Skip to main content

“Raising and caring for children is more like tending a garden :
it involves “a lot of exhausted digging and wallowing in manure” to create a safe,
nurturing space in which innovation, adaptability and resilience can thrive.”

The Gardener and the Carpenter

 

 “การศึกษา” โดยพื้นฐานแล้ว มุ่งก่อให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนาและเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนที่มีความหลากหลาย ดังนั้นโจทย์สำคัญก็คือจะทำอย่างไรที่จะทำให้เด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ เข้าถึงสิทธิเสรีภาพในการเรียนรู้และเติบโตงอกงามของตนเอง เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ขณะเดียวกันก็สามารถส่งเสียง สื่อสารมุมมองความคิด ความเชื่อ ความต้องการ และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และพัฒนาสังคมในฐานะพลเมืองได้ ...จากฐานความเชื่อเช่นนี้ Storytellers In Journey จึงเกิดขึ้น โดยการขับเคลื่อนของ #สาธารณะศึกษา ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.)

Storytellers คือ ใคร

Storytellers คือ คนรุ่นใหม่ที่สามารถเลือกการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างอิสระตามความสนใจ (passion) และความตื่นรู้ของตนเอง (Insight)

คือ กระบวนการที่เชื่อมั่นว่า หากผู้เรียนสามารถเลือกการเรียนรู้ของตนเองได้แล้วนั้น การคืนอำนาจการเรียนรู้เช่นนี้ จะนำไปสู่การเติบโตงอกงามของผู้เรียน

คือ นักเล่าเรื่องที่ก้าวออกจากชั้นเรียนไปเรียนรู้นอกห้องเรียน ผลิตสื่อจากการเรียนรู้ของตนเอง สื่อที่มุ่งหมายสร้างการเรียนรู้กับสังคม สื่อที่มุ่งหมายสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่การศึกษา ...การศึกษาในความหมายของการเรียนรู้อย่างอิสระ

          Storytellers In Journey จึงเป็นการเปิดพื้นที่เรียนรู้สาธารณะสำหรับเด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ 20 คน เป็นห้องเรียนในนัยยะการเป็นพื้นที่เรียนรู้ พื้นที่ปะทะสังสรรค์ทางสังคม ที่ประกอบสร้างขึ้นความแตกต่างหลากหลาย (เชื้อชาติ วัฒนธรรม โลกทัศน์ ภาษา) ระยะเวลา 2 วัน 1 คืนกับการร่วมแบ่งปันเรื่องเล่า ประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          เป็นปฏิบัติการเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา ระยะเวลา 3 – 10 วัน ของ 19 นักเล่าเรื่อง (Storytellers) จากทั่วประเทศ กับพื้นที่เรียนรู้สาธารณะ 9 แห่ง โรงเรียนสาธิตชุมชนสมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว. แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่, ศูนย์การเรียนม่อนแสงดาวธรรมชาติวิทยา อ.เมือง จ.เชียงราย, อุตรดิตถ์ติดยิ้ม จ.อุตรดิตถ์, อโรคยาปลาบู่ อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม, สวนไฟฝัน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา, ศูนย์การเรียนสะเน่พ่อง อ.สังขละ จ.กาญจนบุรี, กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี, ชุมชนไทดำ อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี, ศูนย์การเรียนวิถีชุมชนไท อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

ปฏิบัติการที่นักเล่าเรื่องทุกคนมีอิสรเสรีภาพในการเลือกการเรียนรู้ของตนเองอย่างเท่าเทียมกัน ตั้งแต่การตัดสินใจ การจัดแผนการเรียนรู้ (ความคาดหวังต่อการเรียนรู้ การออกแบบการเดินทาง และการจัดการงบประมาณ)

และสำหรับนักเล่าเรื่องบางคน ...นี่คือการออกเดินทางที่คิด ตัดสินใจด้วยตัวเองและเดินทางเพียงคนเดียวเป็นครั้งแรก

จากแผนการเรียนรู้สู่ปฏิบัติการจริง จาก Comfort Zone สู่พื้นที่เรียนรู้

นับตั้งแต่การออกเดินทางจนถึงการใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เรียนรู้สาธารณะแต่ละแห่ง นักเล่าเรื่องได้พบเจอกับสถานการณ์ที่คาดไว้และคาดไม่ถึง ได้เผชิญกับปัญหา/ ความกลัว ที่ต้องเรียนรู้ที่จะต้องรับมือและจัดการ ได้พบเจอกับผู้คนที่มีความแตกต่าง บางพื้นที่ ผู้คนมีอัตลักษณ์ วัฒนธรรมเฉพาะ บางพื้นที่มีวิถีชีวิตและความคิด ความเชื่อที่แตกต่างออกไป ทุกขณะที่อยู่ร่วมกับความแตกต่าง การเรียนรู้ที่จะปรับทัศนคติของตนเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจก็เกิดขึ้น

“กระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของพื้นที่เรียนรู้สาธารณะ อาจไม่ใช่เนื้อหาสาระหลักสูตร หากแต่คือ วิถีปฏิบัติที่ผู้เรียนสามารถใช้ชีวิต ดำรงอยู่ร่วม ใช้ประโยชน์ร่วมโดยอิสรเสรี โดยไม่ต้องลดทอนความเป็นมนุษย์ เป็นตัวของตัวเอง พร้อมกับเคารพในความแตกต่างหลากหลาย การเข้าไปเรียนรู้ที่เกิดจากกระบวนการเช่นนี้ จะทำให้การเรียนรู้นั้นๆ ติดอยู่ในตัวตนยาวนาน”

หากหัวใจสำคัญของการเรียนรู้นั้น คือ การทลายกรอบทางความคิด หลุดจากกรอบที่มีใครตั้งให้ เช่นนี้เอง หัวใจสำคัญของปฏิบัติการ Storytellers In Journey จึงมุ่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ และลงมือทำอย่างอิสระ เน้นจัดกระบวนการเรียนรู้ มากกว่ากระบวนการฝึกอบรม เน้นสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านปฏิบัติจริงในพื้นที่เรียนรู้สาธารณะ เตรียมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และปล่อยให้นักเล่าเรื่องทุกคนเติบโตอย่างที่เขาต้องการ

 

“มนุษย์มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ‘creativity’ ระหว่างการเติบใหญ่ขึ้นมา เด็กจึงต้องการพื้นที่อิสระเพื่อการเรียนรู้ เพื่อจินตนาการ อันนี้คือสิ่งที่ทำให้ ‘play’ “การเล่น” เป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้น มนุษย์โดยเฉพาะในวัยเยาว์จึงต้องการ “พื้นที่” ที่จะทดลองด้วยตัวเองเสมอ

สิ่งที่เราจะทำ คือ เตรียมสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เขา ไม่คาดหวังกับผลลัพธ์มากนัก ปล่อยวางให้เขาได้เติบโตอย่างที่ต้องการ”

 

 

 

บล็อกของ Storytellers

Storytellers
ปรากฏการณ์การพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐ คำว่า “ความดีงามแห่งรัฐ” คือ สิ่งที่รัฐมองว่าดีงามและควรค่าแก่การรักษา
Storytellers
หากเราลัดเลาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่เห็นล้วนเต็มไปด้วยวัดวาอาราม ย่านที่เต็มไปด้วยความดีงามที่ควรแค่แก่การอนุรักษ์นำมาซึ่ง “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”
Storytellers
“Raising and caring for children is more like tending a garden :it involves “a lot of exhausted digging and wallowing in manure” to create a safe,nurturing space in which innovation, adaptability and resilience can thrive.”
Storytellers
หลังจากครุ่นคิดมาทั้งคืน ถึงพื้นที่การเรียนรู้ มุกได้เลือกไปที่ ชุมชนไทดำ จังหวัดสุราษฎร์ธานีค่ะ มีหลายเหตุผลมากมายในการเลือกเดินทางครั้งนี้ นั่นก็คือ อยากที่จะไปเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม พิธีกรรม รวมถึงวิถีชีวิตต่าง ๆของคนไทดำ ว่ามีความแตกต่างกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้
Storytellers
- ฉันเริ่มการสรุป สาธยาย เพ้อเจ้อ และพรรณา ณ วันที่12 ธันวาคม 2561 (12/12) เวลา 18.36 -
Storytellers
คำเตือนการพยายามร้อยเรียงเรื่องราวมันคงจะชัดเจนจนสับสนมากอ่านประโยคเดียวงงไหมคะ?ไม่ต้องพยายามเข้าใจอะไรให้มันง่ายหรอกค่ะ เดี๋ยวมันไม่สนุก ไปกันแบบงงๆกับคนงงๆดีกว่า .Pre-ช่วงประมาณกลางเดือนตุลาคม 2561
Storytellers
ตอน : การจัดการที่อยู่
Storytellers
การนำเสนอ ตั้งใจว่าจะทำเป็น จดหมาย 3 ฉบับที่เขียนในสเนพ่อง เพราะว่าในสเนพ่อง ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ท จึงทำให้การพูดคุยสื่อสารกันด้วยจดหมายน่าจะเข้ากับการนำเสนอการเดินทางในครั้งนี้มากที่สุดค่ะ มีจดหมายฉบับที่ส้มโอเขียนให้ครูเฟริ์นและได้มอบให้ครูเฟริ์นจริงในวันสุดท้ายก่อนออกจากสเนพ่
Storytellers
หลังจากที่นอนคิดเกือบทั้งคืนว่าเราจะเก็บกระเป๋าไปพื้นที่เรียนรู้ที่ไหนดี(จากยี่สิบกว่าตัวเลือกที่ทางโครงการ storytellers in journey มีให้) เราก็ได้คำตอบสุดท้ายแล้ว พรุ่งนี้โมจะไปเสน่พ่อง!
Storytellers
           คุณเคยเห็นเวลาที่รถติดหล่มไหม มันคงใช้เวลาอยู่นานเลยนะกว่าจะหลุดพ้นจากหล่มนั้นมาได้ คงต้องใช้ทั้งเวลาทั้งแรงและปัจจัยอีกหลายๆอย่างมากมายในการหลุดออกมา การจากลาจากใครสักคนก็เหมือนกัน ความรู้สึกของการจากลามันก็เหมือนรถที่ติดหล่มที่เมื่อติดลงไปแล้วก็ทำให้ความ
Storytellers
          พบเพื่อลา มาเพื่อจาก ผมลุกจากที่นอนออกมาทำธุระส่วนตัวก็เห็นน้องๆกำลังแต่งตัวถือหนังสือเตรียมตัวกันมาเรียน มันคงเป็นการตื่นมาเรียนที่แต่ละคนดูสดชื่นไม่เหมือนกับตัวเองสมัยเด็กๆที่โรงเรียนไม่ต่างอะไรจากกรงขังที่ตีกรอบสี่เหลี่ยมให้กับเราแต่สำหรับที่นี่โรงเรียนเหมือน