Skip to main content

เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่คิดโฆษณาพวกนี้เค้าเก่งจริงๆ เข้าใจหาวิธีทำให้เรารู้สึกคล้อยตาม อยากจะลุกขึ้นไปทำตามที่เข้าชักชวนเลยทันที  ลองดูเรื่องราวเหล่านี้นะครับว่าหากพลาดพลั้งไปแล้วจะทำอย่างไรได้บ้าง

"ผมกำลังอยากได้ไอแพ็ดแล้วพอดีไปเห็นโฆษณาของบริษัทมือถือยี่ห้อหนึ่งน่าสนใจก็เลยกะจะไปซื้อ iPad Air แล้วใช้โปร  "ยิ่งอยู่นาน ยิ่งหลอกกัน"  เพราะเราก็เป็นลูกค้าที่ซื่อสัตย์กับยี่ห้อนี้มาตั้งแต่มีมือถือเครื่องแรก เบอร์นี้ก็ใช้งานมา 12 ปี หากคำนวณตามสูตรที่เค้าบอกไว้ก็จะได้ส่วนลด 1,450 บาท  พอไปถึงศูนย์ให้บริการโทรศัพท์มือถือยี่ห้อนั้นในห้างสรรพสินค้าแถวลาดพร้าว พนักงานบอกว่าถ้าจะซื้อจะต้องใช้เบอร์นั้นสมัครโปรโมชั่น iPad ของบริษัทมือถือยี่ห้อดังด้วย (วงเงินค่าบริการขั้นต่ำ 199)

ผมเลยบอกว่าปกติผมก็ใช้โปรโมชั่น 199 อยู่แล้ว แต่เป็นของมือถือ ทางบริษัทมือถือยี่ห้อดัง บอกว่าไม่ได้ จะต้องเปลี่ยนซิมการ์ดมาใช้ในเครื่อง iPad แทน แล้วต้องใช้ซิมใหม่เฉพาะเครื่อง iPad ด้วย   แถมบังคับใช้โปรอย่างน้อย 3 เดือน ด้วยครับ   สรุป ผมต้องเปิดเบอร์ใหม่แล้วใช้แพคเกจใส่ในมือถือเดิม
แล้วเอาซิมเก่าเปลี่ยนจาก micro sim เป็น nano sim เพื่อมาใส่ iPad ที่ผมจะซื้อพร้อมแพคเกจ   เท่ากับผมเสียค่าบริการ 2 เบอร์ทั้งๆ ที่ผมไม่อยากเปิดเบอร์ใหม่อย่างนั้นเหรอ     ทำไมบริษัทไม่แจ้งตัวใหญ่ๆ ให้ลูกค้ารู้ล่ะครับ ต้องให้ลูกค้าเสียเวลาไปศูนย์แล้วมาหลอกขายแพคเกจ+สมัครซิมใหม่ ให้เสียเวลาและอารมณ์อย่างนี้     หลังจากผมเอาเรื่องไปแฉบนอินเตอร์เน็ตก็มีพนักงานของบริษัทพยายามติดต่อมา แต่ผมแจ้งไปว่าไม่ต้องให้ติดต่อหลังไมค์นะครับ อยากให้ลูกค้าท่านอื่นที่กำลังจะใช้สิทธิ์แบบผมได้รับรู้ด้วย ตอบหน้าไมค์เลยครับ เพื่อให้ผู้บริโภคอื่นได้รู้ว่าบริษัทจะแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง

หลังจากนั้นในวันถัดมาผมก็ไปที่ศูนย์บนห้างฯมาเค้าแก้ปัญหาโดยให้ผมใช้ multi sim (ซิมเดียวหลายเบอร์) โดยการเปิด multisim  จะต้องเสียเปล่าเดือนละ 250 บาทอีก  ผมคิดว่าบริษัทมือถือยี่ห้อดัง จริงใจมากครับ เสียทั้ง package (ขั้นต่ำ 199+250 ค่า multisim=449 บาท/เดือน)

แล้วมีกฎคือ 3 เดือนถึงจะยกเลิก package ได้ 449x3=1,347 บาท โดยยังไม่ได้รวม vat ถ้ารวมก็ 1,441.29 บาท

เกือบจะเท่ากับ ส่วนลดผม 1,450 บาทอยู่แล้วครับ สรุป ผมจะได้ส่วนลดแค่ 1,450-1,441.29=8.71 บาท

เห็นไม่ผิดหรอกครับ ผมได้ส่วนลดจริงๆ แค่ 8.71 บาท   ผมเลยไม่ตกลงกับพนักงานเพราะเหมือนโดนบังคับยังไงก็ไม่รู้"

ส่วนอีกรายเล่าว่า   "ผมก็เจอมาเหมือนกัน เมื่อสุดสัปดาห์ไปพาราก้อน จะใช้โปรโมชั่นย้ายค่าย “มาเป็นกับเพื่อนรายเดือนราคาเกิน 500บาท ได้ลดค่าเครื่อง3000บาท”   พนักงานบอกว่าย้ายไม่ได้เพราะเพิ่งย้ายเบอร์ไปอีกบริษัทหนึ่ง    กสทช.บอกว่าต้องรอ 90วันถึงจะย้ายกลับมาได้ ผมเลยโทรไปตรวจสอบกับ กสทช. ได้ความว่าไม่มีการกำหนดกฎนี้ขึ้นมา ค่ายมือถือเขาอ้างกันเอง แต่แอบอ้างชื่อ กสทช.  ซึ่ง กสทช ก็รับเรื่องร้องเรียนไว้แล้ว และจะดำเนินการย้ายค่ายให้หลังส่งหลักฐานเรื่องร้องเรียน

วันต่อมาผมก็ไปทำเรื่องย้ายค่ายเรียบร้อย ไปที่ศูนย์บริการของยี่ห้อหนึ่ง กำลังเลือกเครื่องอยู่ กำเงินไปละ กำลังจะซื้อ พนักงานเพิ่งจะบอกว่าโปรย้ายค่าย ต้องรอหลังย้ายค่ายเสร็จแล้ว 2 อาทิตย์ ถึงจะส่งกิ้ฟวอยเชอร์ 3000 บาทไปให้ที่บ้าน แล้วต้องเอาว้อยเชอร์นั่นมาแลกซื้อเอาเองทีหลัง ที่ช้อปเท่านั้น ออนไลน์ก็ไม่ได้ ซึ่งเงื่อนไขนี้ไม่ได้มีแจ้งในสื่อโฆษณาใดๆ หรือแม้กระทั่ง  พนักงานขายเองตอนแรกเองก็ไม่ได้บอกเลยว่าโปรย้ายค่ายต้องรอซื้อทีหลังเพราะบอกแค่ว่าลด 3000 บาท        แล้วคือ โปรนี้หมดสิ้นปี ใช้ว้อยเชอร์ได้ถึง 31 มกรา  กว่าจะส่งให้คือ 2อาทิตย์หลังย้ายค่าย หากย้ายค่ายช่วงนี้ก็รอไปราวๆ 2 อาทิตย์จะได้ย้าย +อีก2อาทิตย์รอดีแทกส่งมาให้ แล้วกว่าจะถึง สิ้นเดือนมกราพอดี  จะได้ใช้มั้ย   แถมช่วงที่ยังไม่ได้วอยเชอร์ไปซื้อเครื่องก็ต้องเริ่มใช้โปร 500บาทขึ้นไปแล้ว ใช้ยังไง?   ถ้าจะออกโปรมาหมกเม็ดขนาดนี้ไม่ต้องดีกว่า อ้อ อีกอย่างพออีกวันลองไปดูบอกของหมด ไปสาขาไหนก็หมดแล้วทั้งนั้น แล้วจะออกโปรโมชั่นมาให้คนอยากซื้อทำไมกัน ไปแล้วเสียความรู้สึกมาก"  

ส่วนรายสุดท้ายก็เหมือนผมนะครับ คือ เราไม่ใช่คนที่ติดตามเทคโนโลยีอะไรตามประสานักกฎหมายส่วนใหญ่ที่มักจะอ่อนด้อยเรื่องพวกนี้ พอเห็นคำว่า “ไม่จำกัด 1GB" ก็ไม่รู้ว่าไม่จำกัดมันคือยังไง เหมือนกับอีกหลายคนที่งงจนโกรธ เลยมาตั้งกระทู้ในอินเตอร์เน็ตว่า “ก็เขียนเลยสิว่า “จำกัดการใช้ข้อมูลที่1GB” ชาวบ้านไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ซื้อแพ็คเกจ 390 บาท ต่อเดือน เอาไปดูยูทูปได้ไม่กี่วันก็หมดแล้ว บริษัทมันเลวจริงๆ เอาแต่ออกโปรโมชั่นหลอกลวงผู้บริโภค โกหกหลอกลวงกันไปวันๆ       มันผิดกันหมด ไล่กันตั้งแต่การสรรหา กสทช. จนถึงค่ายมือถือ มันเป็นเวรกรรมของคนไทยจริงๆ ที่มีแต่พวกโกงกินเพื่อพรรคพวกเท่าน้ัน ไม่ได้ทำเพื่อคนทั้งประเทศจริงๆ”  

จากปัญหาความไม่เป็นธรรมในชีวิตทั่วไปทำให้คิดไปได้ว่ามันเกิดจากปัญหาโครงสร้างอำนาจทางกฎหมายในการควบคุมดูแลเรื่องโทรคมนาคมระดับชาติไปเลยครับ

วิเคราะห์ปัญหา

1.             การโฆษณาชวนเชื่อของบริษัทมือถือที่มีลักษณะกำกวมชวนให้เข้าใจผิด ปิดบังหมกเม็ด หรือสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า เป็นความผิดหรือไม่

2.             หากบริษัทไม่สามารถจัดหาสินค้ามาให้ได้ตามที่ให้คำมั่นไว้จะบังคับให้บริษัทจัดหาสินค้ามาให้ได้ตามโปรโมชั่นรึเปล่า

3.             หากผู้บริโภคตกลงทำสัญญาไปแล้วพบว่าการทำตามสัญญาของบริษัทมีเงื่อนไขตามมา หรือล่าช้าทำให้ลูกค้าเสียประโยชน์ จะสามารถยกเลิกสัญญาได้หรือไม่

4.             การโฆษณาที่ให้ข้อมูลทางเทคนิคที่ทำให้ผู้บริโภคทั่วไปเข้าใจผิดจะต้องมีการควบคุมหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือไม่ หากเข้าใจไม่ตรงกันในตอนทำสัญญาลูกค้าจะสามารถบอกเลิกในภายหลังได้ไหม

5.             หากประชาชนร้องเรียนไปยังทาง กสทช. แล้วไม่มีการดำเนินการควบคุมบริษัทต่างๆให้เกิดการคุ้มครองสิทธิประชาชน จะมีความรับผิดชอบตามกฎหมายอย่างไร

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             การโฆษณาชวนเชื่อของบริษัทมือถือที่มีลักษณะกำกวมชวนให้เข้าใจผิด ปิดบังหมกเม็ด หรือสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า เป็นความผิดตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาได้หากประชาชนทำสัญญาโดยเข้าใจผิด

2.             หากบริษัทไม่สามารถจัดหาสินค้ามาให้ได้ตามที่ให้คำมั่นไว้ การที่ประชาชนจะบังคับให้บริษัทจัดหาสินค้ามาให้ได้ตามโปรโมชั่นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากบริษัทมักใส่เงื่อนไขเล็กๆว่า “สินค้ามีจำนวนจำกัด” ซึ่งเป็นเรื่องที่ สคบ. และ กสทช. ต้องไปวางกฎเกณฑ์เพิ่มเติมว่าควรมีสัดส่วนอย่างไรให้เหมาะสมกับความคาดหวังตาคำโฆษณา

3.             หากผู้บริโภคตกลงทำสัญญาไปแล้วพบว่าการทำตามสัญญาของบริษัทมีเงื่อนไขตามมา หรือล่าช้าทำให้ลูกค้าเสียประโยชน์ เป็นเหตุให้ลูกค้าสามารถยกเลิกสัญญาได้ หรือทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาให้เหมาะกับความต้องการได้

4.             การโฆษณาที่ให้ข้อมูลทางเท็คนิกที่ทำให้ผู้บริโภคทั่วไปเข้าใจผิด สคบ.และ กสทช. จะหน้าที่ในการควบคุมหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดพลาด   หากเข้าใจไม่ตรงกันในตอนทำสัญญาลูกค้าจะสามารถบอกเลิกในภายหลังได้เท่าที่สุจริต คือ เท่าที่ไม่รู้เมื่อรู้ก็มายกเลิกทันที

5.             หากประชาชนร้องเรียนไปยังทาง กสทช. หรือ สคบ. แล้วไม่มีการดำเนินการควบคุมบริษัทต่างๆให้เกิดการคุ้มครองสิทธิประชาชน จะมีความรับผิดชอบทางปกครองตามกฎหมาย ประชาชนฟ้องบังคับได้

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             เรื่องนี้มีหน่วยงานเฉพาะในการรับเรื่องร้องทุกข์ จึงสามารถร้องเรียนไปที่ กลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

2.             หากยังไม่มีการชำระหนี้ หรือบ่ายเบี่ยงหลบเลี่ยง ก็สามารถนำความเดือดร้อนนี้ไปร้องยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)  (กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้

3.             มาตรการขั้นเด็ดขาด ผู้บริโภคสามารถนำเรื่องไปฟ้องยังศาลแพ่งและพาณิชย์ แผนกคดีผู้บริโภคได้ ซึ่งจะมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินคดี รวมถึงไกล่เกลี่ยประนีประนอมที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค

4.             ประชาชนสามารถฟ้องบังคับให้ กสทช. และ สคบ. ปฏิบัติหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิของประชาชน เช่น ออกเกณฑ์ คำสั่ง และบังคับควบคุมบริษัทได้ที่ศาลปกครอง

สรุปแนวทางแก้ไข

              เรื่องโปรโมชั่นโทรฟรีหรือลดแลกแจกแถมนั้นเป็นการให้คำมั่นใช้หลักนิติกรรมสัญญา และการคุ้มครองผู้บริโภค   ซึ่งกรณีนี้เมื่อได้มีการแสดงเจตนาตกลงเสนอรับคำมั่นไปแล้วตามเงื่อนไข บริษัทต้องชำระหนี้ตามที่ประกาศโดยการแจ้งต่อสำนักงาน บริษัทผู้ให้บริการย่อมไม่มีสิทธิใดๆที่จะปฏิเสธผู้รับบริการอีก หนี้จึงเกิด   ผู้บริโภคจึงสามารถร้องเรียนต่อ สคบ. รวมถึงฟ้องศาลแพ่งฯแผนกคดีผู้บริโภคได้  ถ้าโปรโมชั่นมีเรื่องเกี่ยวกับค่าบริการหรือสัญญาณทางเทคนิคผู้บริโภคสามารถร้องเรียน กสทช.  และยังฟ้องศาลปกครองให้ สคบ. และ กสทช. ปฏิบัติหน้าที่คุ้มครองสิทธิประชาชนได้ด้วย


 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,