Skip to main content

แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ
1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน
2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า

แนวทางแรก คือ การระงับข้อพิพาทด้วยหลักการทำงานที่เป็นธรรม (Fair Work) เป็นหลักการสำคัญในการที่จะจัดตั้ง และเป็นมาตรวัดมาตรฐานการทำงานที่เหมาะสม (Decent Work) ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลที่ยึดโยงกับเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม เกิดขึ้นในการประชุมขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ International Labour Organisation - ILO (Oxford Internet Institute, “Fair Work”,  https://fair.work/en/fw/principles/?fbclid=IwAR1PJ) ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้ง บรรษัทเจ้าของแพลตฟอร์ม แรงงาน องค์กรทางการค้า นักวิชาการ ฯลฯ เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย 5 หลักการสำคัญ ดังนี้


หนึ่ง ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม (Fair Pay) ที่จะกำหนดให้ ใครก็ตามที่เป็น “คนทำงาน” ไม่ว่าจะอยู่ในสัญญาประเภทใดก็ตาม ควรได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานที่เหมาะสมเป็นธรรม หลักจากที่ได้คำนวณเอาจากการความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน รวมถึงเวลาชั่วโมงการทำงานที่ได้ทำลง คนทำงานทุกคนจะต้องรับค่าตอบแทนอย่างตรงเวลา และเพื่องานทุกชิ้นที่ได้ทำจนเป็นผลสำเร็จ


สอง สภาพการทำงานที่เป็นธรรม (Fair Conditions) ซึ่งว่าด้วยการกำหนดหน้าที่ให้กับแพลตฟอร์มที่จะต้องมีนโยบายและจัดให้มีการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของคนทำงานจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน และควรใช้มาตรการเชิงรุก (Proactive Measures) เพื่อปกป้องส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของคนงานทุกคน


สาม สัญญาที่เป็นธรรม (Fair Contracts) ที่มุ่งเน้นในการกำกับควบคุมข้อตกลงในสัญญาระหว่างคนทำงานและแพลตฟอร์ม มีความโปร่งใส เข้าใจง่าย และเข้าถึงได้ตลอดเวลาสำหรับคนทำงาน คู่กรณีในสัญญา โดยเฉพาะแพลตฟอร์มที่มาจากต่างประเทศ จะต้องอยู่ภายใต้หลักกฎหมาย และสามารถระบุตัวตนได้ว่าเป็นใคร หากมีกรณีเปลี่ยนแปลงข้อสัญญา คนทำงานควรได้รับการแจ้งเตือนภายในช่วงเวลาที่เหมาะสมก่อนที่ข้อสัญญาใหม่จะมีผลบังคับ ในสัญญาจะต้องไม่มีข้อกำหนดที่ยกเว้นความรับผิดแก่แพลตฟอร์มเกี่ยวกับหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของคนทำงาน และต้องไม่มีข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นการปิดกั้น ไม่เปิดโอกาสให้คนทำงานมีสิทธิร้องเรียนความไม่เป็นธรรมได้ อีกทั้ง ข้อตกลงต่าง ๆ ในสัญญาก็ควรมีคงเส้นคงวา ไม่เปลี่ยนแปลงง่ายจนกระทบกระเทือนต่อชีวิตและการทำงานที่เป็นธรรมของคนทำงาน


สี่ การบริหารจัดการที่เป็นธรรม (Fair management) ว่าด้วยเรื่องการกำหนดให้บรรษัทแพลตฟอร์มต้องมีกระบวนการอันชอบธรรม (due process) เกี่ยวกับการตัดสิน หรือมีบทลงโทษทางวินัยคนทำงานในแพลตฟอร์มของตนเอง และต้องเปิดโอกาสให้คนทำงานคู่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์คำตัดสินดังกล่าว หากว่าคำตัดสินจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของคู่กรณี เช่น การลงโทษทางวินัย หักค่าตอบแทน ปิดแอพพลิเคชั่น พร้อมทั้งต้องชี้แจงเหตุผลในการตัดสินลงโทษในทุก ๆ ครั้งด้วย
นอกจากนี้ แพลตฟอร์ม จะต้องใช้ระบบอัลกอริทึม (Algorithms) ที่โปร่งใส และมีผลลัพธ์ที่เสมอหน้าเท่าเทียมกันสำหรับคนทำงานในแพลตฟอร์มทุกคน และควรมีนโยบายที่สามารถระบุ และเป็นลายลักษณ์อักษรได้ เพื่อให้แน่ใจว่า การบริหารจัดการคนทำงานในแพลตฟอร์มเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการเลือกประติบัติด้วยเหตุที่ไม่ชอบธรรม ทั้งในเรื่องการรับเข้าทำงาน การลงโทษทางวินัย หรือการไล่ออก


ห้า ระบบตัวแทนที่เป็นธรรม (Fair Representation) หรือการเปิดโอกาสให้มีการรวมกลุ่มและกระบวนการเจรจาต่อรองเรื่องเกี่ยวกับสภาพการทำงานระหว่างแพลตฟอร์มและคนทำงานในสังกัด กล่าวคือ แพลตฟอร์มควรจัดให้มีกระบวนการที่เปิดโอกาสให้เสียงของคนทำงานได้เปล่งออกมา ไม่ว่ารูปแบบสัญญาการจ้างงานจะอยู่ในลักษณะใดก็ตาม คนทำงานทุกคนล้วนมีสิทธิในการรวมกลุ่ม จัดตั้งองค์กรและตัวแทน ซึ่ง แพลตฟอร์มจะต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอในการประสานงานร่วมกันกับคนทำงาน รับฟังปัญหา และมีกระบวนการเจรจาต่อรองกับคนทำงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงานให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น เช่น การเพิ่มค่าตอบแทน มอบสวัสดิการ มีหลักประกัน หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงที่คนทำงานต้องเผชิญในการทำงาน เป็นต้น


หลักการทั้งห้าหลักการนี้ สามารถใช้ได้กับงานทุกประเภทไม่ว่าคนทำงานจะถูกจัดประเภทเป็นแรงงานที่อยู่ภายใต้นิติสัมพันธ์แบบ “นายจ้าง-ลูกจ้าง” หรือ ผู้รับจ้างงานอิสระ ก็ตาม และไม่ว่าจะทำงาน ณ สถานที่ใด และมีสถานประกอบการเป็นกิจจะลักษณะหรือไม่ อย่างไร ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือเป็นข้ออ้างให้ เจ้าของแพลตฟอร์มสามารถเอารัดเอาเปรียบ ผลักภาระหน้าที่ในการคุ้มครองคนทำงานได้

 

แนวทางถัดมา คือ การพัฒนาระบอบกฎหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำกับกลุ่มแรงงานรับจ้างอิสระที่ได้รับผลกระทบจากความท้าทายในศตวรรษที่ 21 โดยมีข้อเสนอที่ต่างไปจากการนำคนทำงานแพลตฟอร์มเข้าสู่สถานะแรงงานในระบบ แต่เน้นการสร้างหลักประกัน และความมั่นคง พร้อม ๆ กับรักษาสถานะความเป็นอิสระไปด้วยอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการศึกษาเปรียบเทียบจากกรณีที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ได้แก่ การเสนอให้มีระบบ “การสร้างหลักประกันรายได้แก่แรงงานอย่างถ้วนหน้า (Universal Basic Income – UBI)” เพื่ออุดช่องว่าง หรือช่องโหวที่ระบบกฎหมายไม่สามารถมอบหลักประกัน และความมั่นคงในชีวิตให้กับคนทำงานกลุ่มนี้ได้ และเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทที่คนทำงานแพลตฟอร์ม ที่รักในความอิสระไม่ต้องการให้รัฐและบุคคลอื่นมายุ่งกับชีวิตส่วนตัว ซึ่งหากยิ่งต้องไปเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลพิสูจน์ความยากจนต่อรัฐให้รู้สึกด้อยศักดิ์ศรีก็ยิ่งอยากหลีกเลี่ยง


การสร้างหลักประกันรายได้แก่แรงงานรับจ้างอิสระอย่างถ้วนหน้า มีหลักการพื้นฐาน 3 ข้อ คือ หนึ่ง หลักประกันรายได้ขั้นพื้นฐานเป็นการจ่ายเงินให้กับผู้บรรลุนิติภาวะทุกคน (Universal) สอง หลักประกันรายได้ขั้นพื้นฐานเป็นการให้เพื่อสนองความจำเป็นพื้นฐานในชีวิต (Adequate) และสาม เกณฑ์การให้มิได้มีการตั้งเงื่อนไขและการพิสูจน์ใด ๆ เกี่ยวกับการทำงาน (Unconditional) ซึ่งมีหลักและแนวปฏิบัติ คือ สร้างการประกันรายได้ตามเส้นมาตรฐานต่ำสุดในการดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แก่ปัจเจกบุคคล มิใช่กับกลุ่มองค์กรหรือสถาบัน มีการแจกจ่ายรายได้ให้เป็นประจำตามระยะเวลาที่ชัดเจนแน่นอน เป็นการจ่ายสดที่มีสภาพคล่องสามารถใช้จ่ายได้ทันทีไม่ต้องผ่านกระบนการเพิ่มเติมอื่น ๆ และต้องไม่มีเงื่อนไขแลกเปลี่ยนในลักษณะเสื่อมสิทธิหรือเพิ่มภาระหน้าที่แก่ประชาชน


นอกจากหลักการดังกล่าวยังไปไกลจนถึงที่ว่า “บุคคลเข้าถึงสิทธิในการได้รับรายได้พื้นฐานนี้เป็นการทั่วไป มิต้องมีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นพิเศษแตกต่าง และมีข้อเสนอในบางประเทศว่าท่ามกลางเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัฒน์ แรงงานต่างชาติ และครอบครัวของเขาก็อาจเข้าถึงสิทธินี้ได้โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุอันไม่ชอบธรรม แต่บางประเทศก็เสนอว่าจัดให้กับคนชาติทุกคน


หากรัฐเลือกใช้แนวทางนี้ อาจไม่ต้องจ่ายใช้เงินงบประมาณมากอย่างที่กังวลในการทำให้ ประชาชนดำรงชีพอย่างมีคุณภาพครอบคลุมสิทธิขั้นพื้นฐานทุกสิทธิ เนื่องจากรัฐสามารถสร้างหลักประกันสิทธิ บางอย่างไว้รองรับประชาชนเป็นการทั่วไปโดยไม่ต้องจ่ายเป็นเงินให้ประชาชนถือไว้ในมือ เช่น รักษาฟรี เรียนฟรี ฯลฯ อันเป็นการลดภาระการจ่ายเงินตรงแก่แรงงานรับจ้างอิสระได้ โดยเฉพาะกับคนทำงานในธุรกิจแพลตฟอร์มรับส่งอาหาร-พัสดุ โดยรัฐสามารถจัดสรรงบประมาณ และใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่มีอยู่เดิม เช่น บริการสาธารณะด้านคมนาคม และโทรคมนาคม เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม งานศึกษายังคงตระหนักถึงข้อถกเถียงในประเด็นการนำเสนอการสร้างหลักประกันดังกล่าว เกี่ยวกับเรื่องคนได้เงินแล้วจะไม่ทำงาน จะไม่ผลิตสินค้า ไม่บริการอะไร หรือไปถึงขั้นสงสัยว่าประชาชนจะ “ขี้เกียจ” ใช้ชีวิตด้วยเงินที่รัฐจ่ายให้แต่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ แก่สังคม รวมถึงข้อโต้แย้งว่าอาชญากรรมทางเศรษฐกิจมิได้เกิดจากเงื่อนไขบีบคั้นทางเศรษฐกิจ การจ่ายเงินแบบ UBI มิได้มีผลลดความรุนแรงในสังคมแต่อย่างใด ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญคือ สภาพการทำงานและความปลอดภัยในการทำงานที่พบว่าคนทำงานอิสระ ล้วนตกอยู่ในความเสี่ยงภัยที่จะได้รับเคราะห์กรรมอันเนื่องมาจากการทำงาน ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต UBI อาจยังต้องเป็นหลักการสำคัญที่ควรถูกหยิบนำไปปรับปรุงกฎหมายและพัฒนาสภาพการทำงานของคนทำงานในยุคดิจิทัลให้ดียิ่งขึ้น


หากจะพัฒนาชีวิตคนทำงานในยุคดิจิทัล จึงต้องมีทั้งข้อเสนอการจัดการกับความขัดแย้ง และข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิแรงงาน โดยมองว่า มนุษย์ทุกคนที่ทำงาน คือ แรงงาน ล้วนอยู่ภายใต้หลักการทำงานที่เป็นธรรมทั้งสิ้น กล่าวได้ในอีกแง่หนึ่ง คือ หากไร้ความเป็นธรรม ความสงบย่อมไม่อาจเกิดขึ้น (No Fairness, No Peace) การตระหนักถึงหลักการข้อนี้ จะช่วยให้แน่ใจว่าการแสวงหาทางออก หรือ แนวทางการระงับข้อพิพาทต่อไป คงต้องอยู่บนฐานความเป็นธรรม ที่ไม่ใช่เพียงการนำคนทำงานทั้งหมด ทุกประเภท มาเป็น “แรงงานในระบบ” เสียก่อนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิแรงงาน ความมั่นคง และหลักประกันในการทำงาน หากแต่เป็นการสร้างหลักประกัน ความมั่นคง และการคุ้มครองสิทธิให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ไปตามบริบททางสังคมและเศรษฐกิจยุคดิจิทัลที่มนุษย์ต่างโหยหาความเป็นอิสระมากกว่าการอยู่ภายใต้ระบบที่กำกับควบคุมโดยรัฐและทุน หน้าที่ของรัฐจึงควรเป็นการคุ้มครองดูแล ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือ โดยยังคงให้ความเป็นอิสรภาพในการทำงาน และการออกแบบชีวิตตัวเองของคนทำงานแพลตฟอร์ม ไม่ว่าบรรษัทจะขยับหนีกรอบบังคับของกฎหมายตลอดเวลาก็ตาม

*เนื้อหาบางส่วนจากวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบอบกฎหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำกับกลุ่มแรงงานรับจ้างอิสระที่ได้รับผลกระทบจากความท้าทายในศตวรรษที่ 21”, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2562. และการแปลเรื่อง Fair Work โดย ภาสกร ญี่นาง

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว