Skip to main content

เรื่องแรกนี่เกิดขึ้นกับผู้คนมากมายครับ เนื่องจากมันเป็นชีวิตของเพื่อนผมเองที่บ้านเกิดอยู่ต่างจังหวัดแต่เค้าเข้ามาทำงานกรุงเทพฯ แล้วเช่าหอพักอยู่รอบนอกกรุงเทพฯเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากที่ทำงานอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ถ้าไปเช่าหออยู่ใกล้ๆ สงสัยจะไม่เหลืออะไรให้เก็บให้ใช้เลย จนเธอต้องมาบ่นให้ฟังเรื่องปัญหาชีวิตกับการเดินทางทั้งในกรุงเทพและเดินทางไป-กลับบ้านเกิด  ไอ้ผมคนนอกฟังแล้วก็เพลินดีครับ แต่เจ้าตัวดูฉุนเฉียวมากเลย ผมคิดว่าคงมีคนประสบปัญหาใกล้เคียงกันเลยจะยกเอามานำเสนอเพื่อวางแนวทางแก้ไขไว้ให้ด้วยในคราวเดียวกันครับ ลองฟังเรื่องของเธอดูนะครับ

 

“เวลาฉันจะเดินทางไป-กลับกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด ถ้าช่วงไหนไม่ค่อยมีเงินหรือเบิกค่าเดินทางจากที่ทำงานไม่ได้ ก็จะใช้บริการรถทัวร์ ซึ่งจะได้เจอกับบริษัทเดินรถชั่วคราวฟาร์มมิ่ง ซึ่งไม่ได้จัดระบบการบริการเดินรถให้มีประสิทธิภาพ เช่น ตั๋วรถไม่มีการระบุที่นั่ง บางครั้งทำให้ผู้โดยสารมีจำนวนมากกว่าที่นั่งในรถ จึงต้องมีผู้โดยสารบางส่วนต้องยืนโดยสาร บางครั้งผู้โดยสารเบียดจนไม่มีที่จะยืน อีกทั้งไม่มีการกำหนดจุดจอด-รับ ผู้โดยสารที่แน่นอน และพนังงานของบริษัทยังไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการเลย จึงทำให้ผู้โดยสารไม่สามารถที่จะตัดสินใจเลือกใช้บริการได้เลย ทั้งที่เป็นสิทธิของผู้ใช้บริการที่จะเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว  ก่อนจะเลือกโดยสารไปกับรถยี่ห้อไหน แต่ถ้าโชคร้ายรถเต็มในช่วงเทศกาลก็ต้องทนไปกับยี่ห้อนี้

 

บางคนบอกถ้าไม่อยากมีปัญหาและประหยัดเงินหน่อยก็ให้ไปขึ้นรถไฟ ฉันก็ลองดูนะแต่ไม่กล้านั่งรถไฟฟรีเพราะเป็นผู้หญิงตัวคนเดียวถ้าคนเยอะ เบียดเสียดจะอันตรายไหนจะต้องระวังของไม่ให้หายอีก ก็เลยขึ้นรถตู้นอนมา ก็หวาดเสียวนิดหน่อยตอนเวลานอนเลยต้องจองเตียงบน เจ้าหน้าที่ถามจะเอาตู้เหมาไหมเพราะตู้ผู้หญิงเต็มแล้ว ก็ไม่ไหวกับราคาค่ะเพราะมากขนาดนั้นอีกหน่อยก็ได้ตั๋วเครื่องบินแล้ว ตัดใจเอาตู้นอนปนกันนี่แหละนะ อยู่เตียงบนคนคงไม่ปีนขึ้นมาทำอะไรหรอกมั้งหรือถ้าปีนคงรู้ตัวก่อนถีบให้ตกบันไดไปเลย   พอรถออกได้สักพักก็หิวข้าวของขึ้นมาขายเยอะแยะเลยแต่ไม่กล้ากินกลัวท้องเสียจะลำบากเพราะดูสภาพห้องน้ำแล้วไม่ไหวจะเคลียร์เพลียถ้าจะเข้าบ่อยๆ  เลยคอยว่าพนักงานรถไฟจะมารับออเดอร์เมื่อไหร่ก็สั่งไปแล้วได้ของในราคาภัตตาคารคุณภาพร้านอาหารตามสั่งหลังมหาวิทยาลัยค่ะ ก็ทนเอาถือว่าเป็นค่าเอาของขึ้นมาบนนี้ แม้จะไม่มีเค้าของข้าวผัดรถไฟที่ได้เคยไปกินตามร้านอาหารดังสักนิด พอปิดม่านนอนแต่ก็นอนไม่ได้อีกมีฝรั่งคุยกันเสียงดังกว่าจะหลับปาเข้าไปเกือบเที่ยงคืน ไม่นับเสียงอย่างอื่นที่ชวนให้ตื่นขึ้นแอบฟังอีกตะหาก  ก็หมดไปหนึ่งคืนตื่นมารอว่าอีกไม่นานจะถึงตามที่เวลาในตั๋วแจ้งไว้ แต่สุดท้ายก็ได้รอไปอีกเกือบสองชั่วโมงหิวข้าวสุดๆ ณ จุดนี้ แต่ที่เจ็บใจคือรถไฟมาถึงช้าจนพ่อแม่ได้เวลาทำงานมารับไม่ได้ ต้องขึ้นรถโดยสารเหมาแพงอีก เพราะไม่มีรถประจำทางเชื่อมมาที่สถานีรถไฟ

 

แต่เมื่อไหร่ที่มีงานต่างจังหวัดทางบริษัทจะจัดให้เดินทางด้วยเครื่องบิน ก็ดีหน่อยในแง่ความเร็ว แต่ถามว่าสะดวกจริงหรือเปล่าก็ไม่นะเพราะเดินทางไปสนามบินไม่ง่ายเลยทีเดียว จะขึ้นแท็กซี่รวดเดียวก็กลัวรถติด ไปขึ้นแอร์พอร์ตลิ้งค์ บางครั้งก็สาย ดีเลย์ หรือหยุดกลางทางก็เคยมาแล้ว จนต้องเผื่อเวลาไว้เยอะๆ เพราะถ้าตกเครื่องเมื่อไหร่โดนเจ้านายด่าเช็ดเลยเพราะกลายเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่ม  การใช้บริการเครื่องบินดูดีมีระดับมากมากจนบางทีพนักงานดูแคลนยายเพิ้งกะโลโลอย่างเรา เหมือนจะเหมาเอาว่าเราเป็นบ้านนอกกลับบ้านเกิด อาหารถ้าโยนให้รับได้คงทำไปแล้วนี่ยังดีแค่เหวี่ยง   แต่ที่น่าเจ็บใจที่สุด คือ เวลาฉันเผื่อเวลาไปถึงสนามบินก่อนนานๆ ดันเลื่อน ไม่เลื่อนเปล่า เลื่อนจนทำให้ตกเครื่องรอบถัดไป   บางที่จะเปลี่ยนไฟลท์ฉันไปขึ้นประตูอื่นก็ไม่ขึ้นบอร์ดให้ชัดมารู้ก็ตอนพนักงานมาไล่ว่าทำไมยังนั่งอยู่เครื่องจะออกที่อีกประตูหนึ่งแล้ว   โหดที่สุดก็คงเป็นครั้งที่ตกเครื่องไปทำงานที่อีสานเพราะว่าไปถึงที่เช็คอินประมาณครึ่งชั่วโมงพนักงานไม่ยอมให้ขึ้นเครื่อง แต่เชื่อไหมคะ บางที่ชั้นเห็นชาวต่างชาติมาขึ้นเครื่องช้ากว่าเวลาออกยังไปได้เลย  มันยังไงกันนี่ หาความแน่นอนได้บ้างไหม

 

แล้วที่น่ากลัวมาก คือ การใช้บริการแท็กซี่ในกรุงเทพฯ แค่ก้มลงไปบอกว่าจะไปไหน จะไปไหมก็ต้องลุ้นแล้ว ไม่ใช่ลุ้นแค่ว่าจะไปรึเปล่านะ ต้องลุ้นว่าจะโดนมองลอดคอเสื้อเข้ามาด้วยรึเปล่า  พอขึ้นนั่งก็หนีบแล้วหนีบอีกเบี่ยงหลบสุดๆ เอ้า! ก็พนักงานออฟฟิศต้องใส่กระโปรงสั้นไปทำงานนี่นะ   บางทีคิดจะจอดไปยืนฉี่ข้างทางก็ทำ ไม่คิดเลยเรอะว่าตกใจไม่ใช่ว่าจะอยากดูนะที่หันมาดูว่าทำอะไรอยู่น่ะ   เรื่องราคาไม่ค่อยห่วงมีมิเตอร์แต่เมื่อไหร่วันฝนตกรถติด ปิดถนน ม็อบรุม โอ้ยยยย หารถไปแทบไม่ได้ ถ้าขึ้นมาจากสนามบินหรือท่ารถก็ต้องเพิ่มเงินค่าน้ำร้อนน้ำชาทีพี่เขาว่าต้องจ่ายให้ขาใหญ่คุมคิวอีก ตอนมาใหม่ๆไม่รู้ทางก็เจอวนอ้อมจนค่าโดยสารขึ้นอีกบานเลย   แต่ก็ยังดีนะคะที่มีชีวิตรอดมาได้อย่างปลอดภัยจนทุกวันนี้

 

หากอยากรู้จักชีวิตคนกรุง ต้องพุ่งไปขึ้นรถเมล์เลยค่ะโดยเฉพาะพวกรถเมล์ร้อน รถเมล์ฟรีเนี่ยแหละ มันส์มาก   การใช้บริการรถเมล์ทำให้ฉันรู้เลยว่าทำไมคนกรุงเทพฯเครียด เพราะนอกจากไม่รู้ว่าสายที่รอจะมาตอนไหนแล้ว พอมันมาต้องลุ้นว่าจะจอดตรงไหนด้วย ได้วิ่งไล่ตลอดอ่ะค่ะถ้าป้ายใหญ่ๆอย่างสยามอะไรอย่างนี้ จังหวะนั้นไม่ห่วงลุ้คแล้วค่ะว่าจะดูฮาในสายตาผู้ชายหน้าไหนขอให้ได้ไปเถอะ   พอขึ้นไปแล้วกระเป๋ารถเมล์ก็บอกชิดในไปให้สุด สุดตรงไหนไม่รู้ค่ะเหลือแต่จะหาคู่รักเจอบนนี่ไหมเพราะถ้าเจอคนที่ใช่คงได้เสียกันทันทีเพราะเบียดเสียดกันขนาดนี้   แล้วอย่าได้เผลอหรือหลับเลยป้ายที่จะลงเลยนะคะไม่มีเบรกหยุดป้ายค่ะ ถ้าไม่มีคนกดกริ่งลงหรือคนโบกที่ป้าย บางทีเห็นคนโบกแต่ไกลพี่ขับผ่านไปไม่จอดยังมี  แต่ที่ต้องระวังสุดๆ คือจังหวะกระชากหลอกที่ต้องบอกเลยว่าทำให้หน้าแหกไปหลายครั้ง เพราะฉันไม่ทันระวังตัวก็เสียหลักลงไปนั่งตักคนข้างๆบ้าง ล้มหัวเข่ากระแทกแฟ้มงานกระจายบ้าง แต่ที่อายสุด คือ กระชากราวโหนหลุดติดมือลงมาเลยน่ะค่ะ โอ้ยยย ยังบอกว่าให้จ่ายค่าเสียหายอีกนะ ดีที่ไม่เหมือนเพื่อนอีกคน ที่หันมาคุยกันแล้วรถเบรกกะทันหันจนเซถลาเอาศอกข้างที่โหนไปกระทุ้งหัวล้านลุงที่ยืนอยู่ข้างหน้าจนหัวทิ่มไปเลยค่ะ   เพื่อนมันก็ดีมากพอลุงหันมามันเปลี่ยนที่ยืนหลบหลังฉันไปเสียแล้ว   ไหนจะคนพิการกับคนท้องที่บางทีก็มีคนใจดำไม่ลุกให้นั่งอีก  เอ้อ แล้วเลดี้บัสช่วงสิ้นเดือนหายไปไหนหมดแล้วคะ

 

แต่ถ้าเมื่อไหร่จะเดินทางไกลๆไปย่านที่มีคนพลุกล่าน ก็จะใช้บริการรถตู้เลยค่ะรวดเดียวถึงได้นั่งด้วย แต่ต้องแขม่วตัวย่อส่วนที่สุดให้พอกับระยะที่รถจัดไว้ให้ บางทีนั่งมาไกลจนคนอื่นลงไปหมดแล้วก็หวาดเสียวนะคะเพราะเหลือแค่เรากับคนขับไม่ก็ผู้ชายน่ากลัวคนอื่นๆ แต่ที่ห่วงที่สุดก็การขับแบบตีนผีเบียดซ้ายแซงขวาจนต้องแกล้งหลับตาไปเพื่อไม่ให้เสียวเลยคะ ไม่รู้เหมือนกันว่าถ้าเกิดอะไรขึ้นมาจะรอดไหม เพราะในรถก็ยัดแน่นขนาดนั้นถ้าคว่ำมาคงหาทางออกไม่ได้แน่ๆ

 

ส่วนที่ไม่เหมือนที่ไหนคงเป็นการใช้บริการเรือในกรุงเทพฯนี่ล่ะค่ะ ทั้งเรือหางยาวคลองแสนแสบที่ต้องหลบหลีกไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าหน้าเพราะจะต้องไปหาหมอผิวหนัง แล้วต้องระวังไม่เสียจังหวะหัวคะมำไป รวมถึงต้องเอาใจใส่การก้าวขึ้นลงเรืออย่างดีค่ะ   เพราะตอนที่ไปขึ้นเรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยาเคยเห็นมากับตาแล้ว น้องผู้หญิงนักศึกษาคนหนึ่งหน้าตาท่าทางอย่างสวย จับจังหวะก้าวขึ้นเรือพลาดล้มลงไปกระโปรงขาดหมดเลยค่ะ หนูต้องรีบวิ่งเอาผ้าเช็ดหน้าไปให้ปิดกลัวน้องเค้าจะอายมากมากเลยค่ะ   ส่วนเรื่องความปลอดภัยก็ไม่ต้องห่วงหนูค่ะว่ายน้ำเป็น แต่ถ้าใครว่ายไม่เป็นก็ไปจับจองห่วงกับเสื้อชูชีพที่มีน้อยกว่าคนขึ้นเรือเอาเองค่ะ

 

ท้ายสุดก็รถไฟฟ้าทั้งใต้ดินบนดินนี่ล่ะค่ะที่ดูเป็นหน้าเป็นตาของชาวกรุงเทพฯ แต่ทำไมหนูต้องมีบัตรสองใบคะ บางทีเอาอีกยี่ห้อหนึ่งมาเสียบเข้าไม่ได้คนข้างหลัวโวยวายให้ได้อายเลยค่ะ   ไหนจะเวลาไปเที่ยวเล่นตามห้างที่จัดงานใหญ่ๆ คนเบียดกันแย่งซื้อตั๋วหายใจไม่ออก เข้ารถไปได้ก็เบียดกันแทบตาย   ยิ่งช่วงเช้าไปทำงานไม่ต้องพูดถึงเลยค่ะ แน่นสุดๆ จะเพิ่มจำนวนเที่ยวในการเดินทางเพิ่มช่วงเวลาเร่งรีบหน่อยก็ไม่ได้นะ   แต่ก็ไม่ได้ขึ้นบ่อยหรอกค่ะ ก็สั้นซะขนาดนั้นนี่คะหออยู่ไกลค่ะ

รมต.ชัชชาติ อยู่ไหนรีบมาแก้ไขปัญหาให้หนูหน่อยค่า!!!!!”

 

วิเคราะห์ปัญหา

1.    การไม่ระบุราคาค่าโดยสาร และเงื่อนไขในการเดินทางเป็นความผิดทางกฎหมายหรือไม่ เราสามารถร้องเรียนได้หรือเปล่า

2.    การไม่เดินทางตามเส้นทางที่กำหนด หรือวนออกนอกเส้นทางโดยไม่มีเหตุจำเป็น ทำให้ประชาชนเสียหายจะเรียกร้องอะไรได้หรือไม่

3.    การไม่เดินทางตามเวลาที่กำหนดทั้งเวลาออกเดินทาง ระยะเวลาเดินทาง และเวลาถึงที่หมาย ทำให้ประชาชนเสียหายจะเรียกร้องให้ชดเชยอะไรได้ไหม

4.    หากพนักงานไม่ให้บริการด้วยความสุภาพ กรรโชก ข่มขู่ ทำร้าย มีความผิดไหมสามารถร้องเรียนใครได้หรือเปล่า

5.    หากมีเหตุฉุกเฉิน อันตราย หรือเร่งด่วนจะติดต่อใครได้บ้าง

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.    การไม่ระบุราคาค่าโดยสาร และเงื่อนไขในการเดินทางเป็นความผิดทางกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งสาธารณะ และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เราสามารถร้องเรียนและเรียกค่าเสียหายได้

2.    การไม่เดินทางตามเส้นทางที่กำหนด หรือวนออกนอกเส้นทางโดยไม่มีเหตุจำเป็น ทำให้ประชาชนเสียหายเป็นความผิดทางกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งสาธารณะ และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เราสามารถร้องเรียนและเรียกค่าเสียหายได้ โดยควรเก็บหลักฐานเช่นตั๋วและเส้นทางประกอบ

3.    การไม่เดินทางตามเวลาที่กำหนดทั้งเวลาออกเดินทาง ระยะเวลาเดินทาง และเวลาถึงที่หมาย ทำให้ประชาชนเสียหายจะเป็นความผิดทางกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งสาธารณะ และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เราสามารถร้องเรียนและเรียกค่าเสียหายได้ โดยควรเก็บหลักฐานเช่นตั๋วและตารางเวลาประกอบ

4.    หากพนักงานไม่ให้บริการด้วยความสุภาพ กรรโชก ข่มขู่ ทำร้าย มีความผิดเป็นความผิดทางกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งสาธารณะ และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เราสามารถร้องเรียนและเรียกค่าเสียหายได้ โดยควรเก็บหลักฐานเช่นตั๋วและเส้นทางประกอบตาราง

5.    หากมีเหตุฉุกเฉิน อันตราย หรือเร่งด่วนจะติดต่อหน่วยงานเฉพาะของแต่ละพาหนะก่อน แล้วร้องเรียนไปยัง สคบ. และค่อยติดต่อไปยังกระทรวงคมนาคม

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.    รถโดยสารสาธารณะประเภท รถทัวร์ แท็กซี่ รถตู้ สามารถร้องเรียนผ่านศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ กรมการขนส่งภายใน 

2.    รถเมล์ร้ององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.)

3.    เรือร้องเรียนกรมเจ้าท่า

4.    เครื่องบินร้องเรียนกรมการบินพลเรือน

5.    รถไฟร้องเรียนฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

6.    รถไฟฟ้าใต้ดินติดต่อบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) MRT, รถไฟลอยฟ้าติดต่อ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) BTS

7.    หากยังไม่มีการชำระหนี้ หรือบ่ายเบี่ยงหลบเลี่ยง ก็สามารถนำความเดือดร้อนนี้ไปร้องยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)  (กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้

8.    หากต้องการร้องเรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายติดต่อ รมต.ชัชชาติ หรือรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคมที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรง

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักสัญญาบริการที่เป็นธรรม และการให้บริการสาธารณะที่ดี และโปร่งใสไม่ทุจริต โดยต้องร้องเรียนต่อหน่วยงานรัฐที่ควบคุมคือ กรมการขนส่งเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพ และตรวจสอบการทุจริต โดยผู้โดยสารสามารถร้องเรียนได้ตามหน่วยงานต่างๆตามหน่วยงานข้างต้น รวมถึง สคบ. และฟ้องคดีผู้บริโภคได้ที่ศาลแพ่งฯ รวมถึงการร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางโดยพาหนะนั้นๆเป็นการเฉพาะ

 

ภาพประกอบจาก เฟซบุค รมต.ชัชชาติ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,