Skip to main content

หากเราลัดเลาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่เห็นล้วนเต็มไปด้วยวัดวาอาราม ย่านที่เต็มไปด้วยความดีงามที่ควรแค่แก่การอนุรักษ์นำมาซึ่ง “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”

“แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์” มุ่งหมายให้ความดีงามคงอยู่คู่ชาติต่อไป (ประชาไท, 2562) และภารกิจไล่รื้อปฏิปักษ์ต่อความดีงามของรัฐจึงกำเนิดขึ้นภายใต้ชุดความเชื่อว่า “โบราณสถานกับผู้คนเป็นของแสลง ไม่มีสิทธิ์เคียงคู่กัน” นำไปสู่กรณีป้อมมหากาฬเป็นบาดแผลครั้งใหญ่ที่รัฐกระทำต่อความเป็นชุมชน สิ่งที่รัฐทำคือการไล่รื้อบ้านไม้เก่าโบราณที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์แต่เก็บไว้ซึ่งกำแพงเมืองป้อมมหากาฬ (มติชน, 20 เมษายน 2561) ซึ่งเป็นความดีงามแห่งรัฐ แท้จริงความดีงามของรัฐคือสิ่งใด? บทเรียนราคาแพงกับการต่อสู้เชิงอำนาจ

ในวันนี้ย่านเมืองเก่ากำลังเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่กำลังซ้ำรอยเดิม หนึ่งในนั้นคือย่านนางเลิ้งได้รับบทบาทผู้เสียสละเพื่อชาติรายใหม่ การเปิดช่องว่างของพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ที่มุ่งเน้นการสร้างผังเมืองเพื่อเปิดช่องว่างให้เกิดการพัฒนาอย่างสุดโต่ง โดยการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์พื้นที่และการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศ (พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562, 2562) ซึ่งมีการเปลี่ยนสีผังเมืองซึ่งหมายถึงการกำหนดการเข้าถึงทรัพยากรใหม่ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง ฉะนั้นการกำหนดสีคือการเปลี่ยนวิถีของผู้คน การเข้าถึงทรัพยากรโดยเฉพาะความมั่นคงทางด้านที่อยู่อาศัยก็เป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยสี่เช่นกัน แต่หากถามว่าเรารับรู้เรื่องนี้หรือไม่? เราคงได้รับคำตอบที่ไม่ต่างกันนัก เพราะเหตุใดเรื่องสำคัญแบบนี้เราถึงไม่รับรู้? การเข้าถึงข้อมูล การออกแบบ ประชาพิจารณ์ สิทธิ์ขาดอยู่ที่ใด?

 “ผังเมืองรวมในกรุงเทพมหานคร” เป็นส่วนหนึ่งสู่การพลิกโฉมกรุงเทพมหานครใหม่ กรุงเทพมหานครกำลังเปลี่ยนไป นั่นคือการปรับเปลี่ยนสี (สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง, 2562)  ย่านนางเลิ้ง เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำดังกล่าวการเปลี่ยนสีพื้นที่ทำให้ราคาที่ดินสูงลิบจากเปลี่ยนสีพื้นที่อยู่อาศัยคือสีเหลืองเป็นพื้นที่พานิชยกรรมคือสีแดงซึ่งเอื้อให้เกิดการขุดเจาะรื้อทำลายความดีงามสามัญเพื่อดำรงไว้ซึ่งความดีงามแห่งรัฐผ่านการสร้างอาคารขนาดใหญ่หรือการสร้างสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร, ม.ป.ป.) นำไปสู่แผนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มซึ่งมีแผนตั้งสถานีหลานหลวงซึ่งมุ่งหวังว่าการระบบขนส่งมวลชนระบบรางเพื่อส่วนรวมโดยการเชื่อมต่อระหว่างฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก (การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, ม.ป.ป.)  ภายใต้วาทกรรมเสียสละเพื่อส่วนรวม ข้อพิพากษ์ที่เกิดขึ้น คือ สถานีหลานหลวง ย่านนางเลิ้ง รัฐเลี่ยงการทำลายเหล่านั้นได้ รัฐเลือกที่ดินรกร้างของเอกชนได้โดยไม่จำเป็นต้องไล่รื้อตรอกเรืองนนท์ ละครชาตรีสามัญแบบดั้งเดิมที่เป็นต้นตำรับที่คู่กับกรุงตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์(กัญญา ทิพโยสถ, 2561) เพียงแค่รัฐมองเห็นคุณค่าแห่งความดีงามสามัญและยอมรับความงามแบบสามัญ ซึ่งที่ผ่านมารัฐปฏิเสธความงดงามเหล่านั้นและเชื่อว่าความงามแห่งรัฐคือความงามเพียงหนึ่งเดียว เสมือนกับสิ่งที่รัฐเคยกระทำต่อป้อมมหากาฬ การต่อสู้ในแง่ความดีงามแห่งสามัญโดยการวิจัยและนำเสนอทางออกเพื่อการดำรงอยู่ คือ “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนบ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ” เพื่อชี้ชัดว่าชุมชนป้อมมหากาฬเป็นชุมชนบ้านไม้โบราณที่สมบูรณ์ที่สุดในเกาะรัตนโกสินทร์ (ชาตรี ประกิตนนทการ, 2549) หากความดีงามนั้นเป็นสามัญ รัฐจึงมองไม่เห็นและลงมือไล่รื้อเฉกเช่นเดิม หนึ่งเสียงสะท้อนจากคนป้อมมหากาฬที่เขาจำเป็นต้องย้ายออกและเป็นคนไร้งาน ไร้อาชีพ ไร้ที่อยู่อาศัย (ธวัชชัย วรมหาคุณ, 2562) นี่คือสิ่งที่รัฐกระทำอย่างนั้นหรือ?

การกระทำที่ผ่านมาของรัฐ แท้จริงความดีงามของรัฐคือสิ่งใด? การพัฒนาเพื่อส่วนรวมแลกกับวิถีที่ต้องแลก? แท้จริงคำว่าเพื่อส่วนรวมคือเจตนาดีหรือเพียงวาทกรรม? แล้วชีวิตของเราจำเป็นต้องแขวนกับปลายปากกาการพัฒนาของใครจริงหรือ? หากทาบกับคำจำกัดความของคำว่า การพัฒนาเมือง ในมาตรา ๔ พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ได้ระบุว่า “การดำเนินการวางนโยบาย รวมทั้งการสร้าง ปรับปรุง ฟื้นฟู บูรณะ ดำรงรักษา หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อพัฒนาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ภายใต้กรอบของการผังเมือง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน และความเจริญก้าวหน้าของเมืองบริเวณที่เกี่ยวข้อง หรือชนบท ในด้านต่าง ๆ” (พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562, 2562) สิ่งที่รัฐกระทำอยู่คือความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนจริงหรือ?

ภายใต้การต่อสู้ แรงกดดันที่เราต้องดิ้นรนสู้ต่อ เพียงที่ดินผืนนี้เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพียงที่ดินพื้นนี้ไม่ได้มีเพื่อไพร่อย่างเรา ความสั่นคลอนที่เราไม่รู้เราจะต่อสู้กับความโหดร้ายนี้ได้อย่าง ท่าทีของสำนักทรัพย์สินฯ ที่พร้อมพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐและยินดีกำจัดปฏิปักษ์ให้พ้นทาง เราไม่มีทางรู้ว่าพรุ่งนี้เราจะอยู่อย่างไร อำนาจเหล่านั้นถูกฝังลึกอยู่ในใจผู้หญิงคนหนึ่งผู้หญิงที่ต่อสู้เพื่อนางเลิ้งที่ต้องอยู่ต่อ ผู้หญิงที่ยืนหยัดรักษาพื้นแผ่นดินเกิดของตน เขาคือ พี่แดง สุวัน แววพลอยงาม แกนนำชุมชนวัดแค ประโยคที่โหดร้ายสำหรับนักต่อสู้อย่างเรา ประโยคนั้นกล่าวเพียงว่า “ฉันอยู่คู่กับการพัฒนาได้ไหม? ขออยู่เป็นพร็อพก็ได้ พร็อพที่มีชีวิต ทำไมการต่อสู้กับการพัฒนาแบบนี้ชาวบ้านต้องแพ้ตลอด” (สุวัน แววพลอยงาม, 2561) คำว่าพร็อพ เป็นคำที่โหดร้ายและบาดลึกในชีวิตของคนคนหนึ่ง คนที่มีลมหายใจแต่ยินยอมเป็นเพียงสิ่งของ สิ่งประกอบฉาก เพื่อการดำรงอยู่ต่อ ความหดหู่ไม่อยู่แค่สิ่งที่ภาคประชาชนสะท้อนแต่การสายตาของรัฐต่างหากที่กำลังทำร้ายเรา สิ่งที่รัฐกระทำคือประโยคเรียบเฉยในห้องเย็น ณ สถานที่แห่งนี้ ประโยคนั้นกล่าวว่า “คุณจะอยู่ที่นี่ก็ได้(ป้อมมหากาฬ)แต่คุณต้องมา 8 โมงเช้า กลับ 6 โมงเย็น ห้ามทำอาหาร ห้ามสูบบุหรี่” (อินทิรา วิทยสมบูรณ์, 2561) ประโยคนี้ยังคงหลอกหลอนฝันร้ายที่ยากจะลืม นี่สิพร็อพของจริง พร็อพที่ไร้ชีวิต ความไร้ค่าเพียงแค่เราเป็นอยู่เบื้องล่างเท่านั้นหรือ? ความเป็นมนุษย์อยู่ส่วนไหน? รัฐมองผู้คนด้วยสายตาแบบใด? หรือแท้จริงแล้วเราเป็นธุลีที่อยู่ได้แค่ผืนดิน

 

บรรณานุกรม

กัญญา ทิพโยสถ. ปราชญ์ชาวบ้านด้านละครชาตรี. (13 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.

การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). แนวคิด วัตถุประสงค์ เป้าหมายโครงการ. สืบค้นจาก

       https://www.mrta-orangelineeast.com/th/about

ชาตรี ประกิตนนทการ. (พฤษภาคม 2549). แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนบ้านไม้โบราณป้อม

       มหากาฬ. เอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติการอนุรักษ์พัฒนามรดกวัฒนธรรม

       ท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในแนวทางบูรณาการข้ามศาสตร์, อุดรธานี. สืบค้นจาก

       https://www.slideshare.net/TumMeng/executive-summary-61026019

ธวัชชัย วรมหาคุณ. อดีตประธานชุมชนป้อมมหากาฬ. (26 มกราคม 2562). สัมภาษณ์.

แผนแม่บทกรุงรัตนโกสินทร์ (ใหม่) กับเสียงมนุษย์ (เก่า) ในม่านฝุ่นการพัฒนาเมือง. (5 กุมภาพันธ์ 2562).

       ประชาไท. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2019/02/80875

 “พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562” (2562, 29 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 71 ก.

หน้า 27.

รื้อแล้วบ้านทรงไทย “ป้อมมหากาฬ” ชาวบ้านน้ำตาคลอ เผย 26 ปี “สู้จนสุดทางแล้ว”. (20 เมษายน 2561)

       มติชน. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/local/news_924626

สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง, “สรุปสาระสำคัญของ (ร่าง) ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4),”

       เอกสารประกอบการประชุมเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชน 11 พฤษภาคม 2562. (เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่), หน้า 1-15.

สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร. (ม.ป.ป.). ผังเมืองรวมกรุงเทพ. สืบค้นจาก http://cpd.bangkok.go.th/map1_t.html

สุวัน แววพลอยงาม. แกนนำชุมชนวัดแค. (25 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์.

อินทิรา วิทยสมบูรณ์. นักเคลื่อนไหวสังคม. (25 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์.

บล็อกของ Storytellers

Storytellers
ปรากฏการณ์การพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐ คำว่า “ความดีงามแห่งรัฐ” คือ สิ่งที่รัฐมองว่าดีงามและควรค่าแก่การรักษา
Storytellers
หากเราลัดเลาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่เห็นล้วนเต็มไปด้วยวัดวาอาราม ย่านที่เต็มไปด้วยความดีงามที่ควรแค่แก่การอนุรักษ์นำมาซึ่ง “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”
Storytellers
“Raising and caring for children is more like tending a garden :it involves “a lot of exhausted digging and wallowing in manure” to create a safe,nurturing space in which innovation, adaptability and resilience can thrive.”
Storytellers
หลังจากครุ่นคิดมาทั้งคืน ถึงพื้นที่การเรียนรู้ มุกได้เลือกไปที่ ชุมชนไทดำ จังหวัดสุราษฎร์ธานีค่ะ มีหลายเหตุผลมากมายในการเลือกเดินทางครั้งนี้ นั่นก็คือ อยากที่จะไปเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม พิธีกรรม รวมถึงวิถีชีวิตต่าง ๆของคนไทดำ ว่ามีความแตกต่างกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้
Storytellers
- ฉันเริ่มการสรุป สาธยาย เพ้อเจ้อ และพรรณา ณ วันที่12 ธันวาคม 2561 (12/12) เวลา 18.36 -
Storytellers
คำเตือนการพยายามร้อยเรียงเรื่องราวมันคงจะชัดเจนจนสับสนมากอ่านประโยคเดียวงงไหมคะ?ไม่ต้องพยายามเข้าใจอะไรให้มันง่ายหรอกค่ะ เดี๋ยวมันไม่สนุก ไปกันแบบงงๆกับคนงงๆดีกว่า .Pre-ช่วงประมาณกลางเดือนตุลาคม 2561
Storytellers
ตอน : การจัดการที่อยู่
Storytellers
การนำเสนอ ตั้งใจว่าจะทำเป็น จดหมาย 3 ฉบับที่เขียนในสเนพ่อง เพราะว่าในสเนพ่อง ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ท จึงทำให้การพูดคุยสื่อสารกันด้วยจดหมายน่าจะเข้ากับการนำเสนอการเดินทางในครั้งนี้มากที่สุดค่ะ มีจดหมายฉบับที่ส้มโอเขียนให้ครูเฟริ์นและได้มอบให้ครูเฟริ์นจริงในวันสุดท้ายก่อนออกจากสเนพ่
Storytellers
หลังจากที่นอนคิดเกือบทั้งคืนว่าเราจะเก็บกระเป๋าไปพื้นที่เรียนรู้ที่ไหนดี(จากยี่สิบกว่าตัวเลือกที่ทางโครงการ storytellers in journey มีให้) เราก็ได้คำตอบสุดท้ายแล้ว พรุ่งนี้โมจะไปเสน่พ่อง!
Storytellers
           คุณเคยเห็นเวลาที่รถติดหล่มไหม มันคงใช้เวลาอยู่นานเลยนะกว่าจะหลุดพ้นจากหล่มนั้นมาได้ คงต้องใช้ทั้งเวลาทั้งแรงและปัจจัยอีกหลายๆอย่างมากมายในการหลุดออกมา การจากลาจากใครสักคนก็เหมือนกัน ความรู้สึกของการจากลามันก็เหมือนรถที่ติดหล่มที่เมื่อติดลงไปแล้วก็ทำให้ความ
Storytellers
          พบเพื่อลา มาเพื่อจาก ผมลุกจากที่นอนออกมาทำธุระส่วนตัวก็เห็นน้องๆกำลังแต่งตัวถือหนังสือเตรียมตัวกันมาเรียน มันคงเป็นการตื่นมาเรียนที่แต่ละคนดูสดชื่นไม่เหมือนกับตัวเองสมัยเด็กๆที่โรงเรียนไม่ต่างอะไรจากกรงขังที่ตีกรอบสี่เหลี่ยมให้กับเราแต่สำหรับที่นี่โรงเรียนเหมือน