Skip to main content

เมื่อกฎหมายเข้ามาใกล้ชีวิตคนธรรมดาอย่างเรามากขึ้น จึงเป็นการยากที่จะไม่สนใจอีกต่อไป   พอเกิดปัญหาขึ้นมากับตัวเอง ทางหนึ่งที่คนส่วนใหญ่พอจะทำได้ คือ ปรึกษากับคนใกล้ตัวที่ร่ำเรียนมาทางกฎหมาย เพราะจะให้ไปปรึกษากับทนาย หรือนักกฎหมายที่ไหนก็ยังไม่กล้า เพราะกลัวว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย ไหนความลับส่วนตัวจะแพร่งพรายออกไปให้คนอื่นล่วงรู้อีก พอไปค้นคว้าหาอ่านเองก็ไม่รู้เรื่อง

ดงกฎหมาย จึงขอเสนอบริการ "คลินิกกฎหมาย" เพื่อให้คำปรึกษากับปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของทุกท่าน   คลินิกกฎหมายนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายในสาขาต่างๆ เข้ามาวางแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้เจอทางออก   เพราะหลายเรื่องที่มาบอกกล่าวเล่ากัน แก้ได้ด้วยกฎหมายง่ายๆ แต่ในตอนทีเกิดเรื่อง เจ้าของปัญหาไม่รู้ว่าจะหันไปปรึกษาใคร   ซ้ำร้ายเวลาไปค้นคว้าหากฎหมายอ่านก็ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ไม่รู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีปมสำคัญอะไร ใช้กฎหมายเรื่องไหนเข้ามาปรับใช้ และจะให้ไปหาใครใช้ช่องทางไหนก็ไม่อาจรู้ได้

ขอพี่น้องทุกท่านสบายใจได้ครับ ต่อไปจะมีเรื่องต่างๆมาเล่าสู่กันฟัง หากพลาดพลั้งเกิดปัญหาเหมือนกับที่เล่ามาจะได้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที   เนื่องจากในช่วงแรกนี้ยังไม่มีใครส่งเรื่องเข้ามาปรึกษาโดยตรง   ก็คงต้องเอาเรื่องราวเก่าก่อนมาทยอยเล่าให้ฟังเป็นตอนๆ ในทุกคืนวันศุกร์นะครับ

นอกจากปัญหากฎหมายในชีวิตประจำวันแล้ว   เหตุบ้านการเมืองเรื่องสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ก็เกี่ยวข้องกับกฎหมายมากขึ้นเรื่อยๆ ดังปรากฏเป็นข่าวในหน้าเว็บไซต์และรายการข่าวโทรทัศน์วิทยุทั้งหลาย ว่าตั้งแต่การชุมนุมทางการเมือง เรื่องปากท้อง นักร้อง นักดนตรี ทีวี โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ธุรกิจ ชีวิตคนดัง ไปจนกระทั่งเรื่องเพศ ก็มีเหตุให้ข้องแวะกับประเด็นกฎหมายอยู่ตลอดเวลา

ดงกฎหมาย เลยเปิดช่วงนินทากฎหมายชื่อว่า "โอ้ยยย...กฎหมายง่ายๆหน่อยได้ไหมนะ" ซึ่งจะเป็นการนำเอาปัญหาของคนทั้งสังคมมาลองชำแหละด้วยมุมมองทางกฎหมาย ด้วยภาษาที่ง่ายที่สุดสำหรับคนที่ไม่เคยเรียนมาทางนี้   เพื่อสร้างทางเลือกในการตีความกฎหมายปรับใช้ตอบปัญหาใหญ่ๆที่เกิดขึ้นในสังคม   เนื่องจากในอดีตนักกฎหมายได้ผูกขาดความรู้ เป็นผู้ทรงภูมิยึดครองอำนาจในการชี้เป็นชี้ตายให้กับสังคมมานาน เพราะอาศัยว่าคนทั่วไปไม่เข้าใจกฎหมาย จะเถียงก็สู้ไม่ได้ เพราะเจอนักกฎหมายปาชื่อ "หลักกฎหมาย" อะไรใส่มาก็ไม่รู้ว่าจะตอบโต้อย่างไร

ต่อไปนี้ญาติสนิทมิตรสหายทั้งหลาย จะได้ลองฝึกใช้กฎหมายกันไว้ เพื่อว่าวันหนึ่งเกิดเรื่องอะไรที่อยากเถียงสู้ จะได้รู้ว่าที่นักกฎหมายพูดมา มันคืออะไร เชื่อได้แค่ไหน ตีความตามอำเภอใจ ไม่ยึดหลักวิชาอย่างเคร่งครัดรึเปล่า   แต่ให้ผ่อนคลายได้ครับ เราจะเอาหลักกฎหมายมาอธิบายด้วยภาษาที่ง่าย และมีตัวอย่างประกอบความเข้าใจด้วยครับ  รับรองว่าทุกวันอังคารท่านจะได้พบกับความสำราญใจไปกับหลักกฎหมายง่ายๆได้เลยครับ

เอาล่ะครับ คงได้เวลาบุกป่าฝ่าดง เพื่อถากถางดงกฎหมายรกชักที่เต็มไปด้วยอักษรชวนมึนงงจนหลงทางกันมาหลายสิบปี ให้มีทางสว่างกระจ่างใจมนแล้วล่ะครับ

ช่วงแรกที่เปิดทำการ ก็ขอวานส่งปัญหาที่อยากสอบถาม และหลักกฎหมายที่อยากรู้ เข้ามาให้ทางเราดูเพื่อทยอยตอบไปเรื่อยๆนะครับ

ช่องทางติดต่อสื่อสาร คือ คอมเม้นต์ด้านล่างบทความนี้ หรือบทความต่อๆไปครับ

ขอตะโกนส่งท้ายเพื่อเรียกขวัญกำลังใจด้วยคำว่า   "ราษฎร์ พิชิต วาทกรรม!!!"     

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี