Skip to main content

สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา

กิจกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดการเดินทางข้ามโลก เกิดอภิบุคคลผู้ลุกขึ้นทำความฝันของตนให้เป็นจริงโดยจัดความสัมพันธ์คนทั่วโลกให้สานเข้าหากัน การสร้างเส้นทางคมนาคมสื่อสาร และการสร้างความมั่นคงแน่นอนให้กับกิจกรรมต่างๆ จึงเกิดขึ้นมาด้วย  

หลักฐาน คือ อารยธรรมที่ยิ่งใหญ่มักเกิดจากการสร้าง “เส้นทาง” และสถาปนา “กฎหมาย” ขึ้นมาเชื่อมโยงตนเข้ากับคนในพื้นที่อื่น

 

แนวโน้มที่ทำให้ความสัมพันธ์ราบรื่น ก็คือ กิจกรรมระหว่างประชาชนหรือระหว่างผู้ปกครองบนฐานของ การค้า และการเคารพคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ

หากเรามองจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลกว่า

 

ลัทธิล่าอาณานิคม ทำให้เกิดการค้าทาส แต่ในท้าที่สุดก็จบลงเพราะการลดคุณค่าคนให้กลายเป็นสินค้า วัตถุ

 

การเผยแผ่ศาสนา ทำให้คนเชื่อมโยงกันในคุณค่าเดียวกัน  แต่ก็ต้องจำกัดลงเพราะเป็นการกีดกันกล่าวหาคนอื่นว่า “นอกรีต” และทำให้เกิดการทรมานและการตัดสินคดีความโดยปราศจากกระบวนการยุติธรรมอย่างน่าอดสู่ จำต้องเปลี่ยนไป

 

สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้เกิดการสร้างรัฐสมัยใหม่และกำหนดพรมแดนและการจัดวางชาติพันธุ์ต่างๆลงในเขตแดนที่สะดวกต่อการปกครองแต่ก็ทำให้เกิดการฆ่าฟันกันอย่างโหดร้าย แต่ก็ได้ลงหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศปักฐานเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ

 

สงครามโลกครั้งที่ 2 คือวิกฤตของระบบทุนนิยมที่นายทุนอาศัยรัฐดำเนินนโยบายปกป้องผลประโยชน์ภายในประเทศและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เพื่อแย่งชิงความมั่งคั่งจากชนกลุ่มน้อยมาอยู่ในมือคนชาติส่วนมาก ซึ่งกลายเป็นตราบาปสำคัญฝังแน่นในประวัติศาสตร์โลกและสำนึกของคนในสังคมอารยะว่า หากให้ผลประโยชน์เศรษฐกิจนำหน้ามนุษย์ที่เป็นเจ้าของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ก็จะเกิดประหัตประหารมนุษย์อย่างเป็นระบบ หลังสงครามยุติก็ได้ทำให้สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและสันติภาพก่อตัวขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งใน 3 เสาหลักของ องค์กรโลกบาลอย่างสหประชาชาติ

สงครามเย็นทำให้เกิดการขยายอุดมการณ์และความร่วมมือภายในค่าย เสรีนิยม และสังคมนิยม แต่ก็ทำให้เกิดการโฆษณาชวนเชื่อและสอดส่องลงโทษผู้ที่คิดต่างจากอุดมการณ์รัฐ จนสุดท้ายกลายเป็นการทำลายตัวเองของระบอบเผด็จการและอำนาจนิยมเว็ดเสร็จ จนประชาธิปไตยและสิทธิพลเมืองและการเมืองการเป็นค่านิยมหลักของโลก

 

แต่สิ่งที่สังคมกำลังสงสัย คือ การขยายตัวของการค้าโลก หรือที่กล่าวอย่างเป็นระบบครอบคลุม คือ การแพร่ขยายของลัทธิเสรีนิยมใหม่ และการจัดการทรัพยากรด้วยระบบตลาด จนทุนนิยมกลายเป็นคุณค่าหลักเบียดขับประชาชนหรือชุมชนในหลายพื้นที่ให้ตกขอบ

 

หากจะวิเคราะห์ว่า สิทธิมนุษยชนได้พยายามทำอะไรเพื่อจัดความสัมพันธ์ของคนกับการเผชิญหน้ากับทุนนิยมบ้าง จะพบว่า

สิทธิมนุษยชนคลื่นลูกที่ 2 เน้นสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ถูกเบี่ยงกลายเป็นเรื่อง ฝ่ายขวาปะทะฝ่ายซ้าย (เสรีทุนนิยม กับ สังคมนิยม)


สิทธิมนุษยชนคลื่นลูกที่ 3 เน้นสิทธิในการพัฒนา (อย่างยั่งยืน) แต่กลับถูกผลักให้กลายเป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (Global North vs. South)


สถานการณ์ล่าสุดกลุ่มประเทศลาตินอเมริการวมมาถึงอดีตเจ้าอาณานิคมสเปน โปรตุเกส อิตาลี ฝรั่งเศสที่เป็นประเทศในกลุ่มเมดิเตอร์เรเนียน มีความก้าวหน้าที่สุดในประเด็นสิทธิทางเศรษฐกิจ เพราะได้ให้สัตยาบันในพิธีสารกติกาสิทธิทาง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (The Optional Protocol to the International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights – OP ICESCR) กันหนาแน่นที่สุด เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น กลุ่มวัฒนธรรมอื่นในโลก

 

แม้จะมีประเทศต่างๆ ให้สัตยาบันในกติกาหลัก( ICESR) ถึง 164 ประเทศแล้วก็ตาม แต่ประเทศที่ลงนามในพิธีสารที่เปิดโอกาสให้ประชาชนร้องเรียนการละเมิดเพิกเฉยของรัฐโดยตรงต่อสหประชาชาติกลับน้อยมาก คือ ลงนามไปแล้ว 26 รัฐ แต่ให้สัตยาบันมีผลผูกพันภายในรัฐแล้วแค่ 21 รัฐ <http://indicators.ohchr.org/>

แสดงให้เห็นว่าประชาชนในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและเมดิเตอร์เรเนียนสามารถผลักดันให้รัฐผูกพันตนจนให้สัตยาบัน ไปแล้ว ต่างจากประเทศอื่นๆในยุโรปโซนอื่น หรือกลุ่มประเทศใช้ภาษาอังกฤษที่ยังไม่ลงนาม หรือแค่ดูท่าทีเท่านั้นเอง

สอดคล้องกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมที่เห็นได้ชัดว่า ขบวนการในประเทศเหล่านี้ประสบความสำเร็จมากกว่าภูมิภาคอื่น หรือดุดัน ดุเดือด ถึงขั้นเข้าครอบครองเสียงข้างมากในรัฐสภาได้สำเร็จก็มีมาแล้ว

สิ่งหนึ่งที่ขบวนการเคลื่อนไหวเหล่านี้ หรือในวัฒนธรรมลาติน เมดิเตอร์เรเนียน พูดถึงมาก ก็คือ ถ้าท้องไม่อิ่ม ก็ไม่มีแรงไปสู้เรื่องอื่น   ที่ส่งผลกระทบไปถึงชนชั้นนำหรือคนรวยในประเทศที่ต้องยอมจ่ายในรูปแบบต่างๆ เพื่อธำรงไว้ซึ่งภราดรภาพหรือความสงบ

เมื่อลองตอบคำถามว่า สิทธิมนุษยชน จะเข้ามาจัดความสัมพันธ์ของคนในสังคมทุนนิยมได้อย่างไรบ้าง

 

สิ่งที่อาจจะเป็นจุดวิกฤตสำคัญที่ทำให้ เกิดการผลักดันคุณค่าสิทธิมนุษยชนให้กลายเป็นเครื่องมือจัดความสัมพันธ์คนในสังคมเสียใหม่ หรือสร้างกลไกเชิงสถาบันในสังคมทุนนิยมที่เอื้อเฟื้อและเหลือที่ยืนให้คนอย่างหลากหลายมากขึ้น ก็เห็นจะเป็น

วิกฤตจากบรรษัทข้ามชาติที่ได้เบียดขับคนให้ตกขอบไปจากการแข่งขันในตลาด แต่คนเหล่านี้กลับมีจำนวนมาก มากพอที่จะลงคะแนนกำหนดทิศทางการเมืองได้ หากยังมีการประกันความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตยที่ให้ความเสมอภาคแก่มนุษย์ในการใช้สิทธิเลือกนโยบายสาธารณะ

แต่เมื่อเกิดวิกฤตการเมืองระบบตัวแทน ที่พรรคการเมืองมักโน้มเอียงไปเอาใจนายทุนพรรคที่มีบรรษัทล็อบบี้อยู่บ่อยครั้ง

กระแสการเมืองมวลชนที่ต่อต้านการ สมยอมกันระหว่างพรรคการเมืองกับนายทุนจึงเกิดขึ้น เพื่อต่อต้าน นโยบายรัดเข้มขัด ที่พุ่งเป้าไปที่การลดสวัสดิการประชาชน แต่เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ หรือจัดซื้อจัดจ้างสิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนเพียงกลุ่มน้อย หรือ อาวุธยุทโธปกรณ์

 

ยิ่งมีแนวโน้มว่า บรรษัท ภาครัฐ และผู้แทน/พรรคการเมือง มีการสานประโยชน์กันในเครือข่ายเดิมของตนที่จำกัดวง ไม่เปิดโอกาสให้คนกลุ่มอื่น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่เข้ามามีสิทธิมีเสียงแบ่งปันผลประโยชน์ ก็ยิ่งมีแนวโน้มผลักให้คนเหล่านั้นอยู่นอกวง

 

การปรับวิธีการแจ้งงานที่ทำให้ คนรุ่นใหม่ไร้ความมั่นคง ทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกหวั่นไหวและไม่อาจกลืนกลายเข้าไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกับผู้ปกครองหรือบรรษัทผู้ขูดรีดได้

 

สถานการณ์ในขณะนี้จึงเป็นการรอเวลาว่า เมื่อไหร่เหล่าคนที่ชีวิตไร้ความมั่นคง จะตระหนักรู้ถึงความเหลื่อมล้ำแห่งอำนาจที่เป็นสาเหตุของการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรมเสียที

เมื่อไหร่ที่คนรุ่นใหม่ตื่น และลุกขึ้นยืนยันสิทธิของตนอย่างแพร่หลาย คงจะได้เห็นสงครามชุดใหม่

นั่นคือ สงครามแบ่งแยกคนรุ่นใหม่ แล้วแย่งชิงเสียงมาให้เป็นฝ่ายตน   หรือเลวร้ายกว่านั้นก็คือ ทำให้คนรุ่นใหม่แตกแยกกระทบกระทั่งหมั่นไส้ริษยา รบรากันเอง จนรวมกันไม่ได้   แล้วเฉยชาต่อการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม

หากวิกฤตจะเปลี่ยนเป็น โอกาสในการสร้างโลกใหม่ อาจจะต้องรอให้วิกฤตทำลายคนและสังคมอย่างย่อยยับแบบสงครามโลกครั้งที่ 3 หรือเราจะฉลาดมากพอที่จะทำความเข้าใจความรู้สึกของผู้ร่วมชะตากรรม เพื่อจะได้ร่วมผลักดันขบวนการประชาชนใหม่ที่เริ่มจากท้องถนนแล้วเข้าไปยึดสถาบันทางการเมืองต่อไป

เพราะวิธีเปลี่ยนโลกที่ปลอดภัยและเสียเลือดเสียเนื้อน้อยที่สุดเห็นจะไม่พ้นการใช้ช่องทางการของรัฐ ไม่ว่าระดับรัฐบาลกลาง หรือท้องถิ่น

หรือเราจะแยกย้ายกันไปสร้างชุมชนในอุดมคติปกป้องตัวเองพึ่งพาตนเอง ซึ่งยากเหลือเกินที่จะหลีกหนีจากจักรกลทุนนิยมที่รุกคืบไปทุกพื้นที่

เครื่องยนต์เทอร์โบของบรรษัท นายทุน ได้รับการดูแลให้แข็งแรงปลอดภัยโดยสร้างสายใยกับพรรคการเมืองผู้ผลักดันกฎหมาย ไปมีอิทธิพลกับฝ่ายปกครอง หรือจ้างทนายชั้นนำ เข้าบดขยี้อุปสรรคที่ขวางหน้าได้อย่างง่ายดาย ด้วยทุนทรัพย์ที่เกิดจากการยึดครองทรัพยากรในพื้นที่หนึ่งแล้วนำไปเป็นทุนต่อยอดในพื้นที่อื่น อย่างไม่รู้จักจบสิ้น   นั่นคือ ยึดอำนาจการเมืองโดยอาศัยความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ แล้วใช้อำนาจทางการเมืองออกกฎหมายบังคับใช้ปราบปรามประชาชนอย่างราบคาบ

หากจะหาประชาชนที่ลุกขึ้นสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงให้สังคมทุนนิยมเอื้อประโยชน์กับทุกคน ก็ต้องเป็นกลุ่มคนที่เคยตกทุกข์ได้อยากและต่อสู้ต่อรองมาอย่างเขี้ยวลากดิน

อันเป็นที่มาว่าทำไม กลุ่มประเทศลาตินอเมริกาจึงลุกขึ้นมาสู้กับบรรษัทที่ฉวยโอกาสจากการผูกขาดผูกรีดด้วยการอ้างอิงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเป็นพื้นฐาน   เพราะพวกเขาได้ผ่านประสบการณ์จากเจ้าอาณานิคมผู้แยบคายและโหดร้ายอย่างสเปนและจักรวรรดินิยมอเมริกาน่าบริทานิก้า และแม้กระทั่งดัชต์ โปรตุเกส และฝรั่งเศส มาก่อนแล้วอย่างโชกโชน 

เช่นเดียวกับประเทศกลุ่มเมดิเตอร์เรเนียนที่ประชาชนก็รู้เท่าทันนายทุนและบรรษัทข้ามชาติเป็นอย่างดี เนื่องจากเคยรบราฆ่าฟัน เป็นจ้าวเป็นข้า เป็นนายทุน เป็นแรงงาน เป็นเจ้าที่ดินเป็นไพร่ เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ สลับกันไปมาหลายชั่วอายุคน

จนเกิดสำนึกการ "เคารพความเป็นคน" ของผู้อื่นไม่ว่าจะยากดีมีจน ก่อนที่คนอื่นจะเข้าตาจนจนต้องลุกฮือขึ้นมาแย่งชิงฆ่าฟันกัน

อันเป็นรากฐานของหลักการ "ภราดรภาพ" นั่นเอง

.........จึงไม่ต้องแปลกใจที่ เศรษฐียุโรปไม่หาญกล้ามาท้าทายมวลชนแม้ตนจะถูกเก็บภาษีสูงๆก็ตาม

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender – “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คือ คำแปลทางการของรัฐไทย) ที่องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามไว้นั้นหมายถึง "บุคคลผู้ดำเนินการโดยลำพังหรือร่วมกับบุคคลอื่น กระทำการเพื่อส่งเสริมหรือคุ้ครองสิทธิมนุษยชน"
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรกรรมถือเป็นวิถีการผลิตที่อยู่ควบคู่กับชีวิตคนไทยจำนวนไม่น้อยมาเป็นเวลานาน   แต่ในปัจจุบันนี้การผลิตในวิถีทางเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คนในสังคมไทยมิได้ตระหนักรู้    ความคิดและจินตนาการเดิมเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่มีทุ่งนาสีเขียว ชาวนารวมตัวกันลงแขกเกี่ยวข้าว หรือทำการผ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันของมนุษย์ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับทุกสังคม   แต่ก็มีหลายอารยธรรมพยายามสร้างขอบเขตและแนวทางในการควบคุมความเสียหายของการใช้กำลังมิให้กระทบกระเทือนชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และสังคม มากเกินกว่าจะธำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ไว้ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
การรวมกลุ่มประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างนโยบาย หรือกฎหมายร่วมกันของรัฐสมาชิก ตั้งอยู่บนหลักความสมัครใจเข้าร่วมของรัฐ โดยส่วนใหญ่ยึดถือเจตจำนงของรัฐเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด   เนื่องจากรัฐทั้งหลายที่เข้ารวมกลุ่มนั้นย่อมีความหวังที่จะบรรลุเป้าหมายความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ของรัฐตนเป็นท
ทศพล ทรรศนพรรณ
7.เสรีภาพในการแสดงออก การสอดส่องของรัฐ และการควบคุมเนื้อหา  
ทศพล ทรรศนพรรณ
แรงงานสร้างสรรค์ในบทความนี้ที่จะพูดถึง คือ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมภาคสร้างสรรค์ เช่น คนทำสื่อสาระ บันเทิง ละคร นักเขียน ไปจนถึง นักแปล ดารา นักแสดง ศิลปิน ที่กลายเป็นอาชีพที่ปัญญาชน หรือผู้มีการศึกษายึดเป็นวิถีทางในการประกอบสัมมาอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว กันเป็นจำนวนมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การประกวดความงามในช่วงหลังได้กลายเป็นเวทีแสดงพลังของความงดงามที่หลากหลาย และใช้ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สตรีเป็นแกนหลักส่งเสริมความงาม “อย่างมีคุณค่า”
ทศพล ทรรศนพรรณ
ระบอบการกำกับโลกไซเบอร์และตัวแบบในการกำกับดูแลพื้นที่ไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
4.ความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล       
ทศพล ทรรศนพรรณ
Internet Communication            ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นความท้าทายในสังคมยุดิจิทัลซึ่งผู้ให้บริการในโลกธุรกิจต้องเผชิญ เ
ทศพล ทรรศนพรรณ
มาตรการรัดเข็มขัด (Austerity) หรือ นโยบายที่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปด้วย  แนวทางนี้เป็นสิ่งที่ถูกโจมตีโดยนักคิดนักวิเคราะห์สายส่งเสริมสวัสดิการสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเพราะการตัดลดงบประมาณหมายถึงการลดคุณภาพและปริมาณสวัสดิการสังคมที