Skip to main content

การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้องได้ยิน เพื่อบรรลุเป้าหมายของการชุมนุมสาธารณะ
การชุมนุมโดยสงบเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบการปกครองที่เปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หลักนิติรัฐ/นิติธรรม และพหุนิยม   โดยการชุมนุมโดยสงบจะส่งเสริมให้ประชาชนผลักดันแนวคิดและความคาดหวังในพื้นที่สาธารณะ และสร้างแนวร่วมในการสนับสนุนหรือคัดค้านแนวคิดและเป้าหมายดังกล่าว การชุมนุมดังกล่าวอาจจะช่วยสร้างโอกาสให้เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหาความเห็นต่างโดยสันติ และเปิดกว้างให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง

อย่างไรก็ดีเสรีภาพในการชุมนุม เป็นสิทธิมนุษยชนที่อาจถูกจำกัดหรือมีขอบเขตเพื่อให้รัฐเข้าแทรกแซงการใช้สิทธิเสรีภาพไปในทางละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น (สิทธิเสรีภาพสัมพัทธ์: relative rights) รัฐอาจจำกัดการใช้การสิทธิหรือเสรีภาพนั้น ๆ ในภายหลังได้ โดยเฉพาะการชุมนุมในที่สาธารณะ รัฐอาจเข้ามาจำกัดสิทธิการชุมนุมได้เพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ โดยเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้

มาตรฐานการชุมนุมตามหลักสากล
- เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบเกี่ยวเนื่องกับเสรีภาพในการแสดงออก ที่ล้วนแล้วเป็นสิทธิมนุษยชนอันรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 19 และ 22
- การชุมนุม เกี่ยวข้องกับรวมตัวกันของผู้คน เพื่อการแสดงออก การแสดงจุดยืนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือการแลกเปลี่ยนทางความคิด รวมไปถึงการเข้าร่วมและการเตรียมการชุมนุมทางไกลผ่านช่องทาง เช่น
ทางออนไลน์ด้วย ดังนั้น การประท้วงหรือแสดงออกคนเดียวไม่เป็นการชุมนุม อย่างไรก็ตามยังคงได้รับความคุ้มครองในเรื่องการใช้เสรีภาพในการแสดงออก
- การรวมตัวกันอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงจุดยืนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อยืนยันถึงอัตลักษณ์ของกลุ่ม
- การชุมนุมโดยสงบเท่านั้นที่ถูกรับรองตามหลักสากล แม้การชุมนุมโดยสงบยังมีความคลุมเครือ อย่างไรก็ตามอาจพิจารณาจากการไม่ใช้ “ความรุนแรง”
- “ความรุนแรง” อาจหมายถึงการใช้กำลังทางกายภาพโดยผู้ชุมนุมที่นำไปสู่ความเสียหายต่อร่างกายหรือการเสียชีวิต หรือความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อทรัพย์สิน ทั้งนี้ไม่นับว่าการผลัก ดัน ขัดขวางการสัญจร ขัดขวางกิจวัตรประจำวันเป็นความรุนแรง
- รัฐจะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าการชุมนุมนั้น ๆ เป็นไปโดยสงบ หมายความว่าเป็นภาระการพิสูจน์ของพนักงานเจ้าหน้าที่ถึงเจตนาการใช้ความรุนแรงหรือความไม่สงบ
- ความรุนแรง การสร้างความเกลียดชัง การยุยงปลุกปั่นที่เกิดขึ้นในการชุมนุมจากผู้ชุมนุมบางกลุ่ม หรือผู้จัดการชุมนุมหรือผู้ร่วมชุมนุมที่มีประวัติการใช้ความรุนแรงมาก่อน ต้องไม่ถูกนำไปเหมารวมเป็นการกระทำของผู้ชุมนุมคนอื่น ๆ หรือของผู้จัดการชุมนุม และไม่ทำให้การชุมนุมนั้นเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ
- การที่ผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องตามกฎหมายภายเกี่ยวกับการชุมนุมบางประการ เช่น การไม่แจ้งการชุมนุมโดยชอบ ไม่อาจทำให้ผู้เข้าร่วมการชุมนุมหลุดพ้นจากความคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุม 
- แม้เนื้อหาในการชุมนุมสร้างความไม่พอใจต่อผู้เห็นต่างก็ยังนับว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบ ตราบที่ไม่ก่อความรุนแรง
- พนักงานเจ้าหน้าที่อาจมีข้อกำหนดเกี่ยวกับเวลาในการชุมนุมได้ ซึ่งหากเป็นการชุมนุมโดยสงบควรปล่อยให้ยุติด้วยตัวเอง การชุมนุมที่ถูกจัดขึ้นถี่ไม่ควรถูกห้าม ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อาจต้องชั่งน้ำหนักว่าการชุมนุมที่ยืดเยื้อและผลกระทบมาเป็นข้อพิจารณาในการจำกัดสิทธิลงได้ เช่น การชุมนุมที่เกิดขึ้นตอนกลางคืนในย่านที่พักอาศัยเป็นกระจำ
- พนักงานเจ้าหน้าที่หรือรัฐ มีหน้าที่อำนวยการและปกป้องสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ต่อผู้ชุมนุม ผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ตลอดจน ผู้ชุมนุมตอบโต้ และใช้มาตรการที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์

นิยามตามกฎหมายไทยที่ไม่สอดรับกับหลักสากล
- บทบัญญัติของกฎหมายซึ่งมีบทบัญญัติเป็นการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุม เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถใช้อำนาจในการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมได้อย่างกว้างขวาง ในการให้ความหมายและขอบเขตเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ โดยการดำเนินกิจกรรมในทางสาธารณะแทบทุกประเภทสามารถถูกตีความให้กลายเป็นการชุมนุมได้แทบทั้งสิ้น
- แนวทางปฏิบัติที่ไม่เป็นระบบอันทำให้เกิดความยุ่งยากต่อการใช้สิทธิของประชาชนเมื่อต้องการจัดการชุมนุมสาธารณะ
- การสั่งห้ามการชุมนุมของประชาชนในหลายครั้งก็สร้างความยุ่งยากเพราะเกิดขึ้นโดยไม่สอดคล้องกับการชุมนุมที่ได้เกิดขึ้น
- การสั่งห้ามการชุมนุมอาจเป็นผลมาจากความไม่ชัดเจนว่าเป็นการให้ความเห็นในเชิงแนะนำหรือเป็นการสั่งห้ามไม่ให้กระทำการดังกล่าว        

บริบทของการชุมนุมในประเทศไทย
- การใช้มาตรการความรุนแรงที่เกินความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วนในการเข้าควบคุมหรือสลาย
การชุมนุม
- การใช้กลไกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยกเว้นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในรัฐไทย มีลักษณะเป็นการ “ชั่วคราวถาวร” แม้สภาวะฉุกเฉิน ซึ่งเกินความจำเป็นและความได้สัดส่วนไปมากระดับหนึ่ง รวมทั้งยังเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจเกินขอบเขตและไร้การตรวจสอบหรือถ่วงดุลอำนาจได้ตลอดเวลา
- การแจ้งการชุมนุมที่เข้าข่ายเป็นการขออนุญาตการชุมนุม
- ระบบการแจ้งการชุมนุมตามระบบกฎหมายไทย ไม่ได้มีการระบุข้อยกเว้นแก่การชุมนุมบางลักษณะ เช่น การชุมนุมแบบฉับพลัน และการชุมนุมเพื่อตอบโต้ ซึ่งอาจไม่มีเวลาเพียงพอที่จะทำการแจ้งการชุมนุมเหมือนการชุมนุมโดยทั่วไป จนส่งผลให้คนบางกลุ่มถูกผลักออกจากระบอบการมีส่วนร่วม
- การกำหนดเงื่อนไขสถานที่การชุมนุมที่ไม่เป็นไปตามหลักสากล ในเรื่อง “สถานที่ของการชุมนุม”
ไม่สอดคล้องหลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound)
- การสอดส่องของรัฐที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนผู้ชุมนุม เช่น รัฐไทยมีการการทำบัญชีรายชื่อ มีการติดตามสอดส่องผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมโดยไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจ
- การละเมิดเสรีภาพของสื่อมวลชนระหว่างการชุมนุม

สิ่งที่ผู้ชุมนุมกระทำได้และควรกระทำ
- ผู้ชุมนุมควรแจ้งการชุมนุม เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถแจ้งการชุมนุมได้
- ผู้ชุมนุมควรจัดให้มีหน่วยรักษาความปลอดภัยและหน่วยเฝ้าระวัง ป้องกันไม่ให้ผู้ชุมนุมคนใดคนหนึ่งกระทำการอันสุ่มเสี่ยงหรือใช้ความรุนแรงหรือการกระทำแทรกแซงการชุมนุมโดยมือที่สาม
- กรณีที่มีความพยายามใช้ความรุนแรงหรือกระทำการสุ่มเสี่ยง ต้องแยกบุคคลเหล่านั้นออกจากพื้นที่การชุมนุมโดยด่วน
- ผู้จัดการชุมนุมต้องประเมินความปลอดภัยของผู้ร่วมการชุมนุมเป็นสำคัญ หากปรากฏพฤติการณ์บางอย่างที่จะนำพาให้การชุมนุมไปสู่สถานการณ์ความรุนแรงหรือถูกปราบปรามโดยการใช้กำลัง ต้องประกาศให้มีการยุติการชุมนุมโดยเร็ว
- สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือหลักสำหรับการนัดชุมนุม เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับชุมนุม และยังสามารถใช้โต้แย้งกับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายรัฐได้
- ระหว่างการชุมนุม ผู้ชุมนุมมีสิทธิในการสังเกตการณ์เฝ้าระวัง ตรวจสอบ บันทึกการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐในสถานการณ์สุ่มเสี่ยง
- กระทำอื่นใดเพื่อเข้าร่วมการชุมนุมโดยไม่เปิดเผยตัวตนที่ถือเป็นองค์ประกอบด้านการแสดงออกของการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งใช้เพื่อป้องกันการตอบโต้หรือรักษาความเป็นส่วนตัว รวมถึงการรักษาความเป็นส่วนตัวจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการสอดส่อง การไม่แสดงตัวตนของผู้ชุมนุมควรได้รับอนุญาต เว้นแต่เจ้าหน้าที่มีเหตุอันสมเหตุสมผลในการเข้าจับกุมหรือควบคุมตัว
- ผู้ชุมนุมควรจัดให้มีกระบวนการถอดบทเรียน ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมการชุมนุมสาธารณะที่ผ่านมา
- การฟ้องคดี หรือเป็นโจทก์ฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งฟ้องเอาผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับฟ้องเพื่อทำลายเงื่อนไขทางกฎหมายที่ขัดขวางการใช้เสรีภาพการชุมนุม เป็นสิ่งที่กระทำได้

สิ่งที่เป็นข้อจำกัดในการชุมนุมสาธารณะ
- การชุมนุมต้องไม่ใช้ความรุนแรง หรือหลีกเลี่ยงกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันกระทบกระเทือนต่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อย การคุ้มครองด้านสาธารณสุข หรือศีลธรรมอันดี หรือเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
- การจัดการชุมนุมสาธารณะไม่ใช้สถานที่บางแห่งที่กระทบกระเทือนต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนเกินความจำเป็นและความได้สัดส่วน
- การนำเสนอหรือแสดงความคิดเห็นที่มีเนื้อหาอันละเอียดอ่อน ควรต้องอยู่บนฐานของความจริง การนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จและเป็นต้นเหตุมีบุคคลต้องเสียหาย อาจต้องรับผิดชอบผลทางกฎหมาย
- การชุมนุมในเวลากลางคืน ไม่ควรให้มีการเคลื่อนขบวน เพราะอาจทำให้การจัดการการชุมนุมเป็นไปได้ยาก และเสี่ยงอันตราย
- การใช้ยานพาหนะหรือการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการชุมนุม ผู้ชุมนุมต้องไม่กระทำเกินสัดส่วน จนกระทบกระเทือนต่อประโยชน์สาธารณะและการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขของสังคมโดยรวม เช่น ต้องไม่ใช้เครื่องขยายเสียงเกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ไม่เคลื่อนขบวนในเวลากลางคืน เป็นต้น

*บทความนี้เรียบเรียงจากคู่มือการชุมนุมตามมาตรฐานสากลที่เรียบเรียงขึ้นร่วมกับ ปารณ บุญช่วย และ ภาสกร ญี่นาง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว