทธิ์ มีเสียงและมีอำนาจในการกดทับสื่อและครอบงำเชิงอำนาจเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่ตนผ่านกระบวนการ Hegemony การสร้างชุดคำใหม่หรือการสร้าง Culture power กล่าวคือ วัฒนธรรมหนึ่งว่าดีและสูงส่ง ในที่แห่งนี้คือความดีงามแห่งรัฐ กระบวนการเหล่านี้เป็นหนึ่งในทฤษฎี Gram Sci เพราะฉะนั้นภาพลักษณ์ของรัฐจึงถูกมองด้วยสายตาบวก (วัชรพล พุทธรักษา, 2547)  ในขณะที่ผู้ถูกกดทับแต่ไม่ได้รับรู้ว่าสิ่งที่ตนเองเผชิญคือการกดทับหรือกระบวนการ Normalization ซึ่งเป็นผลพวงจากวาทกรรมที่ผู้มีอำนาจสร้างขึ้นและเชื่ออย่างสนิทใจโดยไม่ตั้งคำถามใด เชื่อว่ารัฐกระทำสิ่งที่ถูกต้องและเป็นกันชนแก่รัฐเพราะเชื่อว่าสิ่งที่รัฐกระทำคือสิ่งที่ดีและคู่ควรที่สุด ไม่ควรขัดแย้ง หรือผู้ถูกกดทับที่วางตนนิ่งเฉย เนื่องจากไม่รู้ต่อกรกับรัฐได้อย่างไร ปัญหาดังกล่าวนำไปสู่การกดทับเชิงโครงสร้างที่หยั่งลึก การหนีออกจากวังวนดังกล่าวคือการตั้งคำถามและตั้งคำถาม การตั้งคำถามนำไปสู่การหาข้อสรุป การเรียกร้องสิทธิและการมองเห็นความไม่เท่ากันที่รัฐกระทำต่อเราเป็นต้นทุนที่ดีที่เราหลุดพ้นจากวังวนดังกล่าว

และสุดท้ายเราจำเป็นต้องยอมจริงหรือ?

บรรณานุกรม

กทม.เร่งพัฒนาสวนสาธารณะ ขอบคุณ ‘ชุมชนป้อมมหากาฬ’ คืนพื้นที่. (29 เมษายน 2561)

          มติชน. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_935185

เบญจวรรณ อุปัชฌาย์. (2561). แนวคิดเรื่องตัวตนที่รู้คิดและกระบวนการสร้างตัวตนของมิเชล ฟูโกต์

             Foucault’s Concept of Subjectivity and the Process of Subjectification.

             CRMA Journal of Humanities and Social Sciences, 5, 159-208.

            สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/154546

วัชรพล พุทธรักษา. (2547). แนวความคิดการครองอํานาจนํา (Hegemony) ของกรัมชี (Gramsci): บททดลอง

เสนอในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทย The Gramsci’s Hegemony concept: An attempt

to explain Thai political phenomena. เอกสารนำเสนอในที่ประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐ

ประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 8, กรุงเทพฯ. สืบค้นจาก https://www.academia.edu/518933/2007

อินทิรา วิทยสมบูรณ์. นักเคลื่อนไหวสังคม. (14 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.

Power in Schooling. เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชา วรศ. 310 (การรื้อถอน) ระบบการศึกษาและ

          การศึกษาทางเลือก .(กันยายน 2562), ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Marxism. เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชา วรศ. 310 (การรื้อถอน) ระบบการศึกษาและ

          การศึกษาทางเลือก .(กันยายน 2562), ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

 

บล็อกของ Storytellers

Storytellers
ปรากฏการณ์การพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐ คำว่า “ความดีงามแห่งรัฐ” คือ สิ่งที่รัฐมองว่าดีงามและควรค่าแก่การรักษา
Storytellers
หากเราลัดเลาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่เห็นล้วนเต็มไปด้วยวัดวาอาราม ย่านที่เต็มไปด้วยความดีงามที่ควรแค่แก่การอนุรักษ์นำมาซึ่ง “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”
Storytellers
“Raising and caring for children is more like tending a garden :it involves “a lot of exhausted digging and wallowing in manure” to create a safe,nurturing space in which innovation, adaptability and resilience can thrive.”
Storytellers
หลังจากครุ่นคิดมาทั้งคืน ถึงพื้นที่การเรียนรู้ มุกได้เลือกไปที่ ชุมชนไทดำ จังหวัดสุราษฎร์ธานีค่ะ มีหลายเหตุผลมากมายในการเลือกเดินทางครั้งนี้ นั่นก็คือ อยากที่จะไปเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม พิธีกรรม รวมถึงวิถีชีวิตต่าง ๆของคนไทดำ ว่ามีความแตกต่างกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้
Storytellers
- ฉันเริ่มการสรุป สาธยาย เพ้อเจ้อ และพรรณา ณ วันที่12 ธันวาคม 2561 (12/12) เวลา 18.36 -
Storytellers
คำเตือนการพยายามร้อยเรียงเรื่องราวมันคงจะชัดเจนจนสับสนมากอ่านประโยคเดียวงงไหมคะ?ไม่ต้องพยายามเข้าใจอะไรให้มันง่ายหรอกค่ะ เดี๋ยวมันไม่สนุก ไปกันแบบงงๆกับคนงงๆดีกว่า .Pre-ช่วงประมาณกลางเดือนตุลาคม 2561
Storytellers
ตอน : การจัดการที่อยู่
Storytellers
การนำเสนอ ตั้งใจว่าจะทำเป็น จดหมาย 3 ฉบับที่เขียนในสเนพ่อง เพราะว่าในสเนพ่อง ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ท จึงทำให้การพูดคุยสื่อสารกันด้วยจดหมายน่าจะเข้ากับการนำเสนอการเดินทางในครั้งนี้มากที่สุดค่ะ มีจดหมายฉบับที่ส้มโอเขียนให้ครูเฟริ์นและได้มอบให้ครูเฟริ์นจริงในวันสุดท้ายก่อนออกจากสเนพ่
Storytellers
หลังจากที่นอนคิดเกือบทั้งคืนว่าเราจะเก็บกระเป๋าไปพื้นที่เรียนรู้ที่ไหนดี(จากยี่สิบกว่าตัวเลือกที่ทางโครงการ storytellers in journey มีให้) เราก็ได้คำตอบสุดท้ายแล้ว พรุ่งนี้โมจะไปเสน่พ่อง!
Storytellers
           คุณเคยเห็นเวลาที่รถติดหล่มไหม มันคงใช้เวลาอยู่นานเลยนะกว่าจะหลุดพ้นจากหล่มนั้นมาได้ คงต้องใช้ทั้งเวลาทั้งแรงและปัจจัยอีกหลายๆอย่างมากมายในการหลุดออกมา การจากลาจากใครสักคนก็เหมือนกัน ความรู้สึกของการจากลามันก็เหมือนรถที่ติดหล่มที่เมื่อติดลงไปแล้วก็ทำให้ความ
Storytellers
          พบเพื่อลา มาเพื่อจาก ผมลุกจากที่นอนออกมาทำธุระส่วนตัวก็เห็นน้องๆกำลังแต่งตัวถือหนังสือเตรียมตัวกันมาเรียน มันคงเป็นการตื่นมาเรียนที่แต่ละคนดูสดชื่นไม่เหมือนกับตัวเองสมัยเด็กๆที่โรงเรียนไม่ต่างอะไรจากกรงขังที่ตีกรอบสี่เหลี่ยมให้กับเราแต่สำหรับที่นี่โรงเรียนเหมือน