เงินทอน โดย กุมารี สุวรรณ์สิน

ต่างคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า การเดินทางคือการซื้อประสบการณ์ที่ได้รับเงินทอนเป็นความสุข เป็นคำพูดที่มีความจริงเจือปนอยู่เป็นจำนวนมากแต่บางครั้งเงินทอนที่ได้รับอาจจะมาในรูปแบบที่โหดร้ายได้เหมือนกัน เพราะการเดินทางไปในแต่ละที่มักจะได้ประการณ์ที่ไม่เหมือนกัน และนี่ก็เป็นอีกประสบการณ์ที่ไม่รู้ว่าจะได้เงินทอนอย่างไร

 ปกติแล้วจะเป็นคนที่โลกส่วนตัวสูงสูงระดับปรอทแตกชอบเดินทางคนเดียว เพราะรู้สึกว่า คล่องตัว อยากทำอะไรก็ทำ เพราะไม่ต้องมานั่งกังวลถึงคนรอบข้างว่า เป็นอย่างไรบ้าง  แต่ที่สำคัญในการเดินทางคนเดียว คือ สามารถมองเห็นตัวเองในอีกมุมแต่การเดินทางไปภาคอีสานครั้งแรกในชีวิตครั้งนี้ได้เดินทางร่วมกับเพื่อนอีกหนึ่งคน ซึ่งเพื่อนเป็นคนที่ค่อนข้างที่ใช้ชีวิตแบบคนในเมือง ทุกอย่างต้องสะดวกสบาย แตกต่างจากตัวเองที่อะไรก็ได้ขอให้ประหยัด เมื่อเกิดความแตกต่างระหว่างคนสองคนก็กลัวทำให้เกิดความแตกแยกจึงใช้วิธีการคุยกันเพื่อปรับความเข้าใจกันจนในที่สุดก็ลงเอยด้วยคำที่เพื่อนพูดมาว่า ยังไงก็ได้โอเคหมดแล้วตอนนี้ เมื่อได้ยินคำนี้กำแพงที่ก่อขึ้นระหว่างกันก็ทลายลง

รถได้เคลื่อนตัวออกจากขนส่งหมอชิตด้วยความมืดและบรรยากาศในรถที่เงียบทำให้ได้ยินเสียงล้อรถที่กระทบพื้นถนนดัง ครื้ด ครื้ด จึงกลายเป็นเสียงกล่อมนอนของผู้โดยสารในรถเป็นอย่างดี  รู้สึกตัวอีกทีก็มีคนตะโกนว่า ถึงแล้วครับขนส่งมหาสารคาม ตกใจตื่นจึงทำให้เกิดอาการงัวเงียเพราะบรรยากาศรอบข้างมีความหนาวจากหมอกในตอนเช้าต้องหยิบเสื้อกันหนาวจากกระเป๋ามาสวมใส่อีกชั้น มาถึงมหาสารคามก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นอีก แต่ก็เป็นความโชคดีเพราะได้เห็นวัฒนธรรมการใส่บาตรจากที่เห็นในละครจะใส่บาตรด้วยข้าว กับข้าว ดอกไม้ แต่ที่เห็นเป็นการใส่บาตรด้วยเงินแต่บทสวดทุกอย่างยังปฎิบัติเหมือนเดิม 

รอล้อรถเคลื่อนตัวเข้าสู่วาปีปทุมอีกครั้ง รถก็ได้เคลื่อนตัวอีกครั้งแต่ครั้งนี้เป็นรถที่มีเครื่องปรับอากาศเป็นแบบธรรมชาติ เพราะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ทำให้เห็นวิวข้างทางชัดขึ้น ข้าวกำลังรอการเก็บเกี่ยวเพื่อนำข้าวไปขายซึ่งมีความแตกต่างจากที่ภาคใต้ที่กำลังดำนากันอยู่ เพราะภูมิอากาศมีความแตกต่างกัน แต่ข้าวที่นี่ขึ้นเป็นย่อม ๆ หรือเพราะความไม่อุดมสมบูรณ์ของดินที่นี่เลยทำให้ข้าวขึ้นเป็นย่อม ๆ ระหว่างหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาคนขับก็แตะเบรกพร้อมบอกว่า ถึงแล้ว    อำเภอวาปีปทุม ระหว่างนั่งรอให้ป้าแล่มมารับเพื่อเข้าศูนย์อโรคยาปลาบู่ ก็เห็นป้ากำลังขายข้าวจี่ให้กับเด็ก ๆ ที่รอขึ้นรถเพื่อไปโรงเรียน ซึ่งจะทานข้าวจี่เป็นอาหารเช้า ข้าวจี่จะเป็นข้าวเหนียวนิ่งแล้วนำมาปั้นเป็นวงกลมแล้วทำให้แบนแล้วเอามาชุปไข่ไก่แล้วนำไปย่างให้สุกทานกับน้ำจิ้มเพื่อเพิ่มรสชาติในการทาน รอกันสักพักใหญ่ป้าแล่มก็เข้ามาทักทายพร้อมกับการช่วยยกกระเป๋าขึ้นรถ ระหว่างทางก็ต่างคนต่างเล่าเรื่องของตนเอง คุยกันสนุก ถึงอโรคยาปลาบู่ก็พบว่าที่นี่กำลังต้อนรับแขกเพื่อเข้าพักโฮมสเตย์พวกเราที่เป็นเด็กใหม่ก็ช่วยกันจัดที่นอน กางมุ้ง จัดสถานที่เพื่อทำการนวดแผนโบราณ ระหว่างการทำงานก็ได้เรียนรู้การทำงานที่ทำด้วยใจเพราะพี่ ๆ เขาจะสอนเรื่องการจัดที่นอนอย่างไรให้สีผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม เหมาะสมกัน มุ้งจะกางอย่างไรเพื่อไม่ให้มุ้งเอียงเอียงข้าง ซึ่งมองว่า ถ้าหากนำการเอาใจใส่ในการทำงานแล้วนำไปใช้ในการทำงานหรือการทำกิจวัตรประจำวันจะทำให้งานทุกอย่างจะออกมาดีขึ้น

เช้าวันที่สองของการใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ ปกติจะตื่นนอนด้วยเสียงนาฬิกาปลุกแต่เช้านี้เปลี่ยนเสียงเป็นกระดิ่งของวัวที่เดินผ่านข้างบ้านเพื่อไปกินหญ้าที่นา ทำให้เช้านี้เป็นการตื่นที่สดใสจึงรีบอาบน้ำ แต่งตัวเพื่อไปเรียนรู้การทำเส้นด้ายจากต้นฝ้าย ความรู้สึกตอนนั้นเหมือนเด็กที่พ่อ แม่จะพาไปเที่ยวสวนสนุก จึงรีบวิ่งลงจากบ้านเพื่อเดินไปยังที่ทอผ้า ที่ปั้นด้าย และสวนเกษตร แต่ฝันกลับสลายเพราะชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องเหล่านี้ ส่วนใหญ่กำลังเก็บเกี่ยวข้าวกันอยู่ทำให้ต้องรอวันที่มีคณะเข้าเยี่ยมศูนย์ถึงจะได้ทำ ทำให้การใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ก็ไม่ต่างอะไรจากการไปเยี่ยมญาติแล้วช่วยญาติทำงานเพราะต้องทำงานเพื่อเรียนรู้งาน จึงไม่มีเวลาทำตามเป้าหมาย ตลอดระยะเวลาที่อยู่ที่นี่ไม่มีความสุขอยากกลับบ้าน โทรหาที่บ้านเกือบทุกวัน ร้องไห้ทุกวันเพราะเหมือนเป้าหมายที่ตั้งไว้ก่อนมาที่นี่ได้สลายลง แต่ระหว่างการรอก็ได้เดินพูดคุยกับป้า ๆ ข้างศูนย์อโรคยาปลาบู่ เริ่มพูดคุยกับป้าด้วยความสนิทสนมกันแล้ว ป้าจึงถามว่า ที่ภาคใต้มีระเบิดจริงไหม แล้วเคยเห็นเหตุการณ์ระเบิดไหม ภาคใต้มีแต่มุสลิมหรือเปล่า จึงทำให้เห็นมุมมองอีกมุมหนึ่งของผู้คนที่มองภาคใต้ ป้าบอกว่า ป้ารับรู้ข่าวสารผ่านสื่อทีวีเพราะสื่อมีอิทธิพลต่อการส่งสารไปยังผู้รับสารซึ่งเนื้อหาที่สื่อส่งไปยังผู้รับสารอาจจะทำให้ผู้รับสารเกิดความใจผิดต่อเนื้อหาที่สื่อส่งไป แต่ก็พยายามคุยเล่น ๆ กับป้าว่า ไม่มีอะไรค่ะที่ภาคใต้ยังอุดมสมบูรณ์ดีทุกอย่าง ขอบคุณป้ามากนะคะที่ทำให้เห็นอิทธิพลของสื่อ

เช้าวันที่สาม สี่ ห้า หก ทุกอย่างยังเหมือนเดิม คือ ช่วยกันทำงานเหมือนเดิม ความฝันที่ตั้งเป้าไว้ก็ยังไม่ได้ทำ ความรู้สึกที่อยู่ช่วงระหว่างวันมีความรู้สึกอึดอัด หดหู่ คิดในใจความฝันที่ตั้งเป้าไว้คงไม่ได้ทำ ระหว่างการรอคณะเข้ามา ก็ได้เห็นมุมมองของการศึกษานอกระบบ โฮมสคูล เป็นการเรียนโดยมีพ่อ แม่ เป็นคุณครู เรียนรู้อยู่ที่บ้านหรือนอกสถานที่ ทำให้เด็กมีอิสรภาพในความคิด การเป็นตัวของตัวเองสูง แต่ส่วนใหญ่มีปัญหาเพราะผู้คนรอบข้างไม่ยอมรับการเรียนแบบ โฮมคูล อาจเป็นเพราะไม่เคยเห็นผลผลิตที่เกิดจากโฮมคูล แต่ได้มีโอกาสได้เห็นเด็กผู้ชายคนหนึ่ง อายุประมาณสิบห้าปีนั่งจับอาคูเลเล่ ร้องเพลงให้เด็ก ๆ ฟัง อยากมีความสุข ทำให้คนนั่งมองอยู่ห่าง ๆ ยังรับรู้ได้ถึงความสุขเมื่อมือได้สัมผัสสายเพื่อให้เกิดทำนองเพลงและร้องเพลงด้วยกันเป็นผลผลิตที่เกิดจากโฮมคูลซึ่งมีประสิทธิภาพมาก

  แต่วันที่เจ็ดความฝันก็กลายเป็นจริงเมื่อทีมคณะผู้จัดเข้ามาเพื่อเยี่ยมชมศูนย์อโรคยาปลาบู่ทำให้ได้มีโอกาสไปดูสวนเกษตรและเรียนรู้การปลูกพืช 3 อย่างตามศาสตร์พระราชา ได้เกี่ยวต้นครามเพื่อนำไปทำคราม ได้ไปดูสวนสมุนไพรเห็นคุณค่าของสมุนไพร สรรพคุณแต่ละอย่างมีความรักษาโรคต่างกัน และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การได้ทอผ้า  ความรู้สึกขณะนั้นเหมือนเด็กที่ได้กินไอติมที่แสนอร่อยที่สุดที่สุดในโลก เพราะตอนเด็ก ๆ เห็นในทีวีที่ในหมู่บ้านทางภาคเหนือจะมีการทอผ้า จึงมีความใฝ่ฝันว่าสักครั้งจะได้นั่งทอผ้า วันนี้ความฝันกลายเป็นจริงแล้ว ได้นั่งทอผ้าโดยมือทั้งสองข้างจับราวทอเพื่อดึงราวทอผ้าลงเพื่อให้เส้นด้ายชิดกัน ส่วนเท้าทั้งสองข้างเหยียบไม้ไผ่เพื่อราวทอให้สลับกัน จะต้องใช้เท้าเหยียบไผ่ทั้งสองข้างคู่กันเพื่อจะได้ไม่หลง จากนั้นก็สลับราวทออันที่สองและสามสลับกันไปมาระหว่างสลับก็โยนจรวดที่มีเส้นด้ายสลับซ้ายขวาแต่การโยนจะต้องใช้น้ำหนักมือที่พอดีถ้าหากไม่พอดีจะไถล่ออกจากเครื่องทอ กว่าจะรู้น้ำหนักมือจรวดก็ร่วงลงสู่พื้นไม่รู้กี่รอบ ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จก็อยู่นั้น เป็นไปตามคำสุภาษิตไทย เพราะสามารถทอผ้าฝ้ายได้เกือบสิบกว่าแถวแต่สามแถวล้างผิดลาย ไม่รู้คือไม่ผิด แต่ดีใจที่ได้เห็นความพยายามตัวเอง

ต่อมาเป็นการปั้นฝ้าย การปั้นฝ้ายมีหลายขั้นตอนมาก แต่ที่ทำไม่ได้อยู่อย่างเดียว คือ การหมุนฝ้ายให้เชื่อมต่อกัน เพราะแรงในการหมุนกับแรงดึงฝ้ายจะต้องมีความชำนาญ  แต่ก็ไม่ละความพยายาม พยายามนั่งปั้นกับยายสองคนข้าวไม่ยอมกินเพื่อที่จะทำให้ได้ ยายก็บอกว่า ไม่สามารถทำได้ภายในวันเดียวต้องทำประมาณสองสามสัปดาห์แต่ภายในใจก็บอกกับตัวเองว่าต้องทำได้ ผลสุดท้ายก็เกือบจะได้ แต่อย่างน้อยก็ได้พยายามแล้ว เป้าหมายก็ผ่านเกินร้อยแล้ว อยากจะขอบคุณพี่ ๆ ทีมงานมากที่แวะเข้าเยี่ยมชมศูนย์ถ้าพี่ ๆไม่เข้ามาเยี่ยมชมจนวันกลับก็น่าจะฝันสลาย ความรู้สึกที่มีต่อตัวเองก็กลับมาเต็มร้อยหรือบางครั้งอาจจะเกินร้อย เป็นความสุขที่ออกมาจากข้างในจริง ๆ สนุกมาก คุ้มค่ากับการรอคอย

ความสุขมาพลังงานก็พร้อมลุยในวันนี้เป็นวันที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการรู้จักตัวเองผ่านธรรมชาติที่อยู่รอบตัว ในใจก็หวังว่าจะได้รู้จักตัวเองแค่นั้น แต่เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมความคิด อารมณ์ สงบลงจากเมื่อก่อนเป็นคนอารมณ์ร้อนไม่ยอมรับฟังความคิดของผู้อื่นแต่เมื่อได้เรียนรู้กลับยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

อธิบายความรู้สึกตัวเองผ่านการมองใบไม้ ใบไม้เลือกเจ้าของเอง ลักษณะของใบไม้ เป็นใบไม้ที่มีขนาดเล็กมีใบไม้มีสีน้ำตาลเข็มทั้งใบ ภายในใบไม้มีเชื้อราเกิดขึ้นประมาณสองถึงสามจุด มีเส้นใยที่เชื่อมต่อกันมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่กั้นกลางด้วยก้านของมัน วิทยากรให้บอกความรู้สึกที่มีต่อใบไม้ ใบเล็กเปรียบเสมือนตัวเองที่เป็นเพียงคนเล็ก ๆ ในสังคมครอบครัว ใบสีน้ำตาลเปรียบเสมือนอายุของตัวเองที่นับวันก็ยิ่งแก่ลงเรื่อย ๆ จุดเชื้อรา คิดว่าตัวเองเป็นจุดด่างพลอยของครอบครัว เกิดมาไม่เคยทำให้ครอบครัวภูมิใจในตัวลูกคนนี้ เส้นใยที่เชื่อมต่อกัน รู้สึกคิดถึงน้องชายที่ตอนนี้น้องชายอยู่ในช่วงวัยรุ่น วัยกำลังอยากลอง กลัวว่าวันหนึ่งสังคมจะพาน้องเดินสู่เส้นทางยาเสพติด ยิ่งพูดถึงความรู้สึกน้ำตาที่ไหลออกมาก็ยิ่งกลั้นไม่อยู่ จึงทำได้เพียงให้มันไหลออกมาแทนความรู้สึกและคำพูดทุกอย่าง 

การเรียนรู้สิ้นสุดลงถึงวันต้องลาจากกัน ขอบคุณการต้อนรับเป็นอย่างดีของ พี่ ๆ ที่อยู่ศูนย์อโรคยาปลาบู่ พี่ ๆ ที่มาเรียกหาตลอดเมื่อถึงเวลาทานข้าว เจอหน้าก็จะถามเรื่องกินตลอดว่า ทานอะไรแล้วยัง ขอบคุณที่ทำให้รู้ว่าภาคอีสานเป็นภาคที่ปลูกข้าวเหนียวอร่อยที่สุด จึงทำให้เปลี่ยนมุมมองในการมองภาคอีสานว่าปลูกอะไรไม่ขึ้นเพราะดินภาคอีสานมีความเค็มแต่อีสานปลูกข้าวเหนียวอร่อยมาก แต่ยังมีอีกมุมมองที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง คือ คนอีสานใจดี และที่สำคัญขอบคุณเพื่อนที่ร่วมเดินทางไปด้วยกัน เงินทอนจากการเที่ยวครั้งนี้ คือ การได้กลับมาเป็นตัวเองอย่างเต็มที่

 #สาธารณะศึกษา #พื้นที่เรียนรู้สาธารณะ #เรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา #StorytellersInJourney #midl2018 #InclusiveCities

 

 

ย่านเมืองเก่า ความปวดร้าวที่ต้องยอมรับ? (2) โดยนางสาวฑิชาธร กลั่นเกษร

ปรากฏการณ์การพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐ คำว่า “ความดีงามแห่งรัฐ” คือ สิ่งที่รัฐมองว่าดีงามและควรค่าแก่การรักษา

ย่านเมืองเก่า ความปวดร้าวที่ต้องยอมรับ? (1) โดย นางสาวฑิชาธร กลั่นเกษร

หากเราลัดเลาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่เห็นล้วนเต็มไปด้วยวัดวาอาราม ย่านที่เต็มไปด้วยความดีงามที่ควรแค่แก่การอนุรักษ์นำมาซึ่ง “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”

Storytellers In Journey : นักเล่าเรื่องในที่อื่น

“Raising and caring for children is more like tending a garden :
it involves “a lot of exhausted digging and wallowing in manure” to create a safe,
nurturing space in which innovation, adaptability and resilience can thrive.”

เดินทาง เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ก้าวข้าม โดย ดาราวดี พานิช

หลังจากครุ่นคิดมาทั้งคืน ถึงพื้นที่การเรียนรู้ มุกได้เลือกไปที่ ชุมชนไทดำ จังหวัดสุราษฎร์ธานีค่ะ มีหลายเหตุผลมากมายในการเลือกเดินทางครั้งนี้ นั่นก็คือ อยากที่จะไปเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม พิธีกรรม รวมถึงวิถีชีวิตต่าง ๆของคนไทดำ ว่ามีความแตกต่างกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้