Skip to main content

เมื่อกฎหมายเข้ามาใกล้ชีวิตคนธรรมดาอย่างเรามากขึ้น จึงเป็นการยากที่จะไม่สนใจอีกต่อไป   พอเกิดปัญหาขึ้นมากับตัวเอง ทางหนึ่งที่คนส่วนใหญ่พอจะทำได้ คือ ปรึกษากับคนใกล้ตัวที่ร่ำเรียนมาทางกฎหมาย เพราะจะให้ไปปรึกษากับทนาย หรือนักกฎหมายที่ไหนก็ยังไม่กล้า เพราะกลัวว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย ไหนความลับส่วนตัวจะแพร่งพรายออกไปให้คนอื่นล่วงรู้อีก พอไปค้นคว้าหาอ่านเองก็ไม่รู้เรื่อง

ดงกฎหมาย จึงขอเสนอบริการ "คลินิกกฎหมาย" เพื่อให้คำปรึกษากับปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของทุกท่าน   คลินิกกฎหมายนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายในสาขาต่างๆ เข้ามาวางแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้เจอทางออก   เพราะหลายเรื่องที่มาบอกกล่าวเล่ากัน แก้ได้ด้วยกฎหมายง่ายๆ แต่ในตอนทีเกิดเรื่อง เจ้าของปัญหาไม่รู้ว่าจะหันไปปรึกษาใคร   ซ้ำร้ายเวลาไปค้นคว้าหากฎหมายอ่านก็ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ไม่รู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีปมสำคัญอะไร ใช้กฎหมายเรื่องไหนเข้ามาปรับใช้ และจะให้ไปหาใครใช้ช่องทางไหนก็ไม่อาจรู้ได้

ขอพี่น้องทุกท่านสบายใจได้ครับ ต่อไปจะมีเรื่องต่างๆมาเล่าสู่กันฟัง หากพลาดพลั้งเกิดปัญหาเหมือนกับที่เล่ามาจะได้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที   เนื่องจากในช่วงแรกนี้ยังไม่มีใครส่งเรื่องเข้ามาปรึกษาโดยตรง   ก็คงต้องเอาเรื่องราวเก่าก่อนมาทยอยเล่าให้ฟังเป็นตอนๆ ในทุกคืนวันศุกร์นะครับ

นอกจากปัญหากฎหมายในชีวิตประจำวันแล้ว   เหตุบ้านการเมืองเรื่องสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ก็เกี่ยวข้องกับกฎหมายมากขึ้นเรื่อยๆ ดังปรากฏเป็นข่าวในหน้าเว็บไซต์และรายการข่าวโทรทัศน์วิทยุทั้งหลาย ว่าตั้งแต่การชุมนุมทางการเมือง เรื่องปากท้อง นักร้อง นักดนตรี ทีวี โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ธุรกิจ ชีวิตคนดัง ไปจนกระทั่งเรื่องเพศ ก็มีเหตุให้ข้องแวะกับประเด็นกฎหมายอยู่ตลอดเวลา

ดงกฎหมาย เลยเปิดช่วงนินทากฎหมายชื่อว่า "โอ้ยยย...กฎหมายง่ายๆหน่อยได้ไหมนะ" ซึ่งจะเป็นการนำเอาปัญหาของคนทั้งสังคมมาลองชำแหละด้วยมุมมองทางกฎหมาย ด้วยภาษาที่ง่ายที่สุดสำหรับคนที่ไม่เคยเรียนมาทางนี้   เพื่อสร้างทางเลือกในการตีความกฎหมายปรับใช้ตอบปัญหาใหญ่ๆที่เกิดขึ้นในสังคม   เนื่องจากในอดีตนักกฎหมายได้ผูกขาดความรู้ เป็นผู้ทรงภูมิยึดครองอำนาจในการชี้เป็นชี้ตายให้กับสังคมมานาน เพราะอาศัยว่าคนทั่วไปไม่เข้าใจกฎหมาย จะเถียงก็สู้ไม่ได้ เพราะเจอนักกฎหมายปาชื่อ "หลักกฎหมาย" อะไรใส่มาก็ไม่รู้ว่าจะตอบโต้อย่างไร

ต่อไปนี้ญาติสนิทมิตรสหายทั้งหลาย จะได้ลองฝึกใช้กฎหมายกันไว้ เพื่อว่าวันหนึ่งเกิดเรื่องอะไรที่อยากเถียงสู้ จะได้รู้ว่าที่นักกฎหมายพูดมา มันคืออะไร เชื่อได้แค่ไหน ตีความตามอำเภอใจ ไม่ยึดหลักวิชาอย่างเคร่งครัดรึเปล่า   แต่ให้ผ่อนคลายได้ครับ เราจะเอาหลักกฎหมายมาอธิบายด้วยภาษาที่ง่าย และมีตัวอย่างประกอบความเข้าใจด้วยครับ  รับรองว่าทุกวันอังคารท่านจะได้พบกับความสำราญใจไปกับหลักกฎหมายง่ายๆได้เลยครับ

เอาล่ะครับ คงได้เวลาบุกป่าฝ่าดง เพื่อถากถางดงกฎหมายรกชักที่เต็มไปด้วยอักษรชวนมึนงงจนหลงทางกันมาหลายสิบปี ให้มีทางสว่างกระจ่างใจมนแล้วล่ะครับ

ช่วงแรกที่เปิดทำการ ก็ขอวานส่งปัญหาที่อยากสอบถาม และหลักกฎหมายที่อยากรู้ เข้ามาให้ทางเราดูเพื่อทยอยตอบไปเรื่อยๆนะครับ

ช่องทางติดต่อสื่อสาร คือ คอมเม้นต์ด้านล่างบทความนี้ หรือบทความต่อๆไปครับ

ขอตะโกนส่งท้ายเพื่อเรียกขวัญกำลังใจด้วยคำว่า   "ราษฎร์ พิชิต วาทกรรม!!!"     

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ