Skip to main content

เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า

 "เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อยี่สิบปีก่อน  เมื่อครอบครัวข้าพเจ้าเปิดกิจการโรงแรมชื่อดังอยู่ที่เกาะแห่งหนึ่งทางภาคใต้   ในคืนเกิดเหตุพ่อข้าพเจ้าได้พูดคุยธุรกิจอยู่กับผู้ที่มาติดต่อในเวลาดึกพอสมควรเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นส่วนและการควบรวมกิจการโรงแรม   ส่วนข้าพเจ้าและแม่นอนพักแยกอยู่ภายในห้องพักด้านหลังโรงแรม    แต่มีเสียงหนึ่งทำให้เราสามคนตื่นมาดู นั้นคือเสียงปืนดังลั่นอยู่หลายนัด  แม่และข้าพเจ้าตกใจมากว่าเกิดอะไรขึ้น และเป็นห่วงด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพ่อ  จึงรีบลุกขึ้นเพื่อจะออกไปดูว่าเกิดอะไรขึ้น   เพียงแค่เปิดประตูออกไปดูก็พบว่าพ่อมีเลือดอาบทั่วทั้งตัว  แม่รีบพาพ่อไปส่งโรงพยาบาล โชคดีที่พ่อรอดชีวิตมาได้ แพทย์สรุปอาการว่าพ่อถูกยิงเข้าร่างกายทั้งหมด 11 นัด

หลังจากวันนั้น แม่ได้พยายามดำเนินการทุกอย่างเพื่อหาผู้ให้ตำรวจจับตัวคนที่ยิงพ่อมาลงโทษ   โดยแม่ได้เข้าแจ้งความกับตำรวจอย่างรวดเร็วหลังเกิดเหตุการณ์ไม่นาน ตำรวจก็มาที่โรงแรมแล้วก็กลับไปโดยบอกว่า จะรวบรวมพยานหลักฐานแล้วจับตัวคนร้ายมาให้ได้ ไม่ต้องเป็นห่วงเจ้าหน้าที่จะทำสุดความสามารถ ให้ดูแลครอบครัวกันให้ดี ถ้ามีความคืบหน้าอะไรจะแจ้งให้ทราบทันที

กระบวนการก็เดินไปเรื่อยๆ ตำรวจจับตัวคนที่พอบอกว่ายิงมาไม่ได้ ตำรวจอ้างว่าไม่มีพยานบุคคลที่เห็นเหตุการณ์ถึงจับมาได้ก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี ครอบครัวข้าพเจ้าประหลาดใจมากว่า ทั้งๆที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในบ้านและพ่อข้าพเจ้าก็เป็นคนถูกยิงเอง ทำไมต้องมีพยานบุคคลอื่นมายืนยันเพิ่มเติมเอง ลำพังคำยืนยันจากพ่อไม่เพียงพอหรืออย่างไร   ในช่วงแรกๆก็เข้าใจได้เพราะพ่ออยู่ห้อง ICU อาการสาหัสมากยังไม่อาจลุกมาให้ปากคำและบอกว่าใครเป็นคนยิง   แต่หลังจากพ้นอาการโคม่าแล้ว พ่อก็ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทุกอย่างเพื่อสืบหาคนร้ายมาให้ได้  

แต่สุดท้ายตำรวจไม่อาจตามคนร้ายที่ระบุได้ โดยให้เหตุผลว่าคนร้ายกลุ่มที่บอกว่ามาคุยธุรกิจกับพ่อนั้นได้หายไปจากพื้นที่แล้ว การพยายามติดตามนอกพื้นที่ก็ประสานงานอยู่แต่ยังไม่พบตัว จะพยายามตามตัวให้ได้ก่อนถึงจะเริ่มดำเนินคดีทางกฎหมายได้   เวลาผ่านไปเรื่อยๆ ครอบครัวของข้าพเจ้าต้องอยู่ในความหวาดผวาเพราะไม่รู้ว่าคนร้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายอีกหรือไม่ อีกทั้งยังรู้สึกหดหู่กันต่อไปเพราะเป็นคนที่รอการพิจารณาคดี แต่กระบวนการทางกฎหมายไม่อาจหาผู้กระทำผิด และดำเนินการลงโทษใครได้เลย   รวมถึงยังไม่สามารถสืบหาต้นตอของเรื่องว่าทำไมคนกลุ่มนี้ถึงต้องมายิงพ่อทั้งที่มาคุยธุรกิจกัน

ด้วยความกลัวจะเกิดเหตุการณ์ขึ้นซ้ำสองเพราะพ่อเริ่มระแคะระคายว่าจริงๆแล้วคนที่มาติดต่อธุรกิจอาจเป็นเพียงหน้าฉากของคนที่ต้องการฮุบกิจการของพ่อ คนที่พ่อสงสัยว่าอยากฆ่าพ่อเพื่อแย่งโรงแรมไปจริงๆน่าจะเป็น หุ้นส่วนคนอื่นๆซึ่งเป็นเพื่อนๆของพ่อที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น และมีเส้นสายกับคนมีสีหลายกลุ่มทำให้คดีไม่คืบหน้า   หากพ่อและครอบครัวยังอยู่ในเกานี้ต่อไปอาจจะถูกฆ่าล้างครอบครัวหรือจับใครไปข่มขู่เพิ่มเติมอีก ครอบครัวเราจึงประกาศขายกิจการในราคาที่แทบจะไม่เหลืออะไรให้เราไปทำกิจการโรงแรมอีกเลย

ก่อนที่จะย้ายออกจากเกาะ เดินทางไปเรื่อยๆ จนมาประกอบกิจการร้านอาหารเล็กๆที่เกาะเล็กๆอีกแห่งอื่น เพราะพ่อทำงานหนักไม่ได้จากอาการสั่นและแขนไม่มีแรงอันเกิดจากคมกระสุนที่ตัดเส้นประสาทและเอ็นบางจุด การใช้ชีวิตประจำวันก็ไม่เหมือนเดิม ต้องใช้เงินในการดูแลรักษาร่างกายต่อมาเรื่อยๆเป็นจำนวนไม่น้อยเลย จนวันหนึ่งพ่อได้เปิดหนังสือพิมพ์เจอข่าวรับสมัครงานที่ต่างจังหวัด ครอบครัวเราจึงตัดสินใจย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดด้วยกันเพื่อหนี เพราะไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก และต้องการความสงบสุขในชีวิตมากกว่ากังวลว่าใครจะมาทำร้ายอีก 

เมื่อจนถึงวันนี้ กฎหมายก็ยังไม่สามารถทำอะไรได้ไม่สามารถจับผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ เวลาผ่านไปเกือบ 20 ปี ความทรงจำทีเจ็บปวดของครอบครัวก็ค่อยๆเลือนรางไป กฎหมายก็คงจะลืมคดีที่ครอบครัวของข้าพเจ้าต้องประสบไปแล้วเช่นกัน"

                วิธีแก้ไขของครอบครัวข้าพเจ้าในตอนนั้นก็ทำได้แค่ “หนี”   ความกลัวส่งผลให้ครอบครัวข้าพเจ้าต้องทิ้งทุกอย่างทีมี ทั้งกิจการที่สร้างเนื้อสร้างตัวกับครอบครัว เพื่อน ญาติพี่น้อง ทุกอย่าง ที่เราต้องจากมากะทันหันและปิดบังความเคลื่อนไหว จนคนอื่นไม่สามารถจะรู้ได้ว่าครอบครัวเราอยู่ที่ไหนเพื่อความปลอดภัยของชีวิต   ทั้งหมดของชีวิตที่ต้องพเนจรไม่มีหลักไม่มีฐาน ก็เพราะเหตุการณ์เปลี่ยนชีวิตครอบครัวเราต้องเจอ และไม่มีใครช่วยอะไรเราได้เลย

วิเคราะห์ปัญหา

1.        การยิงผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บสาหัสเป็นความผิดทางกฎหมายหรือไม่ จะต้องได้รับโทษมากน้อยเพียงไหน

2.        กระบวนการในการติดตามผู้กระทำมาดำเนินคดีมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ใครต้องเป็นผู้ดำเนินการ และผู้เสียหายต้องทำอย่างไร

3.        ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไม่สั่งฟ้องคดี ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีได้เองหรือไม่

4.        หากคดีไม่คืบหน้าผู้เสียหายสามารถร้องเรียนให้หน่วยงานใดติดตามความคืบหน้าของคดีได้หรือไม่

5.        หากครอบครัวและผู้เสียหายรู้สึกอันตรายและเกรงว่าจะถูกทำร้าย สามารถเรียกหาการคุ้มครองจากรัฐได้หรือไม่

6.        ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเรียกร้องให้มีการเยียวยาได้หรือไม่ อย่างไรบ้าง

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.        การยิงผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บสาหัสเป็นความผิดทางอาญา หากดูจากบาดแผล 11 นัดจากอาวุธปืนจะถือเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ไม่ใช่ทำร้ายร่างการ จะต้องได้รับโทษหนักถ้าพิสูจน์ว่ามีการวางแผนล่วงหน้า

2.        โดยทั่วไปกระบวนการในการติดตามผู้กระทำมาดำเนินคดีนั้นเริ่มขั้นตอนโดยผู้เสียหายไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายปกครอง แล้วเจ้าหน้าที่ของรัฐจะเป็นผู้ติดตามผู้กระทำผิดและสืบสวนสอบสวนเพื่อรวบรวมหลักฐานมาทำสำนวนฟ้องต่อไป

3.        ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ตำรวจ และอัยการไม่สั่งฟ้องคดี ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีได้เองโดยจ้างทนายขึ้นมาโดยขอหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ หรือรวบรวมเอง เพื่อฟ้องต่อศาลได้โดยตรง

4.        หากคดีไม่คืบหน้าผู้เสียหายสามารถร้องเรียนให้กลไกต่างๆที่สร้างขึ้นมาเพื่อตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าทีรัฐได้

5.        หากครอบครัวและผู้เสียหายรู้สึกอันตรายและเกรงว่าจะถูกทำร้าย ในกรณีนี้อาจแจ้งให้เจ้าหน้าที่รัฐทราบ หรือร้องขอโดยตรงไปยังกรมคุ้มครองพยาน และสามารถย้ายครอบครัวไปอยู่ในสถานที่ปลอดภัยและมีงานทำได้ด้วย

6.        ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเรียกร้องให้มีการเยียวยาได้ตั้งแต่การทำสำนวนฟ้องคดี โดยให้เสนอค่าเสียหายไปในสำนวนได้ เพื่อให้อัยการนำสืบและขอให้ศาลอาญาสั่งให้ชดเชยค่าสินไหมทดแทน   และยังสามารถเรียกค่าเยียวยาเบื้องต้นจากกองทุนยุติธรรม

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             การฟ้องร้องดำเนินคดีทางอาญาเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือฝ่ายปกครอง เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปลัดอำเภอ  เพื่อดำเนินคดีอาญา

2.             คณะกรรมการประจำสถานทีตำรวจนั้น หรือคณะกรรมการระดับชาติได้   หรือแจ้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน   โดยมาตรการขั้นเด็ดขาดคือการฟ้องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ (ป.ป.ช.)

3.             ปัจจุบันสามารถเรียกหาการคุ้มครองจากกรมคุ้มครองพยาน กระทรวงยุติธรรม

4.             ค่าเสียหายและการเยียวยาขอให้ศาลอาญาสั่งให้ชดเชยค่าสินไหมทดแทนได้   และยังสามารถเรียกค่าเยียวยาเบื้องต้นจากกองทุนยุติธรรม

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักคดีความผิดต่อชีวิตทางอาญา และกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และกระบวนการคุ้มครองผู้เสียหายและพยาน   ซึ่งกรณีนี้หากได้แจ้งความให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีแล้วไม่คืบหน้า อาจร้องไปยังกองปราบและสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อเร่งรัดคดี หรือร้องเรียน ปปช. ปัจจุบันมีกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพที่ให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อในคดีอาญาและมีกองทุนฯซึ่งสามารถช่วยเหลือเบื้องต้น รวมถึงขอเข้าโครงการคุ้มครองพยานได้อีกด้วย   หากตำรวจและอัยการสั่งไม่ฟ้อง ก็อาจแต่งตั้งทนายให้ฟ้องคดีต่อศาลได้เองเพื่อเอาผิดต่อผู้ร่วมกระทำผิดและให้ชดเชยสินไหมทดแทนด้วย

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ