Skip to main content

ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว   แต่ในทางกลับกันมันก็เป็นแห่งรายได้ของคนจำนวนหนึ่งเหมือนกันตราบเท่าที่ยังมีคนซื้อ ก็มีคนขาย เมื่อมีคนขายก็ต้องมีลูกจ้างมาให้บริการ   แถมเวลาทำงานยังสลับกับเวลาเรียนของนักเรียนนักศึกษาเสียด้วย จึงช่วยให้ร้านต่างๆ หาเด็กที่อยากหารายได้เสริมเข้ามาทำงานได้ไม่ยากนัก ซึ่งก็มีนักศึกษาซึ่งหางานพิเศษทำแต่มีปัญหากับนายจ้างเข้ามาปรึกษาอยู่เนืองๆ อย่างเช่นเรื่องของน้องคนนี้ครับ

“ข้าพเจ้าได้ไปสมัครทำงานพิเศษแห่งหนึ่งซึ่งเป็นงานบริการหรือพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหาร โดยเวลางานของข้าพเจ้าจะเริ่มทำตั้งแต่ 5 โมงเย็นถึงตี 1 ทุกวัน  ซึ่งก็มีพนักงานคนอื่นๆทำงานอยู่ในกะเวลาเดียวกันอยู่ด้วยหลายคน   แต่ข้าพเจ้ารู้สึกว่าถ้าร้านเปิดห้าโมงเย็นเราควรต้องมาเตรียมร้านตั้งแต่ก่อนเวลาเปิดขายจึงได้มาเริ่มงานก่อนเวลา ส่วนตอนเลิกร้านก็ต้องอยู่ช่วยเก็บกวาดจัดร้านให้เข้าที่จนกว่าจะเสร็จก็ดึกเกินเวลาปิดร้านไปอีกเกือบชั่วโมง ซึ่งก็เท่ากับว่ามาทำงานล่วงเวลาที่ตกลงกันไว้แต่แรก ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าคงยังเป็นช่วงเวลาหนึ่งถึงสองวันแรกในการทำงานใหม่ จึงไม่คิดอะไรเพราะไม่อยากสร้างเรื่องให้วุ่นวายและคิดว่าเจ้าของร้านและเพื่อนๆร่วมงานจะประทับใจเราไปด้วย

แต่พอหลังจากนั้น 4-5 วัน ข้าพเจ้าเริ่มเห็นว่าข้าพเจ้าต้องทำงานจัดเก็บโต๊ะเก้าอี้เองเพราะคนอื่นเห็นว่าทำได้ ตั้งแต่ 5 โมง-1 ทุ่มคนเดียว  จึงกลายเป็นว่านอกจากการเสิร์ฟอาหารเครื่องดื่มแล้วคนอื่นไม่มาช่วยงานใช้แรงที่เป็นงานขนโต๊ะ จัดโต๊ะเข้าร้าน ซึ่งใช้แรงงานหนักเลย   เหมือนข้าพเจ้าเหมาทำทั้งหมดโดยลำพัง   ช่วงหลังๆข้าพเจ้ามาช้ากว่าปกติ 30-40 นาทีเนื่องจากกว่าจะเลิกเรียนก็สี่โมง ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์นัดสอนเพิ่มอีกหนึ่งชั่วโมงเพราะใกล้สอบ  ซึ่งพอมาถึงร้านก็ยังไม่มีใครจัดโต๊ะเก้าอี้ทำให้ข้าพเจ้าต้องจัดโต๊ะคนเดียวเหมือนอย่างทุกวันที่ทำ ไม่มีใครมาช่วยเลย และเจ้าของร้านก็มาต่อว่าข้าพเจ้ามาช้ามาก ส่วนพนักงานคนอื่นเจ้าของร้านกลับไม่ดุด่าว่ากล่าว ทั้งที่ข้าพเจ้ามาก่อนเป็นคนแรก และยังเป็นคนจัดโต๊ะเก้าอี้อีกด้วย

เรื่องการค่าตอบแทนก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคนทำงานคล้ายๆกัน จึงได้เงินเดือนไม่เท่ากัน   ทั้งที่งานก็ไม่ได้อาศัยประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญอะไร แถมส่วนใหญ่ข้าพเจ้าก็ใช้แรงงานหนักกว่าคนอื่นเสียด้วยซ้ำ  แต่ข้าพเจ้าก็พยายามอดทนทำงานให้ได้ครบรอบ 1 เดือนปฏิทิน ซึ่งเจ้าของก็ยังไม่จ่ายเงินเดือนให้สักทีทั้งที่เงินนั้นไม่ได้มากซักเท่าไหร่ ซึ่งสิ่งทีได้มาจากเจ้าของร้านบอกว่าข้าพเจ้าต้องทำงานให้ครบ 30 วันที่ทำงานจริงก่อนถึงจะได้เงินเดือน ซึ่งนั่นเป็นความไม่เป็นธรรมสำหรับข้าพเจ้าเลย เพราะเจ้าของร้านจ่ายเงินให้พนักงานคนอื่นทั้งหมดทุกคนในวันสิ้นเดือนนั้น   ข้าพเจ้าก็เลยเข้าไปทวงถามและขอร้องให้จ่ายตามสัดส่วนที่ได้ทำงานไปแต่ก็ไม่สำเร็จ   ดังนั้นข้าพเจ้าจึงรอต่อไปอีกห้าวันให้ครบ 30 วัน แล้วไปขอเบิกเงินเพราะไม่อยากทำงานที่นี่อีกแล้ว เนื่องจากใกล้จะถึงเวลาสอบ และอาจารย์ก็นัดเรียนเพิ่มช่วงเย็น ไหนจะเลิกดึกล่วงเวลาทำให้อ่านหนังสือไม่ได้ ความสามารถในการตั้งใจอ่านหนังสือก็น้อยลง แต่ก็กลับไม่เป็นตามแผน เพราะเจ้าของร้านบอกว่าจะเบิกเงินให้เป็นพิเศษคนเดียวไม่ได้ ต้องรอให้ครบสิ้นเดือนปฏิทินเดือนนี้เสียก่อน  

แต่เรื่องใหญ่กว่านั้น คือ ในช่วงที่ทำงานข้าพเจ้ามีหน้าที่ต้องคอยไปดูรถที่จอดหน้าร้างไม่ให้กีดขวางการจราจรของคนทั่วไป และให้ปลอดภัยจากการขโมยหรือความเสียหายทั้งหลาย   จนวันหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าไปพบว่ามีรถของลูกค้าคนหนึ่งจอดขวางทางเข้าออกของคนในซอยจึงเข้าไปบอกให้ลูกค้าท่านนั้นเลือนรถให้หน่อย แต่เจ้าของรถที่อยู่ในอาการมึนเมากลับหงุดหงิดหัวเสีย และด่าว่าข้าพเจ้าก่อนจะออกไปเลือนรถ แต่โดนคนในซอยต่อว่า จนเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทกัน พอข้าพเจ้าเข้าไปห้ามกลายเป็นโดนลูกหลงจนได้รับบาดเจ็บ ต้องเข้าไปทำแผลที่โรงพยาบาลแต่เจ้าของร้านไม่ช่วยค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น รวมถึงยังกลายเป็นด่าว่าที่ข้าพเจ้าทำให้เกิดเรื่องที่ร้านจนเกือบจะเสียลูกค้าไป

วิธีแก้ไขในขณะนั้นจึงทำได้เพียงปล่อยวางกับสิ่งทีเกิดขึ้นเพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องมีปัญหาอันเป็นบ่อเกิดให้เราไม่มีความสุขในการทำงาน  โดยพยามปรับความเข้าใจกับเพื่อนร่วมงาน และบอกเพื่อนร่วมงานคนอื่นช่วยทำงานให้ตรงเวลา    ถ้ามีคนมาสายก็คิดว่าควรจะแจ้งให้เจ้าของร้าแต่ก็ไม่กล้าเพราะกลัวโดนคนอื่นรังเกียจ  ตอนนั้นก็ถามเรื่องเงินเดือนจากผู้จ้างเพราะเป็นสิทธิ์เราเพื่อความเป็นธรรมในความตรงเวลาที่ลูกจ้างอย่างเราควรได้รับแต่ก็ไม่ได้รับคำตอบอะไร เพียงแต่บอกว่าถ้าไม่อยากทำก็ออกไป มีคนใหม่รอเข้ามาแทนที่อีกเยอะ  จนสุดท้ายต้องออกไปหางานใหม่ให้เรามีความสุขกว่างานที่ทำนั้นๆ เพื่อจะได้พบปะผู้คนใหม่ๆมากขั้น เพื่อสั่งสมประสบการณ์ไว้ปรับใช้ประยุกต์กับธุรกิจเราในวันข้างหน้า”

วิเคราะห์ปัญหา

1.              การจ้างงานจะผูกพันกันด้วยวิธีการอย่างไร และตกลงเงื่อนไขกันได้หรือไม่

2.              หากมีการให้ทำงานโดยไม่ตกกับที่ตกลงกันไว้จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร

3.              ค่าจ้างที่ตกลงกันไว้ครอบคลุมการทำงานล่วงเวลาหรือไม่ หากมีการทำงานเพิ่มเติมจะได้รับค่าจ้างพิเศษหรือไม่

4.              ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่จะเรียกร้องให้ใครรับผิดชอบได้บ้าง

5.              หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการจ้างงาน ลูกจ้างจะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.              การจ้างงานจะผูกพันกันด้วยการตกลงกันระหว่างสองฝ่าย ซึ่งกรณีนี้เป็นการจ้างแรงงาน คือ ต้องให้รายละเอียดในการทำงานเพื่อให้เห็นขอบเขตในการทำงาน   ต่างจากการจ้างทำของที่ไม่กำหนดรายละเอียดแต่จะกำหนดเป้าหมาย   ดังนั้นต้องดูรายละเอียดแต่อาจเทียบเคียงจากคนอื่นที่ทำตำแหน่งเดียวกัน

2.              หากมีการให้ทำงานโดยไม่ตกกับที่ตกลงกันไว้จะสามารถเจรจาเพื่อให้มีการทำงานตามที่ตกลงกันได้ หรือไม่ก็เป็นเหตุให้เลิกสัญญาโดยได้รับค่าจ้างของงานที่ได้ทำไปแล้ว เนื่องจากไม่ใช่ความผิดของฝ่ายลูกจ้าง

3.              ค่าจ้างที่ตกลงกันไว้ครอบคลุมการทำงานตามเวลาที่ตกลง คือ ห้าโมง ถึง ตีหนึ่ง คือ 8 ชั่วโมง หากมีการทำงานเพิ่มเติมจะต้องได้รับค่าจ้างพิเศษตามชั่วโมงที่เกินไปตามจริง ยิ่งเป็นวันหยุดจะได้รับเป็นสองเท่า

4.              ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่จะเรียกร้องให้นายจ้างรับผิดชอบได้เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องดูแลสวัสดิภาพของลูกจ้าง

5.              หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการจ้างงานลูกจ้างจะดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมายแรงงาน คือ เจรจา แล้วร้องต่อหน่วยงานรัฐ และฟ้องศาล

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.              ลูกจ้างอาจเข้าเจรจากับนายจ้างได้ในเบื้องต้น หากไม่สำเร็จ

2.              ลูกจ้างอาจร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงาน หรือสำนักงานแรงงานประจำจังหวัด

3.              มาตรการขั้นสูงสุด คือ ฟ้องต่อศาลแรงงานกลางหรือศาลแรงงานจังหวัด โดยศาลจะใช้ระบบไตรภาคีมีตัวแทนนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้พิพากษาอาชีพ

สรุปแนวทางแก้ไข

                ใช้หลักกฎหมายนิติกรรมสัญญาจ้างแรงงาน และกฎหมายแรงงานส่วนสวัสดิการ   ซึ่งกรณีนี้จะต้องมีการจ่ายค่าล่วงเวลา และค่าจ้างปกติ การควบคุมสภาพการทำงานให้ตรงกับข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้  ทั้งนายจ้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ลูกจ้างจากการทำงาน  โดยลูกจ้างอาจร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงาน และฟ้องต่อศาลแรงงานจังหวัด

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม