Skip to main content

คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้าน  ก็ด้วยเหตุที่คนไร้บ้านนั้นเป็นยิ่งกว่าคะแนนเสียงที่ไม่ถูกนับ เพราะในสายตาของผู้มีอำนาจหรือหน่วยงานจำไม่น้อยจัดให้เป็น กลุ่มที่ไม่มีปากมีเสียง หรือในบางนโยบายกลับจำเพาะให้กลุ่มคนไร้บ้านกลายเป็นส่วนเกิน มะเร็ง หรือสิ่งรกหูรกตา โดยเฉพาะรัฐที่กำลังพยายามเปลี่ยนสภาพเมือง ปรับพื้นที่สาธารณะให้กลายเป็นทุนทางสายและความงามเพื่อดึงดูดเม็ดเงินเข้ามาผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว

สภาพปัญหานี้เชื่อมโยงกับมิติการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม  ที่ต้องมองการประชันขันแข่งของกลุ่มคนหลากหลายในสังคมในการแย่งชิงทรัพยากรมาจัดสรรปันส่วนให้เป็นประโยชน์กับกลุ่มต่าง ๆ อย่างเสมอภาค ไม่กีดกันกลุ่มใดออกจากระบวนการตัดสินใจเพื่อกำหนดอนาคตของสังคมนั้นๆ เพื่อป้องกันการเข้าไม่ถึงทรัพยากรจนไม่อาจพัฒนาตนเองได้ และติดกับดักความยากจนด้อยพัฒนาอย่างถาวรจากรุ่นตนไปสู่รุ่นถัดไป   ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก และถูกเร่งให้ทวีคูณความรุนแรงด้วยแผนพัฒนาพื้นที่เมืองระดับโลกให้ตอบสนองการผลิตในแนวทางของเสรีนิยมใหม่ และทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างกลายเป็นสินค้าและบริการเพื่อขายได้ในตลาดโลก โดยอาจละทิ้งคุณค่าต่าง ๆ ในสังคม เช่น สิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนกลุ่มอื่น

เมื่อด้านหนึ่งของรัฐต้องผลักดันให้เมืองเป็นฐานของการผลิตในระบบทุนนิยมก็ต้องสร้างหลักประกันไปพร้อมกันว่าประชากรของเมืองนั้นจะยังคงทำงานผลิตสินค้าและบริการต่อไปได้ไม่หยุดยั้งดั่งสายพานการผลิตเครื่องยนต์ของโรงงาน   ในอีกด้านรัฐจึงมีหน้าที่ ดูดซับรายได้ที่เกิดขึ้นให้มาเป็นงบประมาณเพื่อจัดสรรสวัสดิการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับพลเมืองในรัฐ สร้างเสริมหลักประกันทางสังคมและชีวิตให้กับประชาชนของเมืองนั้นๆ

คำถามที่สำคัญต่อกลุ่มคนไร้บ้าน คือ ตำแหน่งแห่งที่ของคนไร้บ้านในแผนพัฒนาเมือง และสิทธิของคนไร้บ้านในการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ

ในมิติของการวางแผนพัฒนาเมืองท่ามกลางกระแสพัฒนาแบบเสรีนิยมโลกาภิวัฒน์ เมื่อเมืองต้องเน้นไปที่การพัฒนาให้มีความสวยงามตระการตารองรับความคาดหวังของนักท่องเที่ยว  โดยรัฐและกลุ่มทุนท่องเที่ยวและพาณิชย์มักมีแนวโน้มที่จะมองว่า คนไร้บ้าน คนเร่ร่อน คนที่อาศัยในที่สาธารณะโดยปราศจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เป็นส่วนเกินไม่จำเป็นต้องให้การรับรองการมีที่ยืนอยู่ในพื้นที่ หรือต้องย้ายคนเหล่านี้ออกไปอยู่นอกเมือง หรือจำกัดพื้นที่ไว้ในบริเวณซึ่งผู้กุมอำนาจในการกำหนดแผนพัฒนาวางไว้ โดย ปราศจาการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ “กำหนดอนาคตตนเอง” ของ “กลุ่มคนไร้บ้าน”

การกำหนดนิยาม “ความสะอาด ความสวยงาม” ของเมืองท่องเที่ยวที่ไม่มีคนไร้บ้านอยู่ในวงถกเถียงนั้นย่อมจำกัดพื้นที่และขอบเขตการเข้าไปเบียดแทรกอาศัยอยู่ในพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   ดังนั้นกลยุทธ์ที่ภาครัฐและเอกชนที่ต้องการผูกขาดอำนาจการตัดสินใจ จึงอยู่ในลักษณะกีดกันคนไร้บ้านโดยอาศัย “ความไม่ชัดเจนของสถานะบุคคล” อีกเช่นเคย   ซึ่งอาจเป็นคำตอบของคำถามพื้นฐานว่าทำไม การแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของคนไร้บ้านจึงเป็นเรื่องยากและต้องใช้ระยะเวลายาวนานกว่าจะได้สถานะทางทะเบียนราษฎร์ในแต่ละกรณี 

นอกจากนี้ข้อจำกัดจากระบบกฎหมายทรัพย์สินและที่ดินไทยที่ไม่เปิดพื้นที่ให้กับการจัดการแบบกรรมสิทธิ์ร่วม การบริหารจัดการโดยชุมชน หรือที่เคยรับรองโดยรัฐธรรมนูญ 2550 ว่าด้วย สิทธิชุมชน ก็ถูกปฏิเสธด้วยงานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหากลุ่มคนไร้บ้าน บางกลุ่มจะมีพื้นที่และอยู่รวมกันเป็นชุมชนมาอย่างต่อเนื่องบ้างแล้วก็ตาม   มิพักต้องพูดถึงการด้อยสิทธิเมื่ออยู่อาศัยในพื้นที่ซึ่งอยู่ในการครอบครองของเอกชน ที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีบุกรุก หรือบังคับขับไล่   การทำประชาพิจารณ์ในแผนพัฒนาโครงการ/พื้นที่ต่าง ๆ จึงต้องคำนึงถึงการมีอยู่ของกลุ่มคนไร้บ้านด้วย

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการอ้างสิทธิและอำนาจในการจัดการพื้นที่อย่างไม่ลงรอยนี้นำไปสู่การใช้ความรุนแรง และข้อพิพาทระหว่างคนไร้บ้านกับเจ้าของพื้นที่อยู่บ้าง แม้ไม่ปรากฏเป็นปัญหาขยายใหญ่ ก็เนื่องด้วยความด้อยกำลังของคนไร้บ้านเอง ที่ตกอยู่ในสถานะผู้เสียเปรียบและเสี่ยงที่จะถูกทำร้าย ขับไล่ หรือต้องโทษทางอาญา และโดนบังคับคดีในทางแพ่งให้ออกากพื้นที่   การขาดกระบวนการจัดการความขัดแย้งทั้งในช่วงบ่มเพาะความรุนแรง ช่วงความขัดแย้งประทุ หรือช่วงบรรเทาเยียวยาข้อพิพาท เพื่อนำไปสู่การสมานฉันท์ให้คนไร้บ้านอยู่ในพื้นที่ได้ด้วยความปรองดองกับคนอื่น ๆ ในพื้นที่ จึงเป็นสิ่งที่ต้องการการออกแบบต่อไป

เมื่อมองกลับมาในมุมการดูแลประชากรของรัฐ/เมือง การเปลี่ยนเมืองที่เคยอยู่อาศัยร่วมกันของคนหลากหลายกลุ่ม ให้เป็นพื้นที่ซึ่งเหมาะกับการท่องเที่ยวได้สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้หลายเมืองท่องเที่ยวมากว่าทศวรรษแล้ว แต่ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจนั้นถูกผันมาเป็นงบประมาณที่รองรับคนที่ถูกผลักออกจากพื้นที่แล้วหรือไม่ ยังคงเป็นข้อสงสัยอยู่เสมอ 

คนไร้บ้านจำนวนมากอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรคติดต่อร้ายแรง หรือการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เนื่องจากเข้าไม่ถึงบริการด้านสาธารณสุขของรัฐ บางกรณีอาจเข้าถึงได้บ้างแต่เมื่อย้ายพื้นที่ก็กลับสูญเสียสิทธิไปอีกเนื่องจากเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับภูมิลำเนา การผูกสิทธิกับสถานพยาบาลในเชิงพื้นที่  เนื่องด้วยประเทศไทยยังไม่มีลักษณะการประกันสุขภาพถ้วนหน้าแบบไร้ข้อจำกัดในเชิงพื้นที่  และปัญหาจะยิ่งหนักขึ้นหากเป็นคนไร้บ้านที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร์

บทสะท้อนจากคนไร้บ้านที่ต้องการ “มีชีวิตที่อยู่รอดปลอดภัย” แล้วขยับขยายไปจน “ยืนอยู่บนลำแข้งตัวเองได้อย่างมั่นคง” นั้น ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและผู้ประกอบการในพื้นที่ในเชิงรับรองสถานะทางกฎหมายของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คนไร้บ้านพอจะมีศักยภาพทำได้  เช่น  การต้องเสี่ยงกับคดีอาญาทุกครั้งที่ไปเก็บขยะหรือของเก่าบ่อยครั้งของคนไร้บ้าน เมื่อมีคดีก็ขาดองค์กรจัดตั้งที่สามารถยืนยันเป็นพยานที่มาของขยะและของเก่า

ต่อเมื่อกลุ่มคนไร้บ้านอยู่รวมกันเยอะจนจำเป็นต้องจัดสร้างที่อยู่อาศัยอย่างถูกสุขลักษณะ ก็ต้องการงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานด้านพัฒนาที่อยู่อาศัยแต่ก็ยังคงติดเพดานการจัดการภายใต้กรอบกฎหมายที่ดินและทรัพย์ของไทย คือต้องมีการซื้อหามาในลักษณะที่ดินเอกชนแล้วจัดสร้างขึ้นเป็นทรัพย์ของนิติบุคคล  ดังนั้นอำนาจเด็ดขาดจึงอยู่ที่หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ และตัวบุคลากรที่เป็นตัวจักรสำคัญในการคัดกรองคนเข้าหรือไล่คนออกจากที่พักอาศัย อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้เช่นเคย   รวมถึงการมีปัญหาซ้ำซ้อนจากการด้อยสิทธิของบุคคลไร้สัญชาติ และการกีดกันบุคคลที่เคยต้องโทษในคดีอาญา เป็นต้น

การพัฒนาขั้นสูงเชื่อมโยงกับการพัฒนาทักษะด้วยการฝึกอบรมอาชีพที่ยังไม่มีมาตรการส่งเสริมโอกาสที่ชัดเจนนัก รวมถึงความไม่ต่อเนื่องของโครงการที่เชื่อมกับภาคเอกชนที่ต้องการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการจากคนไร้บ้าน   แต่ประเด็นที่ขาดเสียมิได้ คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการศึกษาของบุตรหลานคนไร้บ้าน ที่อยู่ในสภาพเร่ร่อน ไร้ภูมิลำเนา เสี่ยงต่อการไม่ได้รับการศึกษาจากสถานบันและทางเลือกพัฒนาทั้งหลาย

การแก้ปัญหาโดยไม่เน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นสตรี เด็ก และเยาวชน ย่อมเป็นการปล่อยปละละเลยไม่ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม  เพราะนี่คือ กลุ่มคนที่จำกลายเป็นพลังสำคัญในอนาคตอันใกล้   หาไม่แล้วคนกลุ่มนี้ก็อาจจำใจต้องเข้าสู่วงจรของตลาดมืดและอาชญากรรม ทั้งการค้าประเวณี บังคับใช้แรงงานทาส อาชญากรรับจ้าง หรือผู้แพร่โรคติดต่อร้ายแรงโดยที่ไม่ยอมจำกัดผลกระทบ สืบเนื่องจากการต้องการแก้แค้นสังคม และไม่แยแสต่อเพื่อนมนุษย์ที่ไม่เห็นหัวตัวเองอีกต่อไป

*ปรับปรุงจากวิจัย โครงการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ทางกฎหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน, 2560. สนับสนุนทุนโดย สสส.

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว