Skip to main content

เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการปรับลดจำนวนคนงานออกจากตำแหน่ง   ทั้งที่ตอนผลิตแล้วมีกำไรมากมายคนงานก็ไม่ได้อะไรเพิ่มขึ้นนอกจากค่าจ้างตามจำนวนชั่วโมงและชิ้นงานที่ผลิต   แต่เมื่อเกิดวิกฤตกับเป็นคนงานที่ต้องเสียสละทุกสิ่งไปเป็นกลุ่มแรก   ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นทั่วโลกจนต้องมีการพยายามวางมาตรการรองรับคนทำงานไม่ให้ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะต้องตกงานกะทันหันโดยไม่ทันตั้งตัว   ด้วยระบบการสร้างอำนาจต่อรองให้แรงงานรวมตัวกันตั้งสหภาพเพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตและต่อรองให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ใช้แรงงานที่เป็นผู้สร้างผลผลิตบ้างเช่นกัน   แต่ในหลายครั้งการต่อรองของผู้ใช้แรงงานก็ต้องเผชิญกับกระบวนการต่อต้านและสลายอำนาจในการเจรจาด้วยอวิชชาหลายรูปแบบโดยเฉพาะมาตรการทางกฎหมายที่จะเห็นได้จากประสบการณ์ของพี่น้องผู้ใช้แรงงานกลุ่มนี้ครับ

“ในช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ มีโรงงานแห่งหนึ่งซึ่งเป็นสาขาของบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่เป็นเจ้าของแบรนด์ดังระดับโลกได้เริ่มทยอยปลดคนงานในประเทศต่างๆลง  โดยยังคงคนงานในประเทศไทยไว้เพราะเป็นแรงงานมีฝีมือพิเศษประณีตกว่าที่อื่นและยังมีค่าแรงถูกกว่าในประเทศที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน    จนมาถึงช่วงหนึ่งซึ่งบริษัทเริ่มปรับมาใช้วิธีลดชั่วโมงการทำงานของโรงงานสาขาหนึ่งจนพนักงานจำนวนหนึ่งมีรายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ได้ทำโอที และไม่มีโบนัสรางวัลในการสะสมชิ้นงานที่ทำได้มากอย่างเช่นแต่ก่อน   จนคนงานลาออกกันไปล็อตใหญ่ รวมถึงมีการเลิกจ้างพนักงานบางส่วนที่มีอายุมากด้วยโดยบอกว่าบริษัทมีปัญหาทางเศรษฐกิจ  แต่บริษัทกลับเพิ่มปริมาณงานให้กับคนงานที่อยู่ในโรงงานอีกสาขาหนึ่งเต็มกำลังการทำงาน คือ 12 ชั่วโมงต่อวัน แถมยังนำระบบโบนัสจำนวนชิ้นงานต่อหนึ่งชั่วโมงมาล่อให้คนงานทำอย่างเต็มกำลังจนถึงขนาดไม่ลุกไปดื่มน้ำหรือเข้าห้องน้ำกันเลยทีเดียว   และได้มีการสลับการเพิ่มลดชั่วโมงการทำงานไปมาระหว่างสาขาจนนำมาซึ่งการลาออกของคนงานในอีกสาขาหนึ่งเช่นกัน

หลังจากที่คนงานได้พบกับเจ้าหน้าที่ของกรมแรงงาน และมีเพื่อนผู้ใช้แรงงานจากที่อื่นมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเสนอแนะวิถีทางในการสร้างความมั่นคงในชีวิตให้ จึงตัดสินใจว่าจะมีการรวมกลุ่มคนงานในโรงงานขึ้นเป็นสหภาพแรงงานประจำบริษัทแห่งนี้ เพื่อจะได้มีพื้นที่ในการพูดคุยสถานการณ์ต่างๆ และหาทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของเพื่อนๆผู้ใช้แรงงานร่วมกันในบริษัท เพราะจากประสบการณ์การลดชั่วโมงที่ผ่านมาทำให้เห็นว่า บางทีการไม่ได้คุยกัน พบปะปรึกษาหารือ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ก็ทำให้ไม่เข้าใจภาพรวมของสถานการณ์ทั้งหมด แค่เรื่องของคนงานบริษัทเดียวกันแต่ต่างสาขาก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น จนทำให้เกิดการลาออกด้วยวิธีการง่ายๆอย่างที่ว่ามาข้างต้น  จนบริษัทแห่งนี้มีสหภาพแรงงานขึ้นมาเป็นตัวแทนของลูกจ้างเพื่อพูดคุยปัญหาในการทำงานและสวัสดิการต่างๆที่พึงได้รับตามกฎหมาย และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนงานให้มีขวัญกำลังใจในการทำงานมากขึ้น

ผ่านมาได้สักระยะหนึ่ง ทางบริษัทก็ได้ปรับตัวครั้งใหญ่โดยได้ปรับลดสวัสดิการของคนงานลง  และพยายามคัดคนงานที่ไม่จำเป็นออก อีกทั้งยังใช้มาตรการลดเงินเดือนของคนงานลงด้วย เมื่อมีมาตรการดังกล่าวออกมาจึงเป็นเหตุทำให้มีคนงานบางส่วนทยอยลาออกจากโรงงาน ซึ่งการลาออกของคนงานจะทำให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชย เวลาผ่านไป 1 เดือนมีผู้ใช้แรงงานลาออกจากโรงงานเหลือคนงานแค่สามส่วนสี่จากจำนวนเดิม จึงเป็นเหตุทำให้คนงานที่เหลือจะต้องทำงานหนักมากขึ้น อีกทั้งยังไม่มีการเพิ่มเงินเดือนให้อีก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุให้คนงานโรงงานที่ทำงานในโรงงานดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปีทนไม่ไหวจึงต้องลาออกจากโรงงานเดิม ทั่งทีไม่มีงานใหม่มารองรับ แต่ตนเองก็ทนรับภาระงานที่หนักอึ้งต่อไปไม่ได้ โดยการลาออกดังกล่าวก็ไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆ นอกจากเงินเดือนเดือนสุดท้าย

นอกจากนั้นทางพี่น้องผู้ใช้แรงงานที่เข้ามาปรึกษายังพบว่า คนงานที่ถูกคัดออกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกในสหภาพแรงงาน โดยคนที่ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจะโดนปรับออกแทบทั้งสิ้น   จึงได้เข้ามาปรึกษาว่าจะหาทางแก้ไขอย่างไรไม่ให้สหภาพแรงงานที่เป็นตัวแทนในการเจรจาต่อรองถูกทำลายลงไป เพราะในขณะนี้คนงานที่เหลือไม่มีที่พึ่งใดๆ มากนัก เพราะผู้นำสหภาพโดนไล่ออกไปเกือบหมดแล้ว   บางกรณีสมาชิกสหภาพไปร้องเรียนกับกรมแรงงาน ก็จะโดนข้อกล่าวหานินทาว่าร้ายต่างๆ รวมไปถึงเชื่อมโยงว่ากิจกรรมของสหภาพทำลายชื่อเสียงของบริษัท เช่น การเอาชื่อบริษัทไปเข้าร่วมการทำกิจกรรมแรงงานประจำปี หรือมีหัวหน้าสหภาพบางคนไปเคลื่อนไหวประเด็นทางสังคม เช่น หัวหน้าสหภาพแรงงานหญิงคนหนึ่งซึ่งไปเรียกร้องสิทธิในการทำแท้งอย่างปลอดภัยและเป็นการตัดสินใจอนาคตของแรงงานที่มีฐานะยากจนเลี้ยงลูกไม่ไหว ก็ถูกกล่าวหาว่าทำให้ชื่อเสียงบริษัทเสียหายที่ไปสนับสนุนการทำแท้ง เป็นต้น”

วิเคราะห์ปัญหา

1.             บริษัทสามารถเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจหรือไม่

2.             หากบริษัทจะเลิกจ้างจะต้องมีการดำเนินการอย่างไรก่อน หรือชดเชยอย่างไรหลังเลิกจ้างบ้าง

3.             ในช่วงที่ผู้ใช้แรงงานว่างงานจะมีสิทธิแต่อย่างใดบ้าง

4.             แรงงานมีสิทธิรวมกลุ่มเป็นสหภาพและต่อรองกับบริษัทหรือไม่ การเปลี่ยนสภาพการจ้างงานโดยไม่ตกลงกับสหภาพก่อนจะมีผลบังคับทางกฎหมายหรือไม่

5.             บริษัทสามารถเลิกจ้างลูกจ้างที่มีตำแหน่งบริหารในสหภาพแรงงานทันทีหรือไม่

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             บริษัทอาจเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจตามสภาพความเป็นจริงทางธุรกิจ

2.             หากบริษัทจะเลิกจ้างจะต้องมีการแจ้งล่วงหน้าในลูกจ้างรู้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัวก่อน และต้องจ่ายค่าชดเชยหลังเลิกจ้างตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด โดยคำนวณตามระยะเวลาที่เคยทำงานมา

3.             ในช่วงที่ผู้ใช้แรงงานว่างงานจะมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนสวัสดิการสังคมที่เคยจ่ายสมทบไว้

4.             แรงงานในสถานประกอบการมีสิทธิรวมกลุ่มเป็นสหภาพและต่อรองกับบริษัทได้ การเปลี่ยนสภาพการจ้างงานจะต้องตกลงกับสหภาพก่อนจึงจะมีผลบังคับทางกฎหมาย

5.             บริษัทไม่อาจเลิกจ้างลูกจ้างที่มีตำแหน่งบริหารในสหภาพแรงงานตามอำเภอใจ นายจ้างต้องร้องขอต่อศาลแรงงานโดยให้ผลในการเลิกจ้างตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เช่น กรณีนี้ต้องพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างทำให้ผลประกอบการของบริษัทเสียหายจริงจากการกระทำของสมาชิกสหภาพ

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             ลูกจ้างอาจเข้าเจรจากับนายจ้างได้ในเบื้องต้น

2.             ลูกจ้างอาจรวมตัวกันโดยให้สหภาพสถานประกอบการเป็นตัวแทนในการเจรจากับนายจ้าง

3.             ลูกจ้างอาจร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงาน หรือสำนักงานแรงงานประจำจังหวัด

4.             การฟ้องร้องคดีทั้งหลายต้องดำเนินการในศาลแรงงานกลางหรือศาลแรงงานจังหวัด โดยศาลจะใช้ระบบไตรภาคีมีตัวแทนนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้พิพากษาอาชีพ

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักกฎหมาย สัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายสวัสดิการสังคมของแรงงาน ซึ่งกรณีนี้แม้นายจ้างอาจเลิกจ้างด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจก็ต้องมีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และจ่ายค่าชดเชยให้กับคนงาน   รวมถึงช่วงว่างงานก็สามารถได้รับเงินจากกองทุนสวัสดิการสังคมที่เคยจ่ายสมทบไว้   การปรับสภาพการจ้างต้องทำร่วมกันโดยนายจ้างเปลี่ยนเองฝ่ายเดียวไม่ได้   นอกจากนี้แรงงานยังมีสิทธิในการรวมกลุ่มกันตั้งสหภาพในสถานประกอบการได้โดยนายจ้างจะไล่สมาชิกสภาพระดับบริหารโดยพลการไม่ได้ต้องขออำนาจศาลแรงงานก่อน

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,