Skip to main content

เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า

 "เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อยี่สิบปีก่อน  เมื่อครอบครัวข้าพเจ้าเปิดกิจการโรงแรมชื่อดังอยู่ที่เกาะแห่งหนึ่งทางภาคใต้   ในคืนเกิดเหตุพ่อข้าพเจ้าได้พูดคุยธุรกิจอยู่กับผู้ที่มาติดต่อในเวลาดึกพอสมควรเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นส่วนและการควบรวมกิจการโรงแรม   ส่วนข้าพเจ้าและแม่นอนพักแยกอยู่ภายในห้องพักด้านหลังโรงแรม    แต่มีเสียงหนึ่งทำให้เราสามคนตื่นมาดู นั้นคือเสียงปืนดังลั่นอยู่หลายนัด  แม่และข้าพเจ้าตกใจมากว่าเกิดอะไรขึ้น และเป็นห่วงด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพ่อ  จึงรีบลุกขึ้นเพื่อจะออกไปดูว่าเกิดอะไรขึ้น   เพียงแค่เปิดประตูออกไปดูก็พบว่าพ่อมีเลือดอาบทั่วทั้งตัว  แม่รีบพาพ่อไปส่งโรงพยาบาล โชคดีที่พ่อรอดชีวิตมาได้ แพทย์สรุปอาการว่าพ่อถูกยิงเข้าร่างกายทั้งหมด 11 นัด

หลังจากวันนั้น แม่ได้พยายามดำเนินการทุกอย่างเพื่อหาผู้ให้ตำรวจจับตัวคนที่ยิงพ่อมาลงโทษ   โดยแม่ได้เข้าแจ้งความกับตำรวจอย่างรวดเร็วหลังเกิดเหตุการณ์ไม่นาน ตำรวจก็มาที่โรงแรมแล้วก็กลับไปโดยบอกว่า จะรวบรวมพยานหลักฐานแล้วจับตัวคนร้ายมาให้ได้ ไม่ต้องเป็นห่วงเจ้าหน้าที่จะทำสุดความสามารถ ให้ดูแลครอบครัวกันให้ดี ถ้ามีความคืบหน้าอะไรจะแจ้งให้ทราบทันที

กระบวนการก็เดินไปเรื่อยๆ ตำรวจจับตัวคนที่พอบอกว่ายิงมาไม่ได้ ตำรวจอ้างว่าไม่มีพยานบุคคลที่เห็นเหตุการณ์ถึงจับมาได้ก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี ครอบครัวข้าพเจ้าประหลาดใจมากว่า ทั้งๆที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในบ้านและพ่อข้าพเจ้าก็เป็นคนถูกยิงเอง ทำไมต้องมีพยานบุคคลอื่นมายืนยันเพิ่มเติมเอง ลำพังคำยืนยันจากพ่อไม่เพียงพอหรืออย่างไร   ในช่วงแรกๆก็เข้าใจได้เพราะพ่ออยู่ห้อง ICU อาการสาหัสมากยังไม่อาจลุกมาให้ปากคำและบอกว่าใครเป็นคนยิง   แต่หลังจากพ้นอาการโคม่าแล้ว พ่อก็ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทุกอย่างเพื่อสืบหาคนร้ายมาให้ได้  

แต่สุดท้ายตำรวจไม่อาจตามคนร้ายที่ระบุได้ โดยให้เหตุผลว่าคนร้ายกลุ่มที่บอกว่ามาคุยธุรกิจกับพ่อนั้นได้หายไปจากพื้นที่แล้ว การพยายามติดตามนอกพื้นที่ก็ประสานงานอยู่แต่ยังไม่พบตัว จะพยายามตามตัวให้ได้ก่อนถึงจะเริ่มดำเนินคดีทางกฎหมายได้   เวลาผ่านไปเรื่อยๆ ครอบครัวของข้าพเจ้าต้องอยู่ในความหวาดผวาเพราะไม่รู้ว่าคนร้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายอีกหรือไม่ อีกทั้งยังรู้สึกหดหู่กันต่อไปเพราะเป็นคนที่รอการพิจารณาคดี แต่กระบวนการทางกฎหมายไม่อาจหาผู้กระทำผิด และดำเนินการลงโทษใครได้เลย   รวมถึงยังไม่สามารถสืบหาต้นตอของเรื่องว่าทำไมคนกลุ่มนี้ถึงต้องมายิงพ่อทั้งที่มาคุยธุรกิจกัน

ด้วยความกลัวจะเกิดเหตุการณ์ขึ้นซ้ำสองเพราะพ่อเริ่มระแคะระคายว่าจริงๆแล้วคนที่มาติดต่อธุรกิจอาจเป็นเพียงหน้าฉากของคนที่ต้องการฮุบกิจการของพ่อ คนที่พ่อสงสัยว่าอยากฆ่าพ่อเพื่อแย่งโรงแรมไปจริงๆน่าจะเป็น หุ้นส่วนคนอื่นๆซึ่งเป็นเพื่อนๆของพ่อที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น และมีเส้นสายกับคนมีสีหลายกลุ่มทำให้คดีไม่คืบหน้า   หากพ่อและครอบครัวยังอยู่ในเกานี้ต่อไปอาจจะถูกฆ่าล้างครอบครัวหรือจับใครไปข่มขู่เพิ่มเติมอีก ครอบครัวเราจึงประกาศขายกิจการในราคาที่แทบจะไม่เหลืออะไรให้เราไปทำกิจการโรงแรมอีกเลย

ก่อนที่จะย้ายออกจากเกาะ เดินทางไปเรื่อยๆ จนมาประกอบกิจการร้านอาหารเล็กๆที่เกาะเล็กๆอีกแห่งอื่น เพราะพ่อทำงานหนักไม่ได้จากอาการสั่นและแขนไม่มีแรงอันเกิดจากคมกระสุนที่ตัดเส้นประสาทและเอ็นบางจุด การใช้ชีวิตประจำวันก็ไม่เหมือนเดิม ต้องใช้เงินในการดูแลรักษาร่างกายต่อมาเรื่อยๆเป็นจำนวนไม่น้อยเลย จนวันหนึ่งพ่อได้เปิดหนังสือพิมพ์เจอข่าวรับสมัครงานที่ต่างจังหวัด ครอบครัวเราจึงตัดสินใจย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดด้วยกันเพื่อหนี เพราะไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก และต้องการความสงบสุขในชีวิตมากกว่ากังวลว่าใครจะมาทำร้ายอีก 

เมื่อจนถึงวันนี้ กฎหมายก็ยังไม่สามารถทำอะไรได้ไม่สามารถจับผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ เวลาผ่านไปเกือบ 20 ปี ความทรงจำทีเจ็บปวดของครอบครัวก็ค่อยๆเลือนรางไป กฎหมายก็คงจะลืมคดีที่ครอบครัวของข้าพเจ้าต้องประสบไปแล้วเช่นกัน"

                วิธีแก้ไขของครอบครัวข้าพเจ้าในตอนนั้นก็ทำได้แค่ “หนี”   ความกลัวส่งผลให้ครอบครัวข้าพเจ้าต้องทิ้งทุกอย่างทีมี ทั้งกิจการที่สร้างเนื้อสร้างตัวกับครอบครัว เพื่อน ญาติพี่น้อง ทุกอย่าง ที่เราต้องจากมากะทันหันและปิดบังความเคลื่อนไหว จนคนอื่นไม่สามารถจะรู้ได้ว่าครอบครัวเราอยู่ที่ไหนเพื่อความปลอดภัยของชีวิต   ทั้งหมดของชีวิตที่ต้องพเนจรไม่มีหลักไม่มีฐาน ก็เพราะเหตุการณ์เปลี่ยนชีวิตครอบครัวเราต้องเจอ และไม่มีใครช่วยอะไรเราได้เลย

วิเคราะห์ปัญหา

1.        การยิงผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บสาหัสเป็นความผิดทางกฎหมายหรือไม่ จะต้องได้รับโทษมากน้อยเพียงไหน

2.        กระบวนการในการติดตามผู้กระทำมาดำเนินคดีมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ใครต้องเป็นผู้ดำเนินการ และผู้เสียหายต้องทำอย่างไร

3.        ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไม่สั่งฟ้องคดี ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีได้เองหรือไม่

4.        หากคดีไม่คืบหน้าผู้เสียหายสามารถร้องเรียนให้หน่วยงานใดติดตามความคืบหน้าของคดีได้หรือไม่

5.        หากครอบครัวและผู้เสียหายรู้สึกอันตรายและเกรงว่าจะถูกทำร้าย สามารถเรียกหาการคุ้มครองจากรัฐได้หรือไม่

6.        ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเรียกร้องให้มีการเยียวยาได้หรือไม่ อย่างไรบ้าง

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.        การยิงผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บสาหัสเป็นความผิดทางอาญา หากดูจากบาดแผล 11 นัดจากอาวุธปืนจะถือเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ไม่ใช่ทำร้ายร่างการ จะต้องได้รับโทษหนักถ้าพิสูจน์ว่ามีการวางแผนล่วงหน้า

2.        โดยทั่วไปกระบวนการในการติดตามผู้กระทำมาดำเนินคดีนั้นเริ่มขั้นตอนโดยผู้เสียหายไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายปกครอง แล้วเจ้าหน้าที่ของรัฐจะเป็นผู้ติดตามผู้กระทำผิดและสืบสวนสอบสวนเพื่อรวบรวมหลักฐานมาทำสำนวนฟ้องต่อไป

3.        ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ตำรวจ และอัยการไม่สั่งฟ้องคดี ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีได้เองโดยจ้างทนายขึ้นมาโดยขอหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ หรือรวบรวมเอง เพื่อฟ้องต่อศาลได้โดยตรง

4.        หากคดีไม่คืบหน้าผู้เสียหายสามารถร้องเรียนให้กลไกต่างๆที่สร้างขึ้นมาเพื่อตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าทีรัฐได้

5.        หากครอบครัวและผู้เสียหายรู้สึกอันตรายและเกรงว่าจะถูกทำร้าย ในกรณีนี้อาจแจ้งให้เจ้าหน้าที่รัฐทราบ หรือร้องขอโดยตรงไปยังกรมคุ้มครองพยาน และสามารถย้ายครอบครัวไปอยู่ในสถานที่ปลอดภัยและมีงานทำได้ด้วย

6.        ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเรียกร้องให้มีการเยียวยาได้ตั้งแต่การทำสำนวนฟ้องคดี โดยให้เสนอค่าเสียหายไปในสำนวนได้ เพื่อให้อัยการนำสืบและขอให้ศาลอาญาสั่งให้ชดเชยค่าสินไหมทดแทน   และยังสามารถเรียกค่าเยียวยาเบื้องต้นจากกองทุนยุติธรรม

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             การฟ้องร้องดำเนินคดีทางอาญาเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือฝ่ายปกครอง เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปลัดอำเภอ  เพื่อดำเนินคดีอาญา

2.             คณะกรรมการประจำสถานทีตำรวจนั้น หรือคณะกรรมการระดับชาติได้   หรือแจ้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน   โดยมาตรการขั้นเด็ดขาดคือการฟ้องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ (ป.ป.ช.)

3.             ปัจจุบันสามารถเรียกหาการคุ้มครองจากกรมคุ้มครองพยาน กระทรวงยุติธรรม

4.             ค่าเสียหายและการเยียวยาขอให้ศาลอาญาสั่งให้ชดเชยค่าสินไหมทดแทนได้   และยังสามารถเรียกค่าเยียวยาเบื้องต้นจากกองทุนยุติธรรม

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักคดีความผิดต่อชีวิตทางอาญา และกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และกระบวนการคุ้มครองผู้เสียหายและพยาน   ซึ่งกรณีนี้หากได้แจ้งความให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีแล้วไม่คืบหน้า อาจร้องไปยังกองปราบและสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อเร่งรัดคดี หรือร้องเรียน ปปช. ปัจจุบันมีกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพที่ให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อในคดีอาญาและมีกองทุนฯซึ่งสามารถช่วยเหลือเบื้องต้น รวมถึงขอเข้าโครงการคุ้มครองพยานได้อีกด้วย   หากตำรวจและอัยการสั่งไม่ฟ้อง ก็อาจแต่งตั้งทนายให้ฟ้องคดีต่อศาลได้เองเพื่อเอาผิดต่อผู้ร่วมกระทำผิดและให้ชดเชยสินไหมทดแทนด้วย

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี