Skip to main content

เมื่อกฎหมายเข้ามาใกล้ชีวิตคนธรรมดาอย่างเรามากขึ้น จึงเป็นการยากที่จะไม่สนใจอีกต่อไป   พอเกิดปัญหาขึ้นมากับตัวเอง ทางหนึ่งที่คนส่วนใหญ่พอจะทำได้ คือ ปรึกษากับคนใกล้ตัวที่ร่ำเรียนมาทางกฎหมาย เพราะจะให้ไปปรึกษากับทนาย หรือนักกฎหมายที่ไหนก็ยังไม่กล้า เพราะกลัวว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย ไหนความลับส่วนตัวจะแพร่งพรายออกไปให้คนอื่นล่วงรู้อีก พอไปค้นคว้าหาอ่านเองก็ไม่รู้เรื่อง

ดงกฎหมาย จึงขอเสนอบริการ "คลินิกกฎหมาย" เพื่อให้คำปรึกษากับปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของทุกท่าน   คลินิกกฎหมายนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายในสาขาต่างๆ เข้ามาวางแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้เจอทางออก   เพราะหลายเรื่องที่มาบอกกล่าวเล่ากัน แก้ได้ด้วยกฎหมายง่ายๆ แต่ในตอนทีเกิดเรื่อง เจ้าของปัญหาไม่รู้ว่าจะหันไปปรึกษาใคร   ซ้ำร้ายเวลาไปค้นคว้าหากฎหมายอ่านก็ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ไม่รู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีปมสำคัญอะไร ใช้กฎหมายเรื่องไหนเข้ามาปรับใช้ และจะให้ไปหาใครใช้ช่องทางไหนก็ไม่อาจรู้ได้

ขอพี่น้องทุกท่านสบายใจได้ครับ ต่อไปจะมีเรื่องต่างๆมาเล่าสู่กันฟัง หากพลาดพลั้งเกิดปัญหาเหมือนกับที่เล่ามาจะได้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที   เนื่องจากในช่วงแรกนี้ยังไม่มีใครส่งเรื่องเข้ามาปรึกษาโดยตรง   ก็คงต้องเอาเรื่องราวเก่าก่อนมาทยอยเล่าให้ฟังเป็นตอนๆ ในทุกคืนวันศุกร์นะครับ

นอกจากปัญหากฎหมายในชีวิตประจำวันแล้ว   เหตุบ้านการเมืองเรื่องสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ก็เกี่ยวข้องกับกฎหมายมากขึ้นเรื่อยๆ ดังปรากฏเป็นข่าวในหน้าเว็บไซต์และรายการข่าวโทรทัศน์วิทยุทั้งหลาย ว่าตั้งแต่การชุมนุมทางการเมือง เรื่องปากท้อง นักร้อง นักดนตรี ทีวี โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ธุรกิจ ชีวิตคนดัง ไปจนกระทั่งเรื่องเพศ ก็มีเหตุให้ข้องแวะกับประเด็นกฎหมายอยู่ตลอดเวลา

ดงกฎหมาย เลยเปิดช่วงนินทากฎหมายชื่อว่า "โอ้ยยย...กฎหมายง่ายๆหน่อยได้ไหมนะ" ซึ่งจะเป็นการนำเอาปัญหาของคนทั้งสังคมมาลองชำแหละด้วยมุมมองทางกฎหมาย ด้วยภาษาที่ง่ายที่สุดสำหรับคนที่ไม่เคยเรียนมาทางนี้   เพื่อสร้างทางเลือกในการตีความกฎหมายปรับใช้ตอบปัญหาใหญ่ๆที่เกิดขึ้นในสังคม   เนื่องจากในอดีตนักกฎหมายได้ผูกขาดความรู้ เป็นผู้ทรงภูมิยึดครองอำนาจในการชี้เป็นชี้ตายให้กับสังคมมานาน เพราะอาศัยว่าคนทั่วไปไม่เข้าใจกฎหมาย จะเถียงก็สู้ไม่ได้ เพราะเจอนักกฎหมายปาชื่อ "หลักกฎหมาย" อะไรใส่มาก็ไม่รู้ว่าจะตอบโต้อย่างไร

ต่อไปนี้ญาติสนิทมิตรสหายทั้งหลาย จะได้ลองฝึกใช้กฎหมายกันไว้ เพื่อว่าวันหนึ่งเกิดเรื่องอะไรที่อยากเถียงสู้ จะได้รู้ว่าที่นักกฎหมายพูดมา มันคืออะไร เชื่อได้แค่ไหน ตีความตามอำเภอใจ ไม่ยึดหลักวิชาอย่างเคร่งครัดรึเปล่า   แต่ให้ผ่อนคลายได้ครับ เราจะเอาหลักกฎหมายมาอธิบายด้วยภาษาที่ง่าย และมีตัวอย่างประกอบความเข้าใจด้วยครับ  รับรองว่าทุกวันอังคารท่านจะได้พบกับความสำราญใจไปกับหลักกฎหมายง่ายๆได้เลยครับ

เอาล่ะครับ คงได้เวลาบุกป่าฝ่าดง เพื่อถากถางดงกฎหมายรกชักที่เต็มไปด้วยอักษรชวนมึนงงจนหลงทางกันมาหลายสิบปี ให้มีทางสว่างกระจ่างใจมนแล้วล่ะครับ

ช่วงแรกที่เปิดทำการ ก็ขอวานส่งปัญหาที่อยากสอบถาม และหลักกฎหมายที่อยากรู้ เข้ามาให้ทางเราดูเพื่อทยอยตอบไปเรื่อยๆนะครับ

ช่องทางติดต่อสื่อสาร คือ คอมเม้นต์ด้านล่างบทความนี้ หรือบทความต่อๆไปครับ

ขอตะโกนส่งท้ายเพื่อเรียกขวัญกำลังใจด้วยคำว่า   "ราษฎร์ พิชิต วาทกรรม!!!"     

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต