Skip to main content

เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให้ใครตัดสินใจลุกขึ้นมาทำอะไรได้ก่อนที่จะสายไปก็จะยินดีครับ เพราะว่าบางเหตุการณ์เมื่อผ่านพ้นไปเราก็ไม่สามารถทำอะไรได้อีกแล้ว แม้จะรู้แล้วว่าต้องทำอะไรก็ตาม เรื่องราวของน้องคนนี้เข้ามาปรึกษาปัญหาของพี่สาวและครอบครัวอาจจะทำให้ผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจอะไรมากขึ้นครับ

“มารดาข้าพเจ้าเริ่มการดำเนินการขอสัญชาติไทยเพื่อให้เป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ เนื่องจากแม่เป็นชาวไทยภูเขาซึ่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลใกล้ชายแดนประเทศพม่า  หลังจากนั้นแม่เข้ามาทำงานในตัวเมืองนานนับสิบปีก่อนจะแต่งงานกับพ่อจนมีข้าพเจ้าและพี่สาว   การดำเนินการขอสัญชาตินั้นลำบากมากเพราะในกระบวนการครั้งแรกนั้นได้ถูกทนายความคนหนึ่งไปติดต่อเพื่อดำเนินการขอสัญชาติเป็นคนไทยให้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จแถมยังถูกหลอกเอาเงินไปมาก แต่แม่ข้าพเจ้าก็พยายามอย่างต่อเนื่อง แม้ต้องใช้เงินมากแค่ไหนก็ตามเพราะนี่คือความฝันของแม่ที่จะได้มีสัญชาติไทยและไปไหนมาไหนได้โดยไม่ต้องกังวลอีกต่อไป และพยายามตามเรื่องจากทนายความเสมอโดยเขากล่าวอ้างว่าต้องรอ ระยะเวลาที่ดำเนินการเนิ่นนานถึง 8 ปี เหลืออีกเพียงยื่นเรื่องส่งกลับให้รัฐมนตรีเซ็นอนุมัติก็ดันเกิดการรัฐประหาร ทำให้การพิจารณาถูกระงับไว้ ซึ่งโดยปกติการขอสัญชาติควรจะขอตามสามีที่เป็นคนไทยอยู่แล้ว แต่ทนายของข้าพเจ้ากลับยื่นเรื่องเป็นสัญชาติตามลูกสาวซึ่งตรวจสอบเอกสารต่างๆมากมาย  จนสุดท้ายก็ดูเหมือนว่าจะไม่สำเร็จเพราะกระบวนการทั้งหมดต้องหยุดลงเพราะการรัฐประหาร

แต่เรื่องกลับเกินคาด เนื่องจากขณะนี้แม่ข้าพเจ้าได้รับสัญชาติแล้ว แต่จดหมายกระทรวงมาช้าไป 15 วัน  เพราะแม่ข้าพเจ้า ท่านได้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุไปก่อนจะรับรู้เรื่องนี้   โดยท่านเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุในเดือนตุลาคม 2550 ที่จังหวัดสุโขทัย  เนื่องจากทางจังหวัดเตรียมงานเพื่อปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์สำหรับงานเตรียมลอยกระทง โดยการก่อสร้างของบริษัทก่อสร้างจะมีเสียงบ่นชาวบ้านเพราะวางอุปกรณ์ก่อสร้าง หรือกองทราย กองอิฐไว้บนถนน   จนเมื่อวันที 26 ตุลาคม แม่และพี่สาวข้าพเจ้าเดินทางโดยรถจักรยานยนต์ออกจากโกดังเก็บของเพื่อกลับไปร้าน และในคืนนั้นเป็นวันที่การไฟฟ้ามีนโยบายปิดไฟริมถนนเพื่อประหยัดพลังงานพอดี

พี่สาวข้าพเจ้าบอกว่าคืนนั้นทัศนะวิสัยไม่ดี ประกอบกับกองดินที่เกิดเหตุเป็นกองดินกองแรกที่เมื่อขับออกไปจะเจอโดยไม่ทันตั้งตัว  กองดินเป็นดินลูกรังซึ่งสีเรียบไปกับพื้นถนนแสงไฟจากหน้ารถสาดไปไม่ถึง แถมไม่มีสัญญาณใดๆเตือน   ทำให้เกิดอุบัติเหตุ แม่ข้าพเจ้ามีบาดแผลฉกรรจ์ที่ศีรษะไม่ได้สติ อาการโคม่าอยู่ในห้องฉุกเฉินอยู่ 2 วัน จนท่านจากไป   หลังจากนั้นครอบครัวของข้าพเจ้าก็ต้องจัดการงานศพ แต่ตำรวจได้เร่งรัดจัดเรียกตัวพี่สาวไปสอบปากคำ และตั้งข้อหาทำให้ทรัพย์สินของรัฐเสียหาย โดยตั้งข้อกล่าวหาให้พี่สาวข้าพเจ้าเป็นผู้ต้องหาที่ 1 บริษัทก่อสร้างเป็นผู้ต้องหาที่ 2 รถขนดินเป็นผู้ต้องหาที่ 3 ซึ่งข้าพเจ้ารู้สึกว่าไม่เป็นธรรมเลย ที่ครอบครัวข้าพเจ้าต้องสูญเสียแม่ไปแล้วยังต้องเจอข้อกล่าวหาอีก

เมื่อตำรวจเขียนสำนวนฟ้องแล้วพยายามเร่งให้พี่สาวข้าพเจ้าเซ็นยอมรับสารภาพตามสำนวนที่เขียนขึ้น เมื่อพี่สาวอ่านดูก็พบว่าข้อความในสำนวนไม่ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เพราะสำนวนได้อธิบายว่าพี่สาวข้าพเจ้าขับขี่รถด้วยความเร็วสูง ซึ่งไม่เป็นความจริงเลยเพราะคืนนั้นมืดมากและมีแม่ซ้อนท้ายมาอีกด้วย ประกอบกับทนายความที่พี่สาวข้าพเจ้าติดต่อไว้ติดธุระไม่สามารถมาดูสำนวนดังกล่าวได้   ภายหลังทนายพี่สาวข้าพเจ้าทราบเรื่อง ก็พยายามขอให้ตำรวจแก้ไขสำนวนแต่ไม่ทันกาล เพราะตำรวจส่งสำนวนไปศาลแล้ว ขณะที่มาปรึกษานี้ศาลได้เรียกพี่สาวข้าพเจ้าไปขึ้นศาล  2 ครั้งแล้ว  ซึ่งจำเลยที่ 3 คือรถขนดินศาลตัดสินว่าไม่ผิดเพราะได้ปฏิบัติตามคำสั่งนายจ้างบริษัทก่อสร้างจึงสั่งให้ตัดออกไปจากสำนวน 

ในการเรียกไต่สวนครั้งแรกก่อนการไต่สวนครั้งที่สอง บริษัทก่อสร้างพยายามเจรจากับพี่สาวข้าพเจ้าว่าจะจ่ายแปดหมื่นบาทแล้วรับสารภาพทั้ง 2 ฝ่ายแล้วจบไป ซึ่งบริษัทก่อสร้างพูดเข้าข้างตนเองเพื่อหลอกให้พี่สาวข้าพเจ้ารับสารภาพ  ทั้งที่จริงแล้วเงินก้อนนั้นเป็นเงินที่จะได้อยู่แล้วจาก พ.ร.บ. ของรถจักรยานยนต์ข้าพเจ้าที่จะจ่ายเมื่อการตัดสินสิ้นสุดลง แต่พี่สาวข้าพเจ้าไม่รับข้อเสนอในการชดเชยค่าโรงพยาบาล ค่าจัดการงานศพ ต่างๆ   ข้าพเจ้าจึงรู้สึกไม่เป็นธรรม ซึ่งขณะนี้ปัญหาคดีความยังคงอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลอยู่”

วิเคราะห์ปัญหา

1.             การขอสัญชาติไทย สามารถใช้สิทธิใดในการขอสัญชาติได้บ้าง และวิธีใดจะง่ายกว่ากัน

2.             การเรียกเงินจำนวนมากของทนายที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่ตกลงไว้ สามารถจัดการอย่างไรกับทนายความได้บ้าง

3.             การประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนจนทำให้มีผู้เสียชีวิต จะต้องมีการพิสูจน์ถูกผิดกันอย่างไร

4.             ใครจะต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุมากกว่ากัน และใครจะต้องรับโทษทางอาญา

5.             หากตำรวจเร่งรัดให้เราเซ็นเอกสารสำนวนที่ไม่ตรงความจริง เราจะสามารถทำการแก้ไขสำนวนได้หรือไม่ จะมีข้ออ้างอย่างไรได้บ้าง

6.             การเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้น สามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             การขอสัญชาติไทย สามารถใช้สิทธิใดในการขอสัญชาติได้ตามหลักสายเลือดและหลักดินแดน ซึ่งวีนี้การขอตามหลักดินแดนอาจยากเพราะไม่สามารถพิสูจน์สถานที่เกิดได้เพราะผ่านมานานเช่นเดียวกับหลักสาเลือดเพราะไม่พูดถึงตายายว่าอยู่ที่ใด   วิธีง่ายที่สุดคือการขอเปลี่ยนสัญชาติตามสามีซึ่งเป็นคู่สมรสกัน  เพราะการขอตามบุตรจะพิสูจน์ยากกว่าเนื่องจากไม่มีความเชื่อมโยงกับการเกิดของแม่

2.             ทนายที่เรียกเงินจำนวนมากในลักษณะหลอกลวงเอาเงินโดยไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่ตกลงไว้ สามารถร้องเรียนต่อสภาทนายความได้ เพื่อถอนใบอนุญาตทนายความ

3.             การประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนจนทำให้มีผู้เสียชีวิต จะต้องมีการพิสูจน์ถูกผิดกันตามหลักกฎหมายอาญาว่าด้วยลักษณะภาวะวิสัย กล่าวคือ ต้องมีการจำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาและสถานที่เกิดเหตุขึ้นมา เพื่อดูว่าใครประมาทกกว่ากัน โดยกฎหมายจราจรห้ามใครทำสิ่งต่างๆมาวางกีดขวางการจราจรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่มีการเตือนภัยอันตรายอย่างเหมาะสม

4.             ผู้ที่ประมาทกว่าจะต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุมากกว่าซึ่งในกรณีนี้ผู้ที่นำวัสดุมาวางไว้บนถนนโดยเป็นอันตรายต่อการจราจรมีความผิดมากกว่า  โดยดูว่าใครฝ่าฝืนกฎหมายการจราจรทางบกก็จะต้องรับโทษทางอาญาทั้งความผิดต่อรัฐ และความผิดต่อชีวิตผู้ตาย

5.             หากตำรวจเร่งรัดให้เราเซ็นเอกสารสำนวนที่ไม่ตรงความจริง เราจะสามารถทำการแก้ไขสำนวนได้ โดยอาจอ้างว่าขณะที่ไปพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ได้มีทนายหรือที่ปรึกษาทางกฎหมายไปด้วย และเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่ได้แจ้งสิทธิในกระบวนการยุติธรรมให้ทราบ เพื่อทำลายความชอบธรรมของสำนวนนั้นลง

6.             การเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินนั้น สามารถดำเนินการได้ในสำนวนฟ้องนั้นเลย กล่าวคือ ขอให้แก้สำนวนตรงกับความจริงที่เกิดขึ้น และร้องให้อัยการและศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นคดีแพ่งฯเกี่ยวเนื่องอาญาอยู่ในคราวเดียวกัน

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             การร้องเรียนทนายประพฤติมิชอบต้องร้องเรียนไปยังสภาทนายความประจำจังหวัดหรือส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร

2.             การติดต่อเรื่องขอสัญชาติหากมีความหน่วงช้าเกินไปอาจนำขึ้นฟ้องต่อศาลปกครองให้เร่งรัดได้

3.             การดำเนินการเกี่ยวกับคดีอุบัติเหตุ ควรเริ่มจากการร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่ออัยการเจ้าของสำนวน เพื่อปรับสำนวนให้ตรงกับข้อเท็จจริง

4.             หากปล่อยให้มีการนำเอกสารที่มีการเซ็นสารภาพขึ้นสู่ศาลอาญาก็จะเป็นการยากในการต่อสู้คดี เพราะอย่างมากก็เพียงได้แต่ปัดป้องความผิดให้พ้นตัว และไม่สามารถฟ้องซ้ำให้ศาลตัดสินในข้อเท็จจริงเดิมอีกครั้ง   จึงต้องระวังเรื่องการเขียนสำนวนในชั้นพนักงานสอบสวนอย่างมาก

5.             หากคิดว่าการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจเจ้าของสำนวนไม่เป็นธรรม อาจร้องเรียนผู้บังคับบัญชา หรือร้องเรียนไปยัง ปปช. ได้

สรุปแนวทางแก้ไข

                เรื่องทนายนั้นสามารถร้องเรียนสภาทนายเกี่ยวกับพฤติกรรมเพื่อถอนใบอนุญาตได้   ในกรณีแรกแม่สามารถได้สัญชาติจากการสมรสกับพ่อโดยเอาทะเบียนสมรสไปยืนยันต่อทะเบียนราษฎร์โดยใช้หลักการเปลี่ยนสัญชาติตามคู่สมรส  ส่วนกรณีรถชนนั้นใช้หลักละเมิดและความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และสิทธิในกระบวนการยุติธรรมส่วนของพยาน      โดยต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความประมาทเลินเล่อของเทศบาลที่นำรถมาจอดบนถนนสาธารณะทำให้เกิดรถชนจนผู้ขับถึงแก่ความตาย  หากผู้ใดประมาทกกว่าก็จะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหามากกว่าตามสัดส่วน  และการเซ็นเอกสารโดยไม่ได้อ่านก็สามารถนำขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลเพื่อมิให้นำเอกสารมาปรักปรำตัวเอง  และร้องเรียนพนักงานสอบสวนต่อผู้บังคับบัญชาและ ปปช. ได้

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการสำหรับการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาตินั้นสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงเวลา ก็คือ การเตรียมตัวก่อนภัยพิบัติจะเกิด การบรรเทาและแก้ไขปัญหาในขณะเกิดภัยพิบัติ การเยียวยาและฟื้นฟูหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการขจัดความหิว
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการทั่วไปที่ใช้ในการประกันความอิ่มท้องของประชากรในประเทศตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐบาลไทยประกาศสมาทานยึดถือนั้น ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรื่องสิทธิด้านอาหาร นั้นหมายถึงรัฐไทยต้องมีมาตรการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิประกอบด้วย กรอบทางกฎหมาย   กรอบทางนโย
ทศพล ทรรศนพรรณ
อุดมการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่นั้น มีจุดก่อตัวมาจากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่เข้ามาพร้อม ๆ กับกระแสแห่งการพัฒนาของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้เกิดเสรีทางการลงทุนจนนำมาซึ่งรูปแบบการจ้างงานรูปที่มีความยืดหยุ่นต่อการบริหารจัดการของบรรษัท และสามารถตอบโจทย์นักลงทุ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินจำเป็นต้องวางแผนในการดำเนินการด้วยความเข้าใจพื้นฐานที่ว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นได้ หากต้องการผลักดันข้อบัญญัติท้องถิ่นให้สำเร็จจึงต้องสามารถทำความเข้าใจลักษณะของข้อพิพาทที่มักเกิดขึ้นในการจัดการที่ดิน   และมีแนวทางในการข
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ลู่ทางส่งเสริมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษ มีดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักสร้างผลกระทบในระยะยาว ไม่ได้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย ทันทีทันใด   ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการพิสูจน์ว่าความเจ็บป่วย เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีผลมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง   สิ่งที่เราต้องทำคือการเก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐาน &n
ทศพล ทรรศนพรรณ
การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมีข้อจำกัดที่อาจถูกรัฐเข้าระงับหรือแทรกแซงการใช้สิทธิได้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 4 ในสภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่คุกคามความอยู่รอดของชาติที่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดถึงเหตุที
ทศพล ทรรศนพรรณ
การชุมนุมโดยสงบเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทั้งหลายสามารถแสดงออกร่วมกันและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้ปัจเจกสามารถแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองร่วมกับผู้อื่น   โดยการเลือกสถานที่การชุมนุมอยู่ภายใต้หลักมองเห็นและได้ยิน (sight and sound) ทั้งนี้ผู้ชุมนุมต้องอยู่ในที่ที่มองเห็นและสาธารณชนต้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในบริบทโครงสร้างทางอำนาจในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน การรวมศูนย์อำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใช้วัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเป็นการต่อสู้เพื่อปรับสัมพันธภาพทางอำนาจ สร้างตำแหน่งแห่งที่ให้ชุมชนให้เกิดความเป็นธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยท้องถิ่นมีเสรีภาพในการกำหนดกติกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ข้อกล่าวอ้างสำคัญของรัฐบาลไทยในการเพิ่มศักยภาพในด้านข่าวกรองและออกกฎหมายที่ให้อำนาจสอดส่องการสื่อสารของประชาชน คือ “ถ้าประชาชนไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร” โดยมิได้คำนึงหลักการพื้นฐานเบื้องต้นว่า แม้ประชาชนมิได้ทำผิดกฎหมายอันใดก็มีสิทธิความเป็นส่วนตัว ปลอดจากการแทรกแซงการสื่อสาร อันเป็นสิทธิพื้นฐานตามกฎ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนารัฐที่ใช้กฎหมายเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในประเด็นสาธารณะของผู้ตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะ “นิติรัฐอย่างเป็นทางการ” แตกต่างจากความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบ “ไม่เป็นทางการ” ที่รัฐอาจหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพต