Skip to main content

คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้นฐานของความเชื่อมั่นต่อระบบที่เป็นศูนย์กลางในการเข้าทำธุรกรรมและช่องทางในการกระจายสินค้า บริการและข้อมูลที่เชื่อถือได้ หรือ    ยิ่งไปกว่านั้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (Economic Sustainable Development) ย่อมต้องอยู่บนพื้นฐานของการคำนึงถึงผู้คนทั้งหลายที่เกี่ยวข้องให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างทั่วถึง (Inclusive Growth)


บทบาทของรัฐจึงต้องอยู่ในลักษณะการประกันสิทธิให้ผู้คนที่เกี่ยวข้องได้รับการคุ้มครองสิทธิในการแสวงหาประโยชน์ร่วมกันอย่างมั่นคงผ่านการสถาปนาสถาบันทางเศรษฐกิจที่ให้การปกป้องสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมแก่บุคคล (Inclusive Institution) ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ อาทิ เจ้าของแพลตฟอร์ม ผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือผู้รับขนส่ง กับ ผู้ด้อยอำนาจต่อรอง เช่น ผู้ประกอบการรายย่อย สมาชิกแพลตฟอร์ม ผู้บริโภค ให้หลุดจากกับดักเศรษฐกิจแบบกาฝาก (Parasite Economy) ที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อยต้องพึ่งพิงเจ้าของเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ผูกขาดตลาดและขูดรีดส่วนเกินทางเศรษฐกิจไปในรูปแบบผลประกอบการ แต่ยังมิได้มีกระบวนการจัดเก็บภาษีของรัฐเพื่อนำมาเป็นงบประมาณกระจายย้อนกลับมายังประชาชนในรูปแบบของสวัสดิการ


ยิ่งไปกว่านั้นตลาดดิจิทัลยังเพิ่มความเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนให้เกิดขึ้นตลอดเวลาทำให้ความคิดพื้นฐานที่สุดของกฎหมายแบบรัฐสมัยใหม่ถูกสั่นคลอน นั่นคือ การใช้เขตอำนาจศาลในการบังคับใช้กฎหมายเหนือดินแดนของตนอย่างเด็ดขาด เมื่อต้องใช้กฎหมายบังคับต่อบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐมหาอำนาจหรือเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่มีบรรทัดฐานทางกฎหมายในหลายประเด็นแตกต่างไปจากประเทศไทย ทำให้เกิดความยากลำบากในการแสวงหาจุดเกาะเกี่ยวในการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเมื่อมีประเด็นต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง


แรงกดดันทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และกฎหมายเหล่านี้ ล้วนกระตุ้นเร้าให้ประเทศไทยต้องปรับตัวให้พร้อมกับการเลือกยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับตนเองในบริบทของการแข่งขันระดับโลก ว่าประเทศไทยจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ผลิต ผู้บริโภค ตัวกลางผู้ให้บริการกระจายสินค้าและบริการ โดยใช้สื่อกลางและตลาดแบบใด ให้เป็นประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทยมากที่สุด  เนื่องจากการทุ่มเททรัพยากรของรัฐลงไปสร้างความมั่นคงให้กับตลาดดิจิทัลย่อมต้องตอบคำถามให้ได้ว่า งบประมาณที่ได้จัดสรรไปจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร

 

ตลาดดิจิทัลเป็นพื้นที่ในการหลอมรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ประกอบไปด้วยการผลิต การบริโภค โดยมีการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงเข้าหากันผ่านช่องทางกระจายสินค้าและบริการนั้น อาศัยแพลตฟอร์มดิจิทัลในโลกไซเบอร์เป็นช่องทางรสื่อสารแลกเปลี่ยนโดยอาศัยข้อมูลที่ไหลเวียนในช่องทางที่ผู้คนติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างผู้บริโภคผู้ผลิตโดยมีผู้ค้าขายและให้บริการโลจิสติกส์จำนวนมากบนตลาดเชื่อมโยงกันผ่านตัวกลางเป็นผู้ควบคุมระบบ ในลักษณะของการผูกขาดใต้อิทธิพลทางเทคโนโลยีของบรรษัทข้ามชาติ


แม้จะมีการกล่าวอ้างความคิดแบบเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) แต่ข้อมูลข่าวสารและระบบกลับมีลักษณะปิดบัง อำพราง ล่อลวง ในหลายกรณีจนมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการฉ้อโกงหลอกลวงอันกระทบกระเทือนสิทธิผู้บริโภคและทำลายความเชื่อมั่นต่อตลาดอิเล็กทรอนิกส์และเศรษฐกิจดิจิทัล (Trust Economy) ในระยะยาว


บทบาทของรัฐในการส่งเสริมความเจริญของตลาดดิจิทัลแม้อำนาจส่วนใหญ่อยู่ในมือภาคเอกชน  ก็คือการให้หลักประกันสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบที่เป็นศูนย์กลางในการเข้าทำธุรกรรมและช่องทางในการกระจายสินค้า บริการและข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพิ่มการคุ้มครองสิทธิในการแสวงหาประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ กับ ผู้ด้อยอำนาจต่อรอง ผ่านการสถาปนาสถาบันทางเศรษฐกิจที่ให้การปกป้องสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมแก่บุคคล (Inclusive Institution) เช่น การยืนยันตัวบุคคล การรับรองระบบกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ดิจิทัล สร้างความมั่นคงในการทำธุรกรรมในโลกดิจิทัล มีสื่อกลางและพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนที่เชื่อถือได้ และมีกลไกระงับข้อพิพาทที่สะดวก สร้างความเป็นธรรมให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์และแข่งขันให้ประชาชนก้าวข้ามกับดักเศรษฐกิจแบบกาฝาก (Parasite Economy)


นอกจากนี้ยังต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีความเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็นแตกต่างไป ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะการสถาปนาความสัมพันธ์แบบทวิภาคี พหุภาคี หลายฝ่าย หรือแบบการร่วมกลุ่มเศรษฐกิจ เพื่อแสวหาจุดเกาะเกี่ยวในการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเมื่อมีประเด็นข้ามชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง


เมื่อบรรษัทข้ามชาติเจ้าของแพลตฟอร์มคือผู้ได้ประโยชน์จากการเป็นตัวกลางให้บริการกระจายสินค้าและบริการ จึงต้องกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการแบ่งปันผลประโยชน์ย้อนกลับมาคืนแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลไทย แนวทางสร้างฐานภาษีจากตลาดดิจิทัลเข้าสู่ระบบงบประมาณแผ่นดินของรัฐเพื่อนำมาจัดทำบริการสาธารณะและสวัสดิการของประชาชน จึงเป็นข้อท้าทายอีกประการที่ต้องสังเคราะห์ความรู้ทางกฎหมายมาเสนอเป็นนโยบายแก่ประเทศไทย


การปรับปรุงโครงสร้างประเทศไทยให้มีระบบเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกับปวงชนทั้งหลายบนพื้นฐานของภราดรภาพ (Solidarity Economy) จึงเป็นแนวทางที่น่าสนใจเพื่อมาปรับใช้กับการสนับสนับความเชื่อมั่นต่อตลาดดิจิทัลให้มีการพัฒนาอย่างยังยืน

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,