Skip to main content

การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันของมนุษย์ปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่กับทุกสังคม   แต่ก็มีหลายอารยธรรมพยายามสร้างขอบเขตและแนวทางในการควบคุมความเสียหายของการใช้กำลังมิให้กระทบกระเทือนชีวิตผู้คน ทรัพย์สิน และสังคม มากเกินกว่าจะธำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ไว้ได้

            หลักการสำคัญของกฎหมายสงครามที่รัฐไทยต้องผูกพันตามพันธกรณีระหว่างประเทศมีอยู่ 2 ประการสำคัญ คือ การแบ่งแยกเป้าหมายทางการทหารออกจากเป้าหมายพลเรือน   การโจมตีเป้าหมายที่มีความจำเป็นทางการทหารเท่านั้น

            หากแต่หลักการตามกฎหมายสงครามนั้นจะนำมาใช้กับความขัดแย้งที่มีลักษณะขัดกันอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็น การทำสงครามระหว่างรัฐ หรือสงครามภายในประเทศที่มีลักษณะนำไปสู่การแบ่งแยกประเทศ หรือสงครามภายในที่มีคู่ขัดแย้งเป็นกองกำลังที่ชัดเจน   เพราะฉะนั้นกองกำลังที่ขัดกับรัฐต้องมีสถานะตามกฎหมายสงครามก่อน จึงจะถือเป็นการปะทะกันตามกฎหมายสงคราม

          หลักการได้สถานะเป็นกองกำลังที่เข้าตามลักษณะกฎหมายสงคราม มีดังต่อไปนี้  เป็นกองกำลังติดอาวุธที่มีความสามารถในการบังคับบัญชา   กองกำลังสามารถควบคุมพื้นที่ของตนได้   กองกำลังต้องสามารถกำหนดสถานะของตนเองได้ชัดเจน   และหากกองกำลังนั้นจะนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน หรือที่เรียกกันว่า “การกำหนดอนาคตตนเอง” เพื่อตั้งรัฐใหม่นั้น จะต้องมีเงื่อนไขที่สำคัญอีกประการ คือ ต้องเป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่ของตนเอง

            ความขัดแย้งภายในประเทศไทยที่มีการกล่าวอ้างว่าเป็น “สงครามกลางเมืองนั้น” ยังไม่เข้าลักษณะตาม กฎหมายสงครามระหว่างประเทศก็จริง   แต่ก็อาจนำหลักการใช้กำลังปะทะ “Rule of Engagement” มาเทียบเคียงใช้ได้บางส่วน   ทั้งนี้ต้องมีการใช้หลัก “นิติธรรม” เป็นกรอบการควบคุมการใช้อำนาจ และกำลังมิให้นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ประชาชนทุกคนพึงมีตลอดเวลาไม่ว่ายามสงคราม หรือยามสงบ

  1. การแบ่งแยกเป้าหมายทางการทหารออกจากเป้าหมายพลเรือน   หลักการนี้มุ่งปกป้องพลเรือนซึ่งถือเป็นประชาชนธรรมดามิให้ได้รับผลกระทบจากการใช้กำลังเข้าปะทะกันของกองกำลังทั้งสอง   ไม่ว่าจะเป็นการ ห้ามโจมตีเป้าหมายพลเรือน เช่น บ้านเรือน เส้นทางคมนาคม สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน หรือทำร้ายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน   ห้ามใช้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างกว้างขวางไม่อาจจำกัดผลได้ เช่น การใช้ระเบิดที่มีสะเก็ดกระจายในวงกว้าง กับระเบิดสังหาร กระสุนที่แตกกระจาย หรือการใช้เครื่องบินโปรยสารพิษทางอากาศ   เป็นต้น   ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการจำกัดวงความเสียหายเพียงเป้าหมายทางการรบ แต่ไม่กระทบสิทธิของประชาชน
  2. การโจมตีที่มีความจำเป็นทางการทหารเท่านั้น   หลักการนี้มุ่งลดความเสียหายที่มีต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งของประชาชน และ”พลรบ”   เพราะสุดท้าย “คนเหมือนกัน” ที่ต้อง ตาย และได้รับความเสียหายจากการใช้กำลังปะทะกัน   ไม่ว่าจะเป็น “พลเรือน” หรือ “พลรบ” ก็ตาม   อาทิ   การโจมตีเป้าหมายที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์เท่านั้น เช่น ยิงยุทโธปกรณ์ และผู้ที่จับอาวุธเข้าปะทะกัน ไม่ทำลายทหาร หรือกองกำลังที่พักรบ บาดเจ็บอยู่ หรือโรงพยาบาล รถลำเลียงผู้บาดเจ็บ   การไม่ใช้อาวุธที่ทำให้เกิดการทำลายร้างรุนแรง เช่น ระเบิดเพลิงที่แผดเผาร่างกายทรัพย์สิน อาวุธชีวภาพหรือกัมมันตรังสีที่ตกค้างยาวนาน การใช้กระสุนบดขยี้เนื้อหรือทำลายอวัยวะอย่างรุนแรง   เป็นต้น   ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการจำกัดวงความเสียหายมิให้รุนแรงเกินกว่าจะเยียวยาสิทธิของประชาชน และทหารทั้งหลายได้ 

เป้าหมาย ของกฎหมายสงคราม ก็คือ การรักษามนุษยธรรมที่มนุษย์พึงมีต่อกันแม้จะขัดแย้งกัน   เนื่องจากสุดท้ายแล้วไม่มีใครชนะเด็ดขาด และเสมอไป   จึงต้องรักษาความเป็นคนไว้เพื่อเปิดช่องทางให้รื้อฟื้นความสัมพันธ์เพื่อสร้างสันติภาพต่อไปภายหลัง

ส่วนมาตรการ “หนักไปหาเบา” ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลซึ่งถูกกล่าวถึงในคำพิพากษาศาลแพ่งเกี่ยวกับแนวทางจัดการการชุมนุมให้คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นก็ต้องสอดคล้องกับหลักการข้างต้น ทั้งเรื่องแบ่งแยกเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่ต้องจัดการ ออกจากประชาชนผู้บริสุทธิ์   รวมถึงการพยายามลดความเสียหายให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

แนวทางการจัดการกับการชุมนุมที่ปรากฏในต่างประเทศมีลักษณะไล่ระดับไป “จากเบาไปหาหนัก” นั้น อาจนำมาเทียบเคียง ปรับใช้กับการชุมนุมในประเทศไทยได้หลายประการ   ดังมีขั้นตอนต่อไปนี้

  • การจำกัดจำนวนคนที่จะเข้าร่วมชุมนุมรายใหม่ มิให้เข้าร่วมการชุมนุมได้ง่าย 
  • การเปิดโอกาสให้ผู้ชุมนุมเก่าออกไปเสมอ โดยไม่มีการขู่ว่าจะใช้กำลังสลายที่จะยิ่งปลุกเร้าอารมณ์
  • การปิดห้องน้ำ และสาธารณูปโภคภายในการชุมนุมแต่จัดให้มีนอกเขตการชุมนุมอย่างสะดวก  
  • การห้ามลำเลียงอาหารน้ำดื่มเข้าสู่บริเวณการชุมนุม แต่จัดให้มีมากมายรอบการชุมนุม  
  • การใช้กระบวนการทางจิตวิทยาเกลี้ยกล่อมโดยญาติพี่น้อง   มิใช่เพียงให้ข้อมูลผ่านสื่อของรัฐ
  • การใช้น้ำสีฉีดสลายการชุมนุม เพื่อให้สีติดผู้ชุมนุมสลายตัวออกไป   และอาจจับกุมตัวได้ภายหลัง
  • การใช้เสียง หรือเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อก่อกวนโสตประสาท และการดำรงชีวิตในที่ชุมนุม  
  • ก่อนที่จะไปถึงการสลายการชุมนุมโดยใช้กำลัง อาทิ แก๊ซน้ำตา หรือใช้กำลังคนผลักดัน จับกุม

ขั้นตอน การใช้กำลังสลายการชุมนุมนี้เองที่อาจปรับเอาแนวทางการใช้กำลังของกฎหมายสงครามมาใช้ได้ในเชิงวิธีการที่รัฐจะใช้สลายการชุมนุม

            หลักการใหญ่ที่สำคัญกว่า คือ “หลักนิติธรรม” ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกฎหมายสงคราม หรือกฎหมายอื่นๆ ที่ย้ำเสมอว่าหากรัฐจะใช้อำนาจนั้นจะต้องเป็นไปโดยชอบธรรม กล่าวคือ คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาค ไม่เลือกประติบัติกับคนกลุ่มใดทั้งสิ้น

 

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว