5 ชั่วโมงบนรถตู้ ไปพัทยา โดย กฤษณ์มน แก้วจินดา

เล่าประสบการณ์การไปเที่ยวแบบงงๆ เป็นอะไรที่ประทับใจมากค่ะ เรื่องราวคือการวางแผนเที่ยวหลังการทำโครงการที่มหาวิทยาลัยเสร็จจะไปเที่ยวทะเลก่อนอื่นต้องบอกเลยว่าเรียนที่กรุงเทพฯก็อยากจะไปไกลๆ ทะเลสวยๆ  แต่ค่ะสรุปลงตัวไปเกาะล้าน พัทยา เดินทางอย่างมากสัก 3ชั่วโมง วันที่ไปคือแปลกมาก ฟาดไป5ชั่วโมง จุดที่น่าจดจำคือช่วงเวลานั่งเปื่อยบนรถตู้ค่ะ บนรถตู้มี 4 แถว ฉันนั่งตรงกลางแถว 2 ทางด้านซ้ายเป็นพี่ผู้ช่วยพี่ขับรถตู้ ทางขวาเป็นต่างชาติ น่าจะเป็นชาวเกาหลีค่ะ ความง่วงของทุกคนก็หลับค่ะรวมถึงตัวฉันเองด้วย จนผ่านมานานคนเริ่มตื่นและค้นพบว่า รถยังอยู่บนทางด่วน ก็เริ่มเซ็งๆกันแล้ว ชาวต่างชาติกระสับกระส่ายเหมือนว่าคิดในใจประมาณ ทำไมไม่ถึงสักทีหว่าแล้วเริ่มเปิดสนทนากับฉันว่า  “Can you speak English?” หลังจากนั้นก็มีเรื่องราวต่างๆทำให้เราสนุกในการพูดคุยค่ะ  แอบมีบ่นเล็กน้อยเรื่องรถติด แต่ฉันก็ได้รับข้อมูลจากพี่ข้างๆว่าเกิดอุบัติเหตุและเป็นช่วงเทศกาลด้วยจึงบอกเขา เขาเองก็ อ๋อ เข้าใจ เขาเล่าให้ฟังถึงการพาเจ้านายมาพักผ่อนค่ะ (เจ้านายนั่งอยู่เบาะหลังของชาวเกาหลีที่นั่งข้างฉันค่ะ) เขารักเมืองไทยมากๆ ชอบการท่องเที่ยว ชอบความสวยงาม ชอบวัฒนธรรม รักในรอยยิ้ม และความจริงใจ แถมยังมีการเชิญชวนให้ประเทศของเขาด้วย ที่เดาว่าเป็นชาวเกาหลี ใช่ค่ะ ฉันเดาถูกค่ะ ได้เรียนภาษาเกาหลีง่ายๆ มีประโยคที่ยังติดใจและชอบมากคือ “만나서 반갑습니다” อ่านว่า มันนาซอพันกับซึมนีดา  แปลว่า “ยินดีที่ได้รู้จัก”  เป็นความยินดีจริงๆที่ได้รู้จักค่ะ

จากการนั่งรถ 5 ชั่วโมงที่ดูน่าเบื่อกลับมีเรื่องราวดีๆที่น่าจดจำค่ะ  ฉันคิดว่าเราคนไทยหลายๆคนคงมีช่วงเวลาที่ติว่าประเทศไทยเองอยู่บ้าง  เช่น ช่วงเวลารถติดที่ใครๆก็อยากไปให้เร็วที่สุด ฉันว่าทุกคนล้วนมีเหตุผลในความรีบนะคะอย่าว่าประเทศเราเองเลยค่ะคนไทยเรา น่ารัก มีน้ำใจ ยิ้มเก่ง ยิ่งได้ฟังจากชาวต่างชาติยิ่งทำให้ชื่นใจ เราโชคดีแล้วค่ะที่เกิดในประเทศไทย

 

ย่านเมืองเก่า ความปวดร้าวที่ต้องยอมรับ? (2) โดยนางสาวฑิชาธร กลั่นเกษร

ปรากฏการณ์การพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐ คำว่า “ความดีงามแห่งรัฐ” คือ สิ่งที่รัฐมองว่าดีงามและควรค่าแก่การรักษา

ย่านเมืองเก่า ความปวดร้าวที่ต้องยอมรับ? (1) โดย นางสาวฑิชาธร กลั่นเกษร

หากเราลัดเลาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่เห็นล้วนเต็มไปด้วยวัดวาอาราม ย่านที่เต็มไปด้วยความดีงามที่ควรแค่แก่การอนุรักษ์นำมาซึ่ง “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”

Storytellers In Journey : นักเล่าเรื่องในที่อื่น

“Raising and caring for children is more like tending a garden :
it involves “a lot of exhausted digging and wallowing in manure” to create a safe,
nurturing space in which innovation, adaptability and resilience can thrive.”

เดินทาง เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ก้าวข้าม โดย ดาราวดี พานิช

หลังจากครุ่นคิดมาทั้งคืน ถึงพื้นที่การเรียนรู้ มุกได้เลือกไปที่ ชุมชนไทดำ จังหวัดสุราษฎร์ธานีค่ะ มีหลายเหตุผลมากมายในการเลือกเดินทางครั้งนี้ นั่นก็คือ อยากที่จะไปเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม พิธีกรรม รวมถึงวิถีชีวิตต่าง ๆของคนไทดำ ว่ามีความแตกต่างกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้