Skip to main content

ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว   แต่ในทางกลับกันมันก็เป็นแห่งรายได้ของคนจำนวนหนึ่งเหมือนกันตราบเท่าที่ยังมีคนซื้อ ก็มีคนขาย เมื่อมีคนขายก็ต้องมีลูกจ้างมาให้บริการ   แถมเวลาทำงานยังสลับกับเวลาเรียนของนักเรียนนักศึกษาเสียด้วย จึงช่วยให้ร้านต่างๆ หาเด็กที่อยากหารายได้เสริมเข้ามาทำงานได้ไม่ยากนัก ซึ่งก็มีนักศึกษาซึ่งหางานพิเศษทำแต่มีปัญหากับนายจ้างเข้ามาปรึกษาอยู่เนืองๆ อย่างเช่นเรื่องของน้องคนนี้ครับ

“ข้าพเจ้าได้ไปสมัครทำงานพิเศษแห่งหนึ่งซึ่งเป็นงานบริการหรือพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหาร โดยเวลางานของข้าพเจ้าจะเริ่มทำตั้งแต่ 5 โมงเย็นถึงตี 1 ทุกวัน  ซึ่งก็มีพนักงานคนอื่นๆทำงานอยู่ในกะเวลาเดียวกันอยู่ด้วยหลายคน   แต่ข้าพเจ้ารู้สึกว่าถ้าร้านเปิดห้าโมงเย็นเราควรต้องมาเตรียมร้านตั้งแต่ก่อนเวลาเปิดขายจึงได้มาเริ่มงานก่อนเวลา ส่วนตอนเลิกร้านก็ต้องอยู่ช่วยเก็บกวาดจัดร้านให้เข้าที่จนกว่าจะเสร็จก็ดึกเกินเวลาปิดร้านไปอีกเกือบชั่วโมง ซึ่งก็เท่ากับว่ามาทำงานล่วงเวลาที่ตกลงกันไว้แต่แรก ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าคงยังเป็นช่วงเวลาหนึ่งถึงสองวันแรกในการทำงานใหม่ จึงไม่คิดอะไรเพราะไม่อยากสร้างเรื่องให้วุ่นวายและคิดว่าเจ้าของร้านและเพื่อนๆร่วมงานจะประทับใจเราไปด้วย

แต่พอหลังจากนั้น 4-5 วัน ข้าพเจ้าเริ่มเห็นว่าข้าพเจ้าต้องทำงานจัดเก็บโต๊ะเก้าอี้เองเพราะคนอื่นเห็นว่าทำได้ ตั้งแต่ 5 โมง-1 ทุ่มคนเดียว  จึงกลายเป็นว่านอกจากการเสิร์ฟอาหารเครื่องดื่มแล้วคนอื่นไม่มาช่วยงานใช้แรงที่เป็นงานขนโต๊ะ จัดโต๊ะเข้าร้าน ซึ่งใช้แรงงานหนักเลย   เหมือนข้าพเจ้าเหมาทำทั้งหมดโดยลำพัง   ช่วงหลังๆข้าพเจ้ามาช้ากว่าปกติ 30-40 นาทีเนื่องจากกว่าจะเลิกเรียนก็สี่โมง ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์นัดสอนเพิ่มอีกหนึ่งชั่วโมงเพราะใกล้สอบ  ซึ่งพอมาถึงร้านก็ยังไม่มีใครจัดโต๊ะเก้าอี้ทำให้ข้าพเจ้าต้องจัดโต๊ะคนเดียวเหมือนอย่างทุกวันที่ทำ ไม่มีใครมาช่วยเลย และเจ้าของร้านก็มาต่อว่าข้าพเจ้ามาช้ามาก ส่วนพนักงานคนอื่นเจ้าของร้านกลับไม่ดุด่าว่ากล่าว ทั้งที่ข้าพเจ้ามาก่อนเป็นคนแรก และยังเป็นคนจัดโต๊ะเก้าอี้อีกด้วย

เรื่องการค่าตอบแทนก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคนทำงานคล้ายๆกัน จึงได้เงินเดือนไม่เท่ากัน   ทั้งที่งานก็ไม่ได้อาศัยประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญอะไร แถมส่วนใหญ่ข้าพเจ้าก็ใช้แรงงานหนักกว่าคนอื่นเสียด้วยซ้ำ  แต่ข้าพเจ้าก็พยายามอดทนทำงานให้ได้ครบรอบ 1 เดือนปฏิทิน ซึ่งเจ้าของก็ยังไม่จ่ายเงินเดือนให้สักทีทั้งที่เงินนั้นไม่ได้มากซักเท่าไหร่ ซึ่งสิ่งทีได้มาจากเจ้าของร้านบอกว่าข้าพเจ้าต้องทำงานให้ครบ 30 วันที่ทำงานจริงก่อนถึงจะได้เงินเดือน ซึ่งนั่นเป็นความไม่เป็นธรรมสำหรับข้าพเจ้าเลย เพราะเจ้าของร้านจ่ายเงินให้พนักงานคนอื่นทั้งหมดทุกคนในวันสิ้นเดือนนั้น   ข้าพเจ้าก็เลยเข้าไปทวงถามและขอร้องให้จ่ายตามสัดส่วนที่ได้ทำงานไปแต่ก็ไม่สำเร็จ   ดังนั้นข้าพเจ้าจึงรอต่อไปอีกห้าวันให้ครบ 30 วัน แล้วไปขอเบิกเงินเพราะไม่อยากทำงานที่นี่อีกแล้ว เนื่องจากใกล้จะถึงเวลาสอบ และอาจารย์ก็นัดเรียนเพิ่มช่วงเย็น ไหนจะเลิกดึกล่วงเวลาทำให้อ่านหนังสือไม่ได้ ความสามารถในการตั้งใจอ่านหนังสือก็น้อยลง แต่ก็กลับไม่เป็นตามแผน เพราะเจ้าของร้านบอกว่าจะเบิกเงินให้เป็นพิเศษคนเดียวไม่ได้ ต้องรอให้ครบสิ้นเดือนปฏิทินเดือนนี้เสียก่อน  

แต่เรื่องใหญ่กว่านั้น คือ ในช่วงที่ทำงานข้าพเจ้ามีหน้าที่ต้องคอยไปดูรถที่จอดหน้าร้างไม่ให้กีดขวางการจราจรของคนทั่วไป และให้ปลอดภัยจากการขโมยหรือความเสียหายทั้งหลาย   จนวันหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าไปพบว่ามีรถของลูกค้าคนหนึ่งจอดขวางทางเข้าออกของคนในซอยจึงเข้าไปบอกให้ลูกค้าท่านนั้นเลือนรถให้หน่อย แต่เจ้าของรถที่อยู่ในอาการมึนเมากลับหงุดหงิดหัวเสีย และด่าว่าข้าพเจ้าก่อนจะออกไปเลือนรถ แต่โดนคนในซอยต่อว่า จนเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทกัน พอข้าพเจ้าเข้าไปห้ามกลายเป็นโดนลูกหลงจนได้รับบาดเจ็บ ต้องเข้าไปทำแผลที่โรงพยาบาลแต่เจ้าของร้านไม่ช่วยค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น รวมถึงยังกลายเป็นด่าว่าที่ข้าพเจ้าทำให้เกิดเรื่องที่ร้านจนเกือบจะเสียลูกค้าไป

วิธีแก้ไขในขณะนั้นจึงทำได้เพียงปล่อยวางกับสิ่งทีเกิดขึ้นเพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องมีปัญหาอันเป็นบ่อเกิดให้เราไม่มีความสุขในการทำงาน  โดยพยามปรับความเข้าใจกับเพื่อนร่วมงาน และบอกเพื่อนร่วมงานคนอื่นช่วยทำงานให้ตรงเวลา    ถ้ามีคนมาสายก็คิดว่าควรจะแจ้งให้เจ้าของร้าแต่ก็ไม่กล้าเพราะกลัวโดนคนอื่นรังเกียจ  ตอนนั้นก็ถามเรื่องเงินเดือนจากผู้จ้างเพราะเป็นสิทธิ์เราเพื่อความเป็นธรรมในความตรงเวลาที่ลูกจ้างอย่างเราควรได้รับแต่ก็ไม่ได้รับคำตอบอะไร เพียงแต่บอกว่าถ้าไม่อยากทำก็ออกไป มีคนใหม่รอเข้ามาแทนที่อีกเยอะ  จนสุดท้ายต้องออกไปหางานใหม่ให้เรามีความสุขกว่างานที่ทำนั้นๆ เพื่อจะได้พบปะผู้คนใหม่ๆมากขั้น เพื่อสั่งสมประสบการณ์ไว้ปรับใช้ประยุกต์กับธุรกิจเราในวันข้างหน้า”

วิเคราะห์ปัญหา

1.              การจ้างงานจะผูกพันกันด้วยวิธีการอย่างไร และตกลงเงื่อนไขกันได้หรือไม่

2.              หากมีการให้ทำงานโดยไม่ตกกับที่ตกลงกันไว้จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร

3.              ค่าจ้างที่ตกลงกันไว้ครอบคลุมการทำงานล่วงเวลาหรือไม่ หากมีการทำงานเพิ่มเติมจะได้รับค่าจ้างพิเศษหรือไม่

4.              ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่จะเรียกร้องให้ใครรับผิดชอบได้บ้าง

5.              หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการจ้างงาน ลูกจ้างจะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.              การจ้างงานจะผูกพันกันด้วยการตกลงกันระหว่างสองฝ่าย ซึ่งกรณีนี้เป็นการจ้างแรงงาน คือ ต้องให้รายละเอียดในการทำงานเพื่อให้เห็นขอบเขตในการทำงาน   ต่างจากการจ้างทำของที่ไม่กำหนดรายละเอียดแต่จะกำหนดเป้าหมาย   ดังนั้นต้องดูรายละเอียดแต่อาจเทียบเคียงจากคนอื่นที่ทำตำแหน่งเดียวกัน

2.              หากมีการให้ทำงานโดยไม่ตกกับที่ตกลงกันไว้จะสามารถเจรจาเพื่อให้มีการทำงานตามที่ตกลงกันได้ หรือไม่ก็เป็นเหตุให้เลิกสัญญาโดยได้รับค่าจ้างของงานที่ได้ทำไปแล้ว เนื่องจากไม่ใช่ความผิดของฝ่ายลูกจ้าง

3.              ค่าจ้างที่ตกลงกันไว้ครอบคลุมการทำงานตามเวลาที่ตกลง คือ ห้าโมง ถึง ตีหนึ่ง คือ 8 ชั่วโมง หากมีการทำงานเพิ่มเติมจะต้องได้รับค่าจ้างพิเศษตามชั่วโมงที่เกินไปตามจริง ยิ่งเป็นวันหยุดจะได้รับเป็นสองเท่า

4.              ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่จะเรียกร้องให้นายจ้างรับผิดชอบได้เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องดูแลสวัสดิภาพของลูกจ้าง

5.              หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการจ้างงานลูกจ้างจะดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมายแรงงาน คือ เจรจา แล้วร้องต่อหน่วยงานรัฐ และฟ้องศาล

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.              ลูกจ้างอาจเข้าเจรจากับนายจ้างได้ในเบื้องต้น หากไม่สำเร็จ

2.              ลูกจ้างอาจร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงาน หรือสำนักงานแรงงานประจำจังหวัด

3.              มาตรการขั้นสูงสุด คือ ฟ้องต่อศาลแรงงานกลางหรือศาลแรงงานจังหวัด โดยศาลจะใช้ระบบไตรภาคีมีตัวแทนนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้พิพากษาอาชีพ

สรุปแนวทางแก้ไข

                ใช้หลักกฎหมายนิติกรรมสัญญาจ้างแรงงาน และกฎหมายแรงงานส่วนสวัสดิการ   ซึ่งกรณีนี้จะต้องมีการจ่ายค่าล่วงเวลา และค่าจ้างปกติ การควบคุมสภาพการทำงานให้ตรงกับข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้  ทั้งนายจ้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ลูกจ้างจากการทำงาน  โดยลูกจ้างอาจร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงาน และฟ้องต่อศาลแรงงานจังหวัด

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว