Skip to main content

คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้นฐานของความเชื่อมั่นต่อระบบที่เป็นศูนย์กลางในการเข้าทำธุรกรรมและช่องทางในการกระจายสินค้า บริการและข้อมูลที่เชื่อถือได้ หรือ    ยิ่งไปกว่านั้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (Economic Sustainable Development) ย่อมต้องอยู่บนพื้นฐานของการคำนึงถึงผู้คนทั้งหลายที่เกี่ยวข้องให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างทั่วถึง (Inclusive Growth)


บทบาทของรัฐจึงต้องอยู่ในลักษณะการประกันสิทธิให้ผู้คนที่เกี่ยวข้องได้รับการคุ้มครองสิทธิในการแสวงหาประโยชน์ร่วมกันอย่างมั่นคงผ่านการสถาปนาสถาบันทางเศรษฐกิจที่ให้การปกป้องสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมแก่บุคคล (Inclusive Institution) ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ อาทิ เจ้าของแพลตฟอร์ม ผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือผู้รับขนส่ง กับ ผู้ด้อยอำนาจต่อรอง เช่น ผู้ประกอบการรายย่อย สมาชิกแพลตฟอร์ม ผู้บริโภค ให้หลุดจากกับดักเศรษฐกิจแบบกาฝาก (Parasite Economy) ที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อยต้องพึ่งพิงเจ้าของเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ผูกขาดตลาดและขูดรีดส่วนเกินทางเศรษฐกิจไปในรูปแบบผลประกอบการ แต่ยังมิได้มีกระบวนการจัดเก็บภาษีของรัฐเพื่อนำมาเป็นงบประมาณกระจายย้อนกลับมายังประชาชนในรูปแบบของสวัสดิการ


ยิ่งไปกว่านั้นตลาดดิจิทัลยังเพิ่มความเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนให้เกิดขึ้นตลอดเวลาทำให้ความคิดพื้นฐานที่สุดของกฎหมายแบบรัฐสมัยใหม่ถูกสั่นคลอน นั่นคือ การใช้เขตอำนาจศาลในการบังคับใช้กฎหมายเหนือดินแดนของตนอย่างเด็ดขาด เมื่อต้องใช้กฎหมายบังคับต่อบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐมหาอำนาจหรือเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่มีบรรทัดฐานทางกฎหมายในหลายประเด็นแตกต่างไปจากประเทศไทย ทำให้เกิดความยากลำบากในการแสวงหาจุดเกาะเกี่ยวในการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเมื่อมีประเด็นต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง


แรงกดดันทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และกฎหมายเหล่านี้ ล้วนกระตุ้นเร้าให้ประเทศไทยต้องปรับตัวให้พร้อมกับการเลือกยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับตนเองในบริบทของการแข่งขันระดับโลก ว่าประเทศไทยจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ผลิต ผู้บริโภค ตัวกลางผู้ให้บริการกระจายสินค้าและบริการ โดยใช้สื่อกลางและตลาดแบบใด ให้เป็นประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทยมากที่สุด  เนื่องจากการทุ่มเททรัพยากรของรัฐลงไปสร้างความมั่นคงให้กับตลาดดิจิทัลย่อมต้องตอบคำถามให้ได้ว่า งบประมาณที่ได้จัดสรรไปจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร

 

ตลาดดิจิทัลเป็นพื้นที่ในการหลอมรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ประกอบไปด้วยการผลิต การบริโภค โดยมีการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงเข้าหากันผ่านช่องทางกระจายสินค้าและบริการนั้น อาศัยแพลตฟอร์มดิจิทัลในโลกไซเบอร์เป็นช่องทางรสื่อสารแลกเปลี่ยนโดยอาศัยข้อมูลที่ไหลเวียนในช่องทางที่ผู้คนติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างผู้บริโภคผู้ผลิตโดยมีผู้ค้าขายและให้บริการโลจิสติกส์จำนวนมากบนตลาดเชื่อมโยงกันผ่านตัวกลางเป็นผู้ควบคุมระบบ ในลักษณะของการผูกขาดใต้อิทธิพลทางเทคโนโลยีของบรรษัทข้ามชาติ


แม้จะมีการกล่าวอ้างความคิดแบบเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) แต่ข้อมูลข่าวสารและระบบกลับมีลักษณะปิดบัง อำพราง ล่อลวง ในหลายกรณีจนมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการฉ้อโกงหลอกลวงอันกระทบกระเทือนสิทธิผู้บริโภคและทำลายความเชื่อมั่นต่อตลาดอิเล็กทรอนิกส์และเศรษฐกิจดิจิทัล (Trust Economy) ในระยะยาว


บทบาทของรัฐในการส่งเสริมความเจริญของตลาดดิจิทัลแม้อำนาจส่วนใหญ่อยู่ในมือภาคเอกชน  ก็คือการให้หลักประกันสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบที่เป็นศูนย์กลางในการเข้าทำธุรกรรมและช่องทางในการกระจายสินค้า บริการและข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพิ่มการคุ้มครองสิทธิในการแสวงหาประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ กับ ผู้ด้อยอำนาจต่อรอง ผ่านการสถาปนาสถาบันทางเศรษฐกิจที่ให้การปกป้องสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมแก่บุคคล (Inclusive Institution) เช่น การยืนยันตัวบุคคล การรับรองระบบกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ดิจิทัล สร้างความมั่นคงในการทำธุรกรรมในโลกดิจิทัล มีสื่อกลางและพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนที่เชื่อถือได้ และมีกลไกระงับข้อพิพาทที่สะดวก สร้างความเป็นธรรมให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์และแข่งขันให้ประชาชนก้าวข้ามกับดักเศรษฐกิจแบบกาฝาก (Parasite Economy)


นอกจากนี้ยังต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีความเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็นแตกต่างไป ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะการสถาปนาความสัมพันธ์แบบทวิภาคี พหุภาคี หลายฝ่าย หรือแบบการร่วมกลุ่มเศรษฐกิจ เพื่อแสวหาจุดเกาะเกี่ยวในการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเมื่อมีประเด็นข้ามชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง


เมื่อบรรษัทข้ามชาติเจ้าของแพลตฟอร์มคือผู้ได้ประโยชน์จากการเป็นตัวกลางให้บริการกระจายสินค้าและบริการ จึงต้องกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการแบ่งปันผลประโยชน์ย้อนกลับมาคืนแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลไทย แนวทางสร้างฐานภาษีจากตลาดดิจิทัลเข้าสู่ระบบงบประมาณแผ่นดินของรัฐเพื่อนำมาจัดทำบริการสาธารณะและสวัสดิการของประชาชน จึงเป็นข้อท้าทายอีกประการที่ต้องสังเคราะห์ความรู้ทางกฎหมายมาเสนอเป็นนโยบายแก่ประเทศไทย


การปรับปรุงโครงสร้างประเทศไทยให้มีระบบเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกับปวงชนทั้งหลายบนพื้นฐานของภราดรภาพ (Solidarity Economy) จึงเป็นแนวทางที่น่าสนใจเพื่อมาปรับใช้กับการสนับสนับความเชื่อมั่นต่อตลาดดิจิทัลให้มีการพัฒนาอย่างยังยืน

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว