Skip to main content

เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่คิดโฆษณาพวกนี้เค้าเก่งจริงๆ เข้าใจหาวิธีทำให้เรารู้สึกคล้อยตาม อยากจะลุกขึ้นไปทำตามที่เข้าชักชวนเลยทันที  ลองดูเรื่องราวเหล่านี้นะครับว่าหากพลาดพลั้งไปแล้วจะทำอย่างไรได้บ้าง

"ผมกำลังอยากได้ไอแพ็ดแล้วพอดีไปเห็นโฆษณาของบริษัทมือถือยี่ห้อหนึ่งน่าสนใจก็เลยกะจะไปซื้อ iPad Air แล้วใช้โปร  "ยิ่งอยู่นาน ยิ่งหลอกกัน"  เพราะเราก็เป็นลูกค้าที่ซื่อสัตย์กับยี่ห้อนี้มาตั้งแต่มีมือถือเครื่องแรก เบอร์นี้ก็ใช้งานมา 12 ปี หากคำนวณตามสูตรที่เค้าบอกไว้ก็จะได้ส่วนลด 1,450 บาท  พอไปถึงศูนย์ให้บริการโทรศัพท์มือถือยี่ห้อนั้นในห้างสรรพสินค้าแถวลาดพร้าว พนักงานบอกว่าถ้าจะซื้อจะต้องใช้เบอร์นั้นสมัครโปรโมชั่น iPad ของบริษัทมือถือยี่ห้อดังด้วย (วงเงินค่าบริการขั้นต่ำ 199)

ผมเลยบอกว่าปกติผมก็ใช้โปรโมชั่น 199 อยู่แล้ว แต่เป็นของมือถือ ทางบริษัทมือถือยี่ห้อดัง บอกว่าไม่ได้ จะต้องเปลี่ยนซิมการ์ดมาใช้ในเครื่อง iPad แทน แล้วต้องใช้ซิมใหม่เฉพาะเครื่อง iPad ด้วย   แถมบังคับใช้โปรอย่างน้อย 3 เดือน ด้วยครับ   สรุป ผมต้องเปิดเบอร์ใหม่แล้วใช้แพคเกจใส่ในมือถือเดิม
แล้วเอาซิมเก่าเปลี่ยนจาก micro sim เป็น nano sim เพื่อมาใส่ iPad ที่ผมจะซื้อพร้อมแพคเกจ   เท่ากับผมเสียค่าบริการ 2 เบอร์ทั้งๆ ที่ผมไม่อยากเปิดเบอร์ใหม่อย่างนั้นเหรอ     ทำไมบริษัทไม่แจ้งตัวใหญ่ๆ ให้ลูกค้ารู้ล่ะครับ ต้องให้ลูกค้าเสียเวลาไปศูนย์แล้วมาหลอกขายแพคเกจ+สมัครซิมใหม่ ให้เสียเวลาและอารมณ์อย่างนี้     หลังจากผมเอาเรื่องไปแฉบนอินเตอร์เน็ตก็มีพนักงานของบริษัทพยายามติดต่อมา แต่ผมแจ้งไปว่าไม่ต้องให้ติดต่อหลังไมค์นะครับ อยากให้ลูกค้าท่านอื่นที่กำลังจะใช้สิทธิ์แบบผมได้รับรู้ด้วย ตอบหน้าไมค์เลยครับ เพื่อให้ผู้บริโภคอื่นได้รู้ว่าบริษัทจะแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง

หลังจากนั้นในวันถัดมาผมก็ไปที่ศูนย์บนห้างฯมาเค้าแก้ปัญหาโดยให้ผมใช้ multi sim (ซิมเดียวหลายเบอร์) โดยการเปิด multisim  จะต้องเสียเปล่าเดือนละ 250 บาทอีก  ผมคิดว่าบริษัทมือถือยี่ห้อดัง จริงใจมากครับ เสียทั้ง package (ขั้นต่ำ 199+250 ค่า multisim=449 บาท/เดือน)

แล้วมีกฎคือ 3 เดือนถึงจะยกเลิก package ได้ 449x3=1,347 บาท โดยยังไม่ได้รวม vat ถ้ารวมก็ 1,441.29 บาท

เกือบจะเท่ากับ ส่วนลดผม 1,450 บาทอยู่แล้วครับ สรุป ผมจะได้ส่วนลดแค่ 1,450-1,441.29=8.71 บาท

เห็นไม่ผิดหรอกครับ ผมได้ส่วนลดจริงๆ แค่ 8.71 บาท   ผมเลยไม่ตกลงกับพนักงานเพราะเหมือนโดนบังคับยังไงก็ไม่รู้"

ส่วนอีกรายเล่าว่า   "ผมก็เจอมาเหมือนกัน เมื่อสุดสัปดาห์ไปพาราก้อน จะใช้โปรโมชั่นย้ายค่าย “มาเป็นกับเพื่อนรายเดือนราคาเกิน 500บาท ได้ลดค่าเครื่อง3000บาท”   พนักงานบอกว่าย้ายไม่ได้เพราะเพิ่งย้ายเบอร์ไปอีกบริษัทหนึ่ง    กสทช.บอกว่าต้องรอ 90วันถึงจะย้ายกลับมาได้ ผมเลยโทรไปตรวจสอบกับ กสทช. ได้ความว่าไม่มีการกำหนดกฎนี้ขึ้นมา ค่ายมือถือเขาอ้างกันเอง แต่แอบอ้างชื่อ กสทช.  ซึ่ง กสทช ก็รับเรื่องร้องเรียนไว้แล้ว และจะดำเนินการย้ายค่ายให้หลังส่งหลักฐานเรื่องร้องเรียน

วันต่อมาผมก็ไปทำเรื่องย้ายค่ายเรียบร้อย ไปที่ศูนย์บริการของยี่ห้อหนึ่ง กำลังเลือกเครื่องอยู่ กำเงินไปละ กำลังจะซื้อ พนักงานเพิ่งจะบอกว่าโปรย้ายค่าย ต้องรอหลังย้ายค่ายเสร็จแล้ว 2 อาทิตย์ ถึงจะส่งกิ้ฟวอยเชอร์ 3000 บาทไปให้ที่บ้าน แล้วต้องเอาว้อยเชอร์นั่นมาแลกซื้อเอาเองทีหลัง ที่ช้อปเท่านั้น ออนไลน์ก็ไม่ได้ ซึ่งเงื่อนไขนี้ไม่ได้มีแจ้งในสื่อโฆษณาใดๆ หรือแม้กระทั่ง  พนักงานขายเองตอนแรกเองก็ไม่ได้บอกเลยว่าโปรย้ายค่ายต้องรอซื้อทีหลังเพราะบอกแค่ว่าลด 3000 บาท        แล้วคือ โปรนี้หมดสิ้นปี ใช้ว้อยเชอร์ได้ถึง 31 มกรา  กว่าจะส่งให้คือ 2อาทิตย์หลังย้ายค่าย หากย้ายค่ายช่วงนี้ก็รอไปราวๆ 2 อาทิตย์จะได้ย้าย +อีก2อาทิตย์รอดีแทกส่งมาให้ แล้วกว่าจะถึง สิ้นเดือนมกราพอดี  จะได้ใช้มั้ย   แถมช่วงที่ยังไม่ได้วอยเชอร์ไปซื้อเครื่องก็ต้องเริ่มใช้โปร 500บาทขึ้นไปแล้ว ใช้ยังไง?   ถ้าจะออกโปรมาหมกเม็ดขนาดนี้ไม่ต้องดีกว่า อ้อ อีกอย่างพออีกวันลองไปดูบอกของหมด ไปสาขาไหนก็หมดแล้วทั้งนั้น แล้วจะออกโปรโมชั่นมาให้คนอยากซื้อทำไมกัน ไปแล้วเสียความรู้สึกมาก"  

ส่วนรายสุดท้ายก็เหมือนผมนะครับ คือ เราไม่ใช่คนที่ติดตามเทคโนโลยีอะไรตามประสานักกฎหมายส่วนใหญ่ที่มักจะอ่อนด้อยเรื่องพวกนี้ พอเห็นคำว่า “ไม่จำกัด 1GB" ก็ไม่รู้ว่าไม่จำกัดมันคือยังไง เหมือนกับอีกหลายคนที่งงจนโกรธ เลยมาตั้งกระทู้ในอินเตอร์เน็ตว่า “ก็เขียนเลยสิว่า “จำกัดการใช้ข้อมูลที่1GB” ชาวบ้านไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ซื้อแพ็คเกจ 390 บาท ต่อเดือน เอาไปดูยูทูปได้ไม่กี่วันก็หมดแล้ว บริษัทมันเลวจริงๆ เอาแต่ออกโปรโมชั่นหลอกลวงผู้บริโภค โกหกหลอกลวงกันไปวันๆ       มันผิดกันหมด ไล่กันตั้งแต่การสรรหา กสทช. จนถึงค่ายมือถือ มันเป็นเวรกรรมของคนไทยจริงๆ ที่มีแต่พวกโกงกินเพื่อพรรคพวกเท่าน้ัน ไม่ได้ทำเพื่อคนทั้งประเทศจริงๆ”  

จากปัญหาความไม่เป็นธรรมในชีวิตทั่วไปทำให้คิดไปได้ว่ามันเกิดจากปัญหาโครงสร้างอำนาจทางกฎหมายในการควบคุมดูแลเรื่องโทรคมนาคมระดับชาติไปเลยครับ

วิเคราะห์ปัญหา

1.             การโฆษณาชวนเชื่อของบริษัทมือถือที่มีลักษณะกำกวมชวนให้เข้าใจผิด ปิดบังหมกเม็ด หรือสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า เป็นความผิดหรือไม่

2.             หากบริษัทไม่สามารถจัดหาสินค้ามาให้ได้ตามที่ให้คำมั่นไว้จะบังคับให้บริษัทจัดหาสินค้ามาให้ได้ตามโปรโมชั่นรึเปล่า

3.             หากผู้บริโภคตกลงทำสัญญาไปแล้วพบว่าการทำตามสัญญาของบริษัทมีเงื่อนไขตามมา หรือล่าช้าทำให้ลูกค้าเสียประโยชน์ จะสามารถยกเลิกสัญญาได้หรือไม่

4.             การโฆษณาที่ให้ข้อมูลทางเทคนิคที่ทำให้ผู้บริโภคทั่วไปเข้าใจผิดจะต้องมีการควบคุมหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือไม่ หากเข้าใจไม่ตรงกันในตอนทำสัญญาลูกค้าจะสามารถบอกเลิกในภายหลังได้ไหม

5.             หากประชาชนร้องเรียนไปยังทาง กสทช. แล้วไม่มีการดำเนินการควบคุมบริษัทต่างๆให้เกิดการคุ้มครองสิทธิประชาชน จะมีความรับผิดชอบตามกฎหมายอย่างไร

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             การโฆษณาชวนเชื่อของบริษัทมือถือที่มีลักษณะกำกวมชวนให้เข้าใจผิด ปิดบังหมกเม็ด หรือสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า เป็นความผิดตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาได้หากประชาชนทำสัญญาโดยเข้าใจผิด

2.             หากบริษัทไม่สามารถจัดหาสินค้ามาให้ได้ตามที่ให้คำมั่นไว้ การที่ประชาชนจะบังคับให้บริษัทจัดหาสินค้ามาให้ได้ตามโปรโมชั่นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากบริษัทมักใส่เงื่อนไขเล็กๆว่า “สินค้ามีจำนวนจำกัด” ซึ่งเป็นเรื่องที่ สคบ. และ กสทช. ต้องไปวางกฎเกณฑ์เพิ่มเติมว่าควรมีสัดส่วนอย่างไรให้เหมาะสมกับความคาดหวังตาคำโฆษณา

3.             หากผู้บริโภคตกลงทำสัญญาไปแล้วพบว่าการทำตามสัญญาของบริษัทมีเงื่อนไขตามมา หรือล่าช้าทำให้ลูกค้าเสียประโยชน์ เป็นเหตุให้ลูกค้าสามารถยกเลิกสัญญาได้ หรือทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาให้เหมาะกับความต้องการได้

4.             การโฆษณาที่ให้ข้อมูลทางเท็คนิกที่ทำให้ผู้บริโภคทั่วไปเข้าใจผิด สคบ.และ กสทช. จะหน้าที่ในการควบคุมหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดพลาด   หากเข้าใจไม่ตรงกันในตอนทำสัญญาลูกค้าจะสามารถบอกเลิกในภายหลังได้เท่าที่สุจริต คือ เท่าที่ไม่รู้เมื่อรู้ก็มายกเลิกทันที

5.             หากประชาชนร้องเรียนไปยังทาง กสทช. หรือ สคบ. แล้วไม่มีการดำเนินการควบคุมบริษัทต่างๆให้เกิดการคุ้มครองสิทธิประชาชน จะมีความรับผิดชอบทางปกครองตามกฎหมาย ประชาชนฟ้องบังคับได้

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             เรื่องนี้มีหน่วยงานเฉพาะในการรับเรื่องร้องทุกข์ จึงสามารถร้องเรียนไปที่ กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

2.             หากยังไม่มีการชำระหนี้ หรือบ่ายเบี่ยงหลบเลี่ยง ก็สามารถนำความเดือดร้อนนี้ไปร้องยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)  (กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้

3.             มาตรการขั้นเด็ดขาด ผู้บริโภคสามารถนำเรื่องไปฟ้องยังศาลแพ่งและพาณิชย์ แผนกคดีผู้บริโภคได้ ซึ่งจะมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินคดี รวมถึงไกล่เกลี่ยประนีประนอมที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค

4.             ประชาชนสามารถฟ้องบังคับให้ กสทช. และ สคบ. ปฏิบัติหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิของประชาชน เช่น ออกเกณฑ์ คำสั่ง และบังคับควบคุมบริษัทได้ที่ศาลปกครอง

สรุปแนวทางแก้ไข

              เรื่องโปรโมชั่นโทรฟรีหรือลดแลกแจกแถมนั้นเป็นการให้คำมั่นใช้หลักนิติกรรมสัญญา และการคุ้มครองผู้บริโภค   ซึ่งกรณีนี้เมื่อได้มีการแสดงเจตนาตกลงเสนอรับคำมั่นไปแล้วตามเงื่อนไข บริษัทต้องชำระหนี้ตามที่ประกาศโดยการแจ้งต่อสำนักงาน บริษัทผู้ให้บริการย่อมไม่มีสิทธิใดๆที่จะปฏิเสธผู้รับบริการอีก หนี้จึงเกิด   ผู้บริโภคจึงสามารถร้องเรียนต่อ สคบ. รวมถึงฟ้องศาลแพ่งฯแผนกคดีผู้บริโภคได้  ถ้าโปรโมชั่นมีเรื่องเกี่ยวกับค่าบริการหรือสัญญาณทางเทคนิคผู้บริโภคสามารถร้องเรียน กสทช.  และยังฟ้องศาลปกครองให้ สคบ. และ กสทช. ปฏิบัติหน้าที่คุ้มครองสิทธิประชาชนได้ด้วย


 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี